- ๑. ยิ้มเถิด
- ๒. ดุริยางค์
- ๓. แท็กซี่ฟ้า
- ๔. แพ้รู้
- ๕. ประธานาธิบดีลินคอล์น
- ๖. คำเตือนของทารก
- ๗. ลำนำเถา
- ๘. ฟองชีวิต
- ๙. บนและล่าง
- ๑๐. ศิลปแห่งการดำรงชีพ
- ๑๑. เราถูกไฟเจริญลน
- ๑๒. ความจำ
- ๑๓. ตาเนื้อกับตาทิพย์
- ๑๔. โลกมาตา
- ๑๕. บริสุทธิ์
- ๑๖. มหาประเทศ
- ๑๗. สถาปัตยกรรม
- ๑๘. ฉลามกินคน
- ๑๙. คว้านท้อง
- ๒๐. กรรม
- ๒๑. อิสสภาพสมบูรณ์
- ๒๒. คำขวัญ แนวหน้าทหาร กับ พ่อค้า
- ๒๓. น้ำองุ่นใหม่กรอกขวดเก่า
- ๒๔. วันไทยรอด
- ๒๕. ไทยเทวาธิราช
- ๒๖. เจ้าโลก
- ๒๗. เราบูชาพระหรืองั่ง
- ๒๘. มนุษย์หนอ
- ๒๙. ชาติ ศาสนา
- ๓๐. เรือขาดหางเสือ
- ๓๑. กุหลาบกับหนาม
- ๓๒. เขี้ยวงา
- ๓๓. ระดมพล
- ๓๔. ฉลองชัยชนะ - ไทยวิวัฒน์
- ๓๕. ต้อนรับทหารหาญกลับบ้านเมือง
ความจำ
ความจำดี นี้มัก สร้างนักปราชญ์ |
คนฉลาด จำแม่น แสนเหมาะเหม็ง |
คนขี้ลืม ถึงฉลาด ขาดจำเอง |
มัวแต่เพ่ง เพียรจด ก็หมดดี |
ตู้สมุด ไม่บอก ออกมาได้ |
ว่าอะไร อยู่ไหน ให้ถ้วนถี่ |
ถึงอ่านแล้ว ลืมเสีย ก็เสียที |
ต้องอ่านค้น ป่นปี้ เสียเวลา |
คนช่างจำ คลำถูก ทุกเรื่องผุด |
เปิดสมุด พบง่าย ไม่หนักหนา |
พ้นทิ้งทอด รอดจำนน ทุ่นค้นคว้า |
ความจำสา รพัตรให้ กำไรงาม |
ทุกนาที มีแต่ จะได้เปรียบ |
คนขี้ลืม หลงเทียบ ก็งุ่มง่าม |
คนหนึ่งบวก คนหนึ่งลบ จบโมงยาม |
ยิ่งนานปี มีแต่ความ ปราชัย |
กรณี เช่นนี้ ชี้ให้เห็น |
ว่าความเป็นพหูสูตร อยู่ที่ไหน |
ใครเกิดดี โดยมี ปัญญาไว |
จำต้องให้ ความจำ ช่วยค้ำชู |
ถึงเชาวน์อ่อน แต่ค่อน ข้างจำแม่น |
ก็พอแค่น แข็งข้อ เข้าต่อสู้ |
กับคนปัญ ญาไว แต่ไม่รู้ |
จักจดจำ พร่ำตู่ ตั้งหลงลืม |
นักศึกษา เชิญพา กันสนใจ |
ให้จำแม่น เข้าไว้ ได้ดูดดื่ม |
ซึ่งความรู้ พหูสูตร สุดปลาบปลื้ม |
ไม่ต้องยืม ใครจำ รอทำไม ? |
ประโยชน์จด เพื่อบท บันทึกแท้ |
จดแทนจำ นั้นแล หาควรไม่ |
ใครฝืนกฎ ขืนจด ตะพัดไป |
ความจำก็ จะไม่ อยู่กับตัว |
ไม่ใช้มัน มันจะอยู่ อย่างไรได้ ? |
ต้องเสื่อมไป ซุดไป จนหายหัว |
หลงก่อนแก่ แน่ ๆ นี้น่ากลัว |
ไม่ควรมัว เพลินจด จนหมดจำ. |
๑๐ กรกฎ. ๘๓