- คำนำ
- ๑๙๘ ประกาศสงกรานต์ ปีจอจัตวาศก
- ๑๙๙ ประกาศเรื่องการถวายทองเงินพระเจ้าลูกเธอในการโสกันต์
- ๒๐๐ ประกาศเรื่องเกณฑ์ทรายโรยถนนในการพระศพ
- ๒๐๑ ประกาศห้ามมิให้กราบบังคมทูลทักอ้วนผอมขาวดำ
- ๒๐๒ ประกาศวางโทษเรื่องทักอ้วนผอม
- ๒๐๓ ประกาศให้เรียกคลองวัดไชยพฤกษ ว่าคลองมหาสวัสดิ์คลองเข้าไปพระปฐม ว่าคลองเจดีย์บูชา
- ๒๐๔ ประกาศให้ชำระตัวเลขพระคลังสุภรัต ซึ่งไปแอบอิงอยู่ในกรมต่างๆ ส่งให้คลังสุภรัต
- ๒๐๕ ประกาศให้คัดเรื่องความที่ราษฎรร้องฟ้องขึ้นทูลเกล้า ฯ ถวาย
- ๒๐๖ ประกาศให้เก็บภาษีหัวเบี้ยรวมอยู่ในบ่อน
- ๒๐๗ ประกาศให้ใช้กะแปะอัฐแลโสฬศที่ทำขึ้นใหม่
- ๒๐๘ ประกาศห้ามไม่ให้ตื่นกันเรื่องกะแปะอัฐแลโสฬศจะใช้ไม่ได้
- ๒๐๙ ประกาศห้ามมิให้นับอัฐโสฬศลงที่พื้นแขงๆ
- ๒๑๐ ประกาศขยายสถานที่จำหน่ายแลรับกะแปะอัฐแลโสฬศ
- ๒๑๑ ต้นประกาศพระราชทานแลกเปลี่ยนที่วิสุงคามสีมาเมืองลพบุรี
- ๒๑๒ ประกาศการพระราชพิธีลงสรงโสกันต์พระเจ้าลูกเธอ
- ๒๑๓ ประกาศให้ข้าราชการที่ทำการวิวาหมงคลโกนจุกบุตร นำความกราบบังคมทูล ฯ แลข้าราชการในทำเนียบถึงแก่กรรมให้บอกกระทรวงวัง
- ๒๑๔ ประกาศไม่ให้หม่อมเจ้าหม่อมราชวงศ์ตลอดจนบุตรหลานเหลนไปเที่ยวตามหัวเมืองโดยไม่ได้ทูลลา
- ๒๑๕ ประกาศเรื่องการนุ่งขาวแลกระแสพระราชดำรัสในการที่ทรงแจกพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์
- ๒๑๖ ประกาศมหาสงกรานต์ ปีกุนเบญจศก
- ๒๑๗ ประกาศพระราชบัญญัติรับฟ้องความเจ้า แลห้ามเจ้ามิให้ไปไกลพระนคร
- ๒๑๘ ประกาศการทรงปฏิสังขรณ์พระเจดีย์วัดชุมพลนิกายารามที่เกาะบางปอิน
- ๒๑๙ ประกาศพระราชทานอนุญาตให้ข้าราชการฝ่ายในทูลลาออกนอกราชการได้
- ๒๒๐ ประกาศพิกัดราคาทองแปทศพิศพัดดึงศ์
- ๒๒๑ ประกาศห้ามไม่ให้เชื่อถือข้าราชการเก่านอกตำแหน่ง
- ๒๒๒ พระราชปรารภเรื่องเดินเปนผู้ว่าราชการเมือง
- ๒๒๓ ประกาศว่าด้วยการเดินเปนเจ้าเมือง
- ๒๒๔ ประกาศงานพระเมรุเจ้าฟ้าจันทรมณฑล แลงานฉลองวัด
- ๒๒๕ ประกาศพิกัดภาษี เรือ ตึก แพ โรงร้าน
- ๒๒๖ ประกาศสงกรานต์ ปีชวดฉศก
- ๒๒๗ ประกาศให้ผู้ที่ได้กู้ยืมเงินในพระเจ้าลูกเธอมาสารภาพต่อกรมวัง
- ๒๒๘ ประกาศวันธรรมสวนะแก้ความในประกาศสงกรานต์ที่ผิด
- ๒๒๙ ประกาศเตือนสติให้สงวนเข้าไว้ให้พอกินตลอดปี
- ๒๓๐ ประกาศพิกัดเงินเหรียญนอก
- ๒๓๑ ประกาศเลิกภาษีผลมะพร้าว
- ๒๓๒ ประกาศว่าด้วยแจกเบี้ยหวัดเปนทองทศ ทองพิศ ทองพัดดึงศ์ แทนเงิน
- ๒๓๓ ประกาศเฉลิมพระชนม์พรรษา
- ๒๓๔ ประกาศว่าด้วยการเล่าฦๅกันว่าพระพุทธทำนายเกิดขึ้นที่เมืองเขมร
- ๒๓๕ ประกาศว่าด้วยเรื่องมีผู้ทำอัฐปลอม
- ๒๓๖ ประกาศด้วยเรื่องมีผู้ทำเงินปลอม
- ๒๓๗ ประกาศเพิ่มเติมเรื่องอัฐโสฬศอ่อนแลบางไป
- ๒๓๘ ประกาศว่าด้วยเรื่องราคาเข้า
- ๒๓๙ ประกาศพระราชทานโอวาทแก่ผู้ซื้อเข้าขายเข้า
- ๒๔๐ ประกาศให้ผู้ถูกใช้อัฐปลอมนำมาทูลเกล้าฯ ถวาย
- ๒๔๑ ประกาศห้ามมิให้เรียกหม่อมราชวงศ์แลหม่อมหลวงว่าเจ้า
- ๒๔๒ ประกาศไม่ให้จำหน่ายเข้าออกไปนอกประเทศ
- ๒๔๓ ประกาศให้เรียกค่าธรรมเนียมเรือลูกค้าในเมืองที่มีกงสุลสยาม
- ๒๔๔ ประกาศพระราชบัญญัติเรื่องนาตราแดงแลนาคู่โค
- ๒๔๕ ประกาศตั้งกงสุลปรุศเสียน
- ๒๔๖ ประกาศเรื่องทำพระศพเจ้านายแลศพเสนาบดี ที่พระเมรุกลางเมือง
๒๓๐ ประกาศพิกัดเงินเหรียญนอก
ณวันเสาร์ เดือน ๙ แรม ๓ ค่ำ ปีชวดฉศก
มีพระบรมราชโองการมารพระบัณฑูรสุรสิงหนาท ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ให้ประกาศแก่ข้าราชการแลทวยราษฎรทั้งปวง ในกรุงนอกกรุงทั่วทั้งพระราชอาณาจักร์ให้ทราบทั่วกันว่า เมื่อปีมะโรงอัฐศกศักราช ๑๒๑๘ ลูกค้าต่างประเทศเข้ามาค้าขายในกรุงเทพมหานครนี้ เอาเงินเหรียญเข้ามาซื้อของมาก ราษฎรหารับเงินเหรียญไม่ เพราะไม่เข้าใจในน้ำหนักแลราคาเงินเหรียญ แลสงสัยว่าจะใช้สอยยาก จึงไม่รับ ร้องหาแต่เงินบาท ครั้งนั้นได้มีประกาศตามการที่ทดลองแล้ว ว่าเงินเหรียญตัวนก ๓ เหรียญเท่าเงิน ๕ บาท ๖ เหรียญเท่ากับเงิน ๑๐ บาท ๑๒ เหรียญเท่ากับเงิน ๕ ตำลึง ๒๔ เหรียญเท่ากับเงิน ๑๐ ตำลึง ๔๘ เหรียญเท่ากับราคาเงินชั่ง ๑ เมื่อคนต่างประเทศเข้ามาซื้อของด้วยเงินเหรียญคิดราคาดังนี้แล้ว ให้ราษฎรรับเถิดอย่ารังเกียจเลย เงินเหรียญที่รับมาแล้วนั้น จะเอามาส่งคลังแลกเอาเงินบาทไปตามกำหนดนั้นก็ได้ จะส่งภาษีอากรตามพิกัดนั้นก็ได้ ให้ราษฎรรู้พิกัดดังนี้แล้ว จงยอมซื้อขายกับคนนอกประเทศโดยสดวกด้วยเงินเหรียญตัวนก เมื่อสงสัยจะตรวจตราดีแดงทิ้งลงฟังเสียงก็ได้ เผาไฟดูก็ได้ ในเงินเหรียญเงินแดงเงินปลอมก็น้อยกว่าเงินบาท แลจะดูจับดีแดงก็ได้ง่ายกว่าเงินบาท คำประกาศไว้แต่ก่อนอย่างนี้ การก็ได้ยั่งยืนอยู่ ไม่ได้แปรผันอันใด ราษฎรก็ได้ซื้อขายใช้สอยด้วยเงินเหรียญตามพิกัด ๓ เหรียญต่อ ๕ บาทนั้นเปนปรกติเรียบร้อยมานานแล้ว เมื่อสิ่งของขายที่ห้างอังกฤษห้างแขก ผู้ใดไปซื้อด้วยเงินเหรียญผู้ขายก็รับโดยคล่อง ใครจะสั่งสิ่งของให้ทำมาหามาแต่นอกประเทศ ก็ย่อมใช้เงินเหรียญกันได้คล่องไม่มีขัดขวางอันใด ผู้ที่จะเก็บไว้มากเก็บเงินเหรียญไว้ก็ไม่ขาดทุนอะไร จะซื้อของในเมืองนี้ก็ได้เมืองอื่นก็ได้คล่องสดวกดีแล้วมิใช่ฤๅ ก็บัดนี้ในเร็วๆ ลูกค้าต่างประเทศมากล่าวว่า ซื้อสินค้าด้วยเงินเหรียญราษฎรไม่ใคร่รับ ร้องหาเงินบาท การที่เปนดังนี้ราษฎรตื่นกันไปด้วยอะไรจึงไม่รับเงินเหรียญ ถ้าว่าไม่รับเงินเหรียญเพราะลูกค้านอกประเทศเอาเงินเหรียญต่างๆ เปนเงินเหรียญวิลันดาบ้าง เงินเหรียญรูเปียบ้างมาซื้อของ เห็นผิดสัณฐานผิดตราไปไม่เข้าใจน้ำหนักแลราคาจึงไม่รับ ถ้าเปนดังนี้จะประกาศให้รู้ได้ว่าเงินเหรียญวิลันดานั้นขนาดใหญ่ย่อมกว่าเงินเหรียญนกอยู่หน่อยหนึ่ง เงินเหรียญนก ๑๒ เหรียญเปน ๕ ตำลึงเงินเหรียญวิลันดาขนาดใหญ่ ๑๓ เหรียญเปนเงิน ๕ ตำลึง เงินเหรียญนก ๔๘ เหรียญเปนเงินชั่ง ๑ เงินเหรียญวิลันดาขนาดใหญ่ ๕๒ เหรียญเปนเงินชั่ง ๑ เงินรูเปียเมืองอินเดียนั้นคิดกันหยาบๆ แต่เดิมมาจนบัดนี้ก็คิดรูเปียละ ๓ สลึง ๔ รูเปียต่อ ๓ บาท แต่ครั้งนี้พิจารณาโดยละเอียดเข้า ด้วยชั่งเทียบกับเหรียญตัวนกได้ความว่า ๑๑๒ รูเปียเท่ากันกับ ๔๘ เหรียญนกฤๅเงินไทยชั่ง ๑ ให้ราษฎรรู้พิกัดนี้แล้วรับซื้อขายกับชาวต่างประเทศ ด้วยเงินเหรียญตามประกาศก่อนแลบัดนี้นั้นเทอญ ถ้าเปนเงินย่อยเล็กน้อยกว่าเหรียญที่ออกชื่อมานี้ แลเปนเหรียญหักเหรียญชำรุด มีตรานายห้างเมืองจีนมาก ก็ให้รวมเอาชั่งกับเงินเหรียญนกหนักเท่า ๓ เหรียญนกแล้วให้คิดเงินกัน ๕ บาทเทอญ อนึ่งถ้าราษฎรไม่รับเงินเหรียญชาวนอกประเทศมาซื้อของนั้น เพราะตื่นกันเล่าฦๅจนให้เกิดสงสัยว่าจะไม่เปนเงินดีไปกระมัง ถ้าเกิดความสงสัยอย่างนี้ขอแจ้งความมาให้ท่านทั้งปวงรู้ ว่าที่ฦๅตื่นกันอย่างนั้นไม่จริง ด้วยชาวนอกประเทศ เอาเงินเหรียญมาแลกเงินบาทไปแต่คลังในเร็วๆ นี้หลายแสนเหรียญเปนเงินหลายพันชั่งแล้ว ในหลวงได้ให้หลอมเงินเหรียญเหล่านั้นหีบทำเปนเงินเหรียญบาท ได้หลอมลงแล้วกว่าห้าพันชั่ง น้ำเงินก็เปนปรกติอยู่อย่างแต่ก่อน เงินเหรียญปลอมคือเปนเงินแดง ฤๅเงินผ่าเอาดีบุกแล่นไว้ข้างใน มีแปลกปลอมมาบ้างก็เล็กน้อย ตาดูก็พอจับได้ ทิ้งลงฟังเสียงก็พอจับได้ ไม่มากนักผิดสังเกตผิดปรกติไปดอกการก็เหมือนอย่างแต่ก่อนนั้นแล เพราะฉนั้นอย่าให้ท่านทั้งหลายทั้งปวงตื่นกันเล่าฦๅผิดๆ ถูกๆ ไป ให้ซื้อขายกันด้วยเงินเหรียญตามคำประกาศเก่า คือ ๓ เหรียญเปนเงิน ๕ บาท ๖ เหรียญเปนเงิน ๑๐ บาท ๑๒ เหรียญเปนเงิน ๕ ตำลึง ๒๔ เหรียญเปนเงิน ๑๐ ตำลึง ๔๘ เหรียญเปนเงินชั่ง ๑ เงินรูเปียเมืองอินเดียนั้น ๗ รูเปียเปนเงิน ๕ บาท ๑๔ รูเปียเปนเงิน ๑๐ บาท ๒๘ รูเปียเปนเงิน ๕ ตำลึงคือ ๒๐ บาท ๕๖ รูเปียเปนเงิน ๑๐ ตำลึงคือ ๔๐ บาท ๑๑๒ รูเปียเปนเงินชั่ง ๑ คือ ๘๐ บาท เงินเหรียญวิลันดาขนาดใหญ่ ๑๓ เหรียญ เปนเงิน ๕ ตำลึง ๒๖ เหรียญเปนเงิน ๑๐ ตำลึง ๕๒ เหรียญเปนเงินชั่ง ๑ ยั่งยืนอย่างก่อนนั้นเทอญ
ประกาศมาณวันเสาร์ เดือน ๙ แรม ๓ ค่ำ ปีชวดฉศก ศักราช ๑๒๒๖ เปนวันที่ ๔๘๔๗ ในรัชกาลปัตยุบันนี้