- ๑. ยิ้มเถิด
- ๒. ดุริยางค์
- ๓. แท็กซี่ฟ้า
- ๔. แพ้รู้
- ๕. ประธานาธิบดีลินคอล์น
- ๖. คำเตือนของทารก
- ๗. ลำนำเถา
- ๘. ฟองชีวิต
- ๙. บนและล่าง
- ๑๐. ศิลปแห่งการดำรงชีพ
- ๑๑. เราถูกไฟเจริญลน
- ๑๒. ความจำ
- ๑๓. ตาเนื้อกับตาทิพย์
- ๑๔. โลกมาตา
- ๑๕. บริสุทธิ์
- ๑๖. มหาประเทศ
- ๑๗. สถาปัตยกรรม
- ๑๘. ฉลามกินคน
- ๑๙. คว้านท้อง
- ๒๐. กรรม
- ๒๑. อิสสภาพสมบูรณ์
- ๒๒. คำขวัญ แนวหน้าทหาร กับ พ่อค้า
- ๒๓. น้ำองุ่นใหม่กรอกขวดเก่า
- ๒๔. วันไทยรอด
- ๒๕. ไทยเทวาธิราช
- ๒๖. เจ้าโลก
- ๒๗. เราบูชาพระหรืองั่ง
- ๒๘. มนุษย์หนอ
- ๒๙. ชาติ ศาสนา
- ๓๐. เรือขาดหางเสือ
- ๓๑. กุหลาบกับหนาม
- ๓๒. เขี้ยวงา
- ๓๓. ระดมพล
- ๓๔. ฉลองชัยชนะ - ไทยวิวัฒน์
- ๓๕. ต้อนรับทหารหาญกลับบ้านเมือง
คำเตือนของทารก
โปรดอย่าให้ยาหนูคล่องคล่อง | เช่นยาประจำท้องทั้งหลาย |
หรือยาแก้กวนเพรื่อเบื่อจะตาย | หนูต้องการพบนายแพทย์ชำนาญ |
โปรดอย่าใช้ยาถ่ายแรงแรง | หรือน้ำมันละหุ่งแสร้งหักหาญ |
โปรดอย่าให้นมในราตรีกาล | ขอแต่น้ำรับประทานเท่านั้น |
โปรดอย่าใช้ผ้ารัตนาภี | การใช้เข็มไม่ดีเป็นแม่นมั่น |
การให้นมหนูก็เหมือนกัน | หกครั้งทั้งวันคืนพอแล้ว |
ให้หนูกินนมอย่ารีบนัก | กินมากเกินหนูจักไม่ผ่องแผ้ว |
น้อยไปเสียอีกภัยไม่วี่แวว | อาหารหนูโปรดแคล้วจากแมลงวัน |
มันคือศัตรูร้ายของทารก | สกปรกโปรดปัดสกัดกั้น |
เครื่องทำนมขวดนมหมดทั้งนั้น | ทั้งผ้าพันผ้าเช็ดเบ็ดเสร็จมี |
ต้องสะอาดปราศจากมลทินโทษ | ขอได้โปรดชีวิตหนูอยู่ที่นี่ |
อนามัยจิตต์ใจร้ายหรือดี | ก็อยู่ที่โรคภัยไม่ผิดนัก |
น้ำหนูกินทั้งสิ้นโปรดต้มไว้ | ทิ้งให้เย็นแล้วใช้ไม่ขลุกขลัก |
อย่าเอาหนูนอนข้างอย่างประมาทมัก | ปฏิเหตุประจักษ์จนวายปราณ |
ความสะอาดอากาศสดแดดอ่อนไซร้ | จำเป็นไม่น้อยกว่าส่วนอาหาร |
แม้ปรากฏท้องร่วงโดยอาการ | อย่าเนิ่นนานปล่อยปละละเลยวัน |
ไม่ถึงคราวกินนมแม้หนูกวน | แม่ไม่ควรให้กินเป็นแม่นมั่น |
ให้หนูดื่มแต่น้ำก็แล้วกัน | พอได้บรรเทากวนชวนระงับ |
อย่าหัดให้หนูอมหัวนมยาง | อย่าเขย่าหนูพลางจะให้หลับ |
อย่าให้หนูอดนมก่อนได้นับ | อายุปรับครบเก้าเดือนแล้วนั้น |
ค่อยอดค่อยไปไม่ทรุดโทรม | ดีกว่าหักโหมผลุนผลัน |
การเปลี่ยนอาหารก็สำคัญ | โปรดค่อยผันเพิ่มรสและปริมาณ |
อย่ารีบให้หนูเดิรเร็วเกินไป | มันเป็นภัยไม่เห็นเป็นแก่นสาร |
แม่จ๋าแม่หงุดหงิดงุ่นง่าน | น้ำนมแม่ก็พาลจะไม่ดี |
ซึ่งย่อมจะกระเทือนอนามัย | ของเราทั้งสองได้โดยใช่ที่ |
ฟันของแม่ก็เหมือนกันสำคัญมี | รักษาถูกวิธีจึงมีแรง |
อาหารเป็นเวลาพาสบาย | งานย่อยค่อยทำง่ายและเข้มแข็ง |
การกลั้นอุจจาระจะสำแดง | เป็นเหตุแห่งท้องผูกเปลืองหยูกยา |
๒ มิถุน. ๘๐