เดือน ๒ จุลศักราช ๑๒๖๔

จดหมายเหตุพระราชกิจรายวัน

ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

พุทธศักราช ๒๔๔๖-๒๔๔๗

----------------------------

วัน ๕ ๒ ค่ำ ปีขาน ๑๒๖๔

วันที่ ๑ มกราคม รัตนโกสินทร๓๕ศก ๑๒๑

เฉลิมพระชนม์พรรษา สมเด็จพระบรมราชินีนารถ แล สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช

วัน ๑ ๒ ค่ำ ปีขาน ๑๒๖๔

วันที่ ๔ มกราคม รัตนโกสินทร๓๕ศก ๑๒๑

พระราชพิธีตรียัมพวาย

เวลาเช้า พระยาอภัยรณฤทธิ์ ยืนชิงช้า

วัน ๒ ๒ ค่ำ ปีขาน ๑๒๖๔

วันที่ ๕ มกราคม รัตนโกสินทร๓๕ศก ๑๒๑

เริ่มการพระราชพิธีโสกันต์และเกษากันต์

ค่ำไม่เสด็จออก โปรดเกล้า ฯ ให้ พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าเหมวดี และพระเจ้าวรวงษ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมเฃตร์มงคล หม่อมเจ้าปิยบุตร ประเคนไตรแลย่ามแก่พระสงฆ์ ๓๐ รูป ที่จะสวดมนต์ โสกันต์ และเกษากันต์ ที่จักรกรีองค์ตวันตก

วัน ๓ ๒ ค่ำ ปีขาน ๑๒๖๔

วันที่ ๖ มกราคม รัตนโกสินทร๓๕ศก ๑๒๑

บ่าย ๓ โมงเศษ เกิดเพลิงไหม้ขึ้นที่ตึกริมออฟฟิศเจ้าท่า ๑ หลัง แลพระยาอภัยรณฤทธิ์ยืนชิงช้า ไม่เสด็จออก ค่ำเสด็จออกที่พระที่นั่งดุสิตในการโสกันต์ และเกษากันต์พระองค์เจ้าเหมวดี พระองค์เจ้าเฉลิมเขตรมงคล หม่อมเจ้าปิยบุตร หม่อมเจ้ารัชฎาภิเศก๑๐

วัน ๔ ๑๑ ๒ ค่ำ ปีขาน ๑๒๖๔

วันที่ ๗ มกราคม รัตนโกสินทร๓๕ศก ๑๒๑

ค่ำเสด็จออกในการโสกันต์แลเกษากันต์

วัน ๕ ๑๑ ๒ ค่ำ ปีขาน ๑๒๖๔

วันที่ ๘ มกราคม รัตนโกสินทร๓๕ศก ๑๒๑

ค่ำเสด็จออกที่พระที่นั่งดุสิต ในการสวดมนต์ โสกันต์ เกษากันต์

วัน ๖ ๑๒ ๒ ค่ำ ปีขาน ๑๒๖๔

วันที่ ๙ มกราคม รัตนโกสินทร๓๕ศก ๑๒๑

เวลาเช้าโสกันต์ แลเกษากันต์ แลพระองค์เพ็ญ๑๑ กราบถวายบังคมลาไปตรวจราชการมณฑลพายัพ

วัน ๖ ๒ ค่ำ ปีขาน ๑๒๖๔

วันที่ ๑๖ มกราคม รัตนโกสินทร๓๕ศก ๑๒๑

บ่ายเสด็จไปในการเปิดสะพานชมัยมรุเชฐ์๑๒

วัน ๓ ๑๕ ๒ ค่ำ ปีขาน ๑๒๖๔

วันที่ ๒๗ มกราคม รัตนโกสินทร๓๕ศก ๑๒๑

ย่ำค่ำเสด็จออกตั้งพระครูหัวเมือง ๒ องค์ ที่จักรกรี แล้วเสด็จไปประพาศตามเคย

  1. 1. พิมพ์ตามต้นฉบับโดยไม่ได้แก้ไขตัวสะกด การันต์

  2. 2. สมเด็จพระศรีพัชรินทรา บรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ ๕ พระนามเดิมพระองค์เจ้าเสาวภาผ่องศรี

  3. 3. พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อยังดำรงพระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชสยามมกุฎราชกุมาร

  4. 4. พระยาอภัยรณฤทธิ์ (บุตร บุณยรัตพันธุ์)

  5. 5. โสกันต์ ราชาศัพท์ ใช้กับพระราชวงศ์ชั้นพระองค์เจ้าขึ้นไป เกษากันต์ ใช้เฉพาะชั้นหม่อมเจ้า หมายถึงโกนจุก

  6. 6. พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเหมวดี พระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และเจ้าจอมมารดาเหม

  7. 7. พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าหญิงเฉลิมเขตร์มงคล พระธิดา จอมพล สมเด็จพระราชปิตุลา บรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช และหม่อมแม้น พระชายาสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ ทรงมีความรู้ความสามารถในการละคร ดนตรี ได้จัดตั้งคณะละคร “ชูนาฏดุริยศิลป” และสร้างงานทางศิลปการแสดงไว้อย่างกว้างขวาง

  8. 8. ต่อมาดำรงพระยศเป็นพระองค์เจ้าปิยบุตร โอรสสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้าฯ กรมพระจักรพรรดิพงษ์ (ต้นราชสกุล จักรพันธุ์)

  9. 9. กรมเจ้าท่า ตั้งที่ทำการที่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ตำบลตลาดน้อย ตรงข้ามปากคลองสาน เดิมสังกัดอยู่กรมพระคลัง พ.ศ. ๒๔๓๒ สังกัดกรมโยธาธิการ พ.ศ. ๒๔๖๕ สังกัดกระทรวงมหาดไทย พ.ศ. ๒๔๗๕ สังกัดกระทรวงเศรษฐการ พ.ศ. ๒๔๘๔ ถึงปัจจุบันสังกัดกระทรวงคมนาคม

  10. 10. หม่อมเจ้ารัชฎาภิเศก โสณกุล โอรสพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนพิทยลาภพฤฒิธาดา (ต้นราชสกุล โสณกุล) และหม่อมเอม

  11. 11. พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าชายเพ็ญพัฒนพงศ์ กรมหมื่นพิไชยมหินทโรดม พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และเจ้าจอมมารดามรกฎ ได้ศึกษา ณ ประเทศอังกฤษ ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยปลัดทูลฉลองกระทรวงเกษตราธิการ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๑ สิ้นพระชนม์ พ.ศ. ๒๔๕๒ เป็นต้นราชสกุล เพ็ญพัฒน์

  12. 12. สะพานชมัยมรุเชฐ์ ข้ามคลองเปรมประชากรที่ถนนพิษณุโลก ตรงมุมทำเนียบรัฐบาล สร้างเมื่อ ร.ศ. ๑๒๐ ในโอกาสที่สมเด็จเจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์ พระธิดาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า มีพระชนมายุเสมอสมเด็จพระเชษฐา คือ สมเด็จพระบรมโอสราธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร และสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมขุนศรีธรรมราชธำรงฤทธิ์ ทรงพระราชศรัทธาบริจาคทรัพย์ส่วนพระองค์สร้างอุทิศถวาย ปัจจุบันสะพานนี้ได้ขยายและดัดแปลงไปจนไม่เหลือแบบเดิมแล้ว

แชร์ชวนกันอ่าน

แจ้งคำสะกดผิดและข้อผิดพลาด หรือคำแนะนำต่างๆ ได้ ที่นี่ค่ะ