- ๑. ยิ้มเถิด
- ๒. ดุริยางค์
- ๓. แท็กซี่ฟ้า
- ๔. แพ้รู้
- ๕. ประธานาธิบดีลินคอล์น
- ๖. คำเตือนของทารก
- ๗. ลำนำเถา
- ๘. ฟองชีวิต
- ๙. บนและล่าง
- ๑๐. ศิลปแห่งการดำรงชีพ
- ๑๑. เราถูกไฟเจริญลน
- ๑๒. ความจำ
- ๑๓. ตาเนื้อกับตาทิพย์
- ๑๔. โลกมาตา
- ๑๕. บริสุทธิ์
- ๑๖. มหาประเทศ
- ๑๗. สถาปัตยกรรม
- ๑๘. ฉลามกินคน
- ๑๙. คว้านท้อง
- ๒๐. กรรม
- ๒๑. อิสสภาพสมบูรณ์
- ๒๒. คำขวัญ แนวหน้าทหาร กับ พ่อค้า
- ๒๓. น้ำองุ่นใหม่กรอกขวดเก่า
- ๒๔. วันไทยรอด
- ๒๕. ไทยเทวาธิราช
- ๒๖. เจ้าโลก
- ๒๗. เราบูชาพระหรืองั่ง
- ๒๘. มนุษย์หนอ
- ๒๙. ชาติ ศาสนา
- ๓๐. เรือขาดหางเสือ
- ๓๑. กุหลาบกับหนาม
- ๓๒. เขี้ยวงา
- ๓๓. ระดมพล
- ๓๔. ฉลองชัยชนะ - ไทยวิวัฒน์
- ๓๕. ต้อนรับทหารหาญกลับบ้านเมือง
สถาปัตยกรรม
วิญญาณดึกดำบรรพ์อันประดิษฐาน | อยู่ในการก่อสร้างอย่างผ่าเผย |
ซึ่งเปล่งเสียงเสนาะใจกระไรเลย | ที่เฉลยภาพสวยด้วยลิ้นทอง |
ย่อมกระทบดวงจิตต์สนิทเสน่ห์ | ประหนึ่งเล่ห์รัดรึงตราตรึงสนอง |
ฉะนั้นรูปสล้างหลัวทั่วถิ่นท้อง | เหมือนหงส์ล่องลอยวนชลธี |
ฉะนั้นการเคลื่อนไหวในทิศทาง | ณ ท่ามกลางจราจรค่อนบัดสี |
เมื่ออิ่มเอิบด้วยความงามฉะนี้ | ถนนกลายเป็นที่ปลุกเสกแล้ว |
นครเป็นปูชนียสถาน | อุทิศเพื่อสุขศานติผ่องแผ้ว |
ทางเคารพกิจเลิศเพริศแพรว | ทั้งในแนวความคิดและกิจการ |
เวอร์ดสเวอร์ก
อันว่าสถาปัตยกรรม | เป็นศิลปเลิศล้ำกว่าทั้งหลาย |
จิตต์การงานปั้นแม้พรรณราย | ก็ไม่วายเซาซูบเป็นรูปเทียม |
จะใช้แผ่นผ้าใบหรือใช้หิน | ก็จำลองทั้งสิ้นน่าอายเหนียม |
เป็นแต่ผิดภายนอกบอกว่าเตี๊ยม | ถึงยอดเยี่ยมยังไม่ใช่ตัวจริง |
สถาปัตยกรรมตัวลำพัง | ไม่ทำดังดูเหมือนกับเป็นสิ่ง |
ซึ่งตัวหาเป็นไม่ไพล่แอบอิง | จึงเยี่ยมยิ่งกว่าชิ้นศิลปเทียม |
ลองเฟลโลว
สถาปัตยกรรมล้ำศิลป | ทุกคนจะเรียนรู้ดูเล่ห์เหลี่ยม |
เพราะทุกคนเกี่ยวข้องต้องตระเตรียม | ตามธรรมเนียมฆราวาสชาติมนุษย์ |
สรรพสถาปัตยกรรมที่ทำดี | สำแดงชีวิตชาติสามารถสุด |
ประกอบแคแร็กเตอร์เผยอวุฒิ | กำเนิดดุจปราร์ถนาว่าเงื่อนงาม |
รัสคิน
สถาปัตยกรรมนั้นทำบ้าน | วิศวกรรมทำงานชาญสนาม |
เป็นงานเมืองเลื่องชื่อระบือนาม | เปรียบความว่าส่วนกับจำนวนเต็ม |
ส่วนดีเป็นศรีแก่จำนวน | จำนวนเลิศเกิดส่วนชวนแข็งเข้ม |
เมืองงามงามสถานบ้านเมืองเปรม | ชนกเสมสุขค้าอนามัย |
ศิลปทั้งคู่ผู้ต้นเหตุ | ให้ป่าเป็นประเทศเขตต์สุกใส |
บ้านเมืองป่าคนพาเป็นป่าไป | ได้ชมัยศิลปจึงจะเจริญ |
๖ ตุล. ๘๑