- ๑. ราชสดุดี
- ๒. สภาพพ้อ
- ๓. พหูสูต
- ๔. ภาพทะเลเวลาเดือนหงาย
- ๕. ล้อมรั้ว-เรี่ยไรสร้างเรือรบพระร่วง
- ๖. เรือรบพระร่วง
- ๗. นายพลเอกพิเศษแห่งกองทัพอังกฤษ
- ๘. ราชสดุดี-ดอนเจดีย์
- ๙. สงครามโลก ศตวรรษที่ ๒๕
- ๑๐. จอมพลฟช
- ๑๑. ดุษฎี"เอ็มเด็น"
- ๑๒. การบินเยี่ยมอินเดีย
- ๑๓. ศานติคณะของเค็ลลอก
- ๑๔. ระยะต่างๆ
- ๑๕. วิถีของผู้นำกับผู้ตาม
- ๑๖. ผู้เล็งผลเลิศ กับ ผู้เพ่งผลสำเร็จ
- ๑๗. มาตราวัดราคาคน
- ๑๘. ความมีจนของประเทศ
- ๑๙. หนีเสือปะจระเข้
- ๒๐. อั้งยี่
- ๒๑. นิทานที่ข้าพเจ้าชอบ
- ๒๒. ทหารเอกสยามสู้เศรษฐสงคราม
- ๒๓. พันธุ์เจริญ
- ๒๔. ต่อรอง
- ๒๕. รุกเงียบเงียบ
- ๒๖. ลาแล้วพันธุ์เจริญ
- ๒๗. อเมริกา กับ อเมริกัน
- ๒๘. อารยธรรม
- ๒๙. ฐานะของไทย
- ๓๐. ขุมทรัพย์ ๔
- ๓๑. ประชาสามัญของเรา
- ๓๒. ทำไมโจรผู้ร้ายจึงชุกชุม
- ๓๓. ศาสนาวันนี้
- ๓๔. เกร็ดเรื่องภาษี
- ๓๕. คณะเพาะปลูก
นิทานที่ข้าพเจ้าชอบ
(กาพย์ห่อโคลง)
ท่านไทยหรือไม่ข้า | ขอถาม |
ฝรั่ง, แขก, ข่า, จีน, จาม | จุ่งแจ้ง |
อย่างใดอย่างหนึ่งตาม | แต่โปรด |
ขออย่าครึ่งกลางแกล้ง | กล่าวกล้ำอำพราง |
ร่ำปางติรัจฉาน | เกิดล้างผลาญกันและกัน |
สงครามใหญ่ครามครัน | ระหว่างพวกสัตว์ทั้งสอง |
จตุบททวิบาท | ต่างฝ่ายขาดความปรองดอง |
ยกพวกยอพลผยอง | กลาดเกลื่อนกลุ้มตะลุมบอน |
ทั่วโลกทุกแหล่งหล้า | ทั่วท้องฟ้าทั่วสาคร |
ภายในใต้ดินดอน | บ่มิเว้นเข่นฆ่ากัน |
ศึกคนฤๅจักสู้ | ศึกนกหนูใหญ่มหันต์ |
ฝ่ายข้างค้างคาวนั้น | บ่มิขันสู้กับใคร |
ประสพสัตว์สี่เท้า | ก็พลอยเข้าเป็นพวกไป |
โดยอ้างว่าตัวไสร้ | มีสี่เท้าเค้าหน้าเหมือน |
พบนกเข้าข้างนก | พูดโกหกทำแชเชือน |
ไม่ใช่สี่เท้าเถื่อน | เพราะบินได้ในเวหา |
แรก ๆ เขาหลงเชื่อ | ก็เอื้อเฟื้อบ่บีฑา |
ครั้นเขารู้มายา | เขาต่างตัดไมตรีสลาย |
ค้างคาวหมดปัญญา | ต้องหลบหน้าอยู่เดียวดาย |
รุ่งเช้าพอเพรางาย | มุดหัวซ่อนนอนเป็นผี |
มืดค่ำจึ่งกล้าออก | เที่ยวปลิ้นปลอกไปตามที |
สัตว์อื่นเขาคืนดี | แต่ค้างคาวเขาหน่ายแหนง |
อันว่า “หมาหัวเน่า” | ไม่ร้ายเท่าที่สำแดง |
ลวงโลก ๆ ระแวง | แหนงหน่ายเห็นเช่นค้างคาว |
๒๐ มิถุน. ๖๐