- คำนำ
- ๑. พระบรมธาตุ
- ๒. การสร้างพระบรมรูปพระเจ้าแผ่นดินไทย
- ๓. ตัวอักษรไทย
- ๔. การวินิจฉัยเมืองโบราณ
- ๕. การเรียกพระนามพระเจ้าแผ่นดิน
- ๖. โลหปราสาทวัดราชนัดดา
- ๗. หลักการเรียนพงศาวดาร
- ๘. สร้างกรุงศรีอยุธยา
- ๙. คำว่า “มหาราช
- ๑๐. ขุนหลวงตากเป็นบ้าหรือ ?
- ๑๑. “เงินตราสยาม”
- ๑๒. เฟี้สคิงและสกันด์คิง
- ๑๓. ศาลาสหทัยสมาคม
- ๑๔. มนุษย์พวกจาม
- ๑๕. พระพุทธศาสนามหายานและหีนยาน
- ๑๖. สร้างวัดพระเชตุพน
- ๑๗. จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย
- ๑๘. ยิงปืนบอกเวลา
- ๑๙. สวมเสื้อเข้าเฝ้า
- ๒๐. การสร้างพระโต
- ๒๑. กรมนาฬิกาและทุ่มโมง
- ๒๒. ฝิ่นเมืองเชียงตุง
- ๒๓. หลักเมือง
- ๒๔. พระสยามเทวาธิราช พระเสื้อเมือง พระทรงเมือง ฯลฯ
- ๒๕. สถานที่ประหารชีวิตในกรุงเทพฯ
- ๒๖. พระพิมพ์ดินดิบดินเผา
- ๒๗. สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ
- ๒๘. วัดสุวรรณดาราราม
- ๒๙. ทำนาท้องสนามหลวง
- ๓๐. พระนิรันตราย และ พระนิโรคันตราย
- ๓๑. การบรรจุพระอัฐิและพระบรมอัฐิ
- ๓๒. คำว่าโอรส ราชบุตร หน่อพระพุทธเจ้า
- ๓๓. การสร้างนครวัดจำลอง
- ๓๔. เชียงราก
- ๓๕. เหตุที่วัดพระเชตุพนเป็นที่ตั้งกระบวนแห่ต่าง ๆ
- ๓๖. หยกรูเซีย
- ๓๗. ตึกพระเจ้าเหา
- ๓๘. วัดสุทัศน์
- ๓๙. เครื่องต้น
- ๔๐. เครื่องแต่งกายไทย
- ๔๑. มูลเหตุแห่งความหายนะของพะม่า
- ๔๒. วัดเจดีย์เจ็ดยอด
- ๔๓. พระมหาปราสาท
- ๔๔. พระอาจารย์อินโข่ง
- ๔๕. บานประตูมุกด์ เก๋งพระนารายณ์ และศาลพระภูมิ ในพระบรมมหาราชวัง
- ๔๖. แปลร้อย และร้อยแก้ว
- ๔๗. พระนาคปรก
- ๔๘. เรียกพระเจ้าแผ่นดินว่า เจ้าช้าง
- ๔๙. ชาวอินเดียที่ไปมาค้าขายในสมัยโบราณ
พระพิมพ์ดินดิบดินเผา
ปัญหา พระพิมพ์ที่เห็นมีอยู่ทุกวันนี้ เหตุไรจึงมีทั้งดินดิบและดินเผา ?
ตอบ แถวเมืองนครศรีธรรมราช เมืองพัทลุง เมืองตรัง มีถ้ำมาก ในถ้ำมีพระพิมพ์ดินดิบ ๆ เป็นแบบมหายานทั้งนั้น คือเป็นรูปพระโพธิสัตว์ คาถาและตราข้างหลังเป็นอักษรสันสกฤต คือ คือ เทวนาครี พระพิมพ์นี้ทางเหนือเป็นพระพิมพ์ดินสุก ไม่ดิบอย่างทางใต้ พบใส่หม้อฝังดินเรียงรายไว้ตามถ้ำต่าง ๆ
เหตุที่จะรู้เรื่องนี้ต้องเล่าให้ฟัง ครั้งหนึ่ง มีนายพันเอกฝรั่งคนหนึ่งมาจากพะม่า ขอให้ช่วยนำเที่ยวพิพิธภัณฑ์สถาน เขาเคยอยู่เมืองธิเบตมาก่อน พาไปดูที่ตู้พระพิมพ์ ถามเขาว่า อย่างนี้ในธิเบตมีบ้างไหม ? เขาบอกว่าไม่ใช่แต่ว่ามีละ เดี๋ยวนี้เขายังทำกันทุกวัน ความเป็นดังนี้ !
เรื่องพระพิมพ์นี้มีประวัติว่า กาลครั้งหนึ่ง พระมหาเถรองค์ใดองค์หนึ่ง อันเป็นที่นับถือของชาวเมืองตายลง ฌาปนกิจศพเสร็จแล้วเขาก็เอาอัฐิธาตุโขลกลงในครกผสมดิน ตีพิมพ์รูปพระโพธิสัตว์สร้างอุทิศให้ไปเกิดเป็นพระโพธิสัตว์ เอาเรียงไว้ในถ้ำ ที่โขลกแล้วพิมพ์ใส่หม้อเรียงไว้และไม่เผา ทิ้งไว้ทั้งดิบ ๆ ที่เป็นเช่นนี้เพราะเขาถือว่าเผาครั้งหนึ่งแล้ว คือ เผาสรีระ จึงทำเป็นพระพิมพ์ดินดิบ ไม่ยอมเผาสองหนเพราะเป็นการเผาซ้ำ
ฝ่ายทางเหนือที่ทำดินสุกนั้นเป็นอีกประเพณีหนึ่ง คือประสงค์เพื่อปัญจอันตรธาน ว่าเมื่อสิ้นพระพุทธศาสนาแล้ว จะไม่มีใครรู้จักพระพุทธเจ้า จึงพิมพ์รูปพระพุทธเจ้าด้วยดิน เผาเก็บฝังไว้ใต้ดิน ในพระเจดีย์ ฯลฯ เพื่อให้คนชั้นหลังขุดพบจะได้รู้จักเป็นประโยชน์ต่างกันอย่างนี้ นี่คือเรื่องของพระพิมพ์