- คำอธิบาย
- ๒๔๗ ประกาศมหาสงกรานต์ ปีฉลูสัปตศก
- ๒๔๘ ประกาศห้ามมิให้นายบ่อนทดรองเงินให้นักเลงเล่นเบี้ย อนุญาตให้ทำสารกรมธรรม์แทน
- ๒๔๙ ประกาศห้ามมิให้เขียนหนังสือทูลเกล้าฯ ถวายด้วยหมึกดินสอที่จืดจาง
- ๒๕๐ ประกาศเรื่องจีนทำอัฐปลอม
- ๒๕๑ ประกาศพระราชทานชื่อวัดเงินวัดทอง
- ๒๕๒ ประกาศไม่ให้พิกัดราคาเข้า
- ๒๕๓ ประกาศห้ามมิให้เล่นแอ่วลาว
- ๒๕๔ ประกาศให้ภาษีตั้งอยู่กับด่าน
- ๒๕๕ ประกาศให้ใช้เบี้ยทองแดงซีกเสี้ยว
- ๒๕๖ ประกาศพระราชบัญญัติลักษณลักพา
- ๒๕๗ ประกาศพิกัดภาษีน้ำมันมะพร้าว
- ๒๕๘ ประกาศพระราชพิธีโสกันต์สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์
- ๒๕๙ ประกาศห้ามมิให้ผู้ที่มิได้สังกัดวังหน้าโกนผม เมื่อพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ สวรรคต ที่ ๑
- ๒๖๐ ประกาศห้ามมิให้ผู้ที่มิได้สังกัดวังหน้าโกนผมเมื่อพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ สวรรคต ที่ ๒
- ๒๖๑ ประกาศเรื่องจะพระราชทานเบี้ยหวัดพระโอรสพระธิดา ในพระบวรราชวัง
- ๒๖๒ ประกาศมหาสงกรานต์ ปีขาลอัฐศก
- ๒๖๓ ประกาศพิกัดภาษีเรือตึกแพโรงร้าน
- ๒๖๔ ประกาศห้ามไม่ให้เอาเครื่องประดับทองเงินแต่งกายให้เด็ก ที่ยังไม่รู้จักหลีกหลบโจรผู้ร้าย
- ๒๖๕ ประกาศให้ใช้ทองแดงซีกเสี้ยวซึ่งทำบางกว่าครั้งแรก
- ๒๖๖ ประกาศให้เจ้าสำนักพรรคพวกของผู้ร้ายมาลุแก่โทษ
- ๒๖๗ ประกาศห้ามไม่ให้แต่งตัวเด็กด้วยเครื่องทองเงินแล้วปล่อยไปเที่ยวโดยลำพัง
- ๒๖๘ ประกาศเรื่องจำนำแลขายฝากกรรมสิทธิ์ที่ดิน
- ๒๖๙ ประกาศห้ามไม่ให้ข้าราชการคบหากับเศรษฐีบางแมวแลจีนทองเซ็ก
- ๒๗๐ ประกาศให้พวกที่อยู่แถวทิมในพระราชวังทำความสอาด
- ๒๗๑ ประกาศให้ผู้ติดใจสงสัยนายตุ้มมาสู้ความ
- ๒๗๒ ประกาศทรงปฏิญาณด้วยพระอาการกรมหมื่นมเหศวรศิววิลาส
- ๒๗๓ ประกาศให้ชำระคนไทยที่สูบฝิ่น
- ๒๗๔ ประกาศเลื่อน กรมหมื่นวรจักรธรานุภาพ แลกรมหมื่นราชสีหวิกรม เปนกรมขุน แลทรงตั้งสมเด็จเจ้าฟ้ามหามาลา สมเด็จเจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ เปนกรมขุน
- ๒๗๕ ประกาศพระราชบัญญัติเพิ่มเติมเรื่องขายฝากแลจำนำกรรมสิทธิ์ที่ดิน
- ๒๗๖ ประกาศพระราชทานบรรดาศักดิพ่อค้าต่างประเทศ
- ๒๗๗ ประกาศห้ามไม่ให้ขุนศาลตระลาการเจ้าหนี้นายเงินทำหนังสือยอมความแลสารกรมธรรมโดยลูกความแลทาสลูกหนี้ไม่รู้ไม่เห็น
- ๒๗๘ ประกาศพระราชบัญญัติเรื่องผัวขายเมียบิดามารดาขายบุตร
- ๒๗๙ ประกาศห้ามมิให้พนักงานผู้ยิงปืนพิธีตรุษทำอย่างอ้ายนากอ้ายแย้ม
- ๒๘๐ ประกาศมหาสงกรานต์ ปีมะโรงสัมฤทธิศก
- ๒๘๑ ประกาศให้ใช้พระนามสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอแลสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ ในหนังสือกราบบังคมทูล
- ๒๘๒ ประกาศให้ผู้จะตั้งตุลาการเลือกสรรตุลาการที่ลูกความไม่รังเกียจ
- ๒๘๓ ประกาศพระราชบัญญตลักษณลักพา
- ๒๘๔ ประกาศห้ามไม่ให้นักโทษร้องถวายฎีกาในเวลาเสด็จพระราชดำเนิน
- ๒๘๕ ประกาศให้เรียกนามวัดราชประดิษฐให้ถูก
- ๒๘๖ ประกาศสุริยุปราคาหมดดวง
๒๘๖ ประกาศสุริยุปราคาหมดดวง
ณวันพฤหัสบดี เดือน ๙ แรม ๓ ค่ำ ปีมะโรงสัมฤทธิศก
มีพระบรมราชโองการมารพระบัณฑูรสุรสิงหนาท ให้ประกาศแก่ข้าราชการผู้ใหญ่ผู้น้อย แลพระสงฆ์สามเณร แลทวยราษฎรทั้งปวงในกรุงเทพฯ แลหัวเมืองให้ทราบทั่วกันว่า สุริยุปราคาครั้งนี้จะมีในวันอังคาร เดือน ๑๐ ขึ้นค่ำ ๑ ปีมะโรงสัมฤทธิศก จะจับในเวลาเช้า ๔ โมงเศษไปจนเวลาบ่ายโมงเศษ จึงจะโมกษบริสุทธิ์ ก็สุริยุปราคาครั้งนี้ในกรุงเทพฯ นี้จะไม่ได้เห็นจับหมดดวง จะเห็นดวงพระอาทิตย์เหลืออยู่น้อยข้างเหนือ แรกจับจะจับทิศพายัพข้อนอุดร ในเวลาเช้า ๔ โมงกับบาทหนึ่ง แล้วหันคราธไปข้างใต้จนถึงเวลา ๕ โมง ๗ บาท จะสิ้นดวงข้างทิศอาคเณ ครั้นเวลา ๕ โมง ๘ บาทแล้วพระอาทิตย์จะออกจากที่บังข้างทิศพายัพ ครั้นบ่ายโมงกับ ๖ บาทจะโมกษบริสุทธิ์หลุดข้างทิศอาคเณ คำทายนี้ว่าที่ตำบลหัววาน
แต่ในกรุงเทพฯ นี้ จะจับเวลาเช้า ๔ โมงกับบาทหนึ่ง ข้อนๆ จับทิศพายัพเหมือนกัน แล้วจะหันเร่ไปข้างทิศปจิมแลหรดีแลทักษิณ จะจับมากที่สุดสัก ๕ ส่วนฤๅ ๖ ส่วนเหลือส่วนหนึ่ง เมื่อเวลา ๕ โมง ๘ บาทจะเหลืออยู่ข้างทิศอิสาณแลอุดร แล้วก็จะเร่ไปคายแลหลุดข้างทิศอาคเณเหมือนกัน ต่อในทเลลงไปในทิศใต้โดยอย่างใกล้ทีเดียวถึงประมาณ ๖๐๐๐ เส้นเศษจึงจะได้เห็นจับสิ้นดวง พระอาทิตย์มิดมืดอยู่นานถึงบาทหนึ่งของนาฬิกา คือ ๖ นาฑีนาฬิกากล แต่ในที่ต่างๆ เวลาจับนั้น บาทแลนาฑีก็คงไม่ต้องกัน สุริยุปราคาหมดดวงเช่นนี้ ในพระราชอาณาจักรแผ่นดินสยามล่วงกาลนานถึง ๕๖๐ ปีเศษ จึงจะได้เปนจะได้เห็นคราวหนึ่ง เปนการแปลกปลาดอยู่
แลการคำณวนสุริยุปราคาที่ว่าจะเปนเช่นนี้ ได้ทรงด้วยพระองค์ทราบเปนแน่มานาน ก่อนความเล่าลือกันอื้ออึงในคนต่างประเทศจะทราบ เพราะคนต่างประเทศอื้ออึงในเร็วๆ นี้ก็หาไม่ ได้ทรงกำหนดไว้ว่าจะเสด็จพระราชดำเนินลงไปทอดพระเนตร บัดนี้กำหนดนั้นถึงแล้วจึงจะเสด็จพระราชดำเนินออกไปเมืองประจวบคีรีขันธ์ พร้อมด้วยพระราชวงศานุวงศ์บางพระองค์แลเสนาบดีบางท่าน ทอดพระเนตรสุริยุปราคาที่ในอ่าวทเลชื่ออ่าวแม่รำพึงแขวงเมืองประจวบคีรีขันธ์
ในกรุงเทพฯ นี้ พระเจ้าน้องยาเธอกรมหลวงเทเวศรวัชรินทร์ กรมหลวงวงศาธิราชสนิท กรมหมื่นวรศักดาพิศาล กรมหมื่นภูบาลบริรักษ์ พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นภูมินทรภักดี พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นอนันตการฤทธิ พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นสิทธิสุขุมการ แลเจ้าพระยาทิพากรวงศ์มหาโกษาธิบดี เจ้าพระยายมราช เจ้าพระยาธรรมาธิกรณ์ เจ้าพระยาพลเทพ เจ้าพระยามุขมนตรี พระยาสิงหราชฤทธิไกร พระยามณเฑียรบาล จะได้อยู่รักษาพระนคร สุริยุปราคาครั้งนี้ไม่มีใครมายุยงดอกอย่าให้ราษฎรเล่าลือไป ว่าในหลวงถูกหลอกถูกลวงไม่รู้เท่ารู้ทันคนยุคนยงอะไรๆ
ประกาศมาณวันพฤหัสบดี เดือน ๙ แรม ๓ ค่ำ จุลศักราช ๑๒๓๐ ปีมะโรงสัมฤทธิศก