- คำนำ
- ภาคที่ ๑ ว่าด้วยพงษาวดาร
- ภาคที่ ๒ ว่าด้วยตำนานแลทำเนียบต่างๆ
- ลำดับกระษัตริย์
- ตำนานของพระมหากษัตริย์แต่โบราณ
- จดหมายเหตุรบพม่า
- ชื่อเมือง
- มหาเจดียสถาน
- เรื่องพระพุทธบาทแลพระฉาย
- แผนที่กรุงศรีอยุทธยา
- ชื่อวัด (พระอารามหลวง) ในกรุงศรีอยุทธยา
- พระราชวังหลวง
- ปราสาทราชมณเฑียร
- พระราชวังบวร
- บาญชีพระนามเจ้านาย
- ชื่อขุนนางวังหลวง
- เครื่องยศขุนนาง
- รวางช้างต้น
- ชื่อรวางม้าต้น
- รถพระที่นั่ง
- ชื่อเรือพระที่นั่ง
- ชื่อเรือขบวน
- สมณศักดิ์
- ชื่อปืนใหญ่สำหรับกรุงศรีอยุทธยา
- ราชประเพณีกรุงศรีอยุทธยา
ภาษีอากร
ภาษีอากรต่าง ๆ ซึ่งเก็บในกรุงศรีอยุทธยา นอกจากสร่วยและจำนวนเงินซึ่งเก็บได้ มีต่างประเภท ดังนี้ (จำนวนเงินในฉบับพม่าลงไว้แต่ตัวเลข ไม่บอกว่าชั่งหรือบาท พิเคราะห์ดูเข้าใจว่าจะหมายว่าชั่ง แม้บางแห่งดูจำนวนเงินอยู่ข้างจะมากเกินไป ก็ไม่อัศจรรย์ ด้วยไทยที่พม่าได้ตัวไปให้การ โดยมากคงจะไม่รู้จำนวนจริง และจะตั้งใจบอกให้มากด้วย คือ)
(๑) อากรสวน |
๓๐๐๐ ชั่ง |
(๒) อากรสุรา |
๒๕๐๐๐ ชั่ง |
(๓) อากรบ่อนเบี้ย |
๒๕๐๐ ชั่ง |
(๔) ภาษีผ่านด่านขนอน |
๘๐๐ ชั่ง |
(๕) สุ่นหลุ่น (ผู้แปลว่าภาษีหอมกะเทียม เห็นจะหมายความว่าอากรสมพักศร) |
๒๐๐ ชั่ง |
(๖) ภาษีอินโอยะแตก (ผู้แปลว่าภาษีโรงร้าน เห็นจะหมายความว่าอากรตลาด หรือจังกอบ) |
๓๐๐ ชั่ง |
(๗) ภาษีสำเภาขาเข้า (คือเก็บค่าปากเรือ) |
๓๐๐๐ ชั่ง |
วิธีเก็บภาษีขาเข้า เก็บไม่เสมอกัน ถ้าเปนเรือของเมืองที่มีทางพระราชไมตรี แลไปมาค้าขายไม่ขาดนั้นแล้ว เก็บภาษีตามราคาสินค้าขาเข้า ๑๐๐ ชัก ๓ ค่าปากเรือตั้งแต่กว้าง ๔ วาขึ้นไปเก็บวาละ ๑๒ บาท ถ้าเปนเรือเมืองอื่น ภาษีสินค้าเก็บ ๑๐๐ ชัก ๕ ค่าปากเรือเก็บวาละ ๒๐ บาทถ้าสินค้าที่พาเข้ามาเปนของที่ต้องพระราชประสงค์ ไม่เก็บภาษีสินค้า เก็บแต่ค่าปากเรือ
(๘) ภาษีเงิน (เห็นจะเปนข้าราชการ) |
๕๐๐ ชั่ง |
(๙) ภาษีหมาก ไม่ได้ส่งคลัง |
๕๐๐ ชั่ง |
(๑๐) ภาษีหม้อน้ำ |
(เข้าใจว่าตรงกับที่เรียกว่าเครื่องดินเผา ๕๐๐ ชั่ง) |
(๑๑) ค่านา |
(ไม่มีจำนวนเงิน) |
(๑๒) สร่วยทอง |
(ไม่มีจำนวนเงิน) |
รวมเงินภาษีอากรผลประโยชน์ที่เก็บได้ในกรุงศรีอยุทธยาเท่าที่รู้จำนวนเปนเงินปีละ ๑๓๘๐๐ ชั่ง