- ๑. ยิ้มเถิด
- ๒. ดุริยางค์
- ๓. แท็กซี่ฟ้า
- ๔. แพ้รู้
- ๕. ประธานาธิบดีลินคอล์น
- ๖. คำเตือนของทารก
- ๗. ลำนำเถา
- ๘. ฟองชีวิต
- ๙. บนและล่าง
- ๑๐. ศิลปแห่งการดำรงชีพ
- ๑๑. เราถูกไฟเจริญลน
- ๑๒. ความจำ
- ๑๓. ตาเนื้อกับตาทิพย์
- ๑๔. โลกมาตา
- ๑๕. บริสุทธิ์
- ๑๖. มหาประเทศ
- ๑๗. สถาปัตยกรรม
- ๑๘. ฉลามกินคน
- ๑๙. คว้านท้อง
- ๒๐. กรรม
- ๒๑. อิสสภาพสมบูรณ์
- ๒๒. คำขวัญ แนวหน้าทหาร กับ พ่อค้า
- ๒๓. น้ำองุ่นใหม่กรอกขวดเก่า
- ๒๔. วันไทยรอด
- ๒๕. ไทยเทวาธิราช
- ๒๖. เจ้าโลก
- ๒๗. เราบูชาพระหรืองั่ง
- ๒๘. มนุษย์หนอ
- ๒๙. ชาติ ศาสนา
- ๓๐. เรือขาดหางเสือ
- ๓๑. กุหลาบกับหนาม
- ๓๒. เขี้ยวงา
- ๓๓. ระดมพล
- ๓๔. ฉลองชัยชนะ - ไทยวิวัฒน์
- ๓๕. ต้อนรับทหารหาญกลับบ้านเมือง
เราถูกไฟเจริญลน
วัฒนธรรมเป็นบาทเมื่อยาตรา | สู่มหาสังคมสถิตเสถียร |
เหมือนก้าวมั่นไม่หวั่นไหววกเวียน | รับการเปลี่ยนเข้าปรับกับทุนเดิม |
การเดิรทางย่างเยื้องสู่เบื้องหน้า | ก้าวบนแท่งศิลาน่าฮึกเหิม |
ก้าวบนโคลนโงนเงนเลนเหลวเยิ้ม | อาจซ้ำเติมตกหล่มหรือล้มตึง |
วัฒนธรรมใดเล่าของเรามี | ตรวจดูที่วิสัยไทยให้ทั่วถึง |
เราไว้ตัวแต่มัวเผื่อแผ่จึง | ดูประหนึ่งยอมม้วยไม่ช่วยตัว |
จีนซือขายหมายช่วยพวกเดียวกัน | ไทยไม่เห็นสำคัญพลันเกลือกกลั้ว |
ไม่เลือกใครจีนไทยฉันไม่มัว | แต่ลื้ออั๊วเขาเราเห็นเขลาแล |
เพื่อนมนุษย์ด้วยกันพลันเอ็นดู | เมตตาจิตต์มีอยู่ย่อมเผื่อแผ่ |
คุณธรรมสองอย่างต่างธาตุแท้ | แต่เข้ากันควรแก่สุภาพชน |
โลกชมเราว่าเราเป็นผู้ดี | รอยเกียรติงำธรรมมีทุกแห่งหน |
ที่เสื่อมไปเพราะไฟเจริญ[๑]ลน | ต้องผ่อนปรนปรับใหม่ให้เหมาะกัน |
ผู้ดีเก่าต้องเข้าระบอบใหม่ | เพราะโลกหมุนเวียนไปเป็นขั้นขั้น |
ศิลปศาสตร์นาดวิธีกวีวรรณ | วิจิตรสรรพสถาปัตย์จัดปรับปรุง |
ศาสนาศึกษาคือยาเอก | ปล้ำปลุกเสกผู้ใหญ่เด็กเฉกต้มหุง |
เจริญรัฐจัดโลกโภคบำรุง | สันนิบาตชาติมุ่งพยุงรักษ์ |
อุดมคติเก่าใหม่ไม่ขัดกัน | วัฒนธรรมของเรายังเข้าหลัก |
ต้องห้ามไฟมิให้ลามปามนัก | เป็นแต่จักเลือกใช้ตามใจเรา |
เกียรติจะปรับเข้าระดับนักกีฬา | ไม่ถือตัวบ้าบ้าหรือเก่าเก่า |
เมตตาจิตต์จ้องสะกิดส่วนรวมเร้า | เพื่อบรรเทาส่วนตัวไม่นัวนัก |
ใจผู้ดีบริสุทธิ์มนุษยธรรม | เป็นเครื่องค้ำชูคนให้สูงศักดิ์ |
วัฒนธรรมของเราเฝ้าพิทักษ์ | เถิดเราจักอะแดปต์ได้ไม่เนิ่นนาน |
๑ พฤษภ. ๘๐