- คำนำ
- ๑. พระบรมธาตุ
- ๒. การสร้างพระบรมรูปพระเจ้าแผ่นดินไทย
- ๓. ตัวอักษรไทย
- ๔. การวินิจฉัยเมืองโบราณ
- ๕. การเรียกพระนามพระเจ้าแผ่นดิน
- ๖. โลหปราสาทวัดราชนัดดา
- ๗. หลักการเรียนพงศาวดาร
- ๘. สร้างกรุงศรีอยุธยา
- ๙. คำว่า “มหาราช
- ๑๐. ขุนหลวงตากเป็นบ้าหรือ ?
- ๑๑. “เงินตราสยาม”
- ๑๒. เฟี้สคิงและสกันด์คิง
- ๑๓. ศาลาสหทัยสมาคม
- ๑๔. มนุษย์พวกจาม
- ๑๕. พระพุทธศาสนามหายานและหีนยาน
- ๑๖. สร้างวัดพระเชตุพน
- ๑๗. จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย
- ๑๘. ยิงปืนบอกเวลา
- ๑๙. สวมเสื้อเข้าเฝ้า
- ๒๐. การสร้างพระโต
- ๒๑. กรมนาฬิกาและทุ่มโมง
- ๒๒. ฝิ่นเมืองเชียงตุง
- ๒๓. หลักเมือง
- ๒๔. พระสยามเทวาธิราช พระเสื้อเมือง พระทรงเมือง ฯลฯ
- ๒๕. สถานที่ประหารชีวิตในกรุงเทพฯ
- ๒๖. พระพิมพ์ดินดิบดินเผา
- ๒๗. สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ
- ๒๘. วัดสุวรรณดาราราม
- ๒๙. ทำนาท้องสนามหลวง
- ๓๐. พระนิรันตราย และ พระนิโรคันตราย
- ๓๑. การบรรจุพระอัฐิและพระบรมอัฐิ
- ๓๒. คำว่าโอรส ราชบุตร หน่อพระพุทธเจ้า
- ๓๓. การสร้างนครวัดจำลอง
- ๓๔. เชียงราก
- ๓๕. เหตุที่วัดพระเชตุพนเป็นที่ตั้งกระบวนแห่ต่าง ๆ
- ๓๖. หยกรูเซีย
- ๓๗. ตึกพระเจ้าเหา
- ๓๘. วัดสุทัศน์
- ๓๙. เครื่องต้น
- ๔๐. เครื่องแต่งกายไทย
- ๔๑. มูลเหตุแห่งความหายนะของพะม่า
- ๔๒. วัดเจดีย์เจ็ดยอด
- ๔๓. พระมหาปราสาท
- ๔๔. พระอาจารย์อินโข่ง
- ๔๕. บานประตูมุกด์ เก๋งพระนารายณ์ และศาลพระภูมิ ในพระบรมมหาราชวัง
- ๔๖. แปลร้อย และร้อยแก้ว
- ๔๗. พระนาคปรก
- ๔๘. เรียกพระเจ้าแผ่นดินว่า เจ้าช้าง
- ๔๙. ชาวอินเดียที่ไปมาค้าขายในสมัยโบราณ
การเรียกพระนามพระเจ้าแผ่นดิน
เหตุ ที่จะถามปัญหานี้เนื่องจากรู้สึกว่าการเรียกพระนามพระเจ้าแผ่นดินไทยนั้นสับสนมาก มีเรียกกันหลายอย่าง น่าจะมีหลักเกณฑ์อันใดอยู่บ้าง
ปัญหา การเรียกพระนามพระเจ้าแผ่นดินไทยแต่โบราณมาจนทุกวันนี้นั้นมีหลักเกณฑ์อย่างไร
ตอบ การเรียกพระนามพระเจ้าแผ่นดินไทย พะม่า มอญ มีวิธีเรียกคล้ายคลึงกัน อาจจำแนกออกเป็น ๑๐ อย่างด้วยกัน คือ
๑. เรียกเวลาดำรงพระชนม์อยู่ โดยมากข้าแผ่นดินเรียกว่า ขุนหลวง พระเป็นเจ้า เจ้าชีวิต พระเจ้าแผ่นดิน ในหลวง ฯลฯ ในบานแผนกกฎหมายใช้ พระบาทสมเด็จบรมบพิตร พระพุทธเจ้าอยู่หัว
๒. เรียกตามชื่อเมืองที่ปกครอง โดยมากชาวเมืองอื่นเรียกว่า พระเจ้าอู่ทอง พระเจ้ากรุงศรีอยุธยา พระเจ้าเชียงใหม่ พระเจ้าหงสาวดี พระเจ้าอังวะ พระเจ้ากรุงสยาม
๓. เรียกตามพระนามเดิม โดยมากชาวพื้นเมืองเรียกว่าพระร่วง พระยาอู่ พระเจ้ามังลอง พระเจ้ามังระ ฯลฯ
๔. เรียกตามพระนามในพระสุพรรณบัตรว่า พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหามกุฎสุทธสมมติเทพย์พงศ์ วงษาดิศวรกษัตริย์ วรขัตติย ราชนิกรโรดม จาตุสันตมหาจักรพรรดิราชสังเทศบรมธรรมิกราชมหาราชาธิราช บรมนาถบรมบพิตร พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
๕. เรียกตามพระนามที่ถวายแต่ต้นราชวงศ์ว่า พระรามาธิบดี พระสรรเพชญ์ พระมหาธรรมราชา พระบรมราชา ฯลฯ ที่ ๑, ๒, ๓ ตามลำดับ
๖. เรียกในราชการเมื่อล่วงรัชกาลแล้วว่า พระบรมโกศ พระพุทธเจ้าหลวง และสมเด็จพระอัยยกาโดยลำดับ
๗. เรียกตามปากตลาดเมื่อล่วงรัชกาลแล้วว่า ขุนหลวงเสือ ขุนหลวงทรงปลา ขุนหลวงหาวัด ขุนหลวงขี้เรื้อน และพระเจ้าเชลยตองอู
๘. เรียกพิเศษเพิ่มพระเกียรติยศว่า พระเจ้าช้างเผือก พระมหาจักรพรรดิ พระบรมไตรโลกนาถ พระเจ้าทรงธรรม พระนเรศวร์ พระนารายณ์ พระปิยมหาราช ฯลฯ
๙. เรียกตามลำดับก่อนหลังในราชวงศ์ว่า แผ่นดินต้น แผ่นดินกลาง ฯลฯ
๑๐. เรียกตามนามพระพุทธรูปที่สร้างขึ้นอุทิศถวายว่า พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกย์ และ พระพุทธเลิศหล้านภาลัย