- คำนำ
- ๑. พระบรมธาตุ
- ๒. การสร้างพระบรมรูปพระเจ้าแผ่นดินไทย
- ๓. ตัวอักษรไทย
- ๔. การวินิจฉัยเมืองโบราณ
- ๕. การเรียกพระนามพระเจ้าแผ่นดิน
- ๖. โลหปราสาทวัดราชนัดดา
- ๗. หลักการเรียนพงศาวดาร
- ๘. สร้างกรุงศรีอยุธยา
- ๙. คำว่า “มหาราช
- ๑๐. ขุนหลวงตากเป็นบ้าหรือ ?
- ๑๑. “เงินตราสยาม”
- ๑๒. เฟี้สคิงและสกันด์คิง
- ๑๓. ศาลาสหทัยสมาคม
- ๑๔. มนุษย์พวกจาม
- ๑๕. พระพุทธศาสนามหายานและหีนยาน
- ๑๖. สร้างวัดพระเชตุพน
- ๑๗. จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย
- ๑๘. ยิงปืนบอกเวลา
- ๑๙. สวมเสื้อเข้าเฝ้า
- ๒๐. การสร้างพระโต
- ๒๑. กรมนาฬิกาและทุ่มโมง
- ๒๒. ฝิ่นเมืองเชียงตุง
- ๒๓. หลักเมือง
- ๒๔. พระสยามเทวาธิราช พระเสื้อเมือง พระทรงเมือง ฯลฯ
- ๒๕. สถานที่ประหารชีวิตในกรุงเทพฯ
- ๒๖. พระพิมพ์ดินดิบดินเผา
- ๒๗. สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ
- ๒๘. วัดสุวรรณดาราราม
- ๒๙. ทำนาท้องสนามหลวง
- ๓๐. พระนิรันตราย และ พระนิโรคันตราย
- ๓๑. การบรรจุพระอัฐิและพระบรมอัฐิ
- ๓๒. คำว่าโอรส ราชบุตร หน่อพระพุทธเจ้า
- ๓๓. การสร้างนครวัดจำลอง
- ๓๔. เชียงราก
- ๓๕. เหตุที่วัดพระเชตุพนเป็นที่ตั้งกระบวนแห่ต่าง ๆ
- ๓๖. หยกรูเซีย
- ๓๗. ตึกพระเจ้าเหา
- ๓๘. วัดสุทัศน์
- ๓๙. เครื่องต้น
- ๔๐. เครื่องแต่งกายไทย
- ๔๑. มูลเหตุแห่งความหายนะของพะม่า
- ๔๒. วัดเจดีย์เจ็ดยอด
- ๔๓. พระมหาปราสาท
- ๔๔. พระอาจารย์อินโข่ง
- ๔๕. บานประตูมุกด์ เก๋งพระนารายณ์ และศาลพระภูมิ ในพระบรมมหาราชวัง
- ๔๖. แปลร้อย และร้อยแก้ว
- ๔๗. พระนาคปรก
- ๔๘. เรียกพระเจ้าแผ่นดินว่า เจ้าช้าง
- ๔๙. ชาวอินเดียที่ไปมาค้าขายในสมัยโบราณ
คำนำ
เมื่อพุทธศักราช ๒๔๘๙ ได้มีคณะอาจารย์ที่รักในทางวรรณคดีได้ร่วมใจกันออกหนังสือรายเดือนให้ชื่อว่า “วงวรรณคดี” พระพิสัณห์พิทยาภูนเป็นเจ้าของ เมื่อแรกออกนั้นนักเลงหนังสือหรือผู้ที่ชอบอ่านหนังสือดี ๆ พอใจกันมาก เพราะผู้เขียนแต่ละท่านอยู่ในระดับนักปราชญ์ หรือเป็นครูบาอาจารย์ที่มีชื่อเสียงในทางวรรณคดีแทบจะทุกคน
เรื่องที่ลงพิมพ์เป็นประจำเรื่องหนึ่ง ซึ่งมีคนติดตามอ่านกันมากก็คือ บันทึกรับสั่ง สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ประทานหม่อมราชวงศ์ สุมนชาติ สวัสดิกุล เหตุที่จะเกิดบันทึกรับสั่งนี้ขึ้น ก็เนื่องมาจากเมื่อเสด็จกลับจากปีนัง๑แล้ว ได้ประทานโอกาสให้หม่อมราชวงศ์ สุมนชาติ สวัสดิกุล เข้าเฝ้าซักถามปัญหาเกี่ยวกับโบราณคดีและวรรณคดีของไทย ณ วังวรดิศ ในเวลาระหว่าง ๑๖.๐๐ น. ถึง ๑๘.๐๐ น. ทุกวัน ปัญหาส่วนมากทรงตอบทันที แล้วหม่อมราชวงศ์ สุมนชาติ สวัสดิกุล บันทึกนำมาอ่านถวายในวันรุ่งขึ้น
ผู้ที่ได้อ่านบันทึกรับสั่งนี้แล้ว ต่างสำนึกในพระคุณของผู้ทรงประทานความรู้และผู้บันทึกอย่างล้นพ้น เพราะหาไม่แล้วความรู้อันหาค่ามิได้นี้ก็คงจะสูญไปพร้อมกับพระองค์อย่างเที่ยงแท้
สำนักพิมพ์บำรุงบัณฑิตได้พิจารณาเห็นว่า หนังสือบันทึกรับสั่งเล่มนี้มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ โบราณคดี ศาสนา ขนบธรรมเนียมประเพณี และความรู้รอบตัว ทั้งสำนวนภาษาหนังสือที่ประทานก็มีความแจ่มแจ้งชัดเจน เป็นแบบแผนที่ดีในทางอักษรศาสตร์
แต่บัดนี้หาอ่านได้ยาก สมควรที่จะพิมพ์ให้แพร่หลายอีกครั้ง จึงได้กราบเรียนขออนุญาต “ท่านผู้หญิงสมโรจน์ สวัสดิกุล ณ อยุธยา” และ “มูลนิธิหม่อมเจ้าพูนพิศมัย ดิศกุล” ซึ่งยินดีอนุญาตให้จัดพิมพ์ได้ จึงขอขอบพระคุณ “ท่านผู้หญิงสมโรจน์ สวัสดิกุล ณ อยุธยา” และ “มูลนิธิหม่อมเจ้าพูนพิศมัย ดิศกุล” ไว้ ณ ที่นี้อีกครั้งหนึ่ง
นายอร่าม สวัสดิวิชัย
สำนักพิมพ์บำรุงบัณฑิต
๒๔/๗๓ ถนนอิสรภาพ
บางกอกใหญ่ กทม. 10600
-
๑. มีเรื่องพิสดารในหนังสือ “เมื่อปีนังแตก” พระนิพนธ์ หม่อมเจ้าพูนพิศมัย ดิศกุล ↩