- คำอธิบาย
- ๒๔๗ ประกาศมหาสงกรานต์ ปีฉลูสัปตศก
- ๒๔๘ ประกาศห้ามมิให้นายบ่อนทดรองเงินให้นักเลงเล่นเบี้ย อนุญาตให้ทำสารกรมธรรม์แทน
- ๒๔๙ ประกาศห้ามมิให้เขียนหนังสือทูลเกล้าฯ ถวายด้วยหมึกดินสอที่จืดจาง
- ๒๕๐ ประกาศเรื่องจีนทำอัฐปลอม
- ๒๕๑ ประกาศพระราชทานชื่อวัดเงินวัดทอง
- ๒๕๒ ประกาศไม่ให้พิกัดราคาเข้า
- ๒๕๓ ประกาศห้ามมิให้เล่นแอ่วลาว
- ๒๕๔ ประกาศให้ภาษีตั้งอยู่กับด่าน
- ๒๕๕ ประกาศให้ใช้เบี้ยทองแดงซีกเสี้ยว
- ๒๕๖ ประกาศพระราชบัญญัติลักษณลักพา
- ๒๕๗ ประกาศพิกัดภาษีน้ำมันมะพร้าว
- ๒๕๘ ประกาศพระราชพิธีโสกันต์สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์
- ๒๕๙ ประกาศห้ามมิให้ผู้ที่มิได้สังกัดวังหน้าโกนผม เมื่อพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ สวรรคต ที่ ๑
- ๒๖๐ ประกาศห้ามมิให้ผู้ที่มิได้สังกัดวังหน้าโกนผมเมื่อพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ สวรรคต ที่ ๒
- ๒๖๑ ประกาศเรื่องจะพระราชทานเบี้ยหวัดพระโอรสพระธิดา ในพระบวรราชวัง
- ๒๖๒ ประกาศมหาสงกรานต์ ปีขาลอัฐศก
- ๒๖๓ ประกาศพิกัดภาษีเรือตึกแพโรงร้าน
- ๒๖๔ ประกาศห้ามไม่ให้เอาเครื่องประดับทองเงินแต่งกายให้เด็ก ที่ยังไม่รู้จักหลีกหลบโจรผู้ร้าย
- ๒๖๕ ประกาศให้ใช้ทองแดงซีกเสี้ยวซึ่งทำบางกว่าครั้งแรก
- ๒๖๖ ประกาศให้เจ้าสำนักพรรคพวกของผู้ร้ายมาลุแก่โทษ
- ๒๖๗ ประกาศห้ามไม่ให้แต่งตัวเด็กด้วยเครื่องทองเงินแล้วปล่อยไปเที่ยวโดยลำพัง
- ๒๖๘ ประกาศเรื่องจำนำแลขายฝากกรรมสิทธิ์ที่ดิน
- ๒๖๙ ประกาศห้ามไม่ให้ข้าราชการคบหากับเศรษฐีบางแมวแลจีนทองเซ็ก
- ๒๗๐ ประกาศให้พวกที่อยู่แถวทิมในพระราชวังทำความสอาด
- ๒๗๑ ประกาศให้ผู้ติดใจสงสัยนายตุ้มมาสู้ความ
- ๒๗๒ ประกาศทรงปฏิญาณด้วยพระอาการกรมหมื่นมเหศวรศิววิลาส
- ๒๗๓ ประกาศให้ชำระคนไทยที่สูบฝิ่น
- ๒๗๔ ประกาศเลื่อน กรมหมื่นวรจักรธรานุภาพ แลกรมหมื่นราชสีหวิกรม เปนกรมขุน แลทรงตั้งสมเด็จเจ้าฟ้ามหามาลา สมเด็จเจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ เปนกรมขุน
- ๒๗๕ ประกาศพระราชบัญญัติเพิ่มเติมเรื่องขายฝากแลจำนำกรรมสิทธิ์ที่ดิน
- ๒๗๖ ประกาศพระราชทานบรรดาศักดิพ่อค้าต่างประเทศ
- ๒๗๗ ประกาศห้ามไม่ให้ขุนศาลตระลาการเจ้าหนี้นายเงินทำหนังสือยอมความแลสารกรมธรรมโดยลูกความแลทาสลูกหนี้ไม่รู้ไม่เห็น
- ๒๗๘ ประกาศพระราชบัญญัติเรื่องผัวขายเมียบิดามารดาขายบุตร
- ๒๗๙ ประกาศห้ามมิให้พนักงานผู้ยิงปืนพิธีตรุษทำอย่างอ้ายนากอ้ายแย้ม
- ๒๘๐ ประกาศมหาสงกรานต์ ปีมะโรงสัมฤทธิศก
- ๒๘๑ ประกาศให้ใช้พระนามสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอแลสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ ในหนังสือกราบบังคมทูล
- ๒๘๒ ประกาศให้ผู้จะตั้งตุลาการเลือกสรรตุลาการที่ลูกความไม่รังเกียจ
- ๒๘๓ ประกาศพระราชบัญญตลักษณลักพา
- ๒๘๔ ประกาศห้ามไม่ให้นักโทษร้องถวายฎีกาในเวลาเสด็จพระราชดำเนิน
- ๒๘๕ ประกาศให้เรียกนามวัดราชประดิษฐให้ถูก
- ๒๘๖ ประกาศสุริยุปราคาหมดดวง
๒๕๔ ประกาศให้ภาษีตั้งอยู่กับด่าน
ณวันพฤหัสบดี เดือนอ้ายขึ้น ๑๒ ค่ำปีฉลูสัปตศก
เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ฯ ว่าที่สมุหพระกลาโหม รับพระบรมราชโองการใส่เกล้าฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สั่งว่าราษฎรชาวกรุงเทพฯ แลคนหัวเมืองขึ้นลงไปมาเนืองๆ บางพวกว่ากล่าวติเตียนชาวด่านแลเจ้าภาษีว่าขานต่างๆ ให้ได้ความเปนข่าวว่า ราษฎรมาถึงด่านขุนหมื่นชาวด่านเรียกเรือให้จอดตรวจดูสิ่งของต้องห้าม ครั้นไปถึงโรงภาษีเจ้าภาษีก็เรียกดูสิ่งของบรรดาที่ต้องตามพิกัดภาษี ถ้าแม้นเรือขึ้นลงพ้นด่านแลโรงภาษีไป ชาวด่านว่าราษฎรชาวเรือหนีด่าน จับเอาตัวราษฎรมาบังคับให้ทำขวัญด่าน ราษฎรไม่ทำกักเรือแลเก็บเอาแจวเอาหางเสือไว้ ราษฎรต้องเสียค่าไถ่จึงไปได้ ลางทีชาวด่านกับราษฎรเกิดวิวาทชกตีกันก็มี ฝ่ายเจ้าภาษีนั้นถ้าเรือไม่แวะโรงภาษีก็แต่งคนไปเอาเรือราษฎรมาตรวจดูสิ่งของในลำเรือต้องตามภาษี พาลว่าราษฎรหนีภาษีปรับไหมเอาสิ่งของไว้จนสิ้น ก็บัดนี้ด่านกับโรงภาษีก็แยกย้ายกันตั้ง ราษฎรไปมาทางวันหนึ่งต้องจอดด่านจอดโรงภาษีถึงเก้าแห่งสิบแห่ง ถ้าแม้นราษฎรกับชาวด่านเจ้าภาษีมีความวิวาทไม่มีพยานแล้วยากที่จะชำระได้ความจริง จะไม่จัดการเสียให้เรียบร้อยก็เห็นเปนที่ลำบากแก่ราษฎรทั้งหลายมากนัก ตั้งแต่นี้สืบไปให้บังคับเจ้าภาษีให้ยกโรงภาษีบรรดาตั้งเก็บเรียกอยู่ณแขวงหัวเมือง ให้มารวมตั้งติดอยู่กับด่านจงทุกแห่งทุกตำบล ราษฎรจอดด่านแล้วให้เจ้าภาษีมาตรวจดูสิ่งของที่ต้องตามภาษี ก็ให้เจ้าภาษีเก็บเรียกเอาแต่ราษฎรตามพิกัดท้องตรา เมื่อเจ้าภาษีมีความวิวาทราษฎรจะได้อ้างชาวด่านเปนพยาน ถ้าชาวด่านจับสิ่งของต้องห้ามได้ฤๅชาวด่านจะวิวาทกับราษฎรจะได้อ้างเจ้าภาษีเปนพยาน ห้ามไม่ให้ภาษีแยกย้ายตั้งอยู่ต่างหากจากด่านเหมือนแต่ก่อน เจ้าภาษีขืนไปตั้งโรงภาษีที่แห่งใดพ้นด่านไปหลายเส้นจนต้องราษฎรจะต้องแวะเปนหลายแห่งไปนั้น จะมาร้องว่าราษฎรจะไม่จอดโรงภาษีนั้นไม่ได้ จะต้องให้เปนพับอยู่แก่เจ้าภาษี เมื่อเจ้าภาษีกับด่านตั้งอยู่แห่งเดียวกันได้ดังนี้ เห็นว่าราษฎรจะได้ความสุขยิ่งขึ้นกว่าแต่ก่อน พระบรมราชโองการดำรัสสั่งดังนี้นั้นให้มหาดไทย กลาโหม กรมท่า กรมพระสัสดี หมายบอกเจ้าภาษีบรรดาที่รับทำภาษีทั้งปวงตามกรมขึ้น แลมีตราบังคับไปถึงผู้สำเร็จราชการเมืองกรมการให้ตรวจดูที่แห่งที่เปนทางร่วมเรือเดิน ควรจะยกด่านมาตั้งที่โรงภาษีฤๅจะยกโรงภาษีไปตั้งอยู่ที่ด่านอย่างไร ก็ให้เร่งจัดการเสียให้เสร็จในปีฉลูสัปตศก ถ้าถึงเดือน ๕ ขึ้นค่ำ ๑ ปีขาลอัฐศกไปแล้ว ถึงชาวเรือที่จะต้องเสียภาษีไม่แวะ โรงภาษีที่ไปเที่ยวตั้งเอาตามอำเภอใจ จะให้บังคับซึ่งไม่ติดต่ออยู่กับด่านนั้นมาให้ปรับไหมทำโทษให้ก็ทำตามไม่ได้ แลที่ๆ จะตั้งโรงภาษีเหนือด่านท้ายด่าน แลยกด่านไปตั้งติดกับโรงภาษีนั้นเปนสวนที่บ้านของราษฎรมีเจ้าของ ให้ชาวด่านแลเจ้าภาษีไปว่าซื้อว่าเช่าตามราคาพอสมควร ถ้าราษฎรไม่ยอมขายไม่ยอมให้เช่าจะว่ากล่าวขัดขวางไปอย่างไร ให้ผู้สำเร็จราชการเมืองกรมการกำนันหาตัวราษฎรเจ้าของที่มาว่ากล่าวผ่อนปรน ให้ชาวด่านแลเจ้าภาษีได้ตั้งเรียกภาษีจงสมควรตามรับสั่ง
หมายประกาศมาณวันพฤหัสบดี เดือนอ้ายขึ้น ๑๒ ค่ำปีฉลูสัปตศก จุลศักราช ๑๒๒๗