- ๑. ราชสดุดี
- ๒. สภาพพ้อ
- ๓. พหูสูต
- ๔. ภาพทะเลเวลาเดือนหงาย
- ๕. ล้อมรั้ว-เรี่ยไรสร้างเรือรบพระร่วง
- ๖. เรือรบพระร่วง
- ๗. นายพลเอกพิเศษแห่งกองทัพอังกฤษ
- ๘. ราชสดุดี-ดอนเจดีย์
- ๙. สงครามโลก ศตวรรษที่ ๒๕
- ๑๐. จอมพลฟช
- ๑๑. ดุษฎี"เอ็มเด็น"
- ๑๒. การบินเยี่ยมอินเดีย
- ๑๓. ศานติคณะของเค็ลลอก
- ๑๔. ระยะต่างๆ
- ๑๕. วิถีของผู้นำกับผู้ตาม
- ๑๖. ผู้เล็งผลเลิศ กับ ผู้เพ่งผลสำเร็จ
- ๑๗. มาตราวัดราคาคน
- ๑๘. ความมีจนของประเทศ
- ๑๙. หนีเสือปะจระเข้
- ๒๐. อั้งยี่
- ๒๑. นิทานที่ข้าพเจ้าชอบ
- ๒๒. ทหารเอกสยามสู้เศรษฐสงคราม
- ๒๓. พันธุ์เจริญ
- ๒๔. ต่อรอง
- ๒๕. รุกเงียบเงียบ
- ๒๖. ลาแล้วพันธุ์เจริญ
- ๒๗. อเมริกา กับ อเมริกัน
- ๒๘. อารยธรรม
- ๒๙. ฐานะของไทย
- ๓๐. ขุมทรัพย์ ๔
- ๓๑. ประชาสามัญของเรา
- ๓๒. ทำไมโจรผู้ร้ายจึงชุกชุม
- ๓๓. ศาสนาวันนี้
- ๓๔. เกร็ดเรื่องภาษี
- ๓๕. คณะเพาะปลูก
นายพลเอกพิเศษแห่งกองทัพอังกฤษ
(โคลงดั้น-ต่างจากโคลงดั้นบาทกุญชรที่ไม่บังคับให้คำที่ ๗ บาทที่ ๓ แห่งโคลงต้น รับสัมผัสกับคำที่ ๔ บาทต้นแห่งโคลงต่อ)
แถลงปางบรมราชเจ้า | จอมชนม์ |
สยามรัฐฉัตรชัยศรี | สิทธิแกล้ว |
เฉลิมพระยศนายพล | เอกพิเศษ |
ทัพวิลาต[๑]พร้อมแล้ว | เลือกถวาย |
ตังวาย[๒]พระเดชเบื้อง | บูรพา |
พูนพระยศฦๅสาย[๓] | สิทธิ์แล้ว |
สยามเทอดเลิศฦๅชา | ปรากฏ |
งามชาติงามเชื้อแกล้ว | เกริกไทย |
พระยศยงยิ่งท้าว | เธอสนอง[๔] |
นรเทพ[๕]อังกฤษไกร- | เกริกหล้า |
นายพลเอกพิเศษครอง | เสียมศักดิ์ |
โทเทพกึ่งฟ้า[๖]คว้า | หัตถ์ผสาน |
ราชกรณียกิจนี้ | ควรจา-รึกใน |
พระราชพงศาวดาร | ดุจเต้า |
ตามเฉลิมพระเดชา- | นุภาพ |
พระมงกุฎเกล้าเจ้า | เจิดเศียร |
พุทธศกสองสี่ห้า | แปดขาด ตัวเมื่อ |
ศุภมาสกันยมาสเวียน | ว่องรู้ |
ที่ยี่สิบสองราช | โทรเลข ถึงแล |
จากพระยอร์ชเจ้าผู้ | ผ่านทิวา[๗] |
เชิญธำรงพระยศเรื้อง | ราชฤทธิ์ |
พลเอกพิเศษปรา- | กฏอ้าง |
แห่งทัพบกอังกฤษ | ทั้งหมด |
สมพระเกียรติเจ้าช้าง | เผือกพงศ์ |
เครื่องทรงยงยุทธ ‘แก้ว’[๘] | กำยำ |
หากว่าพระจะทรง | ประสิทธิ์ไว้ |
ทหารราบเบา ‘เดอะรำ’ | ราบเก่า |
คือราบที่ไท้ได้ | อดีตครอง[๙] |
รุ่งวันพลันเทพเจ้า | จอมธรรม์ เรานอ |
ตอบราชไมตรีสนอง | เกียรตินั้น |
ถวายพระยศสยามอัน | โอภาส |
สองราชสองหล้าหมั้น[๑๐] | เหมาะเหลือ |
สยามชาติวิลาตล้วน | นักรบ เจียวแล |
ใจจึ่งจวบใจเจือ | เจตน์ตั้ง |
กิจราชส่งราษฎร์สบ | สหศักดิ์[๑๑] |
สองราชสองหล้ากั้ง | เกียรติเห็น |
กรุงสยามงามพักตร์เพี้ยง | เพ็ญยศ |
บูรพ์ประเทศไทยเป็น | เยี่ยงไว้ |
เก่าก่อนห่อนปรากฏ | กิตติศัพท์ ฉะนี้เลย[๑๒] |
ไร้ราชอาจฉะนี้ได้ | ดั่งฤๅ |
เรามีวีร[๑๓]ราชแล้ว | รังรักษ์[๑๔] |
ธ จะพาเรากะพือ | เพิกหล้า |
สรรพสิ่งอุปสรรค | กษัย[๑๕]หมด |
สยามเกียรติจักฟุ้งฟ้า | เฟื่องหน |
ขอพระยศอยู่คู่ฟ้า | ดินวาย เทียวเทอญ |
ขอพระชนม์เจริญจน | จวบร้อย |
พระเดชดั่งนารายณ์ | เรืองฤทธิ์ |
เสวยสุขดั่งข้าน้อย | พร่ำวอน |
๑ ธันว์. ๕๘
[๑] วิสาต โบราณเรียกอังกฤษว่า ‘วิลาต’ เช่น เหล็กวิลาต บัดนี้เรียก ‘แก้ว’ อีกอย่างหนึ่ง
[๒] ตังวาย บูชา บวงสรวง
[๓] ฦๅสาย เป็นคำโบราณ มักเขียนว่า ‘ฦๅสาย’ น่าจะหมายความว่าผู้เป็นเชื้อสายแห่งผู้มีชื่อเสียงเลื่องฦๅ
[๔] สนอง ตอบ แผลงเป็น ‘สำนอง’ ใช้กินความถึงรับจะตอบแทน หรือรับใช้หนี้
[๕] นรเทพ คนเป็นเทวดา คือมหากษัตริย์
[๖] กึ่งฟ้า สยามกับอังกฤษอยู่คนละซีกโลก
[๗] .......ทิวา เมืองขึ้นของอังกฤษนั้นอวดอ้างกันว่ามีทั่วโลก จนพระอาทิตย์ไม่รู้ตกดิน คือ เป็นกลางวัน ณ ที่ใดที่หนึ่งตลอดทั้ง ๒๔ ชั่วโมง ในที่นี้จึงใช้ว่า ‘ผ่านทิวา’ คือกษัตริย์แห่ง ‘กลางวัน’
[๘] แก้ว เราเรียกอังกฤษว่า ‘แก้ว’ ดูคำอธิบายศัพท์ ‘วิลาต’
[๙] ......อดีตครอง เวลาที่ทรงศึกษาอยู่ ณ ประเทศอังกฤษ ได้ทรงพระยศเป็นนายทหารประจำการในราบเบาแห่งจังหวัด Durham
[๑๐] หมั้น ผูกสัมพันธมิตรไมตรี ความเดียวกับหมั้นคู่รัก หรือที่โบราณใช้ว่า “เป็นทองแผ่นเดียวกัน”
[๑๑] ......ศักดิ์ เมื่อพระเจ้าแผ่นดินทรงศักดิ์เห็นปานไฉน ก็ชื่อว่าประเทศ คือราษฎรทั้งหมดได้ถึงซึ่งศักดิ์เห็นปานฉะนั้นด้วย
[๑๒] ......เลย เอ็มเปอเรอร์ญี่ปุ่นได้ทรงศักดิ์เป็นจอมพลแห่งกองทัพอังกฤษต่อภายหลัง เมื่อญี่ปุ่นได้เข้าฐานเป็นมหาประเทศโดยชัดเจนแล้ว
[๑๓] วีร นักรบผู้กล้าหาญที่สุด ผู้ทรงกำลังใจอันสูงสุด ผู้ชนะเลิศควรบูชายิ่ง ควรใช้ฉะเพาะแก่ผู้วิเศษจริงๆ เท่านั้น
[๑๔] รังรักษ์ เข้าตั้งรักษาไว้ ถนอมไว้ ปกครอง
[๑๕] กษัย ตกไป หมดไป พ่ายแพ้