- คำอธิบาย
- ๒๔๗ ประกาศมหาสงกรานต์ ปีฉลูสัปตศก
- ๒๔๘ ประกาศห้ามมิให้นายบ่อนทดรองเงินให้นักเลงเล่นเบี้ย อนุญาตให้ทำสารกรมธรรม์แทน
- ๒๔๙ ประกาศห้ามมิให้เขียนหนังสือทูลเกล้าฯ ถวายด้วยหมึกดินสอที่จืดจาง
- ๒๕๐ ประกาศเรื่องจีนทำอัฐปลอม
- ๒๕๑ ประกาศพระราชทานชื่อวัดเงินวัดทอง
- ๒๕๒ ประกาศไม่ให้พิกัดราคาเข้า
- ๒๕๓ ประกาศห้ามมิให้เล่นแอ่วลาว
- ๒๕๔ ประกาศให้ภาษีตั้งอยู่กับด่าน
- ๒๕๕ ประกาศให้ใช้เบี้ยทองแดงซีกเสี้ยว
- ๒๕๖ ประกาศพระราชบัญญัติลักษณลักพา
- ๒๕๗ ประกาศพิกัดภาษีน้ำมันมะพร้าว
- ๒๕๘ ประกาศพระราชพิธีโสกันต์สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์
- ๒๕๙ ประกาศห้ามมิให้ผู้ที่มิได้สังกัดวังหน้าโกนผม เมื่อพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ สวรรคต ที่ ๑
- ๒๖๐ ประกาศห้ามมิให้ผู้ที่มิได้สังกัดวังหน้าโกนผมเมื่อพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ สวรรคต ที่ ๒
- ๒๖๑ ประกาศเรื่องจะพระราชทานเบี้ยหวัดพระโอรสพระธิดา ในพระบวรราชวัง
- ๒๖๒ ประกาศมหาสงกรานต์ ปีขาลอัฐศก
- ๒๖๓ ประกาศพิกัดภาษีเรือตึกแพโรงร้าน
- ๒๖๔ ประกาศห้ามไม่ให้เอาเครื่องประดับทองเงินแต่งกายให้เด็ก ที่ยังไม่รู้จักหลีกหลบโจรผู้ร้าย
- ๒๖๕ ประกาศให้ใช้ทองแดงซีกเสี้ยวซึ่งทำบางกว่าครั้งแรก
- ๒๖๖ ประกาศให้เจ้าสำนักพรรคพวกของผู้ร้ายมาลุแก่โทษ
- ๒๖๗ ประกาศห้ามไม่ให้แต่งตัวเด็กด้วยเครื่องทองเงินแล้วปล่อยไปเที่ยวโดยลำพัง
- ๒๖๘ ประกาศเรื่องจำนำแลขายฝากกรรมสิทธิ์ที่ดิน
- ๒๖๙ ประกาศห้ามไม่ให้ข้าราชการคบหากับเศรษฐีบางแมวแลจีนทองเซ็ก
- ๒๗๐ ประกาศให้พวกที่อยู่แถวทิมในพระราชวังทำความสอาด
- ๒๗๑ ประกาศให้ผู้ติดใจสงสัยนายตุ้มมาสู้ความ
- ๒๗๒ ประกาศทรงปฏิญาณด้วยพระอาการกรมหมื่นมเหศวรศิววิลาส
- ๒๗๓ ประกาศให้ชำระคนไทยที่สูบฝิ่น
- ๒๗๔ ประกาศเลื่อน กรมหมื่นวรจักรธรานุภาพ แลกรมหมื่นราชสีหวิกรม เปนกรมขุน แลทรงตั้งสมเด็จเจ้าฟ้ามหามาลา สมเด็จเจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ เปนกรมขุน
- ๒๗๕ ประกาศพระราชบัญญัติเพิ่มเติมเรื่องขายฝากแลจำนำกรรมสิทธิ์ที่ดิน
- ๒๗๖ ประกาศพระราชทานบรรดาศักดิพ่อค้าต่างประเทศ
- ๒๗๗ ประกาศห้ามไม่ให้ขุนศาลตระลาการเจ้าหนี้นายเงินทำหนังสือยอมความแลสารกรมธรรมโดยลูกความแลทาสลูกหนี้ไม่รู้ไม่เห็น
- ๒๗๘ ประกาศพระราชบัญญัติเรื่องผัวขายเมียบิดามารดาขายบุตร
- ๒๗๙ ประกาศห้ามมิให้พนักงานผู้ยิงปืนพิธีตรุษทำอย่างอ้ายนากอ้ายแย้ม
- ๒๘๐ ประกาศมหาสงกรานต์ ปีมะโรงสัมฤทธิศก
- ๒๘๑ ประกาศให้ใช้พระนามสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอแลสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ ในหนังสือกราบบังคมทูล
- ๒๘๒ ประกาศให้ผู้จะตั้งตุลาการเลือกสรรตุลาการที่ลูกความไม่รังเกียจ
- ๒๘๓ ประกาศพระราชบัญญตลักษณลักพา
- ๒๘๔ ประกาศห้ามไม่ให้นักโทษร้องถวายฎีกาในเวลาเสด็จพระราชดำเนิน
- ๒๘๕ ประกาศให้เรียกนามวัดราชประดิษฐให้ถูก
- ๒๘๖ ประกาศสุริยุปราคาหมดดวง
๒๘๔ ประกาศห้ามไม่ให้นักโทษร้องถวายฎีกาในเวลาเสด็จพระราชดำเนิน
ณวันพุธ เดือน ๗ แรม ๑๒ ค่ำ ปีมะโรงสัมฤทธิศก
มีพระบรมราชโองการดำรัสสั่งให้ประกาศทุกหมู่ทุกกรม บรรดาที่มีคนโทษจำไว้คุมไว้ในที่นั้นๆ ว่าวิสัยคนโทษต้องจำด้วยเหตุอันควรก็ดี ด้วยเหตุอันไม่ควรก็ดี ก็คงคิดอ่านดิ้นแต่ที่จะออกจะหนี ผู้ที่จะสมัคติดโทษอยู่นั้นไม่มี โดยเปนอ้ายผู้ร้ายปล้นแลย่องเบาวิ่งราวแล้วมันก็ยังอยากจะออกไปคุมพวกปล้นฤๅย่องเบาวิ่งราวอิก ตามการถนัดของมัน จะว่าไปใยเล่าในคนโทษที่เบาๆ กว่านั้น ที่สุดลงมาถึงคนไม่มีความผิดเปนแต่ต้องเกาะครองเปนจำนำแทนญาติฤๅใครผู้ผิด ก็คนไพร่เหล่านี้มีลัทธิสักดำอยู่ในหัวใจลบไม่หาย ว่าเจ้าชีวิตหูอยู่นาตาอยู่ไร่อะไรๆ ก็ไม่รู้ แต่เปนผู้ศักดิ์สิทธิ์สั่งการว่าอย่างไรก็ต้องเปนอย่างว่านั้น เมืองไทยตั้งเจ้าชีวิตเปนโม่งไว้สำหรับตบมือให้ไล่ล่อให้ไปข้างนั้นล่อให้ไปข้างนี้ เพราะฉนั้นอ้ายไพร่ที่มีคดีถ้อยความต่างๆ ตามประสงค์อยากแต่จะร้องแก่ในหลวงแห่งเดียว คิดจะหลอกในหลวงแต่ให้หลงสั่งการตามใจมัน เพราะสำคัญว่าสั่งแล้วไม่มีใครขัดได้ ถ้าจะตามใจอ้ายไพร่ให้ร้องแก่ในหลวงแล้ว จะตั้งขุนนางชั้นใหญ่ชั้นรองชั้นสองชั้นสามไว้ทำไม ขุนนางชั้นผู้ใหญ่ก็ได้โปรดให้มีอาญาสิทธิสั่งงานสั่งการสำเร็จสิทธิขาดได้ในกรมนั้นไม่ใช่ฤๅ อนึ่งคนโทษก็ต้องกักต้องขังสกปรกรุงรังมากนัก ผู้มีบรรดาศักดิ์เปนขุนนางจะไปเปนผู้คุมเองได้ฤๅ ก็คงจะต้องตั้งอ้ายไพร่ที่ใจแขงกล้าร้ายกาจ มีเมตตากรุณาน้อยเปนผู้คุมใหญ่ผู้คุมรอง เมื่อเปนดังนี้ผู้คุมมันก็คงข่มเหงคนโทษผิดๆ ถูกๆ เปนธรรมดา ถ้าเปนขุนนางเปนใหญ่ขึ้นมาเอาใจใส่น้อยก็คงเปนหนักเข้า ถ้าเอาใจใส่มากก็คงจะค่อยเบาลง ถึงกระนั้นจะให้สมประสงค์อ้ายคนโทษก็คงไม่ได้ตามใจของมัน คอยหาช่องแต่ที่จะมาร้องแก่ในหลวงทุกอย่างทุกสิ่งทั้งจริงทั้งเท็จ ก็ถ้าในหลวงจะเข้ารับแบกหามเอาธุระคำร้องของอ้ายคนโทษทุกทิศทุกทาง ทุกคุกทุกตรางแลทิมแล้ว ในหลวงมีที่เสด็จไปทางไหนคนโทษในทิมในตรางนั้นๆ ก็จะร้องแซ่เสียงไปทุกทิมทุกตรางไม่ว่างไม่เว้น เมื่อเปนอย่างนี้งามแก่พระบารมีในหลวงแลบ้านเมืองอยู่แล้วฤๅ แต่ก่อนเล่าฦๅว่าในหลวงย่อมอยู่ในกำแพงขัง ไม่ให้ไพร่เข้ามาตาปีตาชาติ มีเวลาจะได้ออกประพาสปีละครั้งแต่หน้าฤดูกฐิน ทางเสด็จทางเรือก็เปนทางไกล ถึงร้องฎีกาอยู่ริมฝั่งก็ไม่ได้ยิน จะมีที่ร้องแต่บนบก ถึงกระนั้นทางเสด็จไปในพระนคร ก็มีจุกช่องล้อมวงเสียเข้ามาใกล้ไม่ได้ มีทางจะดอดเข้ามาร้องได้แต่ที่ข้างโรงเรือนหน้าประตูเทวาภิรมย์ เดี๋ยวนี้ในหลวงก็ออกอยู่ที่หน้าสุทไธศวริยเนืองๆ มีวันกำหนดนัดให้ราษฎรมาร้องฎีกาเดือนละ ๔ ครั้ง ขึ้น ๗ ค่ำ ขึ้น ๑๔ ค่ำ แลแรม ๗ ค่ำ แลแรม ๑๔ค่ำ ฤๅแรม ๑๓ ค่ำใกล้วันพระทุกเมื่อ ถึงในวันเหล่านั้นไม่ได้เสด็จออก ก็โปรดให้พระเจ้าลูกเธอออกไปรับเข้ามาถวาย ก็วันอื่นๆ เมื่อเสด็จออกที่หน้าพระที่นั่งสุทไธศวริย ให้ราษฎรใครๆ จะมาชูฎีกาถวายก็ได้ก็โปรดให้รับ อนึ่งญาติพี่น้องพวกพ้องของใครมี เมื่อผู้คดีติดกักขังจองจำอยู่มาไม่ได้ เขียนฎีกามาให้ร้องแทนก็ทรงรับ อนึ่งเจ้าขุนมูลนายญาติพี่น้องของผู้ต้องคดีมีตัวเปนข้าราชการฝ่ายหน้าฝ่ายใน จะรับมาถวายเมื่อเวลาหนึ่งเวลาใดก็ได้ ไม่ชอบพระราชหฤทัยอยู่แต่ที่ร้องสกัดขวางทางเสด็จนั้น ทรงพระราชดำริห์เห็นว่าไม่ควรไม่ชอบพระราชหฤทัย เพราะเปนอันถือตำราเก่าไป ว่าผู้จะได้พบเสด็จเพ็ดทูลยาก จะได้ช่องร้องฎีกาแต่เมื่อเวลาเสด็จพระราชดำเนินไปไหนๆ ฤๅผู้ร้องพอใจจะเอายศว่าสกัดเสด็จให้หยุดอยู่ได้ จึงพอใจร้องเมื่อเวลาเสด็จ ก็ผู้ที่ร้องเมื่อเวลาเสด็จพระราชดำเนินนั้น คดีก็ไม่โปรดให้ชำระสักเรื่องหนึ่ง ก็ยังขืนร้องร่ำไปไม่ฟังคำประกาศ เมื่อเสด็จพระราชดำเนินไปมีผู้ร้องทรงนิ่งเสียกระบวรเสด็จล่วงไป ที่ทุกวันเรียกว่าเลยๆ นั้น ผู้ร้องก็ลุกขึ้นวิ่งตามกระบวรเสด็จร้องเสียงดังตามมาข้างหลังว่า โปรดสัตว์ผู้ยากเจ้าข้า โปรดสัตว์ผู้ยากเจ้าข้า จนสุดๆ เสียง เหมือนหนึ่งร้องว่าเจ้าชีวิตโวยหยุดก่อนโวยเหมือนกัน งามบ้านงามเมืองอยู่แล้วฤๅ คนเกิดมาเปนคนก็ควรจะต้องมีญาติพี่น้องพวกพ้องเผ่าพันธุ์บุตรภรรยาเจ้าขุนมูลนาย ผู้ใดผู้หนึ่งซึ่งรู้จักมักคุ้นควรจะเปนที่พึ่งได้อย่างใดอย่างหนึ่ง การซึ่งมาร้องฎีกาแทนกัน ถ้าส่งตัวเจ้าของฎีกาได้แล้ว การก็ไม่เกี่ยวข้องอะไรกับผู้เอาฎีกามา เว้นแต่ผู้เจ้าของที่ว่าให้เอาฎีกามานั้นไม่รับว่าให้ร้อง แลผู้ถวายฎีกานั้นเกี่ยวข้องในความเรื่องนั้นด้วย ผู้ถวายฎีกาจึงต้องเปนโทษด้วย ก็อ้ายคนโทษซึ่งติดขังอยู่จนหาผู้ประกันตัวมาให้ร้องฎีกาก็ดี มาร้องฎีกาแทนก็ดีไม่ได้แล้ว ก็ย่อมจะเปนที่รู้ว่าผู้นั้นมีคดีอันทรุดโทรมฦกซึ้ง ไม่มีใครเขาเห็นด้วย เขาจึงไม่ช่วยเอาเปนธุระ ก็จะปล่อยให้มันร้องเองเมื่อเวลาเสด็จพระราชดำเนินไปใกล้คุกใกล้ทิม ก็จะเปนอย่างให้คนโทษแตกตื่นเอิกเกริกอื้ออึงไป ตั้งแต่นี้สืบไปเมื่อหน้า จะมีทางเสด็จพระราชดำเนินไปมาทิศใดทางใด ในทางนั้นถ้ามีทิมมีตรางมีคุกที่ขังคนโทษอยู่ทิศใดถิ่นใด ก็ให้กรมวังมีบัตรหมายไปให้เจ้าของมาระวังคนโทษในที่ขังของตัวๆ อย่าให้ร้องแรกวุ่นวายไป แลอย่าให้ออกวิ่งไล่กระบวรเสด็จ คนโทษทั้งปวงเมื่อผู้คุมข่มเหงเกินฤๅทำอย่างไรผิดๆ นัก ก็ให้ร้องต่อเจ้าขุนมุลนายในหมู่นั้นกรมนั้นจนถึงผู้หลักผู้ใหญ่ในกรมนั้นเปนที่สุด อย่าให้คอยร้องสกัดทางเสด็จเลย ถ้าจะร้องในหลวงก็ให้หาผู้นายหน้ามาร้องถวายเรื่องราวแทนในเวลาที่โปรดให้ร้อง อย่าให้กำเริบในเวลาที่เสด็จพระราชดำเนิน ถ้ากำเริบร้องในเวลาที่เสด็จพระราชดำเนินในทิมใดตรางใด การที่ร้องก็จะไม่เอาเปนคดี เจ้าของทิมเจ้าของตรางผู้คุมใหญ่ผู้คุมรองจะต้องรับพระราชอาญาเฆี่ยน ให้ผู้หลักผู้ใหญ่ทุกหมวดทุกกรมเอาใจใส่ความทุกข์ของคนโทษ อย่าให้ผู้คุมทำเหลือเกินอย่างธรรมเนียมไป เมื่อคนโทษมาร้องอย่างไร ก็ให้ไต่ถามตัดสินให้ อย่าปล่อยให้คนโทษข้ามเกินเจ้าขุนมุลนายเจ้าของทิมเจ้าของกระทรวงมาร้องเอิกเกริกแก่ในหลวง เมื่อเวลาเสด็จพระราชดำเนินได้
ประกาศมาณวันพุธ เดือน ๗ แรม ๑๒ ค่ำ ปีมะโรงสัมฤทธิศก จุลศักราช ๑๒๓๐ ฤๅเปนวันที่ ๖๒๔๔ ในรัชกาลปัตยุบันนี้