- ๑. ราชสดุดี
- ๒. สภาพพ้อ
- ๓. พหูสูต
- ๔. ภาพทะเลเวลาเดือนหงาย
- ๕. ล้อมรั้ว-เรี่ยไรสร้างเรือรบพระร่วง
- ๖. เรือรบพระร่วง
- ๗. นายพลเอกพิเศษแห่งกองทัพอังกฤษ
- ๘. ราชสดุดี-ดอนเจดีย์
- ๙. สงครามโลก ศตวรรษที่ ๒๕
- ๑๐. จอมพลฟช
- ๑๑. ดุษฎี"เอ็มเด็น"
- ๑๒. การบินเยี่ยมอินเดีย
- ๑๓. ศานติคณะของเค็ลลอก
- ๑๔. ระยะต่างๆ
- ๑๕. วิถีของผู้นำกับผู้ตาม
- ๑๖. ผู้เล็งผลเลิศ กับ ผู้เพ่งผลสำเร็จ
- ๑๗. มาตราวัดราคาคน
- ๑๘. ความมีจนของประเทศ
- ๑๙. หนีเสือปะจระเข้
- ๒๐. อั้งยี่
- ๒๑. นิทานที่ข้าพเจ้าชอบ
- ๒๒. ทหารเอกสยามสู้เศรษฐสงคราม
- ๒๓. พันธุ์เจริญ
- ๒๔. ต่อรอง
- ๒๕. รุกเงียบเงียบ
- ๒๖. ลาแล้วพันธุ์เจริญ
- ๒๗. อเมริกา กับ อเมริกัน
- ๒๘. อารยธรรม
- ๒๙. ฐานะของไทย
- ๓๐. ขุมทรัพย์ ๔
- ๓๑. ประชาสามัญของเรา
- ๓๒. ทำไมโจรผู้ร้ายจึงชุกชุม
- ๓๓. ศาสนาวันนี้
- ๓๔. เกร็ดเรื่องภาษี
- ๓๕. คณะเพาะปลูก
ผู้เล็งผลเลิศ กับ ผู้เพ่งผลสำเร็จ
หรือ
ช่างคิด กับ ช่างทำ
The Idealist กับ The Practical Man
ผู้เล็งผลเลิศ
(โคลงจัตวาทัณฑี-เหมือนโคลงสุภาพ แต่บาท ๒ คำที่ ๔ รับสัมผัสกับคำที่ ๗ บาทต้น แทนคำที่ ๕)
ผู้เล็งผลเลิศล้วน | อาศัย ศูนย์สุด[๑] |
เพียงแต่ขอไปที | ท่านท้วง |
ผลสำเร็จเจือใน | ทางโทษ |
ดีล่อนๆ ครั้นล้วง | ลึกเข้าเลยเหลว |
ดีเลวสำเร็จได้ | ดุจกัน |
ดีปัจจุปบันภาย | ภาคหน้า |
กลับให้โทษ, ฤๅพลัน | ชักเนิ่น นานนอ |
เพราะแกว่งกวัดชัดช้า | กว่าใช้ปืนเล็ง[๒] |
ผู้เพ่งผลสำเร็จ
ผู้เพ่งผลสำเร็จรู้ | แรงงาน |
ปรับเหมาะฉะเพาะกาลณ | บัดนี้ |
อุปสรรคน้อยใหญ่พาน | เพียรล่วง |
สู้ไม่ได้ดุ่มลี้ | หลีกแล้วเลยไป[๓] |
ชาญชัยไหวพริบล้วน | แหลมหลัก |
เลิศหมากรุกนักเลง | นักรู้ |
ผลสำเร็จจำจัก | บรรลุ เจียวแล |
สมส่วนสามารถกู้ | กิจรู้ระวังการ |
เมื่อนี้ระอา เมื่อหน้าสำนึกคุณ
ขานเขตต์คู่คตินี้ | มีนัย |
หากว่าอาศัยกัน | เก่งแท้ |
แต่ต่างวิสัยไฉน | ยากสนิท |
เลิศต่อเลิศฤๅแพ้ | เที่ยงแท้เถียงกัน |
วันนี้ผู้เพ่งข้าง | ทางจำ[๔] สำเร็จ |
ตำหนิผู้นำไกล | ว่าล้วน |
รู้มากยากนานทำ | บ่ถูก |
ความคิดติดถี่ถ้วน | แต่ล้วนสุดวิสัย[๕] |
ต่อไปในเมื่อหน้า | นานวัน |
ดีชั่วพัวพันเห็น | ประจักษ์แจ้ง |
งาไหม้ถั่วไม่ทัน | จะสุก |
ครั้นสำนึกคุณสิแล้ง | ล่วงแล้วเวลา |
๑๗ มกร. ๗๒
[๑] ศูนย์สุด ข้อมุ่งหรือวัตถุที่ประสงค์ในที่สุด ไม่ใช่สักแต่ที่หมาย หรือที่พักพิงชั่วคราว
[๒] เล็ง การหมายศูนย์สุด เปรียบเหมือนเล็งปืน ย่อมได้ทางตรงเป็นทางสั้นที่สุด แต่การกวัดแกว่งแก้ไปแก้มา เปรียบเหมือนเส้นคดโค้ง ย่อมยืดยาวกว่าเส้นตรงซึ่งอยู่ในระหว่างจุดคู่เดียวกัน อันเป็นต้นทางกับปลายทาง
[๓] ......ไป เมื่อประสพอุปสรรคที่ขบไม่แตก ก็ปล่อยไว้และหลีกเลี่ยงเลยไป การหลีกเลี่ยงนั้นเอง เป็นการออกนอกทาง ทำให้อ้อมค้อมไปจากทางตรง อนึ่ง อุปสรรคที่ปล่อยไว้นั้นเอง อาจส่งผลให้เป็นโทษก็ได้
[๔] จำ จำเป็น จำต้อง
[๕] สุดวิสัย เหลือที่จะทำได้ Not practical