- คำนำ
- ๑๙๘ ประกาศสงกรานต์ ปีจอจัตวาศก
- ๑๙๙ ประกาศเรื่องการถวายทองเงินพระเจ้าลูกเธอในการโสกันต์
- ๒๐๐ ประกาศเรื่องเกณฑ์ทรายโรยถนนในการพระศพ
- ๒๐๑ ประกาศห้ามมิให้กราบบังคมทูลทักอ้วนผอมขาวดำ
- ๒๐๒ ประกาศวางโทษเรื่องทักอ้วนผอม
- ๒๐๓ ประกาศให้เรียกคลองวัดไชยพฤกษ ว่าคลองมหาสวัสดิ์คลองเข้าไปพระปฐม ว่าคลองเจดีย์บูชา
- ๒๐๔ ประกาศให้ชำระตัวเลขพระคลังสุภรัต ซึ่งไปแอบอิงอยู่ในกรมต่างๆ ส่งให้คลังสุภรัต
- ๒๐๕ ประกาศให้คัดเรื่องความที่ราษฎรร้องฟ้องขึ้นทูลเกล้า ฯ ถวาย
- ๒๐๖ ประกาศให้เก็บภาษีหัวเบี้ยรวมอยู่ในบ่อน
- ๒๐๗ ประกาศให้ใช้กะแปะอัฐแลโสฬศที่ทำขึ้นใหม่
- ๒๐๘ ประกาศห้ามไม่ให้ตื่นกันเรื่องกะแปะอัฐแลโสฬศจะใช้ไม่ได้
- ๒๐๙ ประกาศห้ามมิให้นับอัฐโสฬศลงที่พื้นแขงๆ
- ๒๑๐ ประกาศขยายสถานที่จำหน่ายแลรับกะแปะอัฐแลโสฬศ
- ๒๑๑ ต้นประกาศพระราชทานแลกเปลี่ยนที่วิสุงคามสีมาเมืองลพบุรี
- ๒๑๒ ประกาศการพระราชพิธีลงสรงโสกันต์พระเจ้าลูกเธอ
- ๒๑๓ ประกาศให้ข้าราชการที่ทำการวิวาหมงคลโกนจุกบุตร นำความกราบบังคมทูล ฯ แลข้าราชการในทำเนียบถึงแก่กรรมให้บอกกระทรวงวัง
- ๒๑๔ ประกาศไม่ให้หม่อมเจ้าหม่อมราชวงศ์ตลอดจนบุตรหลานเหลนไปเที่ยวตามหัวเมืองโดยไม่ได้ทูลลา
- ๒๑๕ ประกาศเรื่องการนุ่งขาวแลกระแสพระราชดำรัสในการที่ทรงแจกพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์
- ๒๑๖ ประกาศมหาสงกรานต์ ปีกุนเบญจศก
- ๒๑๗ ประกาศพระราชบัญญัติรับฟ้องความเจ้า แลห้ามเจ้ามิให้ไปไกลพระนคร
- ๒๑๘ ประกาศการทรงปฏิสังขรณ์พระเจดีย์วัดชุมพลนิกายารามที่เกาะบางปอิน
- ๒๑๙ ประกาศพระราชทานอนุญาตให้ข้าราชการฝ่ายในทูลลาออกนอกราชการได้
- ๒๒๐ ประกาศพิกัดราคาทองแปทศพิศพัดดึงศ์
- ๒๒๑ ประกาศห้ามไม่ให้เชื่อถือข้าราชการเก่านอกตำแหน่ง
- ๒๒๒ พระราชปรารภเรื่องเดินเปนผู้ว่าราชการเมือง
- ๒๒๓ ประกาศว่าด้วยการเดินเปนเจ้าเมือง
- ๒๒๔ ประกาศงานพระเมรุเจ้าฟ้าจันทรมณฑล แลงานฉลองวัด
- ๒๒๕ ประกาศพิกัดภาษี เรือ ตึก แพ โรงร้าน
- ๒๒๖ ประกาศสงกรานต์ ปีชวดฉศก
- ๒๒๗ ประกาศให้ผู้ที่ได้กู้ยืมเงินในพระเจ้าลูกเธอมาสารภาพต่อกรมวัง
- ๒๒๘ ประกาศวันธรรมสวนะแก้ความในประกาศสงกรานต์ที่ผิด
- ๒๒๙ ประกาศเตือนสติให้สงวนเข้าไว้ให้พอกินตลอดปี
- ๒๓๐ ประกาศพิกัดเงินเหรียญนอก
- ๒๓๑ ประกาศเลิกภาษีผลมะพร้าว
- ๒๓๒ ประกาศว่าด้วยแจกเบี้ยหวัดเปนทองทศ ทองพิศ ทองพัดดึงศ์ แทนเงิน
- ๒๓๓ ประกาศเฉลิมพระชนม์พรรษา
- ๒๓๔ ประกาศว่าด้วยการเล่าฦๅกันว่าพระพุทธทำนายเกิดขึ้นที่เมืองเขมร
- ๒๓๕ ประกาศว่าด้วยเรื่องมีผู้ทำอัฐปลอม
- ๒๓๖ ประกาศด้วยเรื่องมีผู้ทำเงินปลอม
- ๒๓๗ ประกาศเพิ่มเติมเรื่องอัฐโสฬศอ่อนแลบางไป
- ๒๓๘ ประกาศว่าด้วยเรื่องราคาเข้า
- ๒๓๙ ประกาศพระราชทานโอวาทแก่ผู้ซื้อเข้าขายเข้า
- ๒๔๐ ประกาศให้ผู้ถูกใช้อัฐปลอมนำมาทูลเกล้าฯ ถวาย
- ๒๔๑ ประกาศห้ามมิให้เรียกหม่อมราชวงศ์แลหม่อมหลวงว่าเจ้า
- ๒๔๒ ประกาศไม่ให้จำหน่ายเข้าออกไปนอกประเทศ
- ๒๔๓ ประกาศให้เรียกค่าธรรมเนียมเรือลูกค้าในเมืองที่มีกงสุลสยาม
- ๒๔๔ ประกาศพระราชบัญญัติเรื่องนาตราแดงแลนาคู่โค
- ๒๔๕ ประกาศตั้งกงสุลปรุศเสียน
- ๒๔๖ ประกาศเรื่องทำพระศพเจ้านายแลศพเสนาบดี ที่พระเมรุกลางเมือง
๒๓๒ ประกาศว่าด้วยแจกเบี้ยหวัดเปนทองทศ ทองพิศ ทองพัดดึงศ์ แทนเงิน
ณวันเสาร์ เดือน ๑๐ ขึ้น ๓ ค่ำ ปีชวดฉศก
มีพระบรมราชโองการมารพระบัณฑูรสุรสิงหนาท ให้ประกาศแก่พระราชวงศานุวงศ์ แลข้าราชการฝ่ายหน้าฝ่ายในให้ทราบทั่วกันว่า ครั้งแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก แลแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยครั้งโน้น เมื่อไรสำเภาเสียมาก ฤๅสินค้าสำเภาราคาตกมาก เงินกำไรสำเภาน้อยไปไม่พอแจกเบี้ยหวัด ก็บอกลดกึ่งจำนวนเก่าบ้าง ฤๅจำนวนเก่าแบ่ง ๓ ส่วนลดส่วน ๑ บ้าง แบ่ง ๔ ส่วน ลดส่วน ๑ บ้าง แลบางคราวพระราชทานผ้าลายตีให้แทนเงินบ้าง พระราชทานทองคำบางตะพานบ้าง ทองคำจีนบ้าง ให้แทนเงินก็มี บาญชีเก่าๆ ยังเปนพยานเห็นอยู่ ถ้าไม่เชื่อจะเอามาให้ดูก็ได้ การเปนอย่างมาดังนี้มีอยู่ ก็เมื่อการปัจจุบันบัดนี้ผันแปรยักย้ายไปอย่างไรบ้าง ก็จะขอให้ท่านทั้งปวงผู้รับพระราชทานเบี้ยหวัดผันผ่อนยอมไปตามการโดยสมควร บัดนี้เรือกำปั่นในกรุงไปค้าต่างประเทศไม่ได้เงินเข้ามา ได้แต่ทองคำเข้ามามากขึ้นๆ จนราคาทองคำเนื้อแปดซึ่งแต่ก่อนเคยขายกันถึง ๑๗ หนักกึ่งแล ๑๗ หนัก ตกลงมาทีละน้อย เดี๋ยวนี้อยู่เพียง ๑๕ หนักแล ๑๕ ย่อมเล็กน้อยก็มี นายอากรแลเจ้าภาษีซึ่งส่งเงินขึ้นท้องพระคลัง ก็ขอส่งเปนทองคำเสียโดยมากไม่ใคร่จะส่งเงิน ถึงที่ส่งเงินก็ขอส่งเปนเงินเหรียญเงินงุ่นเสียโดยมาก ไม่ใคร่ส่งเงินตราบาท ๆ นั้นลูกค้าต่างประเทศมาขอแลกไปใช้สอยซื้อสินค้าแต่ราษฎรๆ ที่ยากจนแต่ก่อนไม่เคยมีเงินมาก ครั้นได้เงินไปก็ตื่นมั่งมีเอาไปเก็บงำซ่อนเสียไม่เอาออกใช้ เงินตราบาทหายไปๆ เงินตราบาทที่นายอากรแลเจ้าภาษีส่งเข้ามาในท้องพระคลัง ลูกค้าต่างประเทศก็เอาเงินเหรียญมาขอแลกไปทุกคราวเรือไฟ ในระหว่าง ๒๐ วันพันชั่งขึ้นไปจนสองพันชั่งลงมา เสมออยู่ดังนี้นานมาหลายเดือนแล้ว เงินเหรียญเงินงุ่นที่ได้ไว้ในท้องพระคลังก็ให้ทำเปนเหรียญบาทอยู่ ทำขึ้นได้บ้างลูกค้าต่างประเทศก็มาขอแลกไปๆ ไม่หยุดลง ครั้นจะกักไว้ไม่ให้แลกก็จะผิดต่อสัญญาเปนอันขัดทางค้าขาย เครื่องจักร์ที่ทำเงินเหรียญพวกช่างเงินเก่าก็มีความฤษยาบนบานผู้ร้ายที่เปนผู้จ่ายทำการอยู่นั้น ให้แกล้งทำจักร์ให้หักเสียถึงสองคราวมาแล้ว การต้องหยุดซ่อมแซมทำจักร์อยู่ช้าวันไป ถึงจะยอมแพ้แก่ช่างเงินให้ทำเงินตราบาทไปอย่างเก่า ก็จะไม่ทำขึ้นได้โดยรวดเร็วทันท่วงที เหมือนกับเงินเหรียญบาทที่ทำในจักร์ได้ แล้วจะเปนช่องให้ผู้ที่คิดหากำไรทำเนื้อเงินให้เสียไปทุกชั้น แลจะเปนช่องให้อ้ายผู้ร้ายที่ทำเงินแดงลอบทำเงินแดงมากขึ้น ทองคำที่เจ้าภาษีนายอากรส่งแทนเงินนั้น ทรงพระราชดำริห์ให้ทำทองทศทองพิศทองพัดดึงศ์ใช้ เหมือนหนึ่งกับหมายแทนเงิน ๘ บาท ๔ บาท ๑๐ สลึงโดยลำดับ ความแจ้งอยู่ในประกาศแต่ก่อนนั้นแล้ว ทอง ๓ อย่างนี้ก็ได้พระราชทานแลแจกจ่ายไปมากแล้วใช้แทนเงินได้ คือเหมือนกับเบี้ยอัฐเบี้ยโสฬศ ๘ อัฐใช้แทนเงินเฟื้อง ๑๖ โสฬศใช้แทนเงินเฟื้องฉันใด ทองทศใช้แทนเงิน ๘ บาท ทองพิศใช้แทนเงิน ๔ บาท ทองพัดดึงศ์ใช้แทนเงิน ๑๐ สลึงฉันนั้น เบี้ยอัฐเบี้ยโสฬศก็ดี ทองทศ ทองพิศ ทองพัดดึงศ์ก็ดี ผู้ได้ไปจะเอามาส่งแทนภาษีอากรก็ได้ จะมาขึ้นเอาเงินตราไปแต่คลังก็ได้ เมื่อเปนดังนี้ทอง ๓ พวกนั้นก็เหมือนกันกับเบี้ยอัฐเบี้ยโสฬส เบี้ยอัฐเบี้ยโสฬศเปนแต่ดีบุกกับทองแดงใช้แทนเงินได้ เพราะตราเปนสำคัญ เมื่อมาขึ้นขอเปลี่ยนเงินในพระคลังก็เปลี่ยนได้ตามกำหนดไม่ขัดขวางนั้นฉันใด ทอง ๓ พวกนี้ถึงราคาทองสูงอยู่ คือคิดเปน ๑๘ หนักทองก็เพราะมีตราเปนสำคัญแล้วควรใช้ได้เหมือนกัน เมื่อมาใช้แทนภาษีอากรฤๅขึ้นเงินในท้องพระคลังก็ได้ฉันนั้น ก็ครั้งนี้จะแจกเบี้ยหวัดด้วยเงินตรา เหรียญบาทยังทำขึ้นไม่ทัน ควรจะต้องรอเบี้ยหวัดไว้แจกต่อแรมเดือน ๑๒ กฐินแล้ว เหมือนอย่างครั้งแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวฤๅแผ่นดินปัจจุบันนี้ ตั้งแต่ปีกุญตรีศกมาจนปีมะเมียสัมฤทธิศกนั้นจะรอไว้ก็ได้ แต่เงินมีบ้างพอจะแจกไป ราชการต่างๆ ก็ว่างอยู่ จะรอไว้ก็ไม่ต้องการ เพราะฉนั้นทรงพระราชดำริห์จะลงมือพระราชทานเบี้ยหวัดตั้งแต่วันจันทร์ เดือน ๑๐ ขึ้น ๕ ค่ำ ปีชวดฉศกไป แต่จะต้องเอาทองทศ ทองพิศ ทองพัดดึงศ์ ตีให้แทนเงินบาทบ้าง ในส่วนที่ ๕ ที่ ๖ จะว่าเปนอย่างพอเห็น คือผู้ใดได้เบี้ยหวัด ๕ ตำลึง จะพระราชทานเงินแต่ ๔ ตำลึงทองพิศๆ หนึ่งแทนเงินตำลึงหนึ่ง ฤๅเบี้ยหวัด ๖ ตำลึง จะพระราชทานเงินแต่ ๕ ตำลึงทองพิศๆ หนึ่ง ฤๅพระราชทานเงินแต่ ๔ ตำลึง ๓ บาทแลทองพัดดึงศ์ ๒ แทนเงิน ๕ บาท ผู้ใดได้รับพระราชทานเบี้ยหวัด ๑๐ ตำลึง จะพระราชทานเงินแต่ ๘ ตำลึงทองทศๆ หนึ่ง แทนเงิน ๒ ตำลึง ถ้าเบี้ยหวัด ๑๒ ตำลึง จะพระราชทานเงินแต่สิบตำลึงทองทศๆ หนึ่ง ฤๅทองพิศ ๒ พิศแทนเงิน ๒ ตำลึง ฤๅเงินแต่ ๙ ตำลึงกึ่งทองพัดดึงศ์ ๔ แทนเงิน ๒ ตำลึงกึ่งขึ้นไปโดยนัยนี้ จนในที่เบี้ยหวัดมากๆ จะพระราชทานทองทศ ๕ ฤๅทองพิศ ๑๐ ฤๅทองพัดดึงศ์ ๑๖ แทนเงิน ๑๐ ตำลึง ทองทศ ๑๐ ฤๅทองพิศ ๒๐ ฤๅทองพัดดึงศ์ ๓๒ แทนเงินชั่ง ๑ ให้รับทองไปแทนเงินไว้ก่อน ก็ถ้าจะใคร่ได้เงินจะมาขอเปลี่ยนเอาเงินไปก็ได้ แต่ขอให้รอไว้จนการแจกเบี้ยหวัดแล้ว คือสิ้นเดือน ๑๒แล้ว ถึงเดือนอ้ายขึ้นค่ำ ๑ ไปจะมาเปลี่ยนขึ้นเอาเงินก็ได้ แต่ภายในเดือน ๑๒ เข้ามา ในข้าราชการที่ได้รับพระราชทานเบี้ยหวัดขอให้งดรอรั้งไว้ก่อน อย่าเพ่อมาด่วนเร่งเอาเงินบาท เพราะเงินบาทที่ทำออกยังไม่ทันมือ แต่ถ้าเอาไปใช้สอยกระจัดกระจาย ราษฎรผู้ซื้อขายได้ทองไปจะรีบร้อนมาเปลี่ยนเอาเงินก็จะยอมให้ไม่ห้าม มิให้ขัดขวางทางค้าขายแลประโยชน์โภชผลของราษฎร ให้พระราชวงศานุวงศ์แลข้าราชการรู้ความตามประกาศนี้ให้แน่นอน อย่าให้เข้าใจผิดๆ ไป
ประกาศมาณวันเสาร์ เดือน ๑๐ ขึ้น ๓ ค่ำ ปีชวดฉศก ศักราช ๑๒๒๖ เปนวันที่ ๔๘๖๑ ในรัชกาลปัตยุบันนี้