- คำนำ
- โคลงโสฬสไตรยางค์
- โคลงว่าด้วยต้นปลาย
- โคลงศัพท์ทึบโปร่ง
- โคลงศัพท์ขวาซ้าย
- โคลงศัพท์คู่คี่
- โคลงศัพท์กว้างแคบ
- โคลงศัพท์เหลือขาด
- โคลงศัพท์หยาบลเอียด
- โคลงศัพท์สว่างมืด
- โคลงศัพท์ฝืดคล่อง
- โคลงศัพท์คดตรง
- โคลงศัพท์รุ่งเรืองเสื่อมทราม
- โคลงศัพท์ร้อนเย็น
- โคลงศัพท์หนาบาง
- โคลงศัพท์แรงเนือย
- โคลงศัพท์รุงรังเรียบร้อย
- โคลงศัพท์ง่ายยาก
- โคลงศัพท์โสโครกสอาด
- โคลงศัพท์เก่าใหม่
- โคลงศัพท์เปรียวเชื่อง
- โคลงศัพท์ยาวสั้น
- โคลงศัพท์คมดื้อ
- โคลงศัพท์ล่าก่อน
- โคลงศัพท์น่าหลัง
- โคลงศัพท์หอมเหม็น
- โคลงศัพท์ใกล้ไกล
- โคลงศัพท์ลึกตื้น
- โคลงศัพท์ในนอก
- โคลงศัพท์แหลมป้าน
- โคลงศัพท์อึงเงียบ
- โคลงศัพท์ใหญ่เล็ก
- โคลงศัพท์บนล่าง
- โคลงศัพท์หย่อนตึง
- โคลงว่าด้วยเพื่อนฝูง
- โคลงศัพท์เหนียวเปราะ
- โคลงศัพท์พร่องเต็ม
โคลงศัพท์คดตรง
๑๏ วิภาคพจน์ก้าวเกี่ยว | กับตรง |
เปนคู่หาบคอนคง | ควบไว้ |
ต่างมีโทษคุณลง | เนื้อตัด สินเทอญ |
เกินขาดปราชญ์โปรดได้ | ดัดแก้กันฉิน |
๒๏ คด $\left. \begin{array}{}\mbox{นี้ตีว่าเว้น } \\\mbox{ประสงค์ว่าเคลื่อนเว้น } \\\mbox{แปลว่าเคลื่อนเว้น }\end{array} \right\}$ | จากตรง |
ของคดคนคดคง | เนื้องนี้ |
ตรงคือจากคดปลง | เปนเที่ยง ตรงนา |
จักแจกจำแนกชี้ | คดเค้าเลาตรง |
๓๏ บางคนตรงแต่ต้น | ปลายลง คดเอย |
บางคดต้นกลางตรง | คดท้าย |
บางต้นคดกลางคง | คดส่วน สองเฮย |
ปลายซื่อบางคนย้าย | คดต้นปลายตรง |
๔๏ บางคงตรงตลอดสิ้น | ชีวิตร |
เห็นโทษแห่งคดคิด | หลีกล้าง |
บางคงคดตลอดปลิด | ปลงชีพ เขานา |
บางคดบ้างตรงบ้าง | แบ่งย้ายร้ายดี |
๕๏ คนคดเชื่อน้อมต่อ | คนตรง |
ตรงจะดัดคดลง | ซื่อได้ |
คนตรงเชื่อน้อมหลง | คนคด |
คดจะดัดตรงให้ | คดเคี้ยวเกลียวกลม |
๖๏ คนคดชอบดัดด้วย | ความตรง |
ไม่คดดัดตรงคง | กิจใช้ |
สัตว์คดฝึกตีปลง | พยศเรียบ ตรงนา |
จิตรคดดัดตรงได้ | เหตุด้วยเกรงเกร |
๗๏ คดเกณฑ์เปนภาชน์พื้น | รับเรือน ตรงเอย |
ถ้าขาดคดหมดเชือน | ชั่วลี้ |
เหลือแต่ซื่อตรงเหมือน | กันหมด |
ไหนจะชูเชิดชี้ | ชื่อผู้ใดตรง |
๘๏ อาสาศึกได้ช่อง | ไชยชำ นะเฮย |
ควรคดคิดคดบำ | ราบเสี้ยน |
ตรงนักมักลุลำ | เค็ญพ่าย ผิดแฮ |
กล่าวเล่ห์ลเมียดเมี้ยน | คดแกล้มแกมตรง |
๙๏ ถนนคดบทจรช้า | มาไป |
จึ่งลัดตัดทางไกล | กลับสั้น |
เพื่อประโยชน์ชนไคล | คลารวด เร็วแฮ |
คดนับเปนคุณชั้น | ก่อนเกื้อกอบตรง |
๑๐๏ สามสิบสองคดคุ้ง | แสนเข็ญ |
ทรงพระราชนุเคราะห์เห็น | ราษฎร์ข้อง |
ขุดคลองใหม่ตรงเปน | ศุขสดวก เดินเอย |
เพื่อเหตุคดจึ่งต้อง | ตัดสร้างทางตรง |
๑๑๏ คลองคดเรือลดเลี้ยว | ตามคลอง |
เรือจะตรงตลิ่งปอง | ไป่ได้ |
เถนตรงเกลียดคดคลอง | ตรงมั่น .หมายแฮ |
บุกป่าปีนโตนดไม้ | มากดื้อถือตรง |
๑๒๏ ทางคดหลงลดเลี้ยว | เวียนวง |
คงจะพบทางตรง | สักมื้อ |
เดินความคิดร่วมหลง | คนคด |
คดปิดมิดมืดตื้อ | ตัดร้างทางตรง |
๑๓๏ หัดถกรรมตรงคดต้อง | ฝึกปรือ |
เขียนสลักคดตรงคือ | ส่วนใช้ |
วิหารคดคดไม้หรือ | คดปลวก สัตว์แฮ |
จะเรียกตรงไป่ได้ | เหตุด้วยเดิมประสงค์ |
๑๔๏ ขอชักขอช้างกฤช | คดคม เดียวเอย |
ลายคดคดโค้งกลม | กล่าวไว้ |
คดตามส่วนนิยม | ตรงส่วน ประโยชน์นา |
คดไม่ควรดัดให้ | โทษด้วยเสียเดิม |
๑๕๏ คดต่อพุทธจักรสิ้น | ศุขหาย |
ตรงต่อพุทธจักรหมาย | ศุขได้ |
คดต่อราชกิจมลาย | ลาภลุ โทษแฮ |
ตรงต่อราชกิจไท้ | ธิราชเกื้อเกียรติเสริม |
๑๖๏ เฉลิมจิตรข้าบาทน้อม | สนองงาน ราชเอย |
โคลงคดตรงตรองสาร | สืบไว้ |
หลวงวินิจวิทยาการ | กรมศึก ษาแฮ |
รับพระราชทานได้ | ประดิษฐถ้อยทูลถวาย |
พระพินิจสารา (ทิม) เมื่อยังเปนหลวงวินิจวิทยาการ