เดือน ๘ จุลศักราช ๑๒๖๖

วัน ๒ ๘ ค่ำ ปีมะโรง ๑๒๖๖

วันที่ ๑๓ มิถุนายน รัตนโกสินทร๓๗ศก ๑๒๓

เวลาค่ำ เสด็จออกพระที่นั่งอภิเศกดุสิต แล้วประทับที่ประชุม

วัน ๓ ๘ ค่ำ ปีมะโรง ๑๒๖๖

วันที่ ๑๔ มิถุนายน รัตนโกสินทร๓๗ศก ๑๒๓

เวลาค่ำเสด็จออกพระที่นั่งวิมานเมฆ แล้วประทับที่ประชุม

วัน ๕ ๘ ค่ำ ปีมะโรง ๑๒๖๖

วันที่ ๑๖ มิถุนายน รัตนโกสินทร๓๗ศก ๑๒๓

เวลาเช้า เสด็จออกทรงฉายพระบรมรูปที่น่าพระที่นั่งวิมานเมฆ เวลาค่ำเสด็จออกสวนแง่เต๋ง แล้วเสด็จกลับเข้าพระบรมมหาราชวัง ประทับที่ประชุม

วัน ๖ ๘ ค่ำ ปีมะโรง ๑๒๖๖

วันที่ ๑๗ มิถุนายน รัตนโกสินทร๓๗ศก ๑๒๓

เวลาค่ำ เสด็จออกมุขตวันออกพระที่นั่งจักรกรี

วัน ๗ ๘ ค่ำ ปีมะโรง ๑๒๖๖

วันที่ ๑๘ มิถุนายน รัตนโกสินทร๓๗ศก ๑๒๓

เวลาบ่าย ๕ โมงเสศ เสด็จออกขุนนางน่าห้องราชองครักษ์ แล้วทรงรถประพาส

วัน ๑ ๘ ค่ำ ปีมะโรง ๑๒๖๖

วันที่ ๑๙ มิถุนายน รัตนโกสินทร๓๗ศก ๑๒๓

เสด็จพระปฐมเจดีย์ เปนการไปรเวต

วัน ๒ ๘ ค่ำ ปีมะโรง ๑๒๖๖

วันที่ ๒๐ มิถุนายน รัตนโกสินทร๓๗ศก ๑๒๓

เวลาค่ำ เสด็จออกในการหล่อเทียนพรรษา แล้วประทับประชุมที่พระที่นั่งราชกรันยสภา

วัน ๔ ๑๐ ๘ ค่ำ ปีมะโรง ๑๒๖๖

วันที่ ๒๒ มิถุนายน รัตนโกสินทร๓๗ศก ๑๒๓

เวลาบ่าย เสด็จออกน่าห้องราชองครักษ์ แล้วเสด็จสวน เวลาค่ำเสด็จกลับ

วัน ๕ ๑๑ ๘ ค่ำ ปีมะโรง ๑๒๖๖

วันที่ ๒๓ มิถุนายน รัตนโกสินทร๓๗ศก ๑๒๓

วันนี้เปนวันที่จะเสด็จไปประทับแรม ณ พระราชวังบางปอิน เวลา ๒ โมง ๔๕ นาที ได้เสด็จจากพระบรมมหาราชวังไปขึ้นรถพระที่นั่งพ่วง รถไฟพิเศษที่สเตชั่น รถไฟสายนครราชสีมา รถไฟได้ใช้จักรออกจากสเตชั่นนี้ บ่าย ๓ โมง ๗ นาที ถึงสเตชั่นบางปอิน บ่าย ๔ โมง ๓๕ นาที ที่สเตชั่นมีสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช กรมหลวงดำรงกับข้าราชการที่ล่วงน่า แลข้าราชการมณฑลกรุงเก่ามาคอยเฝ้ารับเสด็จ ครั้นเสด็จลงจากรถพระที่นั่งแล้ว ได้มีพระสวดชยันโต แลมีพิณ แลแตรกองทหารรับเสด็จ แลพระยาโบราณ ได้ทูลเกล้า ฯ ถวายพระแสงสำหรับเมืองตามเคย แล้วเสด็จมาลงเรือพระที่นั่งแจวที่ท่าน้ำหลังสเตชั่น ที่ท่าน้ำนี้มีเจ้าฟ้ากรมขุนนครสวรรค์ แลพระองค์อาภากร รับเสด็จอยู่ ณ เรือพระที่นั่ง แล้วเรือพระที่นั่งได้แจวออกคลองราชดำริห์ มาประทับที่ท่าน้ำพระที่นั่งวโรภาศ เสด็จขึ้นบนพระที่นั่งวโรภาศ ประทับแรมในพระราชวังนี้

วัน ๗ ๑๓ ๘ ค่ำ ปีมะโรง ๑๒๖๖

วันที่ ๒๕ มิถุนายน รัตนโกสินทร๓๗ศก ๑๒๓

เวลาย่ำค่ำเสศ เสด็จออกทางพระที่นั่งวโรภาศ ประทับที่ท่าน้ำน่าพระที่นั่ง เสด็จขึ้นเวลา ๒ ทุ่มเสศ

วัน ๑ ๑๔ ๘ ค่ำ ปีมะโรง ๑๒๖๖

วันที่ ๒๖ มิถุนายน รัตนโกสินทร๓๗ศก ๑๒๓

เวลา ๑ ทุ่มเสศ เสด็จออกน่าพระที่นั่งวโรภาศ หมออาดัมซัน กับพระยาภักดีมาเฝ้า มีพระราชดำรัสด้วยแล้ว เสด็จไปประทับที่ตะพานน้ำน่าพระที่นั่ง

วัน ๓ ๘ ค่ำ ปีมะโรง ๑๒๖๖

วันที่ ๒๘ มิถุนายน รัตนโกสินทร๓๗ศก ๑๒๓

เวลาย่ำค่ำเสศ เสด็จออกประทับตะพานน้ำน่าพระที่นั่งวโรภาศพิมาน เวลา ๒ ทุ่มเสด็จขึ้น

วัน ๕ ๘ ค่ำ ปีมะโรง ๑๒๖๖

วันที่ ๓๐ มิถุนายน รัตนโกสินทร๓๗ศก ๑๒๓

เวลาราวย่ำค่ำเสด็จออกประทับตะพานน้ำน่าพระที่นั่งวโรภาศ เวลาราว ๑ ทุ่ม เสด็จขึ้น

วัน ๗ ๘ ค่ำ ปีมะโรง ๑๒๖๖

วันที่ ๒ กรกฎาคม รัตนโกสินทร๓๗ศก ๑๒๓

เวลาราวย่ำค่ำ เสด็จออกน่าพระที่นั่งวโรภาศแล้วเสด็จวัดนิเวศธรรมประวัติ เวลาราว ๑ ทุ่มเสด็จกลับมาประทับที่ท้องพระโรงพระที่นั่งวโรภาศ จนเวลา ๒ ทุ่มเสศเสด็จขึ้น

วัน ๔ ๘ ค่ำ ปีมะโรง ๑๒๖๖

วันที่ ๖ กรกฎาคม รัตนโกสินทร๓๗ศก ๑๒๓

เวลาบ่ายเสด็จออกน่าพระที่นั่งวโรภาศ เสด็จเกาะช้างเผือก แล้วกลับมาประทับตะพานน้ำน่าพระที่นั่งวโรภาศ แล้วเสด็จประทับในท้องพระโรงพระที่นั่งวโรภาศ เวลาราว ทุ่มหนึ่งเสด็จขึ้น

วัน ๖ ๑๑ ๘ ค่ำ ปีมะโรง ๑๒๖๖

วันที่ ๘ กรกฎาคม รัตนโกสินทร๓๗ศก ๑๒๓

เวลาย่ำค่ำ ๔๕ นาที เสด็จออกประทับตะพานน้ำน่าพระที่นั่งวโรภาศพิมาน แล้วเสด็จมาประทับที่ท้องพระโรงพระที่นั่งวโรภาศ เวลา ๒ ทุ่ม เสด็จขึ้น

อนึ่งวันนี้เปนดิถีคล้ายกับวันสวรรคตพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เวลาบ่ายเจ้าพนักงานได้เชิญพระบรมอัฐิ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย และพระบรมอัฐิกรมสมเด็จพระศรีสุริเยนทรามาตย์ ออกตั้งในพระที่นั่งดุสิต จัดการบำเพ็ญพระราชกุศลอย่างทุกปีมา

  1. 1. คือพระที่นั่งในหมู่พระมหาปราสาท ในพระบรมมหาราชวัง ปัจจุบันมีอยู่ ๔ องค์ คือ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท พระที่นั่งพิมานรัตยา พระที่นั่งราชกรัณยสภา และพระที่นั่งอาภรณ์พิโมกข์ปราสาท เฉพาะพระที่นั่งราชกรัณยสภา ตั้งอยู่ทางขวาพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๗ ใช้เป็นที่ประชุมเสนาบดี

  2. 2. ทางรถไฟสายแรกของไทย เรียกว่าทางรถไฟสายนครราชสีมา เมื่อสร้างถึงจังหวัดพระนครศรีอยุธยาจึงเปิดให้เดินรถก่อน

  3. 3. พระยาโบราณราชธานินทร์ (พร เตชะคุปต์) เทศาภิบาลมณฑลกรุงเก่า

  4. 4. พลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ พระนามเดิม พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ พระราชโอรสพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและเจ้าจอมมารดาโหมด รัชกาลที่ ๖ เป็นเสนาบดีกระทรวงทหารเรือ ต้นราชสกุล อาภากร

  5. 5. พระที่นั่งวโรภาศพิมาน เป็นพระที่นั่งทรงตึกก่ออิฐติดกำแพงอยู่ริมลำน้ำในเขตชั้นใน มีมุขยื่นออกมา ภายในเป็นท้องพระโรงสำหรับเสด็จออกขุนนาง และมีที่ประทับ สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๔๑๙ เป็นอาคาร ๒ ชั้น ปัจจุบันดัดแปลงรื้อเป็นชั้นเดียว

  6. 6. วัดนิเวศธรรมประวัติ เป็นพระอารามหลวงชั้นเอกประจำรัชกาลที่ ๕ อยู่ท้ายเกาะลอย หน้าพระราชวังบางปะอิน ตำบลบ้านเลน สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๔๑๕ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชศรัทธาให้เป็นจาตุรทิศสังฆิกาวาส และเป็นที่บำเพ็ญพระราชกุศลใกล้พระราชวังได้ โปรดให้จ้างช่าวชาวตะวันตกมาออกแบบก่อสร้างตามแบบพระอารามของชาวยุโรป ด้วยมีพระราชประสงค์เพื่อจะทรงบูชาพระพุทธศาสนาด้วยของแปลก ตลอดทั้งให้ประชาชนได้ชมเล่น ซึ่งไม่เคยมีในพระอารามใดมาก่อน สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพได้ผนวชและจำพรรษาอยู่ที่วัดนี้

แชร์ชวนกันอ่าน

แจ้งคำสะกดผิดและข้อผิดพลาด หรือคำแนะนำต่างๆ ได้ ที่นี่ค่ะ