- คำนำ
- โคลงโสฬสไตรยางค์
- โคลงว่าด้วยต้นปลาย
- โคลงศัพท์ทึบโปร่ง
- โคลงศัพท์ขวาซ้าย
- โคลงศัพท์คู่คี่
- โคลงศัพท์กว้างแคบ
- โคลงศัพท์เหลือขาด
- โคลงศัพท์หยาบลเอียด
- โคลงศัพท์สว่างมืด
- โคลงศัพท์ฝืดคล่อง
- โคลงศัพท์คดตรง
- โคลงศัพท์รุ่งเรืองเสื่อมทราม
- โคลงศัพท์ร้อนเย็น
- โคลงศัพท์หนาบาง
- โคลงศัพท์แรงเนือย
- โคลงศัพท์รุงรังเรียบร้อย
- โคลงศัพท์ง่ายยาก
- โคลงศัพท์โสโครกสอาด
- โคลงศัพท์เก่าใหม่
- โคลงศัพท์เปรียวเชื่อง
- โคลงศัพท์ยาวสั้น
- โคลงศัพท์คมดื้อ
- โคลงศัพท์ล่าก่อน
- โคลงศัพท์น่าหลัง
- โคลงศัพท์หอมเหม็น
- โคลงศัพท์ใกล้ไกล
- โคลงศัพท์ลึกตื้น
- โคลงศัพท์ในนอก
- โคลงศัพท์แหลมป้าน
- โคลงศัพท์อึงเงียบ
- โคลงศัพท์ใหญ่เล็ก
- โคลงศัพท์บนล่าง
- โคลงศัพท์หย่อนตึง
- โคลงว่าด้วยเพื่อนฝูง
- โคลงศัพท์เหนียวเปราะ
- โคลงศัพท์พร่องเต็ม
โคลงศัพท์หยาบลเอียด
๑๏ คำหยาบลเอียดทั้ง | โทพิธ |
จักเริ่มรำพรรณคิด | คู่ไว้ |
ผิว่าบทกลอนผิด | แบบพากย์ บ้างนา |
โปรดผ่อนอไภยให้ | แก่ข้อยคนเขลา |
๒๏ การหยาบอย่างยิ่งนั้น | โดยใจ รักเอย |
มักง่ายแซกสิงใน | จิตรด้วย |
เกียจคร้านชักเหลวไหล | เลยหยาบ ใหญ่นา |
สองสิ่งเมียนตราบม้วย | หยาบยั้งอยู่เสมอ |
๒๏ ทำการลเอียดได้ | โดยสติ |
อีกพิจารณควรตริ | ตรึกค้น |
ยังประกอบพิริ | ยะภาพ ด้วยนา |
จึ่งจักสำเร็จพ้น | หยาบด้วยฉลาดเฉลียว |
๔๏ เกิดการหยามหยาบนี้ | ในกา ยาเฮย |
คือประพฤติกิริยา | อย่างใช้ |
ไม่เรียบไม่ร้อยทา | รุณโทษ ถึงแฮ |
ดุจพวกพาลหัวไม้ | มักเข้าคุกขัง |
๕๏ หัดถกรรมการช่างแก้ | จักรภัณฑ์ |
นับเนื่องลเอียดอัน | หนึ่งได้ |
ฝีมืออย่างเอกขยัน | ยิ่งช่าง อื่นเอย |
ยลลเอียดอาจชูให้ | ยศทั้งลาภผล |
๖๏ ของหยาบมักว่าแม้น | มูลระมาด |
คนหยาบมักเปรียบทาษ | หยาบแท้ |
พาลหยาบจิตรร้ายกาจ | กายปาก หยาบเฮย |
ยากที่ใครจักแก้ | เกี่ยงให้หยาบหาย |
๗๏ ของลเอียดเปรียบแม้น | มารุต |
ลเอียดอย่างที่สุด | สิ่งนี้ |
ผู้ดีอุดมมนุษย์ | ในโลกย์ นี้ฤๅ |
สุขุมาลขัตติยชี้ | เช่นเชื้อจอมไผท |
๘๏ ผ้าเล็กใหญ่เนื้อหยาบ | ยังดี |
คนมักพอใจมี | มากใช้ |
เปนต้นยี่โป้สี | ไคเหงื่อ ได้นา |
คนหยาบทำตนให้ | ต่ำเตี้ยเสียโฉม |
๙๏ ปัญญาลเอียดล้น | เหลือวิเศษ |
อาจจะตัดกิเลศ | หลุดได้ |
ปัญญาส่องเห็นเหตุ | แห่งศุข ทุกข์นา |
ลเอียดอื่นบอาจให้ | หากแจ้งนฤพาน |
๑๐๏ ยังหยาบอย่างหนึ่งแท้ | พาที ท่านเอย |
ฟังแสบโสตินทรีย์ | เสียดท้อง |
หญิงชายไพร่ผู้ดี | ไป่ชอบ ยินพ่อ |
ผิว่าคำเพราะพร้อง | สดับแล้วหวานหู |
พระยาโอวาทกรกิจ (แก่น) เมื่อยังเปนขุนโอกาทวรกิจ