- คำนำ
- เดือน ๒ จุลศักราช ๑๒๖๔
- เดือน ๓ จุลศักราช ๑๒๖๔
- เดือน ๔ จุลศักราช ๑๒๖๔
- เดือน ๕ จุลศักราช ๑๒๖๕
- เดือน ๖ จุลศักราช ๑๒๖๕
- เดือน ๗ จุลศักราช ๑๒๖๕
- เดือน ๘ จุลศักราช ๑๒๖๕
- เดือน ๙ จุลศักราช ๑๒๖๕
- เดือน ๑๐ จุลศักราช ๑๒๖๕
- เดือน ๑๑ จุลศักราช ๑๒๖๕
- เดือน ๑๒ จุลศักราช ๑๒๖๕
- เดือน ๑ จุลศักราช ๑๒๖๕
- เดือน ๒ จุลศักราช ๑๒๖๕
- เดือน ๓ จุลศักราช ๑๒๖๕
- เดือน ๔ จุลศักราช ๑๒๖๕
- เดือน ๕ จุลศักราช ๑๒๖๖
- เดือน ๖ จุลศักราช ๑๒๖๖
- เดือน ๗ จุลศักราช ๑๒๖๖
- เดือน ๘ จุลศักราช ๑๒๖๖
- เดือน ๘๘ จุลศักราช ๑๒๖๖
- เดือน ๙ จุลศักราช ๑๒๖๖
- เดือน ๑๐ จุลศักราช ๑๒๖๖
- เดือน ๑๑ จุลศักราช ๑๒๖๖
- เดือน ๑๒ จุลศักราช ๑๒๖๖
- เดือน ๑ จุลศักราช ๑๒๖๖
- ภาคผนวก ก เรื่อง การเปิดรถไฟเพ็ชรบุรี
- ภาคผนวก ข เรื่อง ข้าราชการเมืองแขกเฝ้าถวายต้นไม้ทองเงินเครื่องราชบรรณาการ
- ภาคผนวก ค การขึ้นกุฏิใหม่แห่งสมเด็จพระวันรัต และการขึ้นกุฏิใหม่แห่งพระสงฆ์สามเณรประจำปี
- ภาคผนวก ง รายงานการสร้างถนนราชดำเนินนอก
- ภาคผนวก จ การเปิดสะพานเฉลิม ๕๐
- ภาคผนวก ฉ กรมทหารบกทูลเกล้า ฯ ถวายพระคทาจอมพลแลมีการสมโภช
- ภาคผนวก ช ประกาศกรมธนบัตร์
- ภาคผนวก ฌ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช มีการฉลองพระไชยเนาวโลหะที่วังสราญรมย์
- ภาคผนวก ญ พระราชพิธีมหามงคลการโสกันต์ แลพระราชทานพระสุพรรณบัตรเฉลิมพระนาม สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดช
- ภาคผนวก ฎ การเปิดรถไฟสายท่าจีน
เดือน ๑ จุลศักราช ๑๒๖๕
วัน ๖ ๘ฯ ๑ ค่ำ ปีเถาะ ๑๒๖๕
วันที่ ๒๗ พฤศจิกายน รัตนโกสินทร๓๖ศก ๑๒๒
พระเจ้านครเมืองน่าน แลเจ้านครลำพูน กราบถวายบังคมลา
แลมีการเจริญพระพุทธมนต์ ในการปิดศพพระองค์ประพาฬที่หอนิเพธ
วัน ๗ ๙ฯ ๑ ค่ำ ปีเถาะ ๑๒๖๕
วันที่ ๒๘ พฤศจิกายน รัตนโกสินทร๓๖ศก ๑๒๒
มีพระราชกุศลศราทพรตปิดศพพระองค์เจ้าประพาฬรัศมี
วัน ๒ ๑๑ฯ ๑ ค่ำ ปีเถาะ ๑๒๖๕
วันที่ ๓๐ พฤศจิกายน รัตนโกสินทร๓๖ศก ๑๒๒
เสด็จประทับแรมพระบรมมหาราชวัง
แลสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช มีการฉลองพระไชย๑ที่วังสราญรมย์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินไปทรงช่วยด้วย
วัน ๔ ๑๓ฯ ๑ ค่ำ ปีเถาะ ๑๒๖๕
วันที่ ๒ ธันวาคม รัตนโกสินทร๓๖ศก ๑๒๒
มีการนักขัตฤกษ์ ไหว้พระพุทธชินราช ประจำปีที่วัดเบ็ญจมบพิตร์๒ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินด้วย แล้วประทับแรมวังสวนดุสิต
วัน ๕ ๑๔ฯ ๑ ค่ำ ปีเถาะ ๑๒๖๕
วันที่ ๓ ธันวาคม รัตนโกสินทร๓๖ศก ๑๒๒
มีการนักขัตฤกษ์ไหว้พระพุทธชินราชที่วัดเบ็ญจมบพิตร์
แลเสด็จประทับแรมสวนดุสิต
วัน ๖ ๑๕ฯ ๑ ค่ำ ปีเถาะ ๑๒๖๕
วันที่ ๔ ธันวาคม รัตนโกสินทร๓๖ศก ๑๒๒
มีการนักขัตฤกษ์ไหว้พระพุทธชินราชที่วัดเบ็ญจมบพิตร์
แลพระสงฆ์สามเณรในวัดเบ็ญจมบพิตร์ ถวายไชยมงคลในการที่ได้มาอยู่วัดเบ็ญจมบพิตรครบ ๓ ปีเข้าวันนี้ แลเสด็จประทับแรมวังสวนดุสิต
วัน ๗ ๑ฯ ๑ ค่ำ ปีเถาะ ๑๒๖๕
วันที่ ๕ ธันวาคม รัตนโกสินทร๓๖ศก ๑๒๒
มีการนักขัตฤกษ์ไหว้พระพุทธชินราชที่วัดเบญจมบพิตร์ แลเสด็จประทับแรมวังสวนดุสิต
วัน ๑ ๒ฯ ๑ ค่ำ ปีเถาะ ๑๒๖๕
วันที่ ๖ ธันวาคม รัตนโกสินทร๓๖ศก ๑๒๒
มีการนักขัตฤกษกับไหว้พระพุทธชินราชประจำปี ที่วัดเบ็ญจมบพิตร์ แลทรงถวายผ้าจำพรรษาแก่พระสงฆ์สามเณรในวัดเบ็ญจมบพิตร กับสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (แสง)๓ วัดราชบุรณะถึงมรณะภาพ เสด็จประทับแรมวังสวนดุสิต
วัน ๒ ๓ฯ ๑ ค่ำ ปีเถาะ ๑๒๖๕
วันที่ ๗ ธันวาคม รัตนโกสินทร๓๖ศก ๑๒๒
มีการนักขัตฤกษ์ไหว้พระพุทธชินราชประจำปีที่วัดเบ็ญจมบพิตร แลพระราชทานรางวัลเทียนพระพุทธรูปที่ไปตั้ง เสด็จประทับแรมวังสวนดุสิต
วัน ๔ ๑๒ฯ ๑ ค่ำ ปีเถาะ ๑๒๖๕
วันที่ ๑๖ ธันวาคม รัตนโกสินทร๓๖ศก ๑๒๒
เสด็จประทับพระบรมมหาราชวัง
แลพระชยานันทมุนี๔ กับพระครูถานานุกรม ๓ รูป กราบถวายบังคมลงไปอยู่เมืองน่าน แลเปนวันที่พระชนมายุพระเจ้าบรมวงษเธอ พระองค์เจ้าแม้นเขียน๕ ครบ ๘๐ ปีในวันนี้
วัน ๕ ๑๓ฯ ๑ ค่ำ ปีเถาะ ๑๒๖๕
วันที่ ๑๗ ธันวาคม รัตนโกสินทร๓๖ศก ๑๒๒
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานพระราชหัตถเลขาพระราชทานพร แลพระราชทานต้นไม้ทองเงิน กับเงิน ๑๖๐๐ บาท แก่พระองค์เจ้าแม้นเขียนเปนส่วนทรงยินดีในสมัยที่พระชนมายุของพระองค์ท่านครบ ๘๐ ปี แลประทับแรมพระบรมมหาราชวัง
วัน ๖ ๑๔ฯ ๑ ค่ำ ปีเถาะ ๑๒๖๕
วันที่ ๑๘ ธันวาคม รัตนโกสินทร๓๖ศก ๑๒๒
เวลาบ่าย ๕ โมงเสศ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จออกน่าห้องราชองครักษ์ แล้วเสด็จพระราชดำเนินไปทอดพระเนตรสิ่งของที่จะจัดส่งไปแสดงพิพิธภัณฑ์เมืองเซนหลุย ณ พิพิธภัณฑ์สถาน แล้วประทับแรมพระบรมมหาราชวัง
-
1. ดูภาคผนวก ฌ ↩
-
2. งานนี้มีประจำปีตั้งแต่รัชกาลที่ ๕ และเลิกในรัชกาลที่ ๖ ↩
-
3. สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (แสง ปฺาทีป) เปรียญ ๗ ประโยค ↩
-
4. พระชยานันทมุนี ตำแหน่งสมณศักดิ์ของเมืองน่าน เป็นเจ้าคณะจังหวัด จำพรรษาอยู่วัดช้างค้ำวรวิหาร ↩
-
5. พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าแม้นเขียน พระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย และเจ้าจอมมารดาลูกจันทน์เล็ก ราชตระกูลชาวหลวงพระบาง พระชนมายุ ๙๐ พรรษา สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๖ ↩