- คำนำ
- เดือน ๒ จุลศักราช ๑๒๖๔
- เดือน ๓ จุลศักราช ๑๒๖๔
- เดือน ๔ จุลศักราช ๑๒๖๔
- เดือน ๕ จุลศักราช ๑๒๖๕
- เดือน ๖ จุลศักราช ๑๒๖๕
- เดือน ๗ จุลศักราช ๑๒๖๕
- เดือน ๘ จุลศักราช ๑๒๖๕
- เดือน ๙ จุลศักราช ๑๒๖๕
- เดือน ๑๐ จุลศักราช ๑๒๖๕
- เดือน ๑๑ จุลศักราช ๑๒๖๕
- เดือน ๑๒ จุลศักราช ๑๒๖๕
- เดือน ๑ จุลศักราช ๑๒๖๕
- เดือน ๒ จุลศักราช ๑๒๖๕
- เดือน ๓ จุลศักราช ๑๒๖๕
- เดือน ๔ จุลศักราช ๑๒๖๕
- เดือน ๕ จุลศักราช ๑๒๖๖
- เดือน ๖ จุลศักราช ๑๒๖๖
- เดือน ๗ จุลศักราช ๑๒๖๖
- เดือน ๘ จุลศักราช ๑๒๖๖
- เดือน ๘๘ จุลศักราช ๑๒๖๖
- เดือน ๙ จุลศักราช ๑๒๖๖
- เดือน ๑๐ จุลศักราช ๑๒๖๖
- เดือน ๑๑ จุลศักราช ๑๒๖๖
- เดือน ๑๒ จุลศักราช ๑๒๖๖
- เดือน ๑ จุลศักราช ๑๒๖๖
- ภาคผนวก ก เรื่อง การเปิดรถไฟเพ็ชรบุรี
- ภาคผนวก ข เรื่อง ข้าราชการเมืองแขกเฝ้าถวายต้นไม้ทองเงินเครื่องราชบรรณาการ
- ภาคผนวก ค การขึ้นกุฏิใหม่แห่งสมเด็จพระวันรัต และการขึ้นกุฏิใหม่แห่งพระสงฆ์สามเณรประจำปี
- ภาคผนวก ง รายงานการสร้างถนนราชดำเนินนอก
- ภาคผนวก จ การเปิดสะพานเฉลิม ๕๐
- ภาคผนวก ฉ กรมทหารบกทูลเกล้า ฯ ถวายพระคทาจอมพลแลมีการสมโภช
- ภาคผนวก ช ประกาศกรมธนบัตร์
- ภาคผนวก ฌ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช มีการฉลองพระไชยเนาวโลหะที่วังสราญรมย์
- ภาคผนวก ญ พระราชพิธีมหามงคลการโสกันต์ แลพระราชทานพระสุพรรณบัตรเฉลิมพระนาม สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดช
- ภาคผนวก ฎ การเปิดรถไฟสายท่าจีน
เดือน ๓ จุลศักราช ๑๒๖๔
วัน ๕ ๒ฯ ๓ ค่ำ ปีขาน ๑๒๖๔
วันที่ ๒๙ มกราคม รัตนโกสินทร๓๕ศก ๑๒๑
สมเด็จพระบรมโอรส๑ เสด็จกลับจากประเทศยุโรปเวลาค่ำ มีการสวดมนต์ที่วังสราญรมย์๒
วัน ๑ ๕ฯ ๓ ค่ำ ปีขาน ๑๒๖๔
วันที่ ๑ กุมภาพันธ์ รัตนโกสินทร๓๕ศก ๑๒๑
มีเลี้ยงพระราชทานเปนพระเกียรติยศ แก่ สมเด็จพระบรมโอรส ที่พระที่นั่งมูลสถาน เปนการเลี้ยงในพระราชวงษ์
วัน ๒ ๖ฯ ๓ ค่ำ ปีขาน ๑๒๖๔
วันที่ ๒ กุมภาพันธ์ รัตนโกสินทร๓๕ศก ๑๒๑
มีเลี้ยงพระราชทานเปนพระเกียรติยศแด่สมเด็จพระบรมโอรส ที่ท้องพระโรงกลาง
วัน ๗ ๑๑ฯ ๓ ค่ำ ปีขาน ๑๒๖๔
วันที่ ๗ กุมภาพันธ์ รัตนโกสินทร๓๕ศก ๑๒๑
เสด็จออกประพาศตามธรรมดา แลกรมยุทธนา๓ มีการรื่นเริงรับสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช
วัน ๑ ๑๒ฯ ๓ ค่ำ ปีขาน ๑๒๖๔
วันที่ ๘ กุมภาพันธ์ รัตนโกสินทร๓๕ศก ๑๒๑
เสด็จประทับแรมสวนดุสิต๔ แลที่กระทรวงกระลาโหม มีการรื่นเริงรับสมเด็จพระบรมโอรส
วัน ๒ ๑๓ฯ ๓ ค่ำ ปีขาน ๑๒๖๔
วันที่ ๙ กุมภาพันธ์ รัตนโกสินทร๓๕ศก ๑๒๑
กรมยุทธนา มีการรื่นเริงรับสมเด็จพระบรมโอรสต่อการที่ทำมาแล้ว เมื่อวันที่ ๗ กุมภาพันธ์ ๑๒๑
ประทับแรมสวนดุสิต
วัน ๓ ๑๔ฯ ๓ ค่ำ ปีขาน ๑๒๖๔
วันที่ ๑๐ กุมภาพันธ์ รัตนโกสินทร๓๕ศก ๑๒๑
ประทับแรมสวนดุสิต
วัน ๗ ๓ฯ ๓ ค่ำ ปีขาน ๑๒๖๔
วันที่ ๑๔ กุมภาพันธ์ รัตนโกสินทร๓๕ศก ๑๒๑
เสด็จประทับแรมวังสวนดุสิต ที่วังสมเด็จกรมพระภาณุพันธุวงศ์วรเดช๕ มีการราตรีสโมสร รับเสด็จสมเด็จพระบรมโอรส
วัน ๑ ๔ฯ ๓ ค่ำ ปีขาน ๑๒๖๔
วันที่ ๑๕ กุมภาพันธ์ รัตนโกสินทร๓๕ศก ๑๒๑
มีการสวดฉลองโรงเรียนที่วัดอรุณ๖ แลสวดมนต์ถวายผ้าจำนำพรรษาด้วย
วัน ๒ ๕ฯ ๓ ค่ำ ปีขาน ๑๒๖๔
วันที่ ๑๖ กุมภาพันธ์ รัตนโกสินทร๓๕ศก ๑๒๑
สวดมนต์ในการถวายผ้าจำพรรษา ที่วัดราชโอรส
วัน ๓ ๖ฯ ๓ ค่ำ ปีขาน ๑๒๖๔
วันที่ ๑๗ กุมภาพันธ์ รัตนโกสินทร๓๕ศก ๑๒๑
สวดมนต์ในการถวายผ้าจำพรรษา วัดราชประดิฐ๗
วัน ๔ ๗ฯ ๓ ค่ำ ปีขาน ๑๒๖๔
วันที่ ๑๘ กุมภาพันธ์ รัตนโกสินทร๓๕ศก ๑๒๑
สวดมนต์ในการถวายผ้าจำพรรษา วัดราชบพิธ
วัน ๖ ๙ฯ ๓ ค่ำ ปีขาน ๑๒๖๔
วันที่ ๒๐ กุมภาพันธ์ รัตนโกสินทร๓๕ศก ๑๒๑
ประทับแรมสวนดุสิต เริ่มต้นไล่พระปริยัติธรรม๘ ณ วัดพระศรีสาศดาราม
แลเสด็จมาทรงฟังด้วย
-
1. พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงศึกษา ณ ประเทศอังกฤษเป็นเวลา ๙ ปี เมื่อจะเสด็จกลับประเทศไทย ทรงได้รับมอบหมายให้เสด็จเยี่ยมเยียนราชสำนักยุโรป ประเทศอเมริกา และญี่ปุ่น ในฐานะสยามมกุฎราชกุมารแห่งกรุงสยาม เมื่อเสด็จถึงประเทศไทย ขณะนั้นพระชนมพรรษา ๒๒ ปี ↩
-
2. วังสราญรมย์ ตั้งอยู่ถนนสนามชัย เยื้องพระบรมมหาราชวังด้านทิศตะวันออกเป็นที่ประทับส่วนพระองค์ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว หลังจากทรงลาผนวชแล้ว เมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๗ เป็นสถานที่สำคัญที่เกิดสโมสรทวีปัญญา ↩
-
3. กรมยุทธนาธิการ ตั้งขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๓๔ มีหน้าที่เกี่ยวกับการทหาร ปัจจุบันคือกองบัญชาการทหารสูงสุดของกองทัพไทย ↩
-
4. พระราชวังสวนดุสิต สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๑ ตั้งอยู่ระหว่างคลองผดุงกรุงเกษม และคลองสามเสน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้สร้างเพื่อขยายเขตพระนคร ด้วยภายในพระบรมมหาราชวัง เป็นที่อัดแอ คับแคบ และร้อนจัดในฤดูร้อน ทรงจำแบบอย่างการก่อสร้างมาจากราชสำนักของยุโรป เมื่อเสด็จประพาสครั้งที่ ๑ พ.ศ. ๒๔๔๐ โดยปลูกต้นไม้ให้ร่มรื่นเป็นส่วนใหญ่ ↩
-
5. จอมพลสมเด็จพระราชปิตุลา บรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าฯ กรมพระยาภาณุพันธุวงศวรเดช พระนามเดิม สมเด็จเจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ ต้นราชสกุลภาณุพันธ์ ทรงสร้างวังบูรพาภิรมย์เป็นที่ประทับอยู่บริเวณสามยอด เมื่อประมาณ พ.ศ. ๒๔๘๐ ทายาทได้ขายทอดตลาดวังและถูกรื้อลงเพื่อก่อสร้างอาคารพานิชย์ปัจจุบัน ↩
-
6. คือวัดอรุณราชวราราม ในรัชกาลที่ ๕ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ จัดการศึกษาของชาติ โดยเบื้องต้นกำหนดให้วัดหลวงทั่วไปเป็นสถานจัดการสอนหนังสือแก่เด็ก วิชาที่สอนได้แก่ ภาษาไทย คัดลายมือ และวิชาเลขคณิต ↩
-
7. วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม ↩
-
8. พระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาท จะรักษาพระไตรปิฎกไว้ในภาษาบาลี พระภิกษุสามเณรจึงต้องศึกษาภาษาบาลีเพื่อสืบอายุพระพุทธศาสนาเป็นสำคัญ และพระเจ้าแผ่นดินผู้เป็นพุทธศาสนูปถัมภก จะทะนุบำรุงการเล่าเรียนพระปริยัติธรรม ยกย่องพระสงฆ์ สามเณร แต่งตั้งให้มีสมณศักดิ์เป็นผู้มีคุณวุฒิสูงขึ้น (ในสังฆมณฑล) โดยการสอบ “ปริยัติธรรม” หรือ “การแปลหนังสือ” กำหนดหลักสูตรไว้ ๙ ประโยค การสอบในปีหนึ่งๆ เคยกำหนดสอบ ณ วัดที่สถิตของสมเด็จพระสังฆราช หากคราวใดทรงพระราชศรัทธาจะทรงฟัง จึงโปรดให้เข้ามาประชุมสอบในพระบรมมหาราชวัง ↩