- คำอธิบาย
- ๒๔๗ ประกาศมหาสงกรานต์ ปีฉลูสัปตศก
- ๒๔๘ ประกาศห้ามมิให้นายบ่อนทดรองเงินให้นักเลงเล่นเบี้ย อนุญาตให้ทำสารกรมธรรม์แทน
- ๒๔๙ ประกาศห้ามมิให้เขียนหนังสือทูลเกล้าฯ ถวายด้วยหมึกดินสอที่จืดจาง
- ๒๕๐ ประกาศเรื่องจีนทำอัฐปลอม
- ๒๕๑ ประกาศพระราชทานชื่อวัดเงินวัดทอง
- ๒๕๒ ประกาศไม่ให้พิกัดราคาเข้า
- ๒๕๓ ประกาศห้ามมิให้เล่นแอ่วลาว
- ๒๕๔ ประกาศให้ภาษีตั้งอยู่กับด่าน
- ๒๕๕ ประกาศให้ใช้เบี้ยทองแดงซีกเสี้ยว
- ๒๕๖ ประกาศพระราชบัญญัติลักษณลักพา
- ๒๕๗ ประกาศพิกัดภาษีน้ำมันมะพร้าว
- ๒๕๘ ประกาศพระราชพิธีโสกันต์สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์
- ๒๕๙ ประกาศห้ามมิให้ผู้ที่มิได้สังกัดวังหน้าโกนผม เมื่อพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ สวรรคต ที่ ๑
- ๒๖๐ ประกาศห้ามมิให้ผู้ที่มิได้สังกัดวังหน้าโกนผมเมื่อพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ สวรรคต ที่ ๒
- ๒๖๑ ประกาศเรื่องจะพระราชทานเบี้ยหวัดพระโอรสพระธิดา ในพระบวรราชวัง
- ๒๖๒ ประกาศมหาสงกรานต์ ปีขาลอัฐศก
- ๒๖๓ ประกาศพิกัดภาษีเรือตึกแพโรงร้าน
- ๒๖๔ ประกาศห้ามไม่ให้เอาเครื่องประดับทองเงินแต่งกายให้เด็ก ที่ยังไม่รู้จักหลีกหลบโจรผู้ร้าย
- ๒๖๕ ประกาศให้ใช้ทองแดงซีกเสี้ยวซึ่งทำบางกว่าครั้งแรก
- ๒๖๖ ประกาศให้เจ้าสำนักพรรคพวกของผู้ร้ายมาลุแก่โทษ
- ๒๖๗ ประกาศห้ามไม่ให้แต่งตัวเด็กด้วยเครื่องทองเงินแล้วปล่อยไปเที่ยวโดยลำพัง
- ๒๖๘ ประกาศเรื่องจำนำแลขายฝากกรรมสิทธิ์ที่ดิน
- ๒๖๙ ประกาศห้ามไม่ให้ข้าราชการคบหากับเศรษฐีบางแมวแลจีนทองเซ็ก
- ๒๗๐ ประกาศให้พวกที่อยู่แถวทิมในพระราชวังทำความสอาด
- ๒๗๑ ประกาศให้ผู้ติดใจสงสัยนายตุ้มมาสู้ความ
- ๒๗๒ ประกาศทรงปฏิญาณด้วยพระอาการกรมหมื่นมเหศวรศิววิลาส
- ๒๗๓ ประกาศให้ชำระคนไทยที่สูบฝิ่น
- ๒๗๔ ประกาศเลื่อน กรมหมื่นวรจักรธรานุภาพ แลกรมหมื่นราชสีหวิกรม เปนกรมขุน แลทรงตั้งสมเด็จเจ้าฟ้ามหามาลา สมเด็จเจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ เปนกรมขุน
- ๒๗๕ ประกาศพระราชบัญญัติเพิ่มเติมเรื่องขายฝากแลจำนำกรรมสิทธิ์ที่ดิน
- ๒๗๖ ประกาศพระราชทานบรรดาศักดิพ่อค้าต่างประเทศ
- ๒๗๗ ประกาศห้ามไม่ให้ขุนศาลตระลาการเจ้าหนี้นายเงินทำหนังสือยอมความแลสารกรมธรรมโดยลูกความแลทาสลูกหนี้ไม่รู้ไม่เห็น
- ๒๗๘ ประกาศพระราชบัญญัติเรื่องผัวขายเมียบิดามารดาขายบุตร
- ๒๗๙ ประกาศห้ามมิให้พนักงานผู้ยิงปืนพิธีตรุษทำอย่างอ้ายนากอ้ายแย้ม
- ๒๘๐ ประกาศมหาสงกรานต์ ปีมะโรงสัมฤทธิศก
- ๒๘๑ ประกาศให้ใช้พระนามสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอแลสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ ในหนังสือกราบบังคมทูล
- ๒๘๒ ประกาศให้ผู้จะตั้งตุลาการเลือกสรรตุลาการที่ลูกความไม่รังเกียจ
- ๒๘๓ ประกาศพระราชบัญญตลักษณลักพา
- ๒๘๔ ประกาศห้ามไม่ให้นักโทษร้องถวายฎีกาในเวลาเสด็จพระราชดำเนิน
- ๒๘๕ ประกาศให้เรียกนามวัดราชประดิษฐให้ถูก
- ๒๘๖ ประกาศสุริยุปราคาหมดดวง
๒๘๕ ประกาศให้เรียกนามวัดราชประดิษฐให้ถูก
ณวันจันทร์ เดือน ๙ ขึ้น ๑ ค่ำ ปีมะโรงสัมฤทธิศก
มีพระบรมราชโองการมารพระบัณฑูรสุรสิงหนาท ให้ประกาศแก่ข้าทูลลอองธุลีพระบาทฝ่ายหน้าฝ่ายใน ผู้ใหญ่ผู้น้อยทุกหมู่ทุกกรมทุกพนักงาน แลพระสงฆ์สามเณรทวยราษฎรทั้งปวงในกรุงเทพฯ แลหัวเมืองให้ทราบทั่วกัน พระอารามซึ่งทรงบริจาคพระราชทรัพย์ให้จัดซื้อที่ แล้วทรงสถาปนาสร้างขึ้นในทิศตวันออกพระบรมมหาราชวัง พระราชทานนามไว้ว่าวัดราชประดิษฐ์สถิตย์มหาสีมาราม ตามธรรมเนียมโบราณซึ่งเคยมีมาในเมืองใหญ่ๆ ที่ตั้งเปนกรุงมหานคร อย่างเมืองสุโขทัย เมืองสวรรคโลก เมืองพิษณุโลก แลกรุงเก่า คือมีวัดมหาธาตุ แลวัดราชประดิษฐาน แลวัดราชบุรณะ เปนของสำหรับเมืองทุกเมือง แลนามชื่อว่าวัดราชประดิษฐ์ในครั้งนี้ แต่เดิมเริ่มแรกสร้างก็ได้โปรดให้เขียนในแผ่นกระดานปักไว้เปนสำคัญ ภายหลังโปรดให้จาฦกชื่อนั้นลงในเสาศิลาติดตามกำแพงนั้นก็มี แต่บัดนี้มีผู้เรียกแลเขียนลงในหนังสือตามดำริห์ของตนเอง ว่าวัดราชบัณฑิตบ้าง วัดทรงประดิษฐ์บ้าง เปลี่ยนแปลงไปไม่ถูกต้องตามชื่อที่พระราชทานไว้แต่เดิม ทำให้เปนสองอย่างสามอย่างเหมือนขนานชื่อขึ้นใหม่ เพราะฉนั้นตั้งแต่นี้สืบต่อไป ห้ามอย่าให้ใครเรียกร้องแลกราบบังคมทูลพระกรุณา แลเขียนลงในหนังสือบัตรหมายในราชการต่างๆ ให้ผิดๆ ไปจากชื่อที่พระราชทานไว้นั้นเปนอันขาด ให้ใช้ว่าวัดราชประดิษฐ์ฤๅว่าให้สิ้นชื่อว่าวัดราชประดิษฐ์สถิตย์มหาสีมาราม ให้ยั่งยืนคงอยู่ดังนี้ ถ้าผู้ใดได้อ่านแลฟังคำประกาศนี้แล้ว ขืนขัดใช้ให้ผิดเพี้ยนเปลี่ยนแปลงไป จะให้ปรับใหมแก่ผู้นั้นเปนเงินตรา ๒ ตำลึง มาซื้อทรายโปรยในพระอารามวัดราชประดิษฐ์นั้นแล
ประกาศมาณวันจันทร์ เดือน ๙ ขึ้น ๑ ค่ำ ปีมะโรงสัมฤทธิศก
อนึ่งในแผ่นดินไทยแต่โบราณ เมืองไหนเปนเมืองหลวงในเวลาใดเวลาหนึ่ง เมืองนั้นมักมีวัดสำคัญ ๓ วัด ชื่อต้น คือ วัดมหาธาตุ ๑ วัดราชบุรณะ ๑ วัดราชประดิษฐ์ ๑ ชื่อสามชื่อนี้กรุงเก่าก็มี พิษณุโลกก็มี สุโขทัยก็มี สวรรคโลกก็มี แต่ในกรุงเทพบางกอกนี้ ครั้นถึงแผ่นดินที่ ๑ สร้างกำแพงลงแล้วก็ทรงสร้างพระอารามหลวง เปนแต่แปลงชื่อเก่าที่มีชื่อมาแล้ว คือวัดสลักที่อยู่ใกล้พระบรมมหาราชวังข้างเหนือนั้น ที่เดิมก็น้อยสร้างต่อออกมาเปนที่ใหญ่ แต่ขนานนามว่าวัดนิพพานาราม แล้วโปรดให้แปลงเปนวัดศรีสรรเพ็ชญ์ แล้วภายหลังทรงพระราชดำริห์ว่า ในกรุงเทพฯ บางกอกนี้วัดมหาธาตุยังไม่มี ก็วัดมหาธาตุเปนที่อยู่สมเด็จพระสังฆราชๆ อยู่ในวัดสลักซึ่งแปลงมาเปนวัดนิพพานาราม แล้วแปลงมาเปนวัดศรีสรรเพ็ชญ์นั้น ควรให้แปลงเปนวัดมหาธาตุ ตามตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราช เพราะฉนั้นวัดนั้นจึงเรียกวัดมหาธาตุจนทุกวันนี้ คนเถ้าคนแก่ยังหลงเรียกว่าศรีสรรเพ็ชญ์อยู่บ้าง แต่เดี๋ยวนี้น้อยแล้ว ชื่อวัดนิพพานารามก็ดี ไม่มีใครเรียกเลย เดี๋ยวนี้จะหาแต่ผู้รู้ก็ไม่มี ที่ท้ายพระบรมมหาราชวังข้างใต้ มีวัดเดิมเปนวัดใหญ่ชื่อวัดโพธารามชาวบ้านชาวเมืองแต่โบราณมาเรียกวัดโพธิ์ แผ่นดินที่หนึ่งได้สร้างลงพระราชทานนามว่าวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ชื่อพระราชทานมีผู้เรียกอยู่แต่ในพระราชวังแลคำเพ็ดทูลบัตรหมาย นอกนั้นแล้ววัดนั้นเปนเคราะห์ร้ายยังเรียกว่าวัดโพธิ์อยู่ทั้งแผ่นดิน ควรเห็นว่าชื่อพระราชทานเปนชื่อตั้งไม่ปิดไม่แน่นจะคิดแปลงใหม่เห็นไม่ชนะ
ยังอิกวัดเลียบ เจ้าฟ้ากรมหลวงเทพหริรักษ์ทรงสร้างพระอุโบสถใหม่แลหอไตรลง ในหลวงจึงพระราชทานนามว่าวัดราชบุรณะ เพื่อจะให้เปนคู่กันกับวัดมหาธาตุ ก็เปนวัดเคราะห์ร้ายเหมือนกัน คนเรียกวัดเลียบอยู่นั่นเองทั้งบ้านทั้งเมือง เพราะเปนคู่กับวัดโพธิ์เหมือนบ้านเลียบ บ้านแพน บ้านโพ บ้านหว้า แขวงกรุงเก่า คล่องปากนักยักไม่ได้ อย่าว่าแต่คนอื่นเลยถานานุกรมลางองค์ในวัดนั้นเอง ไม่รู้จักชื่อว่าวัดราชบุรณะก็มี
ได้ยินความตามลัทธิเก่าข้างเมืองเหนือเล่าสืบมาว่าวัดมหาธาตุมีทุกเมืองนั้น เพราะเปนพระเจดีย์สถานของพระเจ้าอโศกมหาราช ตั้งแต่ครั้งพระเจ้าอโศกราชแผ่สาสนาทุกบ้านทุกเมืองแต่เดิมที ครั้นสาสนาตั้งแล้วพระเจ้าแผ่นดินแลราษฎรในเมืองนั้นๆ คิดจะให้มีวัดเปนที่อยู่ของพระสงฆ์ขึ้นอิกสองวัด พระเจ้าแผ่นดินจึงสร้างวัดหนึ่งขึ้นด้วยพระราชทรัพย์หลวง ราษฎรเรี่ยรายกันสร้างวัดหนึ่งขึ้นด้วยทุนเปนของเรี่ยรายจึงให้ชื่อวัดราชบุรณะ แปลว่าราษฎรทำให้เต็ม ก็ฝ่ายวัดที่พระเจ้าแผ่นดินสร้างจึงขนานนามว่าวัดราชประดิษฐาน แปลว่าวัดในหลวงสร้างด้วยทุนหลวงอย่างเดียว แต่วัดมหาธาตุเปนที่ตั้งพระบรมธาตุ ซึ่งพระเจ้าอโศกราชแจกมาแต่เดิมจึงเรียกวัดมหาธาตุ คำโบราณเล่ามาอย่างนี้
ก็เมืองใหญ่ๆ มีวัดมหาธาตุ วัดราชประดิษฐาน วัดราชบุรณะทุกเมือง แต่ในกรุงบางกอกนี้ยังไม่มี จึงทรงสร้างขึ้นที่ทิศตวันออกพระบรมมหาราชวัง แล้วทรงพระราชทานนามว่าวัดราชประดิษฐ์ ก็คือวัดราชประดิษฐานนั้นเอง แต่ลดฐานออกเสีย เพราะกลัวคนจะเรียกว่าวัดราชติดฐานเหมือนที่กรุงเก่าไป วัดนี้ภูมิ์วัดเล็กใหญ่ก็เท่าๆ กันกับวัดราชประดิษฐานที่กรุงเก่า แต่เดี๋ยวนี้คนมาเรียกวัดราชบัณฑิต เรียกอย่างนี้ผิด พวกราชบัณฑิตไม่ได้เข้าทุนด้วย ถ้าใครขืนเรียกขืนเขียนอย่างนั้นจะปรับ ๒ ตำลึง