- คำนำ
- ๑. พระบรมธาตุ
- ๒. การสร้างพระบรมรูปพระเจ้าแผ่นดินไทย
- ๓. ตัวอักษรไทย
- ๔. การวินิจฉัยเมืองโบราณ
- ๕. การเรียกพระนามพระเจ้าแผ่นดิน
- ๖. โลหปราสาทวัดราชนัดดา
- ๗. หลักการเรียนพงศาวดาร
- ๘. สร้างกรุงศรีอยุธยา
- ๙. คำว่า “มหาราช
- ๑๐. ขุนหลวงตากเป็นบ้าหรือ ?
- ๑๑. “เงินตราสยาม”
- ๑๒. เฟี้สคิงและสกันด์คิง
- ๑๓. ศาลาสหทัยสมาคม
- ๑๔. มนุษย์พวกจาม
- ๑๕. พระพุทธศาสนามหายานและหีนยาน
- ๑๖. สร้างวัดพระเชตุพน
- ๑๗. จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย
- ๑๘. ยิงปืนบอกเวลา
- ๑๙. สวมเสื้อเข้าเฝ้า
- ๒๐. การสร้างพระโต
- ๒๑. กรมนาฬิกาและทุ่มโมง
- ๒๒. ฝิ่นเมืองเชียงตุง
- ๒๓. หลักเมือง
- ๒๔. พระสยามเทวาธิราช พระเสื้อเมือง พระทรงเมือง ฯลฯ
- ๒๕. สถานที่ประหารชีวิตในกรุงเทพฯ
- ๒๖. พระพิมพ์ดินดิบดินเผา
- ๒๗. สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ
- ๒๘. วัดสุวรรณดาราราม
- ๒๙. ทำนาท้องสนามหลวง
- ๓๐. พระนิรันตราย และ พระนิโรคันตราย
- ๓๑. การบรรจุพระอัฐิและพระบรมอัฐิ
- ๓๒. คำว่าโอรส ราชบุตร หน่อพระพุทธเจ้า
- ๓๓. การสร้างนครวัดจำลอง
- ๓๔. เชียงราก
- ๓๕. เหตุที่วัดพระเชตุพนเป็นที่ตั้งกระบวนแห่ต่าง ๆ
- ๓๖. หยกรูเซีย
- ๓๗. ตึกพระเจ้าเหา
- ๓๘. วัดสุทัศน์
- ๓๙. เครื่องต้น
- ๔๐. เครื่องแต่งกายไทย
- ๔๑. มูลเหตุแห่งความหายนะของพะม่า
- ๔๒. วัดเจดีย์เจ็ดยอด
- ๔๓. พระมหาปราสาท
- ๔๔. พระอาจารย์อินโข่ง
- ๔๕. บานประตูมุกด์ เก๋งพระนารายณ์ และศาลพระภูมิ ในพระบรมมหาราชวัง
- ๔๖. แปลร้อย และร้อยแก้ว
- ๔๗. พระนาคปรก
- ๔๘. เรียกพระเจ้าแผ่นดินว่า เจ้าช้าง
- ๔๙. ชาวอินเดียที่ไปมาค้าขายในสมัยโบราณ
ยิงปืนบอกเวลา
ปัญหา การยิงปืนบอกเวลาเที่ยงนั้นมีมาแต่ครั้งใด ? ได้แบบอย่างมาแต่ไหน ?
ตอบ เรื่องยิงปืนบอกเวลานี้มีมานานแล้ว เดิมทีเดียวที่ป้อมมุมพระราชวัง มีปืนใหญ่ประจุอยู่สี่ป้อมเสมอ ป้อมละกระบอก เป็นปืนสัญญา ตามที่เห็นด้วยตาตนเองนั้นมีอยู่กระบอกหนึ่งที่ป้อมมุมวัดพระเชตุพน ปืนนั้นถึงเวลาพระอาทิตย์ขึ้นเช้าตรู่ยิงทุกวัน กล่าวกันเป็นสองนัย นัยหนึ่งว่าเป็นการเปลี่ยนดินปืน แต่ว่าตามความคิดเห็นว่าที่จริงนั้นเป็นสัญญาณเปิดประตูวังที่ปิดเพื่อลดหย่อนการพิทักษ์รักษาพระราชวังในเวลากลางคืน ที่ยิงปืนนั้นเพื่อให้ได้ยินพร้อมกันทุกด้าน อีกนัยหนึ่งนั้นเป็นสัญญาณบอกเมื่อไฟไหม้ ถ้าไฟไหม้นอกพระนครยิงนัดเดียว ถ้าไฟไหม้ในพระนครยิงสามนัด ถ้าไหม้ในพระราชวังยิงต่อ ๆ ไปหลายนัดจนไฟดับจึงหยุด เป็นธรรมเนียมดังนี้
มีธรรมเนียมอีกอย่างหนึ่งเป็นของคู่กันที่เป็นส่วนสำหรับพระนครเข้าใจว่าได้มาจากเมืองจีน ไทยเรามีมาแล้วแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา แม้เรื่องยิงปืนก็คงมีมาก่อนแต่ครั้งกรุงเก่า ประเพณีของพระนครที่คู่ไปกับยิงปืนก็คือตีกลอง เดิมมีหอกลองอยู่ที่หน้าวัดพระเชตุพนหอหนึ่งเป็นสามชั้น แขวนกลองสามใบใหญ่และย่อมขึ้นเป็นลำดับกัน กลองใบใหญ่อยู่ชั้นล่าง เรียกชื่อว่าย่ำพระสุรศรี สำหรับตีเวลาพระอาทิตย์ตกเป็นสัญญาณให้ปิดประตูพระนคร ใบชั้นกลางชื่ออัคคีพินาศสำหรับตีเมื่อเกิดไฟไหม้เป็นสัญญาณเรียกราษฎรให้ช่วยกันดับไฟ ดูเหมือนมีกำหนดว่าไฟไหม้นอกพระนครตีสามครั้ง ถ้าไฟไหม้ในพระนครตีมากกว่านั้น กลองใบยอดชื่อพิฆาตไพรินทร์ ตีให้รู้ว่ามีข้าศึกมาประชิดติดพระนคร ทุกคนต้องมาพร้อมกันช่วยรักษาหน้าที่
มูลเหตุของการยิงปืนเที่ยงนั้นจำได้อยู่ว่า แรกเราไปได้ยินอังกฤษเขายิงสัญญาที่เมืองสิงคโปร์สำหรับให้คนตั้งนาฬิกา ไทยเราไปเห็นเข้าอยากจะให้มีปืนเที่ยงที่กรุงเทพบ้าง ดูเหมือนจะโปรดให้ทหารเรือยิ่งขึ้นที่ตำหนักแพก่อน
ครั้นกรมหลวงประจักษ์ศิลปาคมจัดทหารปืนใหญ่มีขึ้นในทหารล้อมวังแล้ว จึงขอหน้าที่ยิงปืนเที่ยงมาให้ทหารปืนใหญ่ล้อมวัง ยิงที่ป้อมทัศนากรอยู่ระยะหนึ่งแล้วจึงกลับไปเป็นหน้าที่ของทหารเรืออีก ปืนเที่ยงยิงมาจนมีไฟฟ้า โรงไฟฟ้ารับขยิบตาเวลาสองทุ่มเป็นสัญญานตั้งนาฬิกาแทน