- คำนำ
- ๑. พระบรมธาตุ
- ๒. การสร้างพระบรมรูปพระเจ้าแผ่นดินไทย
- ๓. ตัวอักษรไทย
- ๔. การวินิจฉัยเมืองโบราณ
- ๕. การเรียกพระนามพระเจ้าแผ่นดิน
- ๖. โลหปราสาทวัดราชนัดดา
- ๗. หลักการเรียนพงศาวดาร
- ๘. สร้างกรุงศรีอยุธยา
- ๙. คำว่า “มหาราช
- ๑๐. ขุนหลวงตากเป็นบ้าหรือ ?
- ๑๑. “เงินตราสยาม”
- ๑๒. เฟี้สคิงและสกันด์คิง
- ๑๓. ศาลาสหทัยสมาคม
- ๑๔. มนุษย์พวกจาม
- ๑๕. พระพุทธศาสนามหายานและหีนยาน
- ๑๖. สร้างวัดพระเชตุพน
- ๑๗. จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย
- ๑๘. ยิงปืนบอกเวลา
- ๑๙. สวมเสื้อเข้าเฝ้า
- ๒๐. การสร้างพระโต
- ๒๑. กรมนาฬิกาและทุ่มโมง
- ๒๒. ฝิ่นเมืองเชียงตุง
- ๒๓. หลักเมือง
- ๒๔. พระสยามเทวาธิราช พระเสื้อเมือง พระทรงเมือง ฯลฯ
- ๒๕. สถานที่ประหารชีวิตในกรุงเทพฯ
- ๒๖. พระพิมพ์ดินดิบดินเผา
- ๒๗. สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ
- ๒๘. วัดสุวรรณดาราราม
- ๒๙. ทำนาท้องสนามหลวง
- ๓๐. พระนิรันตราย และ พระนิโรคันตราย
- ๓๑. การบรรจุพระอัฐิและพระบรมอัฐิ
- ๓๒. คำว่าโอรส ราชบุตร หน่อพระพุทธเจ้า
- ๓๓. การสร้างนครวัดจำลอง
- ๓๔. เชียงราก
- ๓๕. เหตุที่วัดพระเชตุพนเป็นที่ตั้งกระบวนแห่ต่าง ๆ
- ๓๖. หยกรูเซีย
- ๓๗. ตึกพระเจ้าเหา
- ๓๘. วัดสุทัศน์
- ๓๙. เครื่องต้น
- ๔๐. เครื่องแต่งกายไทย
- ๔๑. มูลเหตุแห่งความหายนะของพะม่า
- ๔๒. วัดเจดีย์เจ็ดยอด
- ๔๓. พระมหาปราสาท
- ๔๔. พระอาจารย์อินโข่ง
- ๔๕. บานประตูมุกด์ เก๋งพระนารายณ์ และศาลพระภูมิ ในพระบรมมหาราชวัง
- ๔๖. แปลร้อย และร้อยแก้ว
- ๔๗. พระนาคปรก
- ๔๘. เรียกพระเจ้าแผ่นดินว่า เจ้าช้าง
- ๔๙. ชาวอินเดียที่ไปมาค้าขายในสมัยโบราณ
สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ
ปัญหา ได้อ่านในพงศาวดารพะม่าที่พะม่าเขียนก็ดี ที่ฝรั่งเขียนก็ดี ที่พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ทรงแต่งก็ดี รู้สึกว่าเรื่องการเสียกรุงศรีอยุธยานั้น น่าจะเป็นเสีย ๓ ครั้ง คือ ในแผ่นดินสมเด็จพระมหาจักรพรรดิอีกครั้งหนึ่ง ถึงกับถูกจับไปเมืองพะม่า แต่ที่ทรงพระนิพนธ์ไว้ในเรารบพะม่าว่าเสีย ๒ ครั้ง และว่าออกบวชแทนถูกจับ เรื่องนี้ทรงตัดสินอย่างไร เพราะเหตุผลต่าง ๆ น่าจะเป็นเสีย ๓ ครั้ง มากกว่า ๒ ครั้ง ?
ตอบ สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ พระเจ้าช้างเผือกนั้น เป็นพระเจ้าแผ่นดินที่ดีจริง ๆ สู้ศึกรักษาบ้านเมือง ทำอย่างดีที่สุด สุดฝีมือที่จะกระทำได้ ไม่เป็นคนเห็นแก่ตัว เห็นแก่ประโยชน์บ้านเมืองเป็นใหญ่ แต่เป็นคนเคราะห์ร้าย ตรงข้ามกับพระเจ้าบรมโกศ ด้วยเหตุที่พะม่าครั้งนั้นเข้มแข็งเสียเหลือเกิน ได้สู้พะม่าจนสุดฝีมือ เสียลูก เสียเมีย เสียเมือง และในที่สุดก็ถูกจับไปเป็นชะเลยพะม่า และกลับมาสู้ศึกอีก สู้จนตัวตายในระหว่างศึก เรื่องพระมหาจักรพรรดินี้ในพงศาวดารของเราผิดอยู่มาก เพราะหลังจากสงครามช้างเผือกแล้ว พะม่าเอาตัวพระมหาจักรพรรดิไปไว้เมืองพะม่าด้วย ได้สร้างพระราชมณเฑียรให้ประทับที่เมืองหงศาวดี เมื่อเสร็จศึกเรียบร้อยแล้ว จึงปรากฏว่าอยากจะบวชพะม่าก็ยอมให้บวช บวชแล้วก็อนุญาตให้กลับเมืองไทย ตอนนี้คือที่เปลี่ยนแผ่นดินอีกครั้ง เรื่องพระมหาจักรพรรดิ เป็นเรื่องน่ารู้ น่าเขียน เพราะคนเข้าใจผิดกันมาก ในพงศาวดารพะม่า เรื่องราวทางพะม่าต้องกันทั้งสิ้น แย้งกับพงศาวดารของเรา ของเรานั้นตอนนี้ฟังดูขัด ๆ อยู่ ไทยเราพลาดถนัดในเรื่องนี้ ที่เขียนในหนังสือเรารบพะม่าตอนนี้ก็ผิด ทำให้คนเข้าใจผิดไปเป็นอันมาก จะแก้ก็ไม่มีเวลาเสียแล้ว ขอยกให้เป็นมรดกตกทอดถึงเธอต่อไป
หมายเหตุ เรื่องพระเจ้าหงศาวดีเชิญเสด็จพระมหาจักรพรรดิไปไว้เมืองหงศาวดีนี้ สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงได้ทรงพระนิพนธ์ไว้ในหนังสือ “พระประวัติสมเด็จพระนเรศวรมหาราช” ฉบับพิมพ์ พ.ศ. ๒๔๙๔ หน้า ๒๐ ว่า “ความแตกต่าง (ระหว่างพงศาวดารไทยกับพม่า) กันนี้ พิจารณาประกอบกับเหตุการณ์ที่มีต่อมาเห็นว่า ความจริงน่าจะเป็นอย่างพม่าว่า คือพระเจ้าหงศาวดีเชิญเสด็จพระมหาจักรพรรดิออกไปอยู่เมืองหงศาวดี อย่างเป็นตัวจำนำอยู่สักสองสามปี