- คำนำ
- ๑. พระบรมธาตุ
- ๒. การสร้างพระบรมรูปพระเจ้าแผ่นดินไทย
- ๓. ตัวอักษรไทย
- ๔. การวินิจฉัยเมืองโบราณ
- ๕. การเรียกพระนามพระเจ้าแผ่นดิน
- ๖. โลหปราสาทวัดราชนัดดา
- ๗. หลักการเรียนพงศาวดาร
- ๘. สร้างกรุงศรีอยุธยา
- ๙. คำว่า “มหาราช
- ๑๐. ขุนหลวงตากเป็นบ้าหรือ ?
- ๑๑. “เงินตราสยาม”
- ๑๒. เฟี้สคิงและสกันด์คิง
- ๑๓. ศาลาสหทัยสมาคม
- ๑๔. มนุษย์พวกจาม
- ๑๕. พระพุทธศาสนามหายานและหีนยาน
- ๑๖. สร้างวัดพระเชตุพน
- ๑๗. จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย
- ๑๘. ยิงปืนบอกเวลา
- ๑๙. สวมเสื้อเข้าเฝ้า
- ๒๐. การสร้างพระโต
- ๒๑. กรมนาฬิกาและทุ่มโมง
- ๒๒. ฝิ่นเมืองเชียงตุง
- ๒๓. หลักเมือง
- ๒๔. พระสยามเทวาธิราช พระเสื้อเมือง พระทรงเมือง ฯลฯ
- ๒๕. สถานที่ประหารชีวิตในกรุงเทพฯ
- ๒๖. พระพิมพ์ดินดิบดินเผา
- ๒๗. สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ
- ๒๘. วัดสุวรรณดาราราม
- ๒๙. ทำนาท้องสนามหลวง
- ๓๐. พระนิรันตราย และ พระนิโรคันตราย
- ๓๑. การบรรจุพระอัฐิและพระบรมอัฐิ
- ๓๒. คำว่าโอรส ราชบุตร หน่อพระพุทธเจ้า
- ๓๓. การสร้างนครวัดจำลอง
- ๓๔. เชียงราก
- ๓๕. เหตุที่วัดพระเชตุพนเป็นที่ตั้งกระบวนแห่ต่าง ๆ
- ๓๖. หยกรูเซีย
- ๓๗. ตึกพระเจ้าเหา
- ๓๘. วัดสุทัศน์
- ๓๙. เครื่องต้น
- ๔๐. เครื่องแต่งกายไทย
- ๔๑. มูลเหตุแห่งความหายนะของพะม่า
- ๔๒. วัดเจดีย์เจ็ดยอด
- ๔๓. พระมหาปราสาท
- ๔๔. พระอาจารย์อินโข่ง
- ๔๕. บานประตูมุกด์ เก๋งพระนารายณ์ และศาลพระภูมิ ในพระบรมมหาราชวัง
- ๔๖. แปลร้อย และร้อยแก้ว
- ๔๗. พระนาคปรก
- ๔๘. เรียกพระเจ้าแผ่นดินว่า เจ้าช้าง
- ๔๙. ชาวอินเดียที่ไปมาค้าขายในสมัยโบราณ
พระสยามเทวาธิราช พระเสื้อเมือง พระทรงเมือง ฯลฯ
ปัญหา พระเสื้อเมือง พระทรงเมือง เจ้าเจตคุปต์ และพระสยามเทวาธิราช มีเรื่องราวอย่างไร
ตอบ พระเสื้อเมือง ทรงเมือง และเจ้าเจตคุปต์นั้น ยังไม่พบในตำรา เข้าใจว่าเป็นเทวดารักษาราชธานี เจตคุปต์นั้นว่าเป็นชื่อสันสกฤตดูเหมือนจะเป็นสมุหบัญชีของพระยายม มูลเดิมจะมาแต่เทพเจ้าองค์ใดตามตำราของอินเดีย จะมีเรื่องอย่างไรก็ยังไม่รู้ บางทีเสื้อเมืองทรงเมืองนั้นเรามาแปลเป็นไทยไปแล้ว เจตคุปต์อาจยังเหลืออยู่ก็เป็นได้ เจตคุปต์นี้ไทยเอามาทำเหลวเป็นเจตคุกก็มี เคยให้ความหมายของเสื้อเมืองไว้ว่า มิลลิตารีเพาเวอร์๑ ทรงเมืองเป็นซิวิลเพาเวอร์๒ และหลักเมืองเป็นจูดิคัลเพาเวอร์๓ เพื่อออปท์กับโมเดินไอเดีย๔ หลักเมืองก็ดี เสื้อเมืองก็ดี ทรงเมืองก็ดี ที่มีอยู่ในกรุงเทพฯ นี้เอาอย่างมาจากกรุงเก่า
พระสยามเทวาธิราชนั้น พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงประดิษฐ์ขึ้นสำหรับบูชาสปิริต๕ของเมืองไทย อยู่ในพระบรมมหาราชวัง
มีข้อควรเพิ่มเติมก็คือ บรรดาเมืองโบราณที่มีป้อมปราการ หรืออีกอย่างหนึ่งเมืองที่ตั้งประจำที่ต้องมีหลักเมืองทั้งนั้น แต่ศาลเทพารักษ์เห็นจะมีต่างกันตามคติศาสนาของพวกที่สร้างเมือง และสร้างตามที่ต่างๆ กัน เหมือนอย่างที่กรุงเทพฯ นี้ ศาลเทพารักษ์มี ๔ แห่งมาแต่เดิม คือ ศาลหลักเมืองอยู่ตรงที่ตั้งอยู่ทุกวันนี้ ที่ริมหอกลองหน้าวัดพระเชตุพนมีสร้างเรียงกันไว้ ๓ ศาล เรียกว่า ศาลพระเสื้อเมืองศาลหนึ่ง ศาลพระทรงเมืองศาลหนึ่ง ศาลพระกาลหรือศาลเจ้าเจตคุปต์ศาลหนึ่ง เหตุใดจึงสร้างศาลทั้ง ๓ นั้น และเหตุใดจึงไปสร้างตรงนั้น ไม่รู้ รูปเจ้าเจตคุปต์นั้น นึกว่าได้เคยเห็นครั้งหนึ่ง ทำรูปเทวดานั่งคุกเข่า มีตัวนาคมัดมือไพร่หลัง ถ้าเป็นดังจำได้ดูสร้างเป็นพระภูมิของคุก เพราะคุกก็อยู่ต่อหอกลองไปทางข้างตะวันออกไม่ห่างนัก แต่เดี๋ยวนี้จะอยู่ที่ไหนไม่รู้ แต่เป็นเทวรูปใหม่สร้างในกรุงรัตนโกสินทร์นี้ทั้ง ๓ องค์