- คำนำ
- คำชี้แจง
- คำนำ (ในการพิมพ์ครั้งแรก)
- คำอธิบาย
- ลายพระหัตถ์สมเด็จพระเจ้าบรมวงศเธอ เจ้าฟ้ากรมพระนริศรานุวัดติวงศ
- หนังสือทูลเกล้าฯ ถวาย ลงวันที่ ๑๔ กุมภาพันธ์ ร.ศ. ๑๑๒
- พระราชหัตถเลขา ถึงสมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุนนริศรานุวัดติวงศ์ ลงวันที่ ๑๔ กุมภาพันธ์ ร.ศ. ๑๒๒
- พระราชหัตถเลขา ถึงสมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุนนริศรานุวัดติวงศ์ ลงวันที่ ๑๗ กุมภาพันธ์ ร.ศ. ๑๒๒
- ลายพระหัถสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศ วันที่ ๒๑ กุมภาพันธ์ ร.ศ. ๑๒๒
- พระราชหัตถเลขา ถึงสมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุนนริศรานุวัดติวงศ์ ลงวันที่ ๒๒ กุมภาพันธ์ ร.ศ. ๑๒๒
- พระราชหัตถเลขา ถึงสมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุนนริศรานุวัดติวงศ์ ลงวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ ร.ศ. ๑๒๒
- พระราชหัตถเลขา ถึงสมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุนนริศรานุวัดติวงศ์ ลงวันที่ ๑๕ สิงหาคม ร.ศ. ๑๒๓
- สำเนาหนังสือทูลเกล้าฯ ถวาย ลงวันที่ ๓ กันยายน ร.ศ. ๑๒๓
- พระราชหัตถเลขา ถึงสมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุนนริศรานุวัดติวงศ์ ลงวันที่ ๔ ตุลาคม ร.ศ. ๑๒๓
- สำเนาหนังสือทูลเกล้าฯ ถวาย ลงวันที่ ๕ ตุลาคม ร.ศ. ๑๒๓
- พระราชหัตถเลขา ถึงสมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุนนริศรานุวัดติวงศ์ ลงวันที่ ๖ ตุลาคม ร.ศ. ๑๒๓
- สำเนาหนังสือทูลเกล้าฯ ถวาย ลงวันที่ ๑๐ ตุลาคม ร.ศ. ๑๒๓
- พระราชหัตถเลขา ถึงสมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุนนริศรานุวัดติวงศ์ ลงวันที่ ๑๑ ตุลาคม ร.ศ. ๑๒๓
- หน้าบันทึก สำเนา เรื่องมัชชาดก
- สำเนาหนังสือถวายพระธรรมโกษา ลงวันที่ ๑๓ ตุลาคม ร.ศ. ๑๒๓
- สำเนาหนังสือทูลเกล้าฯ ถวาย ลงวันที่ ๑๔ ตุลาคม ร.ศ. ๑๒๓
สำเนาหนังสือทูลเกล้าฯ ถวาย ลงวันที่ ๑๔ ตุลาคม ร.ศ. ๑๒๓
เรื่อง ส่งแบบพระบทที่ ๑ แลที่ ๖
วันที่ ๑๔ ตุลาคม ร.ศ. ๑๒๓
----------------------------
บางปอิน
วันที่ ๑๔ ตุลาคม ร.ศ. ๑๒๓
ขอเดชะ ฯ
พระราชหัถเลขาลงวันที่ ๑๑ ได้รับพระราชทานแล้ว การห่มผ้านั้นไม่ได้มีตัวอย่างที่มาตรงแท้ เปนอันเขียนตามความพอใจของข้าพระพุทธเจ้า ด้วยอาไศรยความสังเกตเห็น ๓ ประการ ประการที่หนึ่ง ขนาดสุคตจีวรไม่เปนผ้าผืนใหญ่นัก ประการที่สองในหนังสือไม่ได้กำหนดให้ห่มอย่างไร เปนแต่มีข้อห้ามไม่ให้ห่มอย่างผู้หญิง ชาววัง แลอย่างนักเลงสุราเปนต้น ประการที่ ๓ได้สังเกตพระพุทธรูปเก่า ๆ กระบวรห่มผ้ามิได้ยุติเปนอย่างเดียวหมดด้วยกัน เพราะเหตุทั้งนี้จึงตกลงในใจว่า พระแต่ก่อนห่มผ้าตามสบายไม่ต้องเหมือนกัน แต่ต้องไม่ให้ดูน่าเกลียด จึงได้เขียนทูลเกล้า ฯ ถวายเปนผ้าไม่ใหญ่ และห่มรวบสบัดขึ้นบ่าเปนอย่างสบาย แลคิดด้วยเกล้า ฯ ว่า แผ่นอื่นจะเขียนยักย้ายไปอีกตามควรแก่รูปแลเรื่อง
การที่ทรงพระราชดำริห์จะยึดพระบทที่ศาลาไม่ดีไว้วัดเบญจมบพิตรก่อนนั้นดีมากทีเดียว จะได้เปนประโยชน์ทั้งสองอย่าง
ส่วนการที่โปรดเกล้า ฯ จ่ายแผ่นที่ ๑๑ ให้ช่างกรมหมื่นสรรพสาตรทำ แลแผ่นที่ ๑๖ ให้พระยาจินดาทำนั้น เปนเหมาะดีอย่างที่สุดเห็นด้วยเกล้า ฯ ว่า ถ้าแผ่นที่สำคัญแล้วกำหนดตัวผู้เขียนเสียด้วยจะเปนดีกว่า สองแผ่นที่ทูลเกล้า ฯ ถวายมาก่อนนั้นสำคัญทั้ง ๒ แผ่น แผ่นที่ ๓ ธรรมยุทธนั้น ฝีมือคงแป๊ะเปนช่างเอกคนหนึ่งในแผ่นดินพระนั่งเกล้า เปนคู่ขันกับครูทองอยู่ ที่วัดอรุณก็เขียนเคียงประชันกัน คือคงแป๊ะเขียนห้องอุมงค์ตรงที่ประทับ ครูทองอยู่เขียนห้องคันปราสาทที่ชักรอกเตี้ยค่อม ที่วัดสุวรรณก็เขียนเคียงแข่งกันอีก คงแป๊ะเขียนธรรมยุทธ ครูทองอยู่เขียนเนมีย์ ทำอย่างดีด้วยกันทั้ง ๒ ห้อง แต่ข้าพระพุทธเจ้าเห็นด้วยเกล้า ฯ ว่าสู้ครูทองอยู่ไม่ได้ เพราะเขียนกนกไม่แขง แลตัวเองก็รู้ตัวจนไม่ใคร่เขียน ยักเขียนเปนลายอื่นไป แต่ลเอียดแลเรียบมากกว่าครูทองอยู่ ควรที่จะจัดช่างที่อย่างดีถ่ายเหมือนกัน เห็นด้วยเกล้า ฯ ว่า พรหมพิจิตรเปนเหมาะที่จะให้ทำ ส่วนแบบที่ ๑๓ มารประจนนั้นก็มือตาครูตู้มุกด์ ยักษ ลิงแขงนัก สมควรให้เจ้ากรมเล็กถ่าย เจ้ากรมเล็กคนนี้เปนเจ้ากรมวังน่า จะเปนพรหมปกาสิตฤๅนิมิตรเวสสุกรรมก็ไม่ทราบเกล้าฯ แน่ไม่ใช่เล็กอีกคนหนึ่งซึ่งเปนเพศวกรรม์
ข้าพระพุทธเจ้าได้ทูลเกล้า ฯ ถวายมาครั้งนี้อีก ๒ นำเบอ นำเบอ ๑ อยู่ข้างทรามหน่อย เพราะมีแต่แห่งเดียว ไม่มีที่เลือก ในพุทไธสวรรย์มีอีกแห่งหนึ่ง ก็คนไม่เปนซ่อมเสียเสียแล้วจำเปน ไม่สู้ดีหน่อยก็ต้องรับ เพราะดังนั้นแผ่นนี้ช่างไม่สู้ดีนัก ก็ให้ถ่ายได้ ไม่ต้องจำกัดตัวนำเบอ ๖ นั้นผิดพระราชดำริห์เดิมอยู่หน่อย คือว่าพระราชดำริห์เดิมเขียนพระจุฬามณีข้างบน แลเทศนาดาวดึงษข้างล่าง พระจุฬามณีนั้นไม่มีที่เขียนผนังไว้อย่างต้องการ เทศนาดาวดึงษมีหลายแห่ง แต่ข้าพระพุทธเจ้าเลือกหาที่งามดีกว่าแห่งนี้ไม่ได้ จะไม่รับก็เสียดายด้วยท่าทางงามมากอยู่เขาเขียนแบ่งห้องด้วยสินเทาเปนสองตอน ตอนบนเขียนวิมานดุสิตพระอินทร์ขึ้นไป เชิญเสด็จพระพุทธมารดาลงมาทรงธรรม ตอนล่างพระเจ้าเทศนาในไวชยันตปราสาท แลข้างขวาปราสาทมีปัณฑุกัมพลศีลาศนอยู่ใต้ต้นปาริชาต ข้างซ้ายมีพระจุฬามณี แต่อยู่ข้างจะเล็ก ช่างฝีมือปานกลางก็พอถ่ายได้เพราะไม่ลเอียดนัก ถ้าหากจะตัดชั้นดุสิตออกเสีย ทำพระจุฬามณีก็ทำได้แต่ว่าซ้ำกันกับห้องล่าง ข้าพระพุทธเจ้าจึงคิดเลิกไม่เขียนพระจุฬามณีอีก นับเอาพระจุฬามณีข้างปราสาทเปนว่ามีพร้อมแล้วแต่ไม่เปนองค์ปรินศิเปอลอยู่หน่อย เห็นด้วยเกล้าฯ ว่าองค์พระเจ้าเทศนานั้นก็ถือเอาเปนองคปรินศิเปอลได้เหมือนกัน ถ้าไม่ชอบพระราชหฤทัย จะให้องค์พระจุฬามณีเปนปรินศิเปอลก็ได้ ข้าพระพุทธเจ้าจะทำตัวอย่างขึ้นใหม่ให้หรู แต่เทศนาต้องไปถ่ายเอาจากแห่งอื่นคงจะโทรมไปมากในตอนล่าง จะควรประการใดแล้วแต่จะโปรดเกล้าฯ ข้าพระพุทธเจ้าได้ทำคำสั่งช่ข่างไม้มาด้วยสำหรับกับแผ่นดาวดึงษ ถ้าหากจะโปรดเกล้า ฯ ให้ทำแบบใหม่แล้ว คำสั่งนั้นก็ต้องงดไปตามกัน
ควรมิควรแล้วแต่จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ
ข้าพระพุทธเจ้า
ขอเดชะ