- คำนำ
- คำชี้แจง
- คำนำ (ในการพิมพ์ครั้งแรก)
- คำอธิบาย
- ลายพระหัตถ์สมเด็จพระเจ้าบรมวงศเธอ เจ้าฟ้ากรมพระนริศรานุวัดติวงศ
- หนังสือทูลเกล้าฯ ถวาย ลงวันที่ ๑๔ กุมภาพันธ์ ร.ศ. ๑๑๒
- พระราชหัตถเลขา ถึงสมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุนนริศรานุวัดติวงศ์ ลงวันที่ ๑๔ กุมภาพันธ์ ร.ศ. ๑๒๒
- พระราชหัตถเลขา ถึงสมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุนนริศรานุวัดติวงศ์ ลงวันที่ ๑๗ กุมภาพันธ์ ร.ศ. ๑๒๒
- ลายพระหัถสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศ วันที่ ๒๑ กุมภาพันธ์ ร.ศ. ๑๒๒
- พระราชหัตถเลขา ถึงสมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุนนริศรานุวัดติวงศ์ ลงวันที่ ๒๒ กุมภาพันธ์ ร.ศ. ๑๒๒
- พระราชหัตถเลขา ถึงสมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุนนริศรานุวัดติวงศ์ ลงวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ ร.ศ. ๑๒๒
- พระราชหัตถเลขา ถึงสมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุนนริศรานุวัดติวงศ์ ลงวันที่ ๑๕ สิงหาคม ร.ศ. ๑๒๓
- สำเนาหนังสือทูลเกล้าฯ ถวาย ลงวันที่ ๓ กันยายน ร.ศ. ๑๒๓
- พระราชหัตถเลขา ถึงสมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุนนริศรานุวัดติวงศ์ ลงวันที่ ๔ ตุลาคม ร.ศ. ๑๒๓
- สำเนาหนังสือทูลเกล้าฯ ถวาย ลงวันที่ ๕ ตุลาคม ร.ศ. ๑๒๓
- พระราชหัตถเลขา ถึงสมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุนนริศรานุวัดติวงศ์ ลงวันที่ ๖ ตุลาคม ร.ศ. ๑๒๓
- สำเนาหนังสือทูลเกล้าฯ ถวาย ลงวันที่ ๑๐ ตุลาคม ร.ศ. ๑๒๓
- พระราชหัตถเลขา ถึงสมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุนนริศรานุวัดติวงศ์ ลงวันที่ ๑๑ ตุลาคม ร.ศ. ๑๒๓
- หน้าบันทึก สำเนา เรื่องมัชชาดก
- สำเนาหนังสือถวายพระธรรมโกษา ลงวันที่ ๑๓ ตุลาคม ร.ศ. ๑๒๓
- สำเนาหนังสือทูลเกล้าฯ ถวาย ลงวันที่ ๑๔ ตุลาคม ร.ศ. ๑๒๓
(สำเนา) คำอธิบายการเขียนพระบท แบบที่ ๑๑ สำหรับวัดบางปลา
จงรับกระดานพระบทขนาดยาว ๖ ศอก กว้าง ๒ ศอก นั้นมา วัดตั้งแต่ริมกรอบสลักลงมาได้ ๒ ศอกคืบ ๖ นิ้ว แล้วตีเส้นคั่นลงไว้ แบ่งเนื้อกระดานเปนสองช่อง
ช่องบนเขียนพระธาตุเมืองย่างกุ้ง จงถ่ายตามรูปตัวอย่างซึ่งส่งมานี้ แต่ด้านกว้างไม่เอาเต็มตามที่มีในรูปตัวอย่าง ตัดเอาเพียงเสมอขีดแดงซึ่งขีดไว้กับกรอบ (ถ้าดูเห็นไม่ชัด จงเอาเชือกขึงดูตามรอยแดง ก็จะรู้ว่ากินเพียงใดแน่) การที่เขียนถ่ายลงกระดานต้องขยายใหญ่ขึ้น ๒ เท่าครึ่ง จึงจะพอเหมาะกับกระดาน แต่ร่างร้านกับธงบริวารที่ผูกไว้กับยอดพระเจดีย์เล็ก แลรูปฝรั่งแขกจงยกเสีย รูปพม่าใช้ได้ แต่ต้องแก้ให้กลับหน้าเข้าไหว้พระธาตุ พอจะได้ดูรู้เปนเค้าว่าพระธาตุโตเท่าใด การลงสีนั้นทำตามของจิง คือองค์พระจิงนั้นปิดทอง แต่ที่เขียนจะปิดทองฤๅเขียนเหลืองเทียมทองก็ได้แล้วแต่จะถนัด ส่วนกำแพงแก้วแลรูปสิงห์นั้นเปนปูนปั้น
ช่องล่างเขียนเรื่องมัจฉขาฎก จงผูกถ้าทางเอาตามชอบใจ ความในท้องเรื่องมีว่าพระโพธิสัตว์เสวยพระชาติเปนปลาช่อน อยู่ในลำบางอันหนึ่งกับด้วยเพื่อนปลาทั้งหลาย ในคราวหนึ่งฝนแล้งน้ำแห้ง ปลาทั้งหลายตกอยู่ในปลัก ฝูงนกกามาไซ้หาจิกกินทุกวัน พระโพธิสัตวมีความสมเพศเพื่อนปลา จึงแหวกปลักขึ้นมามุ่งตาขึ้นอากาศกล่าวสัจจาธิษฐานขอฝน ในขณะนั้นฝนก็ตกลงมา ปลาทั้งหลายก็พ้นอันตรายในการที่จะเขียนนั้นต้องมีเปนลำคลองน้ำแห้ง มีกาแลนกต่าง ๆ จิกหาปลากิน แต่ห้ามมิให้เปิดคัดตะล๊อกถ่ายเอาปลาฝรั่งนกฝรั่งมาเขียน ควรจะพยายามดูอย่างนกปลาในเมืองเราเอามาเขียน แลนกต้องรวังเขียนแต่ที่มันกินปลาจิง ๆ ด้วย กลางคลองนั้นทำรูปปลาช่อนโผล่ขึ้นมาจากปลัก มีหน้าตามุ่งขึ้นอากาศแลปากอ้า เปนทีกล่าวสัจจาธิษฐาน ตัวสัตวที่เปนโพธิสัตวเสวยพระชาตินั้น แบบโบราณเคยใช้ปิดทอง นี่จะปิดทองก็ได้ ฤๅเห็นจะไม่งามจะเขียนเส้นเกล็ดทองก็ได้ ฤๅอยากจะเล่นตัวปลาให้เหมือนจิง จะทำรัศมีรองหลังเอาก็ได้ พอให้รู้ว่าไม่ใช่ปลาธรรมดา บนฝั่งคลองควรทำไม้ต้นสูง ๆ จะได้ใช้เนื้อที่ว่างให้แน่นหนาขึ้น บนต้นไม้จะมีนกมีลิงอะไรได้ทั้งนั้นตามแต่จะสนุกในใจ
ช่องบนนั้นรูปองค์พระธาตุเตี้ยแจ้ มีอากาศมากน่าเกลียด จำต้องแก้ไข คือทำรบายลงมาจากกรอบสลัก แต่อย่าให้กว้างเกินไปกว่าคืบ ๖ นั้น รบายนั้นจะเขียนเปนลายกรวยเชิงก็ได้ ฤๅเห็นว่าจืดจะทำลายมังกรก็ได้ แต่ต้องเปนมังกรไทย ถ้าไม่รู้จักจงไปดูหย่องน่าต่างหอพระมณเฑียรธรรม ฤๅจะทำเปนรบายดอกไม้ร้อย เปนดอกไม้สด ฤๅดอกไม้ทองก็ได้ ตามแต่จะถนัดมือ
สองข้างกระดานต้องทำกรอบห้ามอย่างเล็ก ๆ
ปลายกระดานข้างล่างต้องทำกรอบกว้างเปนช่องที่เขียนหนังสือได้สองบรรทัด
ลายคันที่แบ่งห้องล่างบนให้ขาดกันต้องมี ถ้าควรเปนขนาดกว้างเอากว้างเท่าขอบล่างก็ได้.