เดือน ๔ จุลศักราช ๑๒๖๔

วัน ๕ ๔ ค่ำ ปีขาน ๑๒๖๔

วันที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ รัตนโกสินทร๓๕ศก ๑๒๑

ประทับแรมสวนดุสิต แลเสด็จไปพระราชทานเพลิงศพพระองค์เจ้าวัชรีวงษ ศพหม่อมเจ้าประภากร หม่อมเจ้าพลบ ที่เมรุวัดเทพศิรินทร

วัน ๑ ๔ ค่ำ ปีขาน ๑๒๖๔

วันที่ ๑ มีนาคม รัตนโกสินทร๓๕ศก ๑๒๑

เจ้าเชียงตุงเฝ้าในพระบรมมหาราชวัง แล้วประทับแรมสวนดุสิต

วัน ๕ ๔ ค่ำ ปีขาน ๑๒๖๔

วันที่ ๕ มีนาคม รัตนโกสินทร๓๕ศก ๑๒๑

ประทับแรมสวนดุสิต เวลาบ่ายเสด็จไปทอดพระเนตรที่ยิงเป้า ที่ตำบลบางซื่อ

วัน ๗ ๑๐ ๔ ค่ำ ปีขาน ๑๒๖๔

วันที่ ๗ มีนาคม รัตนโกสินทร๓๕ศก ๑๒๑

ประทับแรมสวนดุสิต ค่ำชักศพหม่อมเจ้าหญิงประวาศไปสู่เมรุ วัดเทพศิรินทร์

วัน ๑ ๑๑ ๔ ค่ำ ปีขาน ๑๒๖๔

วันที่ ๘ มีนาคม รัตนโกสินทร๓๕ศก ๑๒๑

บ่ายเสด็จพระราชทานเพลิง แล้วเสด็จประทับแรมสวนดุสิต แลแห่พระรามัญมุนี ไปอยู่วัดบางหลวงในเมืองประทุมธานี

วัน ๔ ๑๔ ๔ ค่ำ ปีขาน ๑๒๖๔

วันที่ ๑๑ มีนาคม รัตนโกสินทร๓๕ศก ๑๒๑

ประทับแรมสวนดุสิต แลถวายเครื่องบริขารขึ้นกุฎีแก่พระรามัญมุนี

วัน ๖ ๔ ค่ำ ปีขาน ๑๒๖๔

วันที่ ๑๓ มีนาคม รัตนโกสินทร๓๕ศก ๑๒๑

เสด็จพระราชดำเนินไปเปิดเมืองธัญบุรี แล้วเสด็จกลับประทับแรมสวน

ดุสิต

วัน ๔ ๔ ค่ำ ปีขาน ๑๒๖๔

วันที่ ๑๘ มีนาคม รัตนโกสินทร๓๕ศก ๑๒๑

เสด็จประทับแรมสวนดุสิต

เวลาบ่ายเสด็จเข้ามาประพาศในพระบรมมหาราชวัง

วัน ๑ ๑๐ ๔ ค่ำ ปีขาน ๑๒๖๔

วันที่ ๒๒ มีนาคม รัตนโกสินทร๓๕ศก ๑๒๑

เสด็จประทับแรมสวนดุสิต

ที่กระทรวงนครบาล มีการรื่นเริงรับสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช

วัน ๒ ๑๑ ๔ ค่ำ ปีขาน ๑๒๖๔

วันที่ ๒๓ มีนาคม รัตนโกสินทร๓๕ศก ๑๒๑

เสด็จประทับแรมสวนดุสิต

แลเริ่มต้นการพระราชพิธีสัมพัจฉรฉินทร แลเกษากันต์หม่อมเจ้ารวม ๑๒ องค์ที่ดุสิต

วัน ๓ ๑๒ ๔ ค่ำ ปีขาน ๑๒๖๔

วันที่ ๒๔ มีนาคม รัตนโกสินทร๓๕ศก ๑๒๑

เสด็จประทับแรมสวนดุสิต

มีการพระราชพิธีสัมพัจฉรฉินทร์

วัน ๔ ๑๓ ๔ ค่ำ ปีขาน ๑๒๖๔

วันที่ ๒๕ มีนาคม รัตนโกสินทร๓๕ศก ๑๒๑

เสด็จประทับแรมสวนดุสิต

มีการพระราชพิธีสัมพัจฉรฉินท์

วัน ๕ ๑๔ ๔ ค่ำ ปีขาน ๑๒๖๔

วันที่ ๒๖ มีนาคม รัตนโกสินทร๓๕ศก ๑๒๑

เสด็จประทับแรมสวนดุสิต

เปนวันเกษากันต์

  1. 1. พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวัชรีวงศ์ พระนามเดิมหม่อมเจ้าชายขาว พระองค์เจ้าหลานเธอในรัชกาลที่ ๒ พระโอรส พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระเทเวศรวัชรินทร ได้รับการสถาปนาเป็นพระองค์เจ้าในรัชกาลที่ ๕ ทรงรับราชการตำแหน่งผู้พิพากษาศาลฎีกา

  2. 2. เจ้าเชียงตุง เจ้าเมืองไทยใหญ่ เมืองเชียงตุงมีอาณาเขตติดต่อระหว่างประเทศไทย จีน พม่า และลาว

  3. 3. ตำแหน่งพระราชาคณะฝ่ายรามัญ

  4. 4. เดิมเป็นป่าพง เรียกว่าทุ่งหลวง อยู่ในเมืองปทุมธานี เมื่อขุดคลองรังสิตประยูรศักดิ์เมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๓ มีราษฎรไปทำมาหากินมาก จึงตั้งขึ้นเป็นจังหวัดธัญญบุรี เมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๕ ต่อมายุบเป็นอำเภอขึ้นจังหวัดปทุมธานี

  5. 5. กระทรวงนครบาล เดิมมีหน้าที่บังคับบัญชาการตำรวจ ควบคุมบัญชีคนของกรมสุรัสวดี และดูแลคนโทษ ตั้งเป็นกระทรวงเมื่อวันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๓๕ ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และได้ยุบรวมขึ้นกับกระทรวงมหาดไทย ในรัชกาลที่ ๖ เมื่อวันที่ ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๖๕

  6. 6. พระราชพิธีสัมพัจฉรฉินท์ เป็นพระราชพิธีทำบุญปีใหม่สมัยก่อน ประกอบขึ้นในเดือน ๔ เริ่มตั้งแต่แรม ๑๑ ค่ำ ถึง ๑๕ ค่ำ พระราชพิธีมีทั้งพิธีสงฆ์และพิธีพราหมณ์ พิธีสงฆ์จะสวดอาฏานาฏิยสูตร พิธีพราหมณ์มีการโหมกูณฑ์

แชร์ชวนกันอ่าน

แจ้งคำสะกดผิดและข้อผิดพลาด หรือคำแนะนำต่างๆ ได้ ที่นี่ค่ะ