- ๑. ยิ้มเถิด
- ๒. ดุริยางค์
- ๓. แท็กซี่ฟ้า
- ๔. แพ้รู้
- ๕. ประธานาธิบดีลินคอล์น
- ๖. คำเตือนของทารก
- ๗. ลำนำเถา
- ๘. ฟองชีวิต
- ๙. บนและล่าง
- ๑๐. ศิลปแห่งการดำรงชีพ
- ๑๑. เราถูกไฟเจริญลน
- ๑๒. ความจำ
- ๑๓. ตาเนื้อกับตาทิพย์
- ๑๔. โลกมาตา
- ๑๕. บริสุทธิ์
- ๑๖. มหาประเทศ
- ๑๗. สถาปัตยกรรม
- ๑๘. ฉลามกินคน
- ๑๙. คว้านท้อง
- ๒๐. กรรม
- ๒๑. อิสสภาพสมบูรณ์
- ๒๒. คำขวัญ แนวหน้าทหาร กับ พ่อค้า
- ๒๓. น้ำองุ่นใหม่กรอกขวดเก่า
- ๒๔. วันไทยรอด
- ๒๕. ไทยเทวาธิราช
- ๒๖. เจ้าโลก
- ๒๗. เราบูชาพระหรืองั่ง
- ๒๘. มนุษย์หนอ
- ๒๙. ชาติ ศาสนา
- ๓๐. เรือขาดหางเสือ
- ๓๑. กุหลาบกับหนาม
- ๓๒. เขี้ยวงา
- ๓๓. ระดมพล
- ๓๔. ฉลองชัยชนะ - ไทยวิวัฒน์
- ๓๕. ต้อนรับทหารหาญกลับบ้านเมือง
ฉลามกินคน
จะกล่าวถึงปลาฉลามนามกะเดื่อง | ซึ่งเกิดเรื่องกินคนขนลุกซ่า |
ที่ริมหาดอากาศดีศรีราชา | เมื่อไม่ช้านี้เองครื้นเครงนัก |
กินชายแล้วมิหนำซ้ำกินหญิง | จะกินหมดเมืองจริงให้ประจักษ์ |
ศรีราชาร้างแน่แย่ตาลัก | ฉลามจักเป็นเจ้าเข้ามาครอง |
เรื่องจริงนั้นมีชายชื่อนายแฉล้ม | เร่ร่อนแรมค้างนอนค่อนข้างคล่อง |
จากพนัสตัดมาหาพวกพ้อง | โดยลำลองเหลือดีมีความรู้ |
เช้ามาถึงเย็นจึงลงเล่นน้ำ | ว่ายโผดำจากบันไดไม่กี่ครู่ |
เสียง ‘ช่วยด้วย’ ฉลามฉวยหกหางชู | แล้วคาบลู่ลัดไปใต้พื้นน้ำ |
คนแลเห็นแต่เป็นอันจนใจ | ช่วยไม่ได้ล้วนใจหายใจคว่ำ |
ต่อรุ่งขึ้นจึงพบศพแม่นยำ | เหลือแต่เศียรกับเบื้องต่ำคือปลายเท้า |
มาเกยหาดน่าอนาถ ณ ใต้ถุน | เรือนถัดไปใจครุ่นเคราะห์ของเจ้า |
เธอมุ่งมาสมัครงานการเพาะเชาน์ | เพื่อขอเข้าเป็นครูประชาบาล |
ควรหรือกลับเป็นเหยื่อเพื่อฉลาม | ระบือนามศรีราชาคราต้องหาน |
เกิดมากศพมากรายหมายประจาน | หรือเพียงการโฆษณาหาครื้นเครง |
แต่ชาวศรีราชาหาพรั่นไม่ | ประกอบอาชีพไว้ไม่โฉงเฉง |
เขาดำโป๊ะตีอวนถ้วนทุกเพลง | ไม่ยำเกรงเช้าค่ำเป็นธรรมดา |
เขาเชื่อว่า “ปลาเจ้า” รับใช้เจ้า | ถึงคราวเข้าต้องพลีมีคุณค่า |
ชีวิตใครถึงฆาตอาจมรณา | จึงไม่น่ากลัวอะไรในทะเล |
เมื่อหลายปีปลานี้เคยติดอวน | เป็นปลาใหญ่ไม่ควรจะสนเท่ห์ |
เขาผูกด้ายแดงบูชากันฮาเฮ | แล้วเอาคืนลงทะเลปล่อยตัวไป |
นับว่าว่าเป็นปลาที่หายาก | คือชนิด “เฮวลชาค” ตัวยาวใหญ่ |
มีลายเด่นเรื่อแดงดังแสงไฟ | เขาจึงให้ชื่อว่า “ตะเพียนทอง” |
จระเข้เจ้าประจำตามวังวน | ฉลามเจ้าประจำหนทะเลห้อง |
ฉลามอื่นขึ้นตลาดกลาดเกลื่อนกอง | งานใครต้องใครทำไมคร้านกัน |
ผู้ร้อนใจใคร่จับฉลามผลาญ | คืออาณาประชาบาลผู้แข็งขัน |
ออกประกาศสินจ้างให้รางวัล | กับวางเบ็ดจับมันไว้มากมาย |
ฉลามเจ้าไม่เข้ามากินเบ็ด | สุนัขเด็ดดอดเห็นเป็นเหยื่อหมาย |
พอน้ำลดกินเล่นเห็นสบาย | แต่กลับว่ายร้องเอ๋งหมดเก่งเอย |
๒๓ กรกฎ. ๘๐