- คำนำ
- เดือน ๒ จุลศักราช ๑๒๖๔
- เดือน ๓ จุลศักราช ๑๒๖๔
- เดือน ๔ จุลศักราช ๑๒๖๔
- เดือน ๕ จุลศักราช ๑๒๖๕
- เดือน ๖ จุลศักราช ๑๒๖๕
- เดือน ๗ จุลศักราช ๑๒๖๕
- เดือน ๘ จุลศักราช ๑๒๖๕
- เดือน ๙ จุลศักราช ๑๒๖๕
- เดือน ๑๐ จุลศักราช ๑๒๖๕
- เดือน ๑๑ จุลศักราช ๑๒๖๕
- เดือน ๑๒ จุลศักราช ๑๒๖๕
- เดือน ๑ จุลศักราช ๑๒๖๕
- เดือน ๒ จุลศักราช ๑๒๖๕
- เดือน ๓ จุลศักราช ๑๒๖๕
- เดือน ๔ จุลศักราช ๑๒๖๕
- เดือน ๕ จุลศักราช ๑๒๖๖
- เดือน ๖ จุลศักราช ๑๒๖๖
- เดือน ๗ จุลศักราช ๑๒๖๖
- เดือน ๘ จุลศักราช ๑๒๖๖
- เดือน ๘๘ จุลศักราช ๑๒๖๖
- เดือน ๙ จุลศักราช ๑๒๖๖
- เดือน ๑๐ จุลศักราช ๑๒๖๖
- เดือน ๑๑ จุลศักราช ๑๒๖๖
- เดือน ๑๒ จุลศักราช ๑๒๖๖
- เดือน ๑ จุลศักราช ๑๒๖๖
- ภาคผนวก ก เรื่อง การเปิดรถไฟเพ็ชรบุรี
- ภาคผนวก ข เรื่อง ข้าราชการเมืองแขกเฝ้าถวายต้นไม้ทองเงินเครื่องราชบรรณาการ
- ภาคผนวก ค การขึ้นกุฏิใหม่แห่งสมเด็จพระวันรัต และการขึ้นกุฏิใหม่แห่งพระสงฆ์สามเณรประจำปี
- ภาคผนวก ง รายงานการสร้างถนนราชดำเนินนอก
- ภาคผนวก จ การเปิดสะพานเฉลิม ๕๐
- ภาคผนวก ฉ กรมทหารบกทูลเกล้า ฯ ถวายพระคทาจอมพลแลมีการสมโภช
- ภาคผนวก ช ประกาศกรมธนบัตร์
- ภาคผนวก ฌ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช มีการฉลองพระไชยเนาวโลหะที่วังสราญรมย์
- ภาคผนวก ญ พระราชพิธีมหามงคลการโสกันต์ แลพระราชทานพระสุพรรณบัตรเฉลิมพระนาม สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดช
- ภาคผนวก ฎ การเปิดรถไฟสายท่าจีน
ภาคผนวก ค การขึ้นกุฏิใหม่แห่งสมเด็จพระวันรัต และการขึ้นกุฏิใหม่แห่งพระสงฆ์สามเณรประจำปี
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชดำริว่า สมเด็จพระวันรัตได้เปนพระอุปัชฌาย์ของสงฆ์ในวันนี้โดยมาก แลได้ไปมาค้างแรมอยู่ในวัดนี้เสมอมิได้ขาด ต้องพักอยู่ที่พระที่นั่งทรงผนวชเปนที่คับแคบ สมควรจะมีกุฏิอยู่ต่างหากให้เปนที่ผาสุกสำราญ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างกุฏิชั้นหลังหนึ่งต่อจากวิหารสมเด็จ โปรดเกล้า ฯ ให้สร้างขึ้นด้วยทุนทรัพย์ของพระบรมวงศานุวงศ์ฝ่ายใน แลอาศัยเหตุที่ทรงพระปรารภนี้ จึงพระราชทานนามว่า กุฏิสมเด็จ มีห้องหลายห้อง เพื่อเปนที่สำหรับพระสงฆ์สามเณรอาคันตุกะพักหรือพระสงฆ์สามเณรที่จะบวชพรรษาเดียวอยู่ด้วย จึงได้ทรงอาราธนาสมเด็จพระวันรัตให้เปนผู้ขึ้นกุฏิสมเด็จในคราวนี้
อนึ่งกุฏิวัดเบญจมบพิตร ซึ่งสร้างแล้วเมื่อศกก่อนนั้น เปนที่พระสงฆ์สามเณรอยู่ได้ ๓๕ รูปทั้งพระที่นั่งทรงผนวชด้วย นับเท่าจำนวนปีในรัชกาล แลทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ขึ้นจำนวนพระสงฆ์หรือสามเณรปีละรูป แลทรงสร้างกุฏิเพิ่มเติมปีละหลังตามพระราชนิยมที่ทรงตั้งไว้ ในรัตนโกสินทรศก ๑๒๒ นี้ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ให้สร้างกุฏิขึ้นใหม่อีกหลังหนึ่ง ด้วยทุนทรัพย์ของอุบาสิกาวรรณ และจีนต้ายตั๊ดทูลเกล้า ฯ ถวายช่วยในการสถาปนาพระอาราม พระราชทานนามว่า กุฏิวรรณอุทิศ ส่วนผู้ที่จะออกกุฏิใหม่นั้น ครั้งนี้พระมหามนแปลพระปริยัติธรรมได้ ๕ ประโยคเปนผู้สมควร จึงได้ทรงหารือพร้อมด้วยเจ้าอาวาส กำหนดให้พระมหามนไปอยู่กุฏิใหม่ พระมหาพันเปรียญ ๔ ประโยค ซึ่งพักอยู่ที่พระที่นั่งทรงผนวช เปนพระที่ขึ้นจำนวน ๓๖ ไปอยู่กฏิที่พระมหามนอยู่เดิม สามเณรจ้อยเปรียญ ๓ ประโยคซึ่งมาแต่วัดมหาธาตุ ให้อยู่ที่กุฏิพระครูวินัยธรเขียนที่ถึงมรณภาพ ใช้จำนวนที่ขาดไปรูปหนึ่ง
บัดนี้การก่อสร้างกุฏิ ๒ หลังนั้นสำเร็จแล้ว จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีการบำเพ็ญพระราชกุศลขึ้นกุฏิ แลฉลองกุฏิใหม่ ก่อนการเฉลิมฉัตรรัชพรรษา เจ้าพนักงานได้จัดการที่จะเจริญพระพุทธมนต์ที่กุฏิทั้ง ๔ กุฏิ แลมีเครื่องบริกขารสำหรับขึ้นกุฏิใหม่พร้อมเสร็จ
วันที่ ๒๗ ตุลาคม รัตนโกสินทรศก ๑๒๒ เวลาบ่าย พระสงฆ์ในวัดแลวัดอื่นได้ไปนั่งที่อยู่ทั้ง ๔ กุฏิๆ ละ ๕ รูป เว้นแต่กุฏิสมเด็จเปน ๗ รูป พระเทพเมธีเปนประธาน กุฏิวรรณอุทิศเลขที่ ๓๕ พระราชกระกวีเปนประธาน กุฏิสัตคภาคเลขที่ ๓๐ พระกระวีวงศ์เปนประธาน กุฏิสัตตภาคเลขที่ ๒๖ พระประสิทธิ์ศีลคุณเปนประธาน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ไม่ได้เสด็จพระราชดำเนิร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้พระเจ้าน้องยาเธอ กรมขุนสมมตอมรพันธุ์ เสด็จทรงจุดเทียนที่พระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์ทั้ง ๔ กุฏิ
วันที่ ๒๘ ตุลาคม เวลาเช้า โปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพนักงานเลี้ยงอาหารบิณฑบาตพระสงฆ์ ที่เจริญพระพุทธมนต์เมื่อเย็นวานนี้ทั้ง ๔ กุฏิ เวลาบ่ายพระสงฆ์ที่เจริญพระพุทธมนต์บางรูป แลพระสงฆ์สามเณรที่จะขึ้นกุฏิใหม่ ได้มานั่งที่อยู่ในพระอุโบสถแล้ว เวลาบ่าย ๕ โมง ๕๐ นาที พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จทรงรถพระที่นั่งไปประทับวัดเบญจมบพิตร เสด็จเข้าไปสู่ภายในพระอุโบสถ ทรงจุดเทียนนมัสการพระพุทธชินราชแล้ว ทรงประกาศพระบรมราชูทิศกุฏิที่สร้างใหม่ทั้ง ๒ หลังเปนสังฆิกเสนาสนจบแล้ว พระสงฆ์สามเณรรับสาธุการะพร้อมกัน ทรงประเคนไตรแพรแลบาญชีเครื่องบริกธารกุฏิสมเด็จแก่สมเด็จพระวันรัต ทรงประเคนไตรผ้าสลับแพรแก่พระมหามนไตรผ้าสลับแพรแลบาญชีเครื่องบริกขารกุฏิแก่พระมหาพัน ไตรผ้าแลบาญชีเครื่องบริกขารกุฏิแลพัดใบตาลมีตราวัดเบญจมบพิตรแก่สามเณรจ้อยเปรียญ เปนการเปลี่ยนพัดเดิมที่ได้รับพระราชทานไว้ ส่วนบาญชีเครื่องบริกขารกุฏิวรรณอุทิศ โปรดเกล้าฯ ให้อุบาสิกาวรรณถวาย พระสงฆ์สามเณรออกไปครองผ้าเสร็จแล้วกลับมานั่งที่ถวายอนุโมทนายถารับสพฺพีแลวิหารทานคาถา แลถวาอติเรกรับด้วยราชาภิรกฺขคาถาแลภวตุสพฺพมงฺคลํจบแล้ว พระสงฆ์ที่เจริญพระพุทธมนต์เมื่อวานนี้ ไปคอยรับอยู่ตามกุฏิ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงนำสมเด็จพระวันรัตไปขึ้นกุฏิ แลโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชทรงนำพระมหาพัน พระเจ้าน้องยาเธอ กรมขุนสมมตอมรพันธุ์ ทรงกำกับอุบาสิกาวรรณนำพระมหามน พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงดำรงราชานุภาพ ทรงนำสามเณรจ้อยไปขึ้นกุฏิ เมื่อเสด็จพระราชดำเนิรถึงกุฏิ พระสงฆ์ที่มารับสวดชยันโต เจ้าพนักงานประโคมแตรสังข์พิณพาทย์ แลได้มีพระราชดำรัสด้วยพระสงฆ์ที่สวดมนต์ตามสมควรแล้ว โปรดเกล้า ฯ ให้สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ทรงประเคนสบงหมากพลูธูปเทียนแก่พระสงฆ์ที่เจริญพระพุทธมนต์ พระสงฆ์ถวายอนุโมทนาแลถวายอติเรกจบแล้ว เสด็จไปทรงเยี่ยมเยียนกุฏิวรรณอุทิศ มีพระราชดำรัสด้วยอุบาสิกาวรรณตามสมควร เสด็จทรงรถพระที่นั่งกลับวังสวนดุสิต เวลาย่ำค่ำ ๓๐ นาฑี เปนเสร็จการขึ้นกุฏิเท่านี้
ประกาศพระบรมราชูทิศถวายเสนาสนกุฎิสมเด็จ
ขอประกาศแก่พระภิกษุสงฆ์ ซึ่งได้มาประชุมพร้อมกัน ณ ที่นี้ ด้วยข้าพเจ้าได้สถาปนาเสนาสนขึ้นใหม่ เปนตึก ๒ ชั้นก่ออิฐถือปูน หลังคามุงกระเบื้อง มีเฉลียงด้านเหนือ มีมุขด้านตวันออกด้านตวันตก แลมีมุขกลางติดต่อกับวิหารข้างด้านเหนือสูงแต่พื้นถึงขื่อ ๔ วา ศอกคืบ ตัวตึกยาว ๑๒ วา กว้างในร่วมตึก ๓ วาศอก เฉลียงกว้าง ๕ วา มุขด้านตวันออกแลด้านตวันตกยาววาหนึ่งกับ ๓ ศอกคืบ กว้างในร่วมเท่ากับตัวตึก มุขกลางที่ต่อกับวิหารยาว ๔ วา ๒ ศอกคืบ กว้าง ๒ วา ๓ ศอกคืบ ตึกนี้สร้างขึ้นด้วยทุนทรัพย์ของผู้มีศรัทธาหลายเจ้าของ ได้ให้นามว่า กุฏิสมเด็จ บัดนี้การนั้นแล้วสำเร็จบริบูรณ์สมควรเปนที่สงฆ์บริโภค ข้าพเจ้าทั้งปวงขอถวายกุฏิสมเด็จนั้นไว้ในพระบรมพุทธศาสนา เปนจาตุทิสิกาวาสสำหรับพระสงฆ์ที่มาอยู่ในบัดนี้ หรือจะมาแต่ทิศทั้ง ๔ ได้อาศัยประพฤติสาสนพรหมจรรย์บริโภคโดยผาสุกทุกประการ ขอพระภิกษุสงฆ์จงรับสังฆิกเสนาสนนั้น เพื่อประโยชน์แลความสุขแก่ข้าพเจ้าทั้งปวงสิ้นกาลนานเทอญ
ประกาศไว้ ณ วันพุฒ ที่ ๒๘ ตุลาคม รัตนโกสินทรศก ๑๒๒ จันทรคติกาล เดือน ๑๒ ขึ้น ๘ ค่ำ ปีเถาะเบญจศก จุลศักราช ๑๒๖๕ พระพุทธศาสนกาล ๒๔๔๖ พรรษา เป็นวันที่ ๑๒๗๖๙ ในรัชกาล ปัตยุบันนี้
อิทํ มยา รฺา (พระบรมนามาภิไธย) ปรมินฺทมหาจุฬาลงฺกรณสฺมา สฺยามวิชิเต รชฺชํ การยตา