- คำนำ
- คำชี้แจง
- คำนำ (ในการพิมพ์ครั้งแรก)
- คำอธิบาย
- ลายพระหัตถ์สมเด็จพระเจ้าบรมวงศเธอ เจ้าฟ้ากรมพระนริศรานุวัดติวงศ
- หนังสือทูลเกล้าฯ ถวาย ลงวันที่ ๑๔ กุมภาพันธ์ ร.ศ. ๑๑๒
- พระราชหัตถเลขา ถึงสมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุนนริศรานุวัดติวงศ์ ลงวันที่ ๑๔ กุมภาพันธ์ ร.ศ. ๑๒๒
- พระราชหัตถเลขา ถึงสมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุนนริศรานุวัดติวงศ์ ลงวันที่ ๑๗ กุมภาพันธ์ ร.ศ. ๑๒๒
- ลายพระหัถสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศ วันที่ ๒๑ กุมภาพันธ์ ร.ศ. ๑๒๒
- พระราชหัตถเลขา ถึงสมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุนนริศรานุวัดติวงศ์ ลงวันที่ ๒๒ กุมภาพันธ์ ร.ศ. ๑๒๒
- พระราชหัตถเลขา ถึงสมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุนนริศรานุวัดติวงศ์ ลงวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ ร.ศ. ๑๒๒
- พระราชหัตถเลขา ถึงสมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุนนริศรานุวัดติวงศ์ ลงวันที่ ๑๕ สิงหาคม ร.ศ. ๑๒๓
- สำเนาหนังสือทูลเกล้าฯ ถวาย ลงวันที่ ๓ กันยายน ร.ศ. ๑๒๓
- พระราชหัตถเลขา ถึงสมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุนนริศรานุวัดติวงศ์ ลงวันที่ ๔ ตุลาคม ร.ศ. ๑๒๓
- สำเนาหนังสือทูลเกล้าฯ ถวาย ลงวันที่ ๕ ตุลาคม ร.ศ. ๑๒๓
- พระราชหัตถเลขา ถึงสมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุนนริศรานุวัดติวงศ์ ลงวันที่ ๖ ตุลาคม ร.ศ. ๑๒๓
- สำเนาหนังสือทูลเกล้าฯ ถวาย ลงวันที่ ๑๐ ตุลาคม ร.ศ. ๑๒๓
- พระราชหัตถเลขา ถึงสมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุนนริศรานุวัดติวงศ์ ลงวันที่ ๑๑ ตุลาคม ร.ศ. ๑๒๓
- หน้าบันทึก สำเนา เรื่องมัชชาดก
- สำเนาหนังสือถวายพระธรรมโกษา ลงวันที่ ๑๓ ตุลาคม ร.ศ. ๑๒๓
- สำเนาหนังสือทูลเกล้าฯ ถวาย ลงวันที่ ๑๔ ตุลาคม ร.ศ. ๑๒๓
สังเขปความในมัจฉชาดก
(สำเนา) พระธรรมโกษาให้ได้รับวันที่ ๙ ต.ค. ๒๓
ในอดีตกาล ที่สระโบกขรณีใกล้พระเชตวัน เปนธารน้ำอันหนึ่งล้อมรอบกอเครือวัล อยู่ในเมืองสาวัตถีแว่นแคว้นโกสล พระบรมโพธิสัตว์เกิดเปนกำเนิดแห่งปลา มีหมู่ปลาแวดล้อมอาไศรยอยู่ในธารน้ำนั้น ในกาลครั้งนั้นฝนไม่ตกในแว่นแคว้นนั้น เข้ากล้าของมนุษย์ทั้งหลายเหี่ยวแห้ง น้ำในที่ทั้งหลายมีบ่อเปนต้นแห้งแล้วบรรดาปลาแลเต่าเข้าสู่เปือกตมสิ้น ปลาทั้งหลายในธารน้ำนี้ เข้าสู่เปือกตมซ่อนเร้นอยู่ในที่นั้น ๆ นกทั้งหลายมีกาเปนต้นจิกด้วยจงอยปากแล้วนำไปเคี้ยวกิน พระบรมโพธิสัตว์เห็นความพินาศของหมู่ญาตินั้นแล้วทรงดำริห์ว่า ผู้อื่นที่จะสามารถเปลื้องทุกข์ของหมู่ญาติเหล่านั้นย่อมไม่มี นอกจากเรา เราจะทำสัจจะกิริยา แล้วจะยังฝนให้ตก จักยังญาติทั้งหลายให้พ้นจากทุกข์คือความตาย ครั้นดำริห์ดังนี้แล้ว จึงคุ้ยเปือกตมอันมีสีดำออกเปนสองซีก แล้วออกมาลืมในตาแลดูอากาส ให้เสียงแก่ปัชชุนนะเทวราชแล้วตรัสว่า ดูกรปัชชุนนะผู้เจริญ เราเปนทุกข์เพราะอาไศรยญาติทั้งหลาย เมื่อเราเปนผู้มีศีลลำบากอยู่ เพราะเหตุไรท่านย่อมไม่ยังให้ฝนตก ชื่อว่าความอันเราเกิดในที่เปนที่เคี้ยวกินซึ่งสัตว์ทั้งหลายผู้มีชาติเสมอกันแล้วเคี้ยวกินเปนต้นว่าปลา แม้ตัวประมาณเท่าเข้าสารขึ้นไปย่อมไม่มี แม้สัตว์มีชีวิตอื่นเราก็ไม่เคยฆ่า ท่านจงยังฝนให้ตกด้วยคำสัตย์นี้ จงเปลื้องหมู่ญาติของเราให้พ้นจากทุกข์ ตรัสดังนี้แล้วเมื่อทรงเรียกปัชชุนนะเทวราชนั้น ประดุจดังว่าพระราชาทรงบังคับข้ารับใช้ ตรัสคาถานี้ว่า ดูกรปัชชุนนะ ท่านจงยังฝนให้ตก จงยังกาให้พินาศ จงขับไล่กาให้หมด เพื่อให้พ้นความโศก แลท่านจงเปลื้องเราให้พ้นความโศกเถิด เมื่อพระบรมโพธิสัตว์ทรงเรียกปัชชุนนะ ประดุจดังว่าพระราชาทรงบังคับข้ารับใช้ ยังฝนให้ตกในสกลโกสลราษฐ์ ทรงเปลื้องมหาชนให้พ้นจากทุกข์คือมรณ
ในกาลเปนที่สุดรอบแห่งชีวิตร (คือสิ้นชีวิต)ไปแล้วตามยถากรรม.