- คำอธิบาย
- ๒๔๗ ประกาศมหาสงกรานต์ ปีฉลูสัปตศก
- ๒๔๘ ประกาศห้ามมิให้นายบ่อนทดรองเงินให้นักเลงเล่นเบี้ย อนุญาตให้ทำสารกรมธรรม์แทน
- ๒๔๙ ประกาศห้ามมิให้เขียนหนังสือทูลเกล้าฯ ถวายด้วยหมึกดินสอที่จืดจาง
- ๒๕๐ ประกาศเรื่องจีนทำอัฐปลอม
- ๒๕๑ ประกาศพระราชทานชื่อวัดเงินวัดทอง
- ๒๕๒ ประกาศไม่ให้พิกัดราคาเข้า
- ๒๕๓ ประกาศห้ามมิให้เล่นแอ่วลาว
- ๒๕๔ ประกาศให้ภาษีตั้งอยู่กับด่าน
- ๒๕๕ ประกาศให้ใช้เบี้ยทองแดงซีกเสี้ยว
- ๒๕๖ ประกาศพระราชบัญญัติลักษณลักพา
- ๒๕๗ ประกาศพิกัดภาษีน้ำมันมะพร้าว
- ๒๕๘ ประกาศพระราชพิธีโสกันต์สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์
- ๒๕๙ ประกาศห้ามมิให้ผู้ที่มิได้สังกัดวังหน้าโกนผม เมื่อพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ สวรรคต ที่ ๑
- ๒๖๐ ประกาศห้ามมิให้ผู้ที่มิได้สังกัดวังหน้าโกนผมเมื่อพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ สวรรคต ที่ ๒
- ๒๖๑ ประกาศเรื่องจะพระราชทานเบี้ยหวัดพระโอรสพระธิดา ในพระบวรราชวัง
- ๒๖๒ ประกาศมหาสงกรานต์ ปีขาลอัฐศก
- ๒๖๓ ประกาศพิกัดภาษีเรือตึกแพโรงร้าน
- ๒๖๔ ประกาศห้ามไม่ให้เอาเครื่องประดับทองเงินแต่งกายให้เด็ก ที่ยังไม่รู้จักหลีกหลบโจรผู้ร้าย
- ๒๖๕ ประกาศให้ใช้ทองแดงซีกเสี้ยวซึ่งทำบางกว่าครั้งแรก
- ๒๖๖ ประกาศให้เจ้าสำนักพรรคพวกของผู้ร้ายมาลุแก่โทษ
- ๒๖๗ ประกาศห้ามไม่ให้แต่งตัวเด็กด้วยเครื่องทองเงินแล้วปล่อยไปเที่ยวโดยลำพัง
- ๒๖๘ ประกาศเรื่องจำนำแลขายฝากกรรมสิทธิ์ที่ดิน
- ๒๖๙ ประกาศห้ามไม่ให้ข้าราชการคบหากับเศรษฐีบางแมวแลจีนทองเซ็ก
- ๒๗๐ ประกาศให้พวกที่อยู่แถวทิมในพระราชวังทำความสอาด
- ๒๗๑ ประกาศให้ผู้ติดใจสงสัยนายตุ้มมาสู้ความ
- ๒๗๒ ประกาศทรงปฏิญาณด้วยพระอาการกรมหมื่นมเหศวรศิววิลาส
- ๒๗๓ ประกาศให้ชำระคนไทยที่สูบฝิ่น
- ๒๗๔ ประกาศเลื่อน กรมหมื่นวรจักรธรานุภาพ แลกรมหมื่นราชสีหวิกรม เปนกรมขุน แลทรงตั้งสมเด็จเจ้าฟ้ามหามาลา สมเด็จเจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ เปนกรมขุน
- ๒๗๕ ประกาศพระราชบัญญัติเพิ่มเติมเรื่องขายฝากแลจำนำกรรมสิทธิ์ที่ดิน
- ๒๗๖ ประกาศพระราชทานบรรดาศักดิพ่อค้าต่างประเทศ
- ๒๗๗ ประกาศห้ามไม่ให้ขุนศาลตระลาการเจ้าหนี้นายเงินทำหนังสือยอมความแลสารกรมธรรมโดยลูกความแลทาสลูกหนี้ไม่รู้ไม่เห็น
- ๒๗๘ ประกาศพระราชบัญญัติเรื่องผัวขายเมียบิดามารดาขายบุตร
- ๒๗๙ ประกาศห้ามมิให้พนักงานผู้ยิงปืนพิธีตรุษทำอย่างอ้ายนากอ้ายแย้ม
- ๒๘๐ ประกาศมหาสงกรานต์ ปีมะโรงสัมฤทธิศก
- ๒๘๑ ประกาศให้ใช้พระนามสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอแลสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ ในหนังสือกราบบังคมทูล
- ๒๘๒ ประกาศให้ผู้จะตั้งตุลาการเลือกสรรตุลาการที่ลูกความไม่รังเกียจ
- ๒๘๓ ประกาศพระราชบัญญตลักษณลักพา
- ๒๘๔ ประกาศห้ามไม่ให้นักโทษร้องถวายฎีกาในเวลาเสด็จพระราชดำเนิน
- ๒๘๕ ประกาศให้เรียกนามวัดราชประดิษฐให้ถูก
- ๒๘๖ ประกาศสุริยุปราคาหมดดวง
๒๘๒ ประกาศให้ผู้จะตั้งตุลาการเลือกสรรตุลาการที่ลูกความไม่รังเกียจ
ณวันจันทร์ เดือน ๖ แรม ๑๒ ค่ำ ปีมะโรงสัมฤทธิศก
ด้วยมีพระบรมราชโองการตรัสเหนือเกล้าฯ สั่งว่า ให้ประกาศแก่ข้าราชการณกรุงเทพฯ แลผู้สำเร็จราชการเมือง กรมการหัวเมืองเอกโทตรีจัตวา ปักษ์ใต้ฝ่ายเหนือให้ทราบทั่วกันว่า เดี๋ยวนี้ผู้ที่ร้องฎีกาเมื่อจะกล่าวโทษศุภาตระลาการขุนโรงขุนศาลแลกรมการหัวเมือง ก็มีแต่คิดจะให้ทรงขัดเคืองแก่ผู้ที่ตัวจะกล่าวโทษ แม้นเหตุตามเรื่องน้อยไม่พอที่จะก่อเหตุให้ทรงขัดเคืองมาก ก็หาเหตุต่างๆ ขอดแคะไปสืบหาว่าสิ่งไรจะไม่โปรดไม่ชอบพระโสตแล้วก็เอาสิ่งนั้นมาว่าในเรื่องราวตรงๆ บ้างแอบๆ บ้างตามสำนวนที่จะพูดไป ก็เหตุเหล่านั้นคือว่าสูบฝิ่นหนึ่ง เล่นเบี้ยเล่นโปเมาสุราเปนนิจหนึ่ง เปนหนี้สินรุงรังหนึ่ง แลเปนขุนรุหมื่นรุนอกราชการเปนขุนโรงขุนศาล ฤๅเปนกรมการเก่าต้องถอดถอนเสียแล้วมา เสือกสนซนหากินหนึ่ง *** ก็ใน ๖ อย่างนี้ ๔ อย่างข้างต้นร้ายมาโดยลำดับ แต่ที่หนึ่งนั้นร้ายแท้เปนอย่างเอก ถึงในกฎหมายในการพยานเขาก็ค้านได้ เมื่อโทษควรจะกล่าวอยู่แล้วชื่อว่าค้านตระลาการ แต่ใครจะค้านอย่างนี้ให้ไปร้องต่อท่านผู้เปนอธิบดี ฤๅเจ้ากรมฤๅผู้สำเร็จราชการเมือง ผู้ตั้งตระลาการนั้นให้ว่าความ ควรว่าตระลาการนั้นเปนอย่างนี้ๆ รังเกียจอยู่ ขอให้ตั้งตระลาการอื่นว่า ก็ถ้ามิฟังขืนให้ว่า จะมาร้องต่อในหลวงก็ได้ แต่เหตุหลัง ๒ เหตุนั้นจะเปนประมาณหนักไม่ได้ เพราะคนที่ต้องถอดออกจากราชการนั้นๆ ต้องถอดด้วยประพฤติที่มิชอบในการว่าความก็มี ต้องถอดเพราะไม่ชอบกับผู้หลักผู้ใหญ่ในหมู่นั้นกรมนั้น ด้วยเหตุอย่างใดอย่างหนึ่งซึ่งจะไม่เปนที่รังเกียจแก่การว่าถ้อยความก็มี เพราะเวลาหนึ่งป่วยไข้มีธุระทำวนเกียจคร้านไปไม่ได้ราชการ ท่านผู้หลักผู้ใหญ่หาผู้อื่นมาเปนถอดเสียก็มี เพราะระแวงราชการอย่างอื่นซึ่งไม่ควรจะเปนเหตุให้รังเกียจในการพิพากษาความ เปนแต่การพลั้งพลาดก็มี ถ้าเปนผู้ร้ายฉ้อฉกพระราชทรัพย์แลอื่นๆ ควรจะรังเกียจอยู่แล้ว *** เพราะฉนั้นจะเอาเหตุ ๒ เหตุข้างหลังมาเปนหลักความที่จะคัดค้านผู้เปนตระลาการนั้นก็ไม่ได้เปนแน่แท้ แต่เดี๋ยวนี้ผู้ร้องฎีกาผู้เขียนฎีกาตื่นนักพอใจชี้ว่าตระลาการขุนศาลเสมียนคนนั้นๆ เปนคนนอกราชการเก่าเอามาตั้ง *** เอามาวางในเรื่องราวเนืองๆ ไป เพราะฉนั้นประกาศไว้ว่าหมู่ใดกรมใดจะเอาคนนอกราชการต้องถอดก่อนเก่ามาตั้งเปนขุนโรงขุนศาลตระลาการว่าความ ก็ให้ผู้แต่งเรียงความตามกำเนิดของคนนั้นโดยสัจจริงว่าคนนั้นเปนคนนอกราชการในกรมนั้นๆ ด้วยเหตุใดๆ เอาการที่จริงมายื่นไว้ในกรมอาลักษณ์แห่งหนึ่งเปนสำคัญ มายื่นไว้ที่จางวางมหาดเล็กแห่งหนึ่งเปนพยาน จะได้สืบสวนดูว่าจริงฤๅไม่จริง ถ้าเห็นว่าไม่จริงจะได้ห้ามเสียไม่ให้ตั้ง ถ้าเห็นว่าไม่จริงคือซึ่งผู้นั้นต้องถอดไม่เปนเพราะการที่ไม่เที่ยงธรรมในโรงศาลการพิพากษาความ ก็จะได้ยอมให้ตั้งไว้ ถึงมีผู้มาร้องว่าตระลาการเปนคนนอกราชการ ก็จะได้ยกคำร้องเสีย ถ้าหัวเมืองก็ให้ผู้สำเร็จราชการเมืองกรมการยื่นเข้ามายังกรมมหาดไทย กลาโหม กรมท่า ตามเมืองขึ้นให้ทราบไว้ ว่าจะตั้งผู้นั้นๆ ซึ่งเปนขุนรุหมื่นรุด้วยเหตุนี้ๆ แต่ก่อนมาในเมืองนั้นๆ แต่กรุงเทพฯ แต่หัวเมืองอื่นๆ ก็ดี ให้เปนกรมการตำแหน่งนี้ๆ *** ให้ผู้สำเร็จราชการเมืองกรมการมีบอกลงไปกรุงเทพฯ
สารตรามาณวันจันทร เดือน ๖ แรม ๑๒ ค่ำ ปีมะโรงสัมฤทธิศก