- คำนำ
- ๑. พระบรมธาตุ
- ๒. การสร้างพระบรมรูปพระเจ้าแผ่นดินไทย
- ๓. ตัวอักษรไทย
- ๔. การวินิจฉัยเมืองโบราณ
- ๕. การเรียกพระนามพระเจ้าแผ่นดิน
- ๖. โลหปราสาทวัดราชนัดดา
- ๗. หลักการเรียนพงศาวดาร
- ๘. สร้างกรุงศรีอยุธยา
- ๙. คำว่า “มหาราช
- ๑๐. ขุนหลวงตากเป็นบ้าหรือ ?
- ๑๑. “เงินตราสยาม”
- ๑๒. เฟี้สคิงและสกันด์คิง
- ๑๓. ศาลาสหทัยสมาคม
- ๑๔. มนุษย์พวกจาม
- ๑๕. พระพุทธศาสนามหายานและหีนยาน
- ๑๖. สร้างวัดพระเชตุพน
- ๑๗. จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย
- ๑๘. ยิงปืนบอกเวลา
- ๑๙. สวมเสื้อเข้าเฝ้า
- ๒๐. การสร้างพระโต
- ๒๑. กรมนาฬิกาและทุ่มโมง
- ๒๒. ฝิ่นเมืองเชียงตุง
- ๒๓. หลักเมือง
- ๒๔. พระสยามเทวาธิราช พระเสื้อเมือง พระทรงเมือง ฯลฯ
- ๒๕. สถานที่ประหารชีวิตในกรุงเทพฯ
- ๒๖. พระพิมพ์ดินดิบดินเผา
- ๒๗. สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ
- ๒๘. วัดสุวรรณดาราราม
- ๒๙. ทำนาท้องสนามหลวง
- ๓๐. พระนิรันตราย และ พระนิโรคันตราย
- ๓๑. การบรรจุพระอัฐิและพระบรมอัฐิ
- ๓๒. คำว่าโอรส ราชบุตร หน่อพระพุทธเจ้า
- ๓๓. การสร้างนครวัดจำลอง
- ๓๔. เชียงราก
- ๓๕. เหตุที่วัดพระเชตุพนเป็นที่ตั้งกระบวนแห่ต่าง ๆ
- ๓๖. หยกรูเซีย
- ๓๗. ตึกพระเจ้าเหา
- ๓๘. วัดสุทัศน์
- ๓๙. เครื่องต้น
- ๔๐. เครื่องแต่งกายไทย
- ๔๑. มูลเหตุแห่งความหายนะของพะม่า
- ๔๒. วัดเจดีย์เจ็ดยอด
- ๔๓. พระมหาปราสาท
- ๔๔. พระอาจารย์อินโข่ง
- ๔๕. บานประตูมุกด์ เก๋งพระนารายณ์ และศาลพระภูมิ ในพระบรมมหาราชวัง
- ๔๖. แปลร้อย และร้อยแก้ว
- ๔๗. พระนาคปรก
- ๔๘. เรียกพระเจ้าแผ่นดินว่า เจ้าช้าง
- ๔๙. ชาวอินเดียที่ไปมาค้าขายในสมัยโบราณ
การสร้างพระโต
ปัญหา การสร้างพระโต ไม่ว่าจะนั่ง จะนอน จะยืน หรือจะเดินก็ตาม สร้างพร้อมกันกับวิหารหรืออย่างไร เพราะพิจารณาดูวิหารที่ไว้พระโตต่าง ๆ นั้น ดูไม่เหมาะกับพระโต ไม่สมกับที่ไทยเป็นศิลปินเอกเลย
ตอบ ขึ้นชื่อว่าพระโต จะนั่ง จะนอน จะยืน หรือจะเดินก็ตาม โบราณสร้างกันกลางแจ้งแทนพระเจดีย์ คือ เบื่อการสร้างพระเจดีย์กันก็มาสร้างพระโต ไม่ต้องมีวิหาร ที่มามีวิหารนั้นคนมาศรัทธาทำกันภายหลังทั้งสิ้น ฉนั้นเมื่อดูแล้วรู้สึกอึดอัด เช่นวัดพนัญเชิงเป็นต้น พระพนัญเชิงนี้สร้างมาก่อนกรุงศรีอยุธยา และคงสร้างแทนพระเจดีย์ ส่วนพระโตที่สร้างพร้อม ๆ กับวิหารมีอยู่องค์เดียว คือ พระโตวัดกัลยาฯ พระนั่งเกล้า ฯ เป็นเจ้าของพระ พระยานิกรบดินทร์ เป็นเจ้าของวิหารสร้างพร้อมกัน
พระนอนจักรสีห์เป็นพระนอนที่เก่ามาก ลักษณะเป็นมหายานอยู่ คือนอนวางพระกร พระนอนแบบนี้เป็นพระนอนแบบเก่า เห็นมีเหมือนกันที่ถ้ำเมืองยะลาอีกองค์หนึ่ง เป็นแบบมหายาน ส่วนแบบลังกาวงศ์นั้นเอามือท้าวพระเศียร พระนอนนี้เดิมว่าเป็นท่านิพพาน เป็นท่านอนตายอย่างที่พระแท่นดงรัง ท่าพระมีสี่ท่า คือ สี่อิริยาบถ นั่ง นอน ยืน เดิน แต่ก่อนนับถือที่ประสูติ ตรัสรู้ ปฐมเทศนา และนิพพาน พระนอนจักรสีห์ใครจะสร้างค้นหาตัวไม่ได้ เป็นของเก่ามาก ที่เมืองสิงห์มีแม่น้ำใหญ่ มีวัง บ้านหน้าพระลาน วัดมหาธาตุ เป็นเมืองเจ้า เป็นเมืองใหญ่ แต่ทางน้ำผ่านลงมาหมด มีแม่น้ำสายหนึ่งที่ตื้นเขิน ห่างแม่น้ำเจ้าพระยาเข้าไปมีแม่น้ำอีก เรียกชื่อต่าง ๆ กัน ตอนพยุหคีรีเรียกแม่น้ำพระทรง ตอนนครสวรรค์เรียกแม่น้ำบางประมุข ต่อขึ้นไปเรียกบึงหูกวางที่พระพุทธเจ้าเสือถม เป็นแม่น้ำสายเดียวกันทั้งสิ้น
พระศักยมุนี หรือพระโตวัดสุทัศน์ก็ได้มาจากกรุงสุโขทัย มาสร้างวิหารที่หน้าเสาชิงช้าทีหลังเหมือนกัน เอาลงแพมาขึ้นที่ท่าช้าง ท่าที่พระขึ้นเลยเรียกกันว่าท่าพระ พระใหญ่กว่าประตูเมืองต้องรื้อกำแพงแล้วก่อใหม่ เอาขึ้นแล้วว่าชักเลื่อนมาตามถนน ในจดหมายเหตุกรมหลวงนรินทร์ ฯ ว่า พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ เสด็จพระราชดำเนินตามกระบวนแห่พระ ไม่ได้ทรงฉลองพระบาท ว่าทรงเหนื่อยมาก เพราะทรงพระชราถึงกับเซและพลาด