- คำนำ
- เดือน ๒ จุลศักราช ๑๒๖๔
- เดือน ๓ จุลศักราช ๑๒๖๔
- เดือน ๔ จุลศักราช ๑๒๖๔
- เดือน ๕ จุลศักราช ๑๒๖๕
- เดือน ๖ จุลศักราช ๑๒๖๕
- เดือน ๗ จุลศักราช ๑๒๖๕
- เดือน ๘ จุลศักราช ๑๒๖๕
- เดือน ๙ จุลศักราช ๑๒๖๕
- เดือน ๑๐ จุลศักราช ๑๒๖๕
- เดือน ๑๑ จุลศักราช ๑๒๖๕
- เดือน ๑๒ จุลศักราช ๑๒๖๕
- เดือน ๑ จุลศักราช ๑๒๖๕
- เดือน ๒ จุลศักราช ๑๒๖๕
- เดือน ๓ จุลศักราช ๑๒๖๕
- เดือน ๔ จุลศักราช ๑๒๖๕
- เดือน ๕ จุลศักราช ๑๒๖๖
- เดือน ๖ จุลศักราช ๑๒๖๖
- เดือน ๗ จุลศักราช ๑๒๖๖
- เดือน ๘ จุลศักราช ๑๒๖๖
- เดือน ๘๘ จุลศักราช ๑๒๖๖
- เดือน ๙ จุลศักราช ๑๒๖๖
- เดือน ๑๐ จุลศักราช ๑๒๖๖
- เดือน ๑๑ จุลศักราช ๑๒๖๖
- เดือน ๑๒ จุลศักราช ๑๒๖๖
- เดือน ๑ จุลศักราช ๑๒๖๖
- ภาคผนวก ก เรื่อง การเปิดรถไฟเพ็ชรบุรี
- ภาคผนวก ข เรื่อง ข้าราชการเมืองแขกเฝ้าถวายต้นไม้ทองเงินเครื่องราชบรรณาการ
- ภาคผนวก ค การขึ้นกุฏิใหม่แห่งสมเด็จพระวันรัต และการขึ้นกุฏิใหม่แห่งพระสงฆ์สามเณรประจำปี
- ภาคผนวก ง รายงานการสร้างถนนราชดำเนินนอก
- ภาคผนวก จ การเปิดสะพานเฉลิม ๕๐
- ภาคผนวก ฉ กรมทหารบกทูลเกล้า ฯ ถวายพระคทาจอมพลแลมีการสมโภช
- ภาคผนวก ช ประกาศกรมธนบัตร์
- ภาคผนวก ฌ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช มีการฉลองพระไชยเนาวโลหะที่วังสราญรมย์
- ภาคผนวก ญ พระราชพิธีมหามงคลการโสกันต์ แลพระราชทานพระสุพรรณบัตรเฉลิมพระนาม สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดช
- ภาคผนวก ฎ การเปิดรถไฟสายท่าจีน
เดือน ๖ จุลศักราช ๑๒๖๕
วัน ๑ ๑ฯ ๖ ค่ำ ปีเถาะ ๑๒๖๕
วันที่ ๒๖ เมษายน รัตนโกสินทร๓๖ศก ๑๒๒
เสด็จประทับแรมสวนดุสิต
เวลาเช้า ทรงตั้งปเรียญที่วัดเบ็ญจมบพิตร
วัน ๗ ๗ฯ ๖ ค่ำ ปีเถาะ ๑๒๖๕
วันที่ ๒ พฤษภาคม รัตนโกสินทร๓๖ศก ๑๒๒
เสด็จประทับแรมสวนดุสิต
แลวันนี้มีการยิงเป้าที่ทุ่งตำบลสามเสน
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินไปในการนี้ด้วย
วัน ๓ ๑๑ฯ ๖ ค่ำ ปีเถาะ ๑๒๖๕
วันที่ ๕ พฤษภาคม รัตนโกสินทร๓๖ศก ๑๒๒
เสด็จประทับแรมสวนดุสิต
แลเสด็จพระราชดำเนินไปพระราชทานเพลิงศพ พระยามหาโยธา (นกแก้ว)๑ ที่วัดเทพศิรินทร์
วัน ๕ ๑๒ฯ ๖ ค่ำ ปีเถาะ ๑๒๖๕
วันที่ ๗ พฤษภาคม รัตนโกสินทร๓๖ศก ๑๒๒
เสด็จประทับแรมสวนดุสิต
แลเสด็จพระราชดำเนินไปพระราชทานเพลิงศพพระนมจัน พระนมอิ่ม ที่วัดเทพศิรินทร์
วัน ๗ ๑๔ฯ ๖ ค่ำ ปีเถาะ ๑๒๖๕
วันที่ ๙ พฤษภาคม รัตนโกสินทร๓๖ศก ๑๒๒
เสด็จประทับแรมสวนดุสิต
แลมีการปิดทองพระประธาน แลพระสาวกที่วัดราชบุรณะ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินไปทรงปิดทองด้วย
วัน ๑ ๑๕ฯ ๖ ค่ำ ปีเถาะ ๑๒๖๕
วันที่ ๑๐ พฤษภาคม รัตนโกสินทร๓๖ศก ๑๒๒
เสด็จประทับแรมสวนดุสิต
มีการพระราชกุศลวิสาขะบูชา เสด็จมาทรงบำเพ็ญพระราชกุศล ที่วัดพระแก้ว
วัน ๒ ๑ฯ ๖ ค่ำ ปีเถาะ ๑๒๖๕
วันที่ ๑๑ พฤษภาคม รัตนโกสินทร๓๖ศก ๑๒๒
เสด็จประทับแรมสวนดุสิต
มีการสดับปกรณ์ กาลานุกาล ที่พระที่นั่งอมรินทร์
วัน ๓ ๒ฯ ๖ ค่ำ ปีเถาะ ๑๒๖๕
วันที่ ๑๒ พฤษภาคม รัตนโกสินทร๓๖ศก ๑๒๒
เสด็จประทับแรมสวนดุสิต
มีการรื่นเริงวันประสูตร์ เจ้าฟ้ากรมขุนนครสีมา๒ ที่วังสวนดุสิต
วัน ๑ ๗ฯ ๖ ค่ำ ปีเถาะ ๑๒๖๕
วันที่ ๑๗ พฤษภาคม รัตนโกสินทร๓๖ศก ๑๒๒
เสด็จประทับแรมสวนดุสิต
เวลาบ่าย ๓ โมง เกิดเพลิงไหม้ที่ถนนจักรพรรดิพงษ์
วัน ๖ ๑๒ฯ ๖ ค่ำ ปีเถาะ ๑๒๖๕
วันที่ ๒๒ พฤษภาคม รัตนโกสินทร๓๖ศก ๑๒๒
เสด็จประทับแรมสวนดุสิต
เจ้าฟ้ากรมขุนนครสวรรควรพินิต๓ เสด็จกลับกรุงเทพ ฯ แลมีการขึ้นตำหนักใหม่ที่วังตำบลบางขุนพรหม๔ในวันนี้ด้วย กับเจ้าพระยาไทรบุรี๕ ได้โดยเสด็จเจ้าฟ้ากรมขุนนครสวรรควรพินิต เข้ามาเฝ้าทูลลอองธุลีพระบาท
วัน ๗ ๑๓ฯ ๖ ค่ำ ปีเถาะ ๑๒๖๕
วันที่ ๒๓ พฤษภาคม รัตนโกสินทร๓๖ศก ๑๒๒
เสด็จประทับแรมสวนดุสิต
วัน ๑ ๑๔ฯ ๖ ค่ำ ปีเถาะ ๑๒๖๕
วันที่ ๒๔ พฤษภาคม รัตนโกสินทร๓๖ศก ๑๒๒
เสด็จประทับแรมสวนดุสิต
วัน ๒ ๑๕ฯ ๖ ค่ำ ปีเถาะ ๑๒๖๕
วันที่ ๒๕ พฤษภาคม รัตนโกสินทร๓๖ศก ๑๒๒
เสด็จประทับแรมสวนดุสิต
เจ้าพระยาไทรบุรีเฝ้าที่พระที่นั่งจักรกรีมหาปราสาท
-
1. พระยามหาโยธา (นกแก้ว คชเสนี) บุตรพระยาดำรงราชพลขันธ์ (จุ้ย) เป็นน้องชายร่วมมารดากับเจ้าจอมมารดาซ่อนกลิ่นในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ดำรงตำแหน่งอัครราชทูตไทยประจำกรุงเบอร์ลิน พ.ศ. ๒๔๒๗-๒๔๒๘ แล้วย้ายไปเป็นอัครราชทูตประจำกรุงลอนดอน ต่อมาเป็นผู้ว่าราชการเมืองนครเขื่อนขันธ์ ภริยา คือ คุณหญิงตะขาบ และคุณหญิงปิ๋ว ไม่มีบุตรสืบสกุล ↩
-
2. พลเรือเอก สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าอัษฎางค์เดชาวุธ กรมหลวงนครราชสีมา พระราชโอรสพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระศรีพัชรินทรา บรมราชินีนาถ (ศึกษาวิชาการทหาร ณ ประเทศอังกฤษ) ในรัชกาลที่ ๖ ทรงดำรงตำแหน่งผู้สำเร็จราชการทหารเรือ เสด็จทิวงคต วันที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๖๗ ↩
-
3. จอมพลเรือ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต พระราชโอรสพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระปิตุจฉาเจ้า สุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวี เสนาธิการทหารบกในรัชกาลที่ ๕ เสนาบดีกระทรวงทหารเรือ ในรัชกาลที่ ๖ อุปนายกสภากาชาดสยาม เสนาบดีกระทรวงกลาโหม และกระทรวงมหาดไทย ในรัชกาลที่ ๗ สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ ๘ เป็นต้นราชสกุล “บริพัตร” ↩
-
4. วังบางขุนพรหม เป็นวังจอมพลเรือ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต คือธนาคารแห่งประเทศไทยในปัจจุบัน ↩
-
5. เมืองไทรบุรี สมัยนั้นยังเป็นเมืองประเทศราชของไทย ↩