- คำนำ
- ๑๙๘ ประกาศสงกรานต์ ปีจอจัตวาศก
- ๑๙๙ ประกาศเรื่องการถวายทองเงินพระเจ้าลูกเธอในการโสกันต์
- ๒๐๐ ประกาศเรื่องเกณฑ์ทรายโรยถนนในการพระศพ
- ๒๐๑ ประกาศห้ามมิให้กราบบังคมทูลทักอ้วนผอมขาวดำ
- ๒๐๒ ประกาศวางโทษเรื่องทักอ้วนผอม
- ๒๐๓ ประกาศให้เรียกคลองวัดไชยพฤกษ ว่าคลองมหาสวัสดิ์คลองเข้าไปพระปฐม ว่าคลองเจดีย์บูชา
- ๒๐๔ ประกาศให้ชำระตัวเลขพระคลังสุภรัต ซึ่งไปแอบอิงอยู่ในกรมต่างๆ ส่งให้คลังสุภรัต
- ๒๐๕ ประกาศให้คัดเรื่องความที่ราษฎรร้องฟ้องขึ้นทูลเกล้า ฯ ถวาย
- ๒๐๖ ประกาศให้เก็บภาษีหัวเบี้ยรวมอยู่ในบ่อน
- ๒๐๗ ประกาศให้ใช้กะแปะอัฐแลโสฬศที่ทำขึ้นใหม่
- ๒๐๘ ประกาศห้ามไม่ให้ตื่นกันเรื่องกะแปะอัฐแลโสฬศจะใช้ไม่ได้
- ๒๐๙ ประกาศห้ามมิให้นับอัฐโสฬศลงที่พื้นแขงๆ
- ๒๑๐ ประกาศขยายสถานที่จำหน่ายแลรับกะแปะอัฐแลโสฬศ
- ๒๑๑ ต้นประกาศพระราชทานแลกเปลี่ยนที่วิสุงคามสีมาเมืองลพบุรี
- ๒๑๒ ประกาศการพระราชพิธีลงสรงโสกันต์พระเจ้าลูกเธอ
- ๒๑๓ ประกาศให้ข้าราชการที่ทำการวิวาหมงคลโกนจุกบุตร นำความกราบบังคมทูล ฯ แลข้าราชการในทำเนียบถึงแก่กรรมให้บอกกระทรวงวัง
- ๒๑๔ ประกาศไม่ให้หม่อมเจ้าหม่อมราชวงศ์ตลอดจนบุตรหลานเหลนไปเที่ยวตามหัวเมืองโดยไม่ได้ทูลลา
- ๒๑๕ ประกาศเรื่องการนุ่งขาวแลกระแสพระราชดำรัสในการที่ทรงแจกพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์
- ๒๑๖ ประกาศมหาสงกรานต์ ปีกุนเบญจศก
- ๒๑๗ ประกาศพระราชบัญญัติรับฟ้องความเจ้า แลห้ามเจ้ามิให้ไปไกลพระนคร
- ๒๑๘ ประกาศการทรงปฏิสังขรณ์พระเจดีย์วัดชุมพลนิกายารามที่เกาะบางปอิน
- ๒๑๙ ประกาศพระราชทานอนุญาตให้ข้าราชการฝ่ายในทูลลาออกนอกราชการได้
- ๒๒๐ ประกาศพิกัดราคาทองแปทศพิศพัดดึงศ์
- ๒๒๑ ประกาศห้ามไม่ให้เชื่อถือข้าราชการเก่านอกตำแหน่ง
- ๒๒๒ พระราชปรารภเรื่องเดินเปนผู้ว่าราชการเมือง
- ๒๒๓ ประกาศว่าด้วยการเดินเปนเจ้าเมือง
- ๒๒๔ ประกาศงานพระเมรุเจ้าฟ้าจันทรมณฑล แลงานฉลองวัด
- ๒๒๕ ประกาศพิกัดภาษี เรือ ตึก แพ โรงร้าน
- ๒๒๖ ประกาศสงกรานต์ ปีชวดฉศก
- ๒๒๗ ประกาศให้ผู้ที่ได้กู้ยืมเงินในพระเจ้าลูกเธอมาสารภาพต่อกรมวัง
- ๒๒๘ ประกาศวันธรรมสวนะแก้ความในประกาศสงกรานต์ที่ผิด
- ๒๒๙ ประกาศเตือนสติให้สงวนเข้าไว้ให้พอกินตลอดปี
- ๒๓๐ ประกาศพิกัดเงินเหรียญนอก
- ๒๓๑ ประกาศเลิกภาษีผลมะพร้าว
- ๒๓๒ ประกาศว่าด้วยแจกเบี้ยหวัดเปนทองทศ ทองพิศ ทองพัดดึงศ์ แทนเงิน
- ๒๓๓ ประกาศเฉลิมพระชนม์พรรษา
- ๒๓๔ ประกาศว่าด้วยการเล่าฦๅกันว่าพระพุทธทำนายเกิดขึ้นที่เมืองเขมร
- ๒๓๕ ประกาศว่าด้วยเรื่องมีผู้ทำอัฐปลอม
- ๒๓๖ ประกาศด้วยเรื่องมีผู้ทำเงินปลอม
- ๒๓๗ ประกาศเพิ่มเติมเรื่องอัฐโสฬศอ่อนแลบางไป
- ๒๓๘ ประกาศว่าด้วยเรื่องราคาเข้า
- ๒๓๙ ประกาศพระราชทานโอวาทแก่ผู้ซื้อเข้าขายเข้า
- ๒๔๐ ประกาศให้ผู้ถูกใช้อัฐปลอมนำมาทูลเกล้าฯ ถวาย
- ๒๔๑ ประกาศห้ามมิให้เรียกหม่อมราชวงศ์แลหม่อมหลวงว่าเจ้า
- ๒๔๒ ประกาศไม่ให้จำหน่ายเข้าออกไปนอกประเทศ
- ๒๔๓ ประกาศให้เรียกค่าธรรมเนียมเรือลูกค้าในเมืองที่มีกงสุลสยาม
- ๒๔๔ ประกาศพระราชบัญญัติเรื่องนาตราแดงแลนาคู่โค
- ๒๔๕ ประกาศตั้งกงสุลปรุศเสียน
- ๒๔๖ ประกาศเรื่องทำพระศพเจ้านายแลศพเสนาบดี ที่พระเมรุกลางเมือง
๒๒๓ ประกาศว่าด้วยการเดินเปนเจ้าเมือง
ณวันพฤหัสบดี เดือนอ้าย ขึ้น ๑๔ ค่ำ ปีกุนเบญจศก
มีพระบรมราชโองการมารพระบัณฑูรสุรสิงหนาท ให้ประกาศแก่ข้าทูลลอองธุลีพระบาทฝ่ายหน้าฝ่ายในให้ทราบทั่วกันว่า อ้ายพระ อ้ายจมื่น อ้ายหลวง อ้ายขุน ฤๅอ้ายหมื่นเจ๋อเจอะกล้าๆ เปนคนในกรุงบ้าง คนในหัวเมืองบ้าง ที่อยากจะเปนผู้สำเร็จราชการเมืองในหัวเมืองนั้นๆ หานายหน้าเที่ยวเดินขอเสียสินบนถวายพระองค์เจ้า เจ้าจอมข้างในบ้าง ฤๅเดินขุนนางผู้ใหญ่ผู้น้อยตามพนักงานบ้าง ฤๅเดินในท่านผู้หญิงฤๅเมียน้อยตัวโปรดของขุนนางบ้าง ฤๅเดินตามบุตรหลานชายหญิงของขุนนางก็มีบ้าง เสียสินบนแรงๆ ขอให้ช่วยเพ็ดทูลว่ากล่าว ให้ได้ตั้งออกไปเปนผู้สำเร็จราชการที่เรียกว่าเจ้าเมืองในหัวเมือง เอก โท ตรี จัตวา นั้นๆ ฝ่ายผู้ที่เห็นแก่สินบนก็ต่างคนต่างรับแล้วก็ต่างคนต่างหาอุบายเพ็ดทูลเย่อหยิ่งกันไปต่างๆ ตามสติปัญญา ผู้ที่อยากจะเปนผู้สำเร็จราชการหัวเมือง สู้เปนหนี้สินกู้ยืมท่านผู้อื่น สู้เสียดอกเบี้ยมาเสียสินบนไปได้เปนผู้สำเร็จราชการเมืองเหล่านี้นั้น ขอให้ท่านทั้งปวงตั้งแต่ผู้ดีตลอดไปจนไพร่รู้จักเถิด ว่าใจมันมิใช่ใจคน เปนผีโหงผีห่าสู้เสียเงินเสียทองเปนหนี้เปนสินผูกดอกท่านผู้อื่นไป ด้วยคิดว่าจะไปกินเลือดเนื้อมนุษย์เถือเนื้อมนุษย์ ฤๅเอาเลือดมนุษย์ในเมืองนั้นมาใช้หนี้ได้ทันประสงค์จึงคิดการดังนั้น ก็เพราะการในหัวเมืองเปนการไกลพระเนตรพระกรรณ์ ไกลหูไกลตาท่านผู้หลักผู้ใหญ่ จะพูดจะทำบังคับบัญชาอะไรไปคดๆ โกงๆ ก็อาจจะทำไปได้ทุกอย่าง เพราะตัวไปนั่งซังเปนที่สูง ไม่มีผู้ขัดขวางได้ จะพรรณากิริยาของผู้สำเร็จราชการเมืองหัวเมืองที่ทำผิดๆ ไปนั้น จะรำพรรณไปเล่มสมุดหนึ่งก็ไม่พอ
ก็ตามธรรมเนียมที่ผู้สำเร็จราชการเมืองจะได้นั้น ก็มีแต่ค่าที่นั่งค่าประทับแลส่วนพินัยที่แบ่งกันในปีหนึ่งแทนเบี้ยหวัด ประตูที่จะได้โดยธรรมนั้นก็คล้ายๆ กับข้าราชการในกรุงดอก กับผู้ที่จะเดินไปเปนที่ผู้สำเร็จราชการณหัวเมืองนั้น โดยอย่างต่ำก็ ๓๐ ชั่งขึ้นไป โดยอย่างใหญ่ก็เพียง ๓๐๐ ชั่งลงมา จึงเห็นแท้ว่าคนที่อยากจะไปด้วยสินบนดังนี้ คือเปนใจผีโหงผีห่าตั้งใจแต่จะคิดกินเลือดกินเนื้อมนุษย์ในเมืองนั้น ไม่มีเมตตากรุณา ยิ่งแรงสินบนมากเสียดอกเบี้ยเจ้าหนี้มาเสียสินบนมากก็ร้อนมาก จะเปลื้องหนี้อยากจะผ่อนดอกเบี้ยหรืออยากจะเอาทุนคืน คงจะไปทำผิดๆ ถูกๆ บังหลวงฉ้อราษฎร์กะเกณฑ์เกินราชการ เอาผู้ร้ายมาผูกให้ซัดผิดๆ ฤๅคิดเอาสินบนปล่อยผู้ร้ายเสีย ฤๅอื่นๆ อะไรๆ ไปไม่หยุดหย่อนเปนแน่
ผู้ใดที่เห็นแก่สินบนรับสินบน ช่วยเดินเหินว่ากล่าวเพ็ดทูลแคะไค้ให้ผู้นั้นๆ ได้เปนผู้สำเร็จราชการเมืองนั้น ถ้าได้เงินสินบนด้วยเหตุนั้นก็คือว่าผู้นั้นหากรุณาแก่มนุษย์มิได้ ชื่อว่าคิดเอาเลือดเนื้อของราษฎรคนยากคนไร้ ที่อยู่บ้านห่างเมืองไกลมาขายให้อ้ายยักษ์อ้ายผี เปนผีโหงผีห่า ผู้ที่หากินอย่างนี้จะได้บาปมากนักหนาทีเดียว ที่ว่าดังนี้ผู้ที่ซื่อๆ อยู่ในสัตย์ในธรรมคงเห็นจริงด้วยหมด
เพราะฉนั้นพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระมหากรุณาแก่ไพร่ฟ้าอาณาประชาราษฎรที่อยู่บ้านแยกเมือง ต่างบ้านห่างเมืองใกลหาที่พึ่งได้ด้วยยากนั้นอยู่ กลัวผู้ที่หาผิดมิได้จะได้ความทุกข์ความยากเบียดเบียนคุมเหงต่างๆ แต่ผู้สำเร็จราชการเมืองแลกรมการผู้ใหญ่ที่ใจเปนใจผีโหงผีห่า ซึ่งเสียสินบนมากๆ อยากจะไปเปนนั้นอยู่ ถ้ามีผู้กราบทูลแนะนำขอร้องให้ผู้ใด มักทรงรังเกียจนัก ที่จะตั้งไปกลัวจะเปนบาปเปนกรรม กลัวจะเปนเหมือนเอาผีห่าผีโหงไปปล่อยให้กินราษฎร เพราะเคยทรงเห็นมาแล้วแต่ครั้งแผ่นดินก่อนๆ ผู้ที่เสียสินบนไปเปนที่ผู้สำเร็จราชการเมืองเช่นนี้ อยู่ไปไม่ช้าราษฎรก็ยกอพยบหลบหนีไปอยู่แขวงอื่น ที่หัวเมืองห่างๆ ไกลต่อเขตรต่อแดนกับเมืองอื่นก็ทิ้งบ้านทิ้งเรือนเสีย หนีไปอยู่เขตรแดนเมืองอื่น
ก็ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ถ้าจะทรงพระมหากรุณาโปรดให้ช่องให้ทางแก่ข้าราชการ ผู้ที่ได้ฉลองพระเดชพระคุณมาก ทรงปฤกษาหาฤๅด้วยแล้วให้ได้ตั้งแต่งออกไปก็ได้ดอก แต่ทรงรังเกียจนัก กลัวจะเปนบาปเปนกรรมไป
ประกาศมาณวันพฤหัสบดี เดือนอ้าย ขึ้น ๑๔ ค่ำ ปีกุนเบญจศก จุลศักราช ๑๒๒๕