- คำนำ
- คำชี้แจง
- คำนำ (ในการพิมพ์ครั้งแรก)
- คำอธิบาย
- ลายพระหัตถ์สมเด็จพระเจ้าบรมวงศเธอ เจ้าฟ้ากรมพระนริศรานุวัดติวงศ
- หนังสือทูลเกล้าฯ ถวาย ลงวันที่ ๑๔ กุมภาพันธ์ ร.ศ. ๑๑๒
- พระราชหัตถเลขา ถึงสมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุนนริศรานุวัดติวงศ์ ลงวันที่ ๑๔ กุมภาพันธ์ ร.ศ. ๑๒๒
- พระราชหัตถเลขา ถึงสมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุนนริศรานุวัดติวงศ์ ลงวันที่ ๑๗ กุมภาพันธ์ ร.ศ. ๑๒๒
- ลายพระหัถสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศ วันที่ ๒๑ กุมภาพันธ์ ร.ศ. ๑๒๒
- พระราชหัตถเลขา ถึงสมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุนนริศรานุวัดติวงศ์ ลงวันที่ ๒๒ กุมภาพันธ์ ร.ศ. ๑๒๒
- พระราชหัตถเลขา ถึงสมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุนนริศรานุวัดติวงศ์ ลงวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ ร.ศ. ๑๒๒
- พระราชหัตถเลขา ถึงสมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุนนริศรานุวัดติวงศ์ ลงวันที่ ๑๕ สิงหาคม ร.ศ. ๑๒๓
- สำเนาหนังสือทูลเกล้าฯ ถวาย ลงวันที่ ๓ กันยายน ร.ศ. ๑๒๓
- พระราชหัตถเลขา ถึงสมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุนนริศรานุวัดติวงศ์ ลงวันที่ ๔ ตุลาคม ร.ศ. ๑๒๓
- สำเนาหนังสือทูลเกล้าฯ ถวาย ลงวันที่ ๕ ตุลาคม ร.ศ. ๑๒๓
- พระราชหัตถเลขา ถึงสมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุนนริศรานุวัดติวงศ์ ลงวันที่ ๖ ตุลาคม ร.ศ. ๑๒๓
- สำเนาหนังสือทูลเกล้าฯ ถวาย ลงวันที่ ๑๐ ตุลาคม ร.ศ. ๑๒๓
- พระราชหัตถเลขา ถึงสมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุนนริศรานุวัดติวงศ์ ลงวันที่ ๑๑ ตุลาคม ร.ศ. ๑๒๓
- หน้าบันทึก สำเนา เรื่องมัชชาดก
- สำเนาหนังสือถวายพระธรรมโกษา ลงวันที่ ๑๓ ตุลาคม ร.ศ. ๑๒๓
- สำเนาหนังสือทูลเกล้าฯ ถวาย ลงวันที่ ๑๔ ตุลาคม ร.ศ. ๑๒๓
๒. หนังสือพระธรรมโกษาจารย์
วัดสุทัศนเทพวราราม
วันที่ ๑๗ กุมภาพันธ์ รัตนโกสินทร๓๖ศก ๑๒๒
อาตมภาพ พระธรรมโกษาจารย์ ขอถวายพระพรมายังพระเจ้าน้องยาเธอ กรมขุนสมมตอมรพันธุ์ ทรงทราบ
ด้วยได้รับลายพระหัถที่ ๑๘๒/๒๑๑๗ ลงวันที่ ๑๕ เดือนนี้ เรื่องรูปนางเปรียบด้วยพระไตรปิฎก แลมีคาถาบูชา ซึ่งตีพิมพ์จำหน่ายขาย มีพระราชประสงค์จะทรงทราบว่า สมเด็จพระวันรัต (แดง) ดำริขึ้นจากหนังสือคัมภีร์ใด แล อาตภาพทราบ ฤๅ ไม่ ทราบความทุกประการแล้ว
เรื่องนี้อาตมภาพได้ทราบ เจ้าประคุณสมเด็จพระวันรัต (แดง) ได้ดำริขึ้นจากหนังสือคัมภีร์สัททาวิเศษ คือฎีกาสัททสาร ๑ สุโพทาลังกา ๑ แลท่านได้เล่าเรื่องเก่า ๆ ให้ฟังว่าสมเด็จพระพุทธาจารย์ (สน)๑ วัดสระเกษ ซึ่งเปนพระอุปัชฌาย์ของท่านนั้น ได้ใช้คาถานี้สำหรับอาราธนาธรรม แลท่านที่เปนอาจารย์บอกพระปริยัติธรรม ฤๅบอกทางภาวนาแต่ก่อนนั้น มีความนับถือคาถานี้มาก ได้ให้ศิษย์เล่า ทรงจำไว้สำหรับปริกรรม แล้วแสดงอำนาจประโยชน์ว่า ถ้าผู้ใดได้เจริญกระทำให้มากมั่นแล้ว มีอานิสงษ์ให้ผู้ที่เจริญนั้นเปนผู้มีปัญญาทรงจำแลทำความคิดให้พ้นจากความขัดข้องหลงลืมได้
ท่านได้มีความพอใจในเนื้อความในคาถานี้มาก จึงได้ดำริทำขึ้นเพื่อเปนที่สักการบูชาพระธรรมกาย โดยเปนปัญหาอย่างนี้ คือ รูปเปรียบนางมีเต้าถัญ แต่ทรงเครื่องอย่างบุรุษ หมายความว่าเปนรูปนางฟ้า คือ พระไตรปิฎก เพชรที่วางอยู่บนฝ่าพระหัถซ้ายนั้นหมายความว่า พระนฤพานเลิศกว่าธรรมทั้งปวง พระหัถขวาที่ยกขึ้นนั้น หมายความในพระธรรมคุณโดยเปนเอหิปัสสิกวิธี ดอกบัวที่รองรับรูปเปรียบนั้น หมายความว่าพระโอษฐ์ของพระพุทธเจ้า รูปมนุษย์ที่นั่งบนดอกบัวอยู่ซ้าย-ขวา ทั้งสองนั้นหมายความว่าคู่อรรคสาวกซ้ายขวา รูปนาคนั้น หมายความว่า พระขีณาสวะอรหันต์ รูปเทพยดาพรหม แลสัตว์ต่าง ๆ นั้น หมายความว่า กามสัตว รูปสัตว อรูปสัตว สระน้ำนั้น หมายความว่าสังสารสาคร
อาตภาพได้ทราบความดำริของท่านดังนี้ แล้วได้ส่งหนังสือฎีกาสัททสาร มาพร้อมกับลิขิตฉบับนี้ด้วยแล้ว แต่หนังสือคำภีร์อื่นค้นหาไม่ได้
อนึ่งรูปนางเปรียบหล่อด้วยโลหะก้าไหล่ทองคำกับลับแลรูปเขียน เจ้าประคุณสมเด็จพระวรรณรัต (แดง) ได้ดำริทำขึ้นไว้ ที่ได้ให้นำมานั้น อาตมภาพขอถวาย สมเด็จบรมพิตร พระราชสมภารเจ้า ผู้ทรงพระคุณธรรมอันมหาประเสริฐ ขอพระเดชพระคุณ ได้โปรดนำถวายด้วย
ควรมิควร ฯลฯ ขอถวายพระพร
พระธรรมโกษาจารย์
-
สมเด็จพระพุฒาจารย์ (สน) ประวัติเดิมยังไม่ปรากฏ เท่าที่ทราบว่าได้เป็นพระราชาคณะที่พระญาณวิริย ในรัชกาลที่ ๒ แล้วได้เลื่อนขึ้นเป็นพระพรหมมุนี ในรัชกาลที่ ๓ และในรัชกาลที่ ๔ ได้เลื่อนขึ้นเป็นสมเด็จพระพุฒาจารย์ เมื่อปีกุน พ.ศ. ๒๓๙๔ ท่านได้ถึงมรณภาพ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๐๗ ↩