- คำนำ
- โคลงโสฬสไตรยางค์
- โคลงว่าด้วยต้นปลาย
- โคลงศัพท์ทึบโปร่ง
- โคลงศัพท์ขวาซ้าย
- โคลงศัพท์คู่คี่
- โคลงศัพท์กว้างแคบ
- โคลงศัพท์เหลือขาด
- โคลงศัพท์หยาบลเอียด
- โคลงศัพท์สว่างมืด
- โคลงศัพท์ฝืดคล่อง
- โคลงศัพท์คดตรง
- โคลงศัพท์รุ่งเรืองเสื่อมทราม
- โคลงศัพท์ร้อนเย็น
- โคลงศัพท์หนาบาง
- โคลงศัพท์แรงเนือย
- โคลงศัพท์รุงรังเรียบร้อย
- โคลงศัพท์ง่ายยาก
- โคลงศัพท์โสโครกสอาด
- โคลงศัพท์เก่าใหม่
- โคลงศัพท์เปรียวเชื่อง
- โคลงศัพท์ยาวสั้น
- โคลงศัพท์คมดื้อ
- โคลงศัพท์ล่าก่อน
- โคลงศัพท์น่าหลัง
- โคลงศัพท์หอมเหม็น
- โคลงศัพท์ใกล้ไกล
- โคลงศัพท์ลึกตื้น
- โคลงศัพท์ในนอก
- โคลงศัพท์แหลมป้าน
- โคลงศัพท์อึงเงียบ
- โคลงศัพท์ใหญ่เล็ก
- โคลงศัพท์บนล่าง
- โคลงศัพท์หย่อนตึง
- โคลงว่าด้วยเพื่อนฝูง
- โคลงศัพท์เหนียวเปราะ
- โคลงศัพท์พร่องเต็ม
โคลงศัพท์ใหญ่เล็ก
๑๏ ถึงเวรเกณฑ์ให้แต่ง | โคลงคุณ ศัพท์เอย |
เล็กใหญ่วางชุลมุน | เช่นนี้ |
สิบหกบทผลันผลุน | คิดส่ง มานา |
สุดแต่ใครจะชี้ | ชอบน้ำใจตน |
๒๏ เล็กใหญ่คำคู่นี้ | ประมาณ |
สังเกตรูปสัณฐาน | ส่วนข้าง |
นอกเห็นแต่เปนการ | เทียบเปรียบ กันแฮ |
หาที่สุดจะอ้าง | ออกได้ฤๅมี |
๓๏ โดยใจจะคิดให้ | เปนยุติ ลงฤๅ |
ใหญ่เท่าใดที่สุด | บ่ได้ |
ยิ่งคิดยิ่งสมมุติ์ | ใหญ่กว่า นั้นแฮ |
ถึงเล็กที่สุดไซ้ | ไม่สิ้นเหมือนกัน |
๔๏ คำใหญ่แปลได้ว่า | เล็กหลาย เท่าแฮ |
เล็กเล่าก็แปลกลาย | กลับข้าม |
ว่าเปนส่วนเศษหมาย | ของใหญ่ นั้นแล |
คำคู่เปรียบกุ้งก้าม | คิดคล้ายคลึงกัน |
๕๏ ฉันใดคำใหญ่น้อย | คู่กัน |
โตกับเล็กก็ปัน | แบ่งไว้ |
เปนคำคู่พัลวัน | วางเทียบ เทียมฤา |
โตใหญ่ก็ชอบใช้ | เล็กน้อยก็มี |
๖๏ คำเหล่านี้แรกนั้น | เดิมที |
เฉภาะคู่คำกันดี | เรียบร้อย |
ใหญ่กับย่อม, แลมี | โตกับ เล็กนา |
อนึ่งมากกับน้อย | เช่นนี้กระมัง |
๗๏ ดีชั่วคำเหล่านี้ | เปนไฉน |
วางแบบลงอย่างไร | ไม่ได้ |
หากคำอื่นอาไศรย | จูงจะ เห็นเฮย |
ดูดั่งคำว่าไว้ | ณเบื้องภายหลัง |
๘๏ อย่างน้อยอย่างใหญ่ข้า | เร็วธิบาย |
นอนใหญ่นอนน้อยหมาย | มากน้อย |
คุณโทษนี่บรรยาย | ออกยาก |
หากชั่วดีจะคล้อย | ติดเต้าตามประสงค์ |
๙๏ คำทั้งห้าที่ใช้ | แทนนาม นั้นฤๅ |
น้อยเล็กกลางใหญ่ตาม | พี่น้อง |
แต่ที่รูปอ้วนงาม | เรียกว่า โตแฮ |
ดีชั่วเหล่านี้ต้อง | สุดแท้แต่ตัว |
๑๐๏ ในสิ่งซึ่งโลกย์ล้วน | จะนิยม |
เช่นยศศักดิ์ความชม | เชิดทั้ง |
อำนาจชื่อเสียงสม | บัติศุข ก็ดี |
ชวนชอบข้างใหญ่ตั้ง | กว่าน้อยอัตรา |
๑๑๏ วางโตคือหยิ่งนั้น | ไม่เจริญ |
มักใหญ่ไม่สูงเกิน | ศักดิ์ไซ้ |
มนุษย์ไม่สรรเสริญ | ว่าชอบ เลยพ่อ |
ใครคิดประพฤติใช้ | ไม่ช้าฉิบหาย |
๑๒๏ มักน้อยสันโดฐนี้ | เลิศดี |
ใครประพฤติก็มี | ศุขพร้อม |
ใจน้อยเล่ากลับหนี | ทุกข์ยาก นักนอ |
สำหรับเขาจะล้อม | ล่อล้อเจ็บใจ |
๑๓๏ มือโตฤาหน้าใหญ่ | ฤาใจ ใหญ่เฮย |
สุรุ่ยสุร่ายไป | นั่นแล้ |
ตัวเสียไม่ถึงใคร | คนอื่น ฉนี้นา |
จะว่าเปนชั่วแท้ | ก็ล้ำเล็งเห็น |
๑๔๏ อยู่ ในตำแหน่งข้าง | มีอำ นาจเฮย |
สูง เปรียบผู้ใหญ่สำ | เหนียกรู้ |
นอน นั่งคิดกระทำ | การกิจ ใดแล |
คว่ำ เนตรลงหาผู้ | เล็กน้อยด้วยดี |
๑๕๏ อยู่ ณฐานที่น้อย | อำนาจ |
ตา เท่าใดไม่ขาด | คิดได้ |
นอน ตรึกนั่งตรองอาจ | ทำกิจ ได้แฮ |
หงาย เพ่งผู้ใหญ่ไว้ | กอบเกื้อเปนคุณ |
๑๖ ผู้น้อยผู้ใหญ่นี้ | หมายอา ยุฤา |
อำนาจฤๅยศถา | ศักดิ์ด้วย |
แท้จริงจะพรรณา | ดีชั่ว ไฉนนอ |
บเลือกใหญ่น้อยม้วย | มอดสิ้นเสมอกัน |
กรมพระเทวะวงษ์วโรประการ