- คำนำ
- โคลงโสฬสไตรยางค์
- โคลงว่าด้วยต้นปลาย
- โคลงศัพท์ทึบโปร่ง
- โคลงศัพท์ขวาซ้าย
- โคลงศัพท์คู่คี่
- โคลงศัพท์กว้างแคบ
- โคลงศัพท์เหลือขาด
- โคลงศัพท์หยาบลเอียด
- โคลงศัพท์สว่างมืด
- โคลงศัพท์ฝืดคล่อง
- โคลงศัพท์คดตรง
- โคลงศัพท์รุ่งเรืองเสื่อมทราม
- โคลงศัพท์ร้อนเย็น
- โคลงศัพท์หนาบาง
- โคลงศัพท์แรงเนือย
- โคลงศัพท์รุงรังเรียบร้อย
- โคลงศัพท์ง่ายยาก
- โคลงศัพท์โสโครกสอาด
- โคลงศัพท์เก่าใหม่
- โคลงศัพท์เปรียวเชื่อง
- โคลงศัพท์ยาวสั้น
- โคลงศัพท์คมดื้อ
- โคลงศัพท์ล่าก่อน
- โคลงศัพท์น่าหลัง
- โคลงศัพท์หอมเหม็น
- โคลงศัพท์ใกล้ไกล
- โคลงศัพท์ลึกตื้น
- โคลงศัพท์ในนอก
- โคลงศัพท์แหลมป้าน
- โคลงศัพท์อึงเงียบ
- โคลงศัพท์ใหญ่เล็ก
- โคลงศัพท์บนล่าง
- โคลงศัพท์หย่อนตึง
- โคลงว่าด้วยเพื่อนฝูง
- โคลงศัพท์เหนียวเปราะ
- โคลงศัพท์พร่องเต็ม
โคลงศัพท์ยาวสั้น
๑๏ เชิญยลยาวและสั้น | สองสถาน |
คิดแต่งตามโวหาร | เหตุรู้ |
ผิดถูกโปรดประทาน | โทษเถิด ท่านแฮ |
ตามประสาตู้ตู้ | อึดตื้ออันตัน |
๒๏ ยาวสั้นสองสิ่งอ้าง | อันใด เสมอเอย |
หนึ่งเหยียดหนึ่งคงใน | เขตรนั้น |
สิ่งยื่นออกไปไกล | กล่าวว่า ยาวแฮ |
สิ่งหย่อนกว่าว่าสั้น | ทั่วสิ้นสรรพของ |
๓๏ ดูใดเห็นส่วนสั้น | แซมเสริม |
ยาวบั่นสั้นต่อเติม | ติดได้ |
เฉกช่างก่อสร้างเฉลิม | ฉลาดกิจ การนา |
สองสิ่งเปนคู่ให้ | ผ่อนสั้นผันยาว |
๔๏ ธรรมดาเสือเมื่อน้อย | ยลหู ยาวเฮย |
เมื่อใหญ่ใบหูดู | กระชั้น |
เฉกฉายเนตรหนุ่มชู | โชติชัด ยาวแฮ |
สายเนตรแก่แลสั้น | ส่อชี้ชาติชรา |
๕๏ ทนต์ยาวคราวคร่ำย้าย | โยกถอน ดีฤๅ |
ฟันเลื่อยยาวดีรอน | รุกข์เหี้ยม |
ทนต์สั้นมั่นไม่คลอน | สถิตย์อยู่ นานนา |
ฟันเลื่อยสั้นบดีเสี้ยม | เซียบได้ยาวดี |
๖๏ พิกลขนเนตรนั้น | หนอไฉน |
จึ่งไม่งอกออกไป | กว่านิ้ว |
เดิมเด็กแก่เท่าใด | คงดั่ง นั้นนา |
เฉกเช่นเส้นขนคิ้ว | คู่สั้นขันธ์ขน |
๗๏ การกินกินไป่รู้ | บิดผัน |
กอบกิจใดสักอัน | บ่นอู้ |
การนิดก็คิดหัน | หาช่อง เชือนพ่อ |
เขามักกล่าวว่าผู้ | เกียจคร้านหลังยาว |
๘๏ รู้นี่แล้วโน่นโน้น | คงถึง |
ค่าสี่ร้อยเบี้ยพึง | เท่านั้น |
รู้นิ่งค่าตำลึง | ทองนพ คุณนา |
คนที่ปากยาวสั้น | ดั่งนี้มีถม |
๙๏ เล็บยาวชาวบ้านว่า | งามดี |
ชาววัดอาบัติมี | ไม่ไว้ |
คนกอบราชการที | ขัดท่า ทางแฮ |
ไว้เล็บยาวเฝ้าไท้ | ฝ่ายข้างไป่ควร |
๑๐๏ เรือยาวเยี่ยงอย่างผู้ | อนาถา |
พายถ่อกลับไปมา | ยากพ้น |
เรือสั้นกลับคล่องคลา | ไคลง่าย ดายแฮ |
เร็วเล่ห์ท่านเลิศล้น | ลัดสั้นทันไฉน |
๑๑๏ ไข้ชราวรรณโรคเรื้อ | รังทรวง |
คงจักยาวกว่าปวง | ป่วยไข้ |
ประจุบันโรคเร็วดวง | จิตรดับ พลันพ่อ |
แสดงเภทอาพาธไว้ | ส่วนสั้นกับยาว |
๑๒๏ มีศิลปสาตรเพี้ยง | พอตน |
เลี้ยงชีพโดยชอบยล | ยืดช้า |
ผิวไร้วิทยาผล | ประโยชน์อย่าง สั้นแฮ |
ยศเสื่อมทรัพย์ถอยถ้า | แต่ต้องติฉิน |
๑๓๏ พระทรงบัญญัติไว้ | สาสนา |
กำหนดห้าพันวัสสา | เสร็จไซร้ |
แบ่งสามอดีตอนา | คตนับ ยาวแฮ |
ส่วนที่สั้นพลันได้ | กับเบื้องประจุบัน |
๑๔๏ มลายศุขทุกข์ทั้ง | ไตรกาล ยาวเอย |
เที่ยวว่ายวนสงสาร | แด่วดิ้น |
ในภพใหญ่น้อยนาน | เกิดแก่ ตายเฮย |
เสวยศุขทุกข์บสิ้น | โศกย้ายสายยาว |
๑๕๏ เดิมเกิดใครไป่รู้ | รักเรียน รู้แฮ |
เกิดแก่ไข้ตายเวียน | บเว้น |
คำพระว่าถ้าเพียร | ลุมรรค ผลนา |
พบเงื่อนยาวจับเส้น | เด็ดสั้นดับสูญ |
๑๖๏ สองศัพท์ยาวสั้นชั่ว | ดีความ รคนเฮย |
ยาวว่าดีเลวทราม | ส่วนสั้น |
ถือสั้นว่าดีงาม | ยาวชั่ว ฉะนั้นนา |
สุดแต่จักจัดบั้น | แบ่งต้องตามประสงค์ |
๑๗๏ ยาวสั้นสรรค์เสร็จแล้ว | นำมา พิมพ์เอย |
ขุนผดุงสีตลา | อาศน์อ้าง |
กระทรวงยุทธนา | กรมจ่าย ใช้แฮ |
สนองพระเดชพระคุณสร้าง | สืบไว้หวังเฉลิม |
พระยาเสถียรฐาปนกิตย์ (ชม) เมื่อยังเปนขุนผดุงสีตลาอาศน์