- ๑. ยิ้มเถิด
- ๒. ดุริยางค์
- ๓. แท็กซี่ฟ้า
- ๔. แพ้รู้
- ๕. ประธานาธิบดีลินคอล์น
- ๖. คำเตือนของทารก
- ๗. ลำนำเถา
- ๘. ฟองชีวิต
- ๙. บนและล่าง
- ๑๐. ศิลปแห่งการดำรงชีพ
- ๑๑. เราถูกไฟเจริญลน
- ๑๒. ความจำ
- ๑๓. ตาเนื้อกับตาทิพย์
- ๑๔. โลกมาตา
- ๑๕. บริสุทธิ์
- ๑๖. มหาประเทศ
- ๑๗. สถาปัตยกรรม
- ๑๘. ฉลามกินคน
- ๑๙. คว้านท้อง
- ๒๐. กรรม
- ๒๑. อิสสภาพสมบูรณ์
- ๒๒. คำขวัญ แนวหน้าทหาร กับ พ่อค้า
- ๒๓. น้ำองุ่นใหม่กรอกขวดเก่า
- ๒๔. วันไทยรอด
- ๒๕. ไทยเทวาธิราช
- ๒๖. เจ้าโลก
- ๒๗. เราบูชาพระหรืองั่ง
- ๒๘. มนุษย์หนอ
- ๒๙. ชาติ ศาสนา
- ๓๐. เรือขาดหางเสือ
- ๓๑. กุหลาบกับหนาม
- ๓๒. เขี้ยวงา
- ๓๓. ระดมพล
- ๓๔. ฉลองชัยชนะ - ไทยวิวัฒน์
- ๓๕. ต้อนรับทหารหาญกลับบ้านเมือง
ดุริยางค์
เสียงเสนาะเหมาะสมานสนานโสตร | เสียงอุโฆษสักแต่ดังฟังบัดสี |
สรรพเสียงใดจะเพียงเสียงดนตรี | คลอสังคีตประณีตศรีศิลปกรรม |
ผะสมเหมาะไพเราะราวเสียงทิพย์ | อันลิ่วลิบลอยจากฟากสวรรค์ |
ย้อมอารมณ์บ่มชีวิตจิตต์ใจครัน | หฤหรรษ์โหยไห้ได้ทุกรส |
อาหารมีดนตรียวนยีย่อย | ชวนอร่อยอิ่มหนำสำราญหมด |
ใจดุร้ายดุริยงค์จางพยศ | ดนตรีพจน์พากย์ใบ้เข้าใจกัน |
คิริบูนในกรงส่งเสียงพลอด | เป็นเพลงตอดสูงต่ำสำเนียงผัน |
นกเขาคูจู้หูกูคู่ประชัน | ไก่แก้วขันเสียงใสปลุกไสยา |
อันลำนำธรรมชาติฉลาดใช้ | วิธีเลยเมื่อไรใคร่จะว่า |
ให้ลมพัดกอไผ่โยกไปมา | ส่งเสียงซ่าสอดสลับรับกันไป |
ยามบรรเลงเพลงโกรธอุโฆษก้อง | เสียงฟ้าร้องกระหึ่มครึมครางใหญ่ |
แล้วเปรี้ยงปร้างอย่างตระหนกน่าตกใจ | ใครจะไม่รู้สึกสำนึกคิด |
เราชาวไทยพอใจการขับร้อง | อ่านหนังสือยังต้องทำนองติด |
ไม่เฉพาะโคลงฉันท์วรรณลิลิต | อ่านร้อยแก้วก็สนิททำนองเพลง |
ที่ลานนาเราพากันร้องรำ | ในแมน้ำเพลงเพราะฟังเหมาะเหม็ง |
ทั้งเพลงเรือเพลงบกตกนักเลง | นักร้องเก่งกวีก่องสองศิลปิน |
ในโรงเรียนขับร้องต้องบังคับ | เสียแต่ขับร้องแบบโบราณสิ้น |
คือใช้แต่ความจำพร่ำอาจินต์ | สืบต่อชั่วฟ้าดินลำดับมา |
ภาษาใดถ้าไร้ตัวหนังสือ | ภาษานั้นก็คือยังเป็นป่า |
การก่อร่างกว้างขวางทางวิชา | ย่อมก้าวหน้าลำบากยากเย็นจริง |
ไม่มีอ่านไม่มีเขียนเพียรแต่พร่ำ | การแต่งใหม่ใครทำลำบากยิ่ง |
หนทางตีบลีบตันพากันทิ้ง | ชวนรกเรื้อเสือสมิงวิ่งพล่านไป |
ดนตรีก็เช่นกันฉันนั้นเชียว | ถ้าเปล่าเปลี่ยวเชิงเรียนอ่านเขียนได้ |
เป็นทางลีบตีบตันฉะนั้นไซร้ | นับว่าไม่เข้าทางสว่างพอ |
ดุริยางค์บุรพทิศสนิทเนา | เป็นผู้เฒ่าสูงอายุสุภาพหนอ |
ดุริยางค์ตะวันตกหนุ่มตะกอ | เพิ่งเกิดใหม่ใครก็พอใจคือ |
ได้เลือดดีท่วงทีกะทัดรัด | เข้าฝึกหัดทางภาษาหนังสือ |
กำหลังหนุ่มกระชุ่มกระชวยช่วยปรนปรือ | ผู้เฒ่าถือโอกาสอาตมชุบ |
พึงเห็นได้ที่กระหายเพลงสากล | พากันขวนขวายแต่งตลุบตุบ |
ทั้งสังคีตอสังคีตติดตะครุบ | เด็กเด็กฮุบหัดร้องก้องธานี |
บางคนพอได้ยินหมิ่นเพลงเก่า | ว่าจืดเจ้าไม่ฟังคลั่งป่นปี้ |
อยากฟังเพลงสากลพ่นวาที | เสียงแปลกดีเด็กผู้ใหญ่ไม่เชาชุบ |
หนทางถูกนั้นปลูกทางโรงเรียน | เราพากเพียรเพราะครูดูเบื้องบุรพ |
แต่ก้าวหน้าถอยหลังยับยั้งยุบ | จึงบัดนี้ก็สรุปลงรอยเดิม |
เป็นงานใหญ่ใช้คนจำนวนมาก | มันย่อมยากนฤมิตรกิจส่งเสริม |
สมุฏฐานงานใหญ่ใคร่จุนเจิม | จะต้องเริ่มตรงนี้แหละดีนัก |
๘ พฤษภ. ๘๑