- ๑. ราชสดุดี
- ๒. สภาพพ้อ
- ๓. พหูสูต
- ๔. ภาพทะเลเวลาเดือนหงาย
- ๕. ล้อมรั้ว-เรี่ยไรสร้างเรือรบพระร่วง
- ๖. เรือรบพระร่วง
- ๗. นายพลเอกพิเศษแห่งกองทัพอังกฤษ
- ๘. ราชสดุดี-ดอนเจดีย์
- ๙. สงครามโลก ศตวรรษที่ ๒๕
- ๑๐. จอมพลฟช
- ๑๑. ดุษฎี"เอ็มเด็น"
- ๑๒. การบินเยี่ยมอินเดีย
- ๑๓. ศานติคณะของเค็ลลอก
- ๑๔. ระยะต่างๆ
- ๑๕. วิถีของผู้นำกับผู้ตาม
- ๑๖. ผู้เล็งผลเลิศ กับ ผู้เพ่งผลสำเร็จ
- ๑๗. มาตราวัดราคาคน
- ๑๘. ความมีจนของประเทศ
- ๑๙. หนีเสือปะจระเข้
- ๒๐. อั้งยี่
- ๒๑. นิทานที่ข้าพเจ้าชอบ
- ๒๒. ทหารเอกสยามสู้เศรษฐสงคราม
- ๒๓. พันธุ์เจริญ
- ๒๔. ต่อรอง
- ๒๕. รุกเงียบเงียบ
- ๒๖. ลาแล้วพันธุ์เจริญ
- ๒๗. อเมริกา กับ อเมริกัน
- ๒๘. อารยธรรม
- ๒๙. ฐานะของไทย
- ๓๐. ขุมทรัพย์ ๔
- ๓๑. ประชาสามัญของเรา
- ๓๒. ทำไมโจรผู้ร้ายจึงชุกชุม
- ๓๓. ศาสนาวันนี้
- ๓๔. เกร็ดเรื่องภาษี
- ๓๕. คณะเพาะปลูก
ความมีจนของประเทศ
(ลำนำนกกระทุง - วรรคหนึ่งกำหนด ๔ พยางค์เป็นปกติ แต่ร่นลงได้เป็น ๒ หรือยืดออกไปได้อย่างมากเพียง ๘ ถ้าน้อยคำก็ร้องทอดจังหวะให้ห่าง ถ้ามากคำก็ขยับจังหวะให้ถี่เข้า เวลาอ่านจึงควรใช้จังหวะถี่ห่างให้พอดีแก่คำมากน้อยในวรรคหนึ่งๆ ด้วย จึงจะฟังไพเราะ)
เจ้าอารยธรรมเอย | |
ใหม่เก่าเข้างำ | มันเล่นเอาลำบากมาก |
อย่างใหม่ใช้เงินตะพัด | เพื่อปฏิบัติเอาความอยาก |
เราไม่เคยทำก็ลำบาก | มันให้กระดากใจ[๑]เอย |
(ลูกคู่) เจ้านกกระทุงเอย | |
ทำตูดตุงตุง | นกกระทุงว่าจะไข่ |
สานพ้อมใหญ่ใหญ่ | ไว้ใส่ไข่เจ้านกกระทุง |
อารยธรรมเอย | |
เจ้าถูกครอบงำ | ด้วยกฎบทอนิจฺจํ[๒] |
เก่าไปใหม่มา | ยังทำท่าเก้กัง |
จะเปลี่ยนใหม่อีกกะมัง | ดังภูษาสตรี[๓]เอย |
(ลูกคู่) พระเจ้าเงินตรา | |
บุญคุณนักหนา | ช่วยโลกครามครัน[๔] |
ถ้าคุณมหันต์โทษอนันต์ | หนักเข้าก็พลันระอาเอย |
เอี่ยมอารยธรรมอวย | |
ราษฎร์รวยรัฐรวย | เลอเลิศประเสริฐศรี |
เจริญรัฐพาณิชย์ | รัฐสามิต[๕]มากมี |
กำลังราษฎร์ชาติพลี[๖] | ช่วยรัฐได้ดีจริงเอย |
(ลูกคู่) เจ้านกกระทุงเอย | |
อิ่มหนำอำรุง | นกกระทุงทองจะไข่ |
ท่วมท้องพระคลังใหญ่ | ให้ล้วนแต่ไข่ทองเอย |
ถ้าอารยธรรมปรน | |
ราษฎร์รวยรัฐจน | ก็ยังค่อยยังชั่ว |
เพิ่มภาษีมี่จังกอบ[๗] | ราษฎร์ไม่บอบช้ำกลัว |
แต่ราษฎร์จนรัฐมัว | มารีดเลือดไม่เหือดเลย |
(ลูกคู่) เจ้านกกระทุงเอย | |
ทำตูดตุงตุง | จะออกทุ่งหรือจะไข่ |
สานพ้อมใหญ่ใหญ่ | ไว้ใส่อะไรนกกระทุง |
เอี่ยมอารยธรรมอวย | |
ราษฎร์จนรัฐรวย | ท่านว่าไม่ได้เรื่อง |
เพราะที่ไหนจะได้ยืด | จำจะต้องฝืดต้องเคือง |
จัดภาษีใหม่ให้หมดเปลื้อง[๘] | เมลืองรูปบำรุงเอย |
(ลูกคู่) เจ้านกกระทุงเอย | |
พวก ‘เจ้าคอซุง’[๙] | เสียภาษีมากได้ |
ก็ไข่น้อยน้อยที่ไหน | จะเท่าไข่เจ้านกกระทุง |
๓ กุมภ์. ๗๒
[๑] กระดากใจ ชาวบ้านนอกของเราเดี๋ยวนี้ที่ไม่ยอมรับจ้าง แต่ถ้าพูดจาเป็นเชิงไหว้วานก็มีแก่ใจทำให้ยังมีอยู่มาก เป็นซากของอารยธรรมเก่าที่ยังเหลืออยู่
[๒] อนิจฺจํ คือกฎแห่งความเปลี่ยนแปลง ที่พระพุทธเจ้าได้ทรงบัญญัติไว้ว่า “สิ่งทั้งหลายในโลกไม่เที่ยง ย่อมเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ” กฎนี้วิทยาศาสตร์สมัยนี้ก็รับรอง
[๓] ภูษาสตรี แต่ก่อนสตรีเรานุ่งผ้า ภายหลังเปลี่ยนเป็นนุ่งซิ่น เดี๋ยวนี้นุ่งใส่เสื้อก็เหมือนกัน ประเดี๋ยวแขนยาว ประเดี๋ยวแขนสั้น ประเดี๋ยวเลยไม่มีแขน แฟชั่นเครื่องแต่งตัวของชายแพ้ของหญิง ในทางเปลี่ยนไม่หยุด
[๔] ......ครัน เพราะใช้เงินเป็นมาตรา การแลกเปลี่ยนของเราจึงสะดวกด้วยประการทั้งปวง ไม่ต้องเสียเวลาเทียบเคียงขลุกขลักในเมื่อจะเอาหมูแลกกับหมวก เพราะเงินมนุษย์จึงได้สะสมสมบัติได้มากมาย เกิดมีมหาเศรษฐี มีความสะดวกในทางเศรษฐกรรมต่างๆ เช่น ธนาคาร การกู้ยืม การประกันชีวิตและสินค้า บริษัทจำกัด ฯลฯ จนที่สุดอาจกล่าวได้ว่า อารยธรรมปัจจุบันนี้สำเร็จได้ถึงเพียงนี้ เพราะได้อาศัยธนการเป็นปัจจัยนั่นเอง
[๕] สามิต รัฐพาณิชย์ คือ การค้าของรัฐบาล เช่น การเดิรรถไฟ การไปรษณีย์ ฯลฯ รัฐสามิต คือ เงินราชพลี เช่น ภาษีและจังกอบ
[๖] ......พลี กำลังของราษฎรช่วยชาติบ้านเมืองของตัวได้ นอกจากเสียภาษียังมีทางให้ปันเพื่อสาธารณประโยชน์ และความเจริญแห่งประเทศอีกมากมายนัก
[๗] ......มี่จังกอบ ภาษีนั้นรัฐบาลเก็บเพื่อการใช้จ่ายของประเทศ แต่จังกอบนั้นคือ Rate ที่เทศบาลประจำท้องที่กำหนดเก็บกันเอง มากน้อยตามกำลังทรัพย์ของราษฎรในท้องที่ภายในอำนาจที่กฎหมายอนุญาตให้มีจังกอบ คือเก็บจังกอบได้มากเพราะราษฎรรวย
[๘] ......เปลื้อง เลิกเก็บภาษีแก่คนจนไปเก็บแก่คนมั่งมี เช่น ภาษีรายได้ ภาษีมรดก ภาษีกำไร ฯลฯ กำหนดจำนวน ตั้งแต่มากพอควรขึ้นไปจึงเก็บเพื่อให้เข้าหลักแห่งการเก็บภาษีที่จะผ่อนให้ ต้องเดือดร้อนแต่น้อยที่สุด
[๙] เจ้าคอซุง ออกจากคำ ‘พ่อค้าซุง’ แปลว่า เศรษฐี เพราะแต่ก่อนใครเป็นพ่อค้าซุงคนนั้นเป็นเศรษฐี