จดหมายเหตุรบพม่า

เมื่อ (ปีกุญ) จุลศักราช ๑๐๙๓ พ.ศ. ๒๒๗๔ ในแผ่นดินสมเด็จพระเจ้ามหาธรรมราชา (คือสมเด็จพระเจ้าบรมโกษฐ์) ทรงตั้งให้เจ้าฟ้านราธิเบศร์ (พระราชโอรส) เปนพระมหาอุปราช ถึง (ปีฉลู) จุลศักราช ๑๐๙๕ พ.ศ. ๒๒๗๖ เจ้าฟ้านราธิเบศร์ ผู้เปนพระมหาอุปราชทิวงคต จึงทรงตั้งพระอุทุมพรราชา (คือขุนหลวงหาวัด) เปนพระมหาอุปราชต่อมา ถึง (ปีขาล) จุลศักราช ๑๑๒๐ พ.ศ. ๒๓๐๑ ณวัน๔ ๖ ค่ำ สมเด็จพระเจ้ามหาธรรมราชาเสด็จสวรรคต พระอุทุมพรราชาจึงได้ผ่านพิภพ ครองราชสมบัติอยู่จนเดือน ๙ แรม ๖ ค่ำ สมเด็จพระเจ้าอุทุมพรราชาทรงพระราชศรัทธา ละราชสมบัติออกทรงผนวช สมเด็จพระเจ้าเอกาทัศราชา จึงได้ครองราชสมบัติแต่นั้นมา

รุ่งขึ้น (ปีเถาะ) จุลศักราช ๑๑๒๑ พ.ศ. ๒๓๐๒ เรือสำเภาอาระมณีเมืองอังวะเข้ามายังท่าเมืองมฤท (พวกที่มาในเรือลำนี้เปนศัตรูกับพระเจ้าอลองพญารี ๆ จะให้ไทยส่งตัว ไทยไม่ยอมส่งจึงเปนเหตุให้เกิดศึกพม่าเข้ามาตีกรุงศรีอยุทธยา เมื่อ (ปีมโรง) จุลศักราช ๑๑๒๒ พ.ศ.๒๓๐๓

เมื่อพระเจ้าอลองพญารียกกองทัพพม่าเข้ามาครั้งนั้น ไทยได้แต่งกองทัพออกไปต่อสู้ ๔ ทัพ คือ

กองทัพที่ ๑

ยกไปคอยต่อสู้ทางเมืองมฤทเมืองตะนาวศรี

พระยาอภัยราชาเปนแม่ทัพ (ที่ว่าพระยาอภัยราชาตรงนี้สงไสยอยู่ด้วยมีชื่อเจ้าพระยาอภัยราชาอีกคน ๑ เปนแม่ทัพอื่น เห็นจะเปนเจ้าพระยาธรรมา)

มีชื่อนายกอง คือ

พระยารัตนาธิเบศร์ (ตรงตามหนังสือพระราชพงษาวดาร)

พระยาอภัยมนตรี

พระสงคราม (เห็นจะเปนพระมหาสงคราม)

กองทัพที่ ๒

ยกไปคอยต่อสู้ข้าศึกที่เมืองราชบุรี

เจ้าพระยาพระคลังเปนแม่ทัพ

มีชื่อนายกอง คือ

พระยาราชภักดี

พระยาจุฬา

พระศรีเสาวภาคย์ (เห็นจะเปนพระศรีเสาวราช)

หลวงทองบูรณ (เห็นจะเปนหลวงท่องสื่อ)

หลวงศรีวรักขัง (หลวงศรีวรข่าน)

หลวงศรีรุต (หลวงศรีเนาวรัตน)

หลวงราชาพิมล

ขุนภักดี

กองทัพที่ ๓

ยกไปคอยต่อสู้ทางท่ากระดานแขวงเมืองกาญจนบุรี (ไม่ปรากฎชื่อแม่ทัพ มีแต่ชื่อนายกอง) คือ

พระยาสีหราชเดโชไชย (เห็นจะเปนตัวแม่ทัพ)

พระพิไชยณรงค์ (พระยาพิชิตณรงค์)

พระพิไชยนฤทธิ์ (พระยาพิไชยชาญฤทธิ์)

พระไสยนันต์ (พระเสนานนท์ หรือพระศรีไสยณรงค์)

พระทิพโยธา

อินทรเทพ

หลวงพิไชยอินตรา

ราชามาตย์

ราชาบาล

หลวงรักษาสมบัติ

ตะมะรง ไม่รู้ว่าใคร

กองทัพที่ ๔

ยกไปคอยต่อสู้ทางเมืองเชียงใหม่

เจ้าพระยาอภัยราชาเปนแม่ทัพ

มีชื่อนายกอง คือ

พระยาพิพัฒโกษา

พระยาเสนา

พระยาไชย

พระพิพัฒน์

พระปรามพัฒน์

พระพิไชย

พระพิศศะพงษา

พระยาพิพิธ

ราชสงคราม

วิสุทธธรรมา

หลวงราโช

หลวงหฤไทย

อินทามาตย์

ราชมนู

เทพมนู

ขุนพัศดี

ขุนตรากำนัน (ขุนธาระกำนัน)

ขุนวิสูตร

ขุนนรินทร์

หมื่นวาสุเทพ

หมื่นพรหม

กองสอดแนม

ศิริธรรมราชา (จะเปนผู้ใดคิดไม่เห็น ไม่ใช่เจ้าพระยาพระคลัง เพราะมีชื่ออยู่ที่อื่น) เปนผู้บัญชาการ

มีชื่อนายกอง คือ

พระยาราชาเสนี (น่าจะเปนพระยาราชาเสรษฐี เจ้าเมืองบันทายมาด)

พระยาราชบังสันเสนี

พระศรีพิพัฒ

พระสาตานอง (ไม่รู้ว่าใคร)

พระหมื่นไวย (วรนารถ)

(พระหมื่น) สรรเพ็ทภักดี

ราชสงคราม (จะเปนพระหรือเปนหลวงไม่ปรากฎ)

พลพระสู (เห็นจะเปนขุนพลอาไศรย)

ขุนศุภสร

พระเจ้าอลองพญารี ตีเมืองทวายได้ แล้วยกมาทางเมืองมฤท เมือง ตะนาวศรี กระทุ่ม (เมืองกุย) เมืองราชบุรี เข้ามาตั้งกองทัพหลวงอยู่ที่ตำบลบ้านกุ่ม บ้านปัน (บางบาน) และยกกลับทางเมืองตาก

(ปีมเมีย) จุลศักราช ๑๑๒๔ พ.ศ. ๒๓๐๕ พวกมอญมะตลีนกิน ซึ่งโปรดให้ตั้งบ้านเรือนอยู่ตำบลเขานางบวชเปนขบถ

(เรื่องมอญขบถครั้งนี้ มีในหนังสือพระราชพงศาวดารไทยตรงกันว่า เดิมเมื่อพระเจ้าอลองพญารีลงมาตีเมืองหงษาวดี พวกมอญเมืองเมาะตะมะอพยพครอบครัวเข้ามา ขอพึ่งพระบรมโพธิสมภารแต่ครั้งแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าบรมโกษฐ์ โปรดให้รับเข้ามาตั้งบ้านเรือนอยู่ใกล้ชานพระนคร เห็นจะเปนเมื่อคราวศึกพม่าเข้ามาตีกรุงเก่าครั้งแรกเมื่อปีมโรงโทศกนั้น มอญพวกนี้พากันหนีไปตั้งประชุมกันอยู่เขานางบวช คิดการขบถขึ้น คุมกันยกไปตีเมืองนครนายก ต้องถึงยกกองทัพไปปราบปราม มอญพวกนี้จึงแตกพ่ายหนีไปทางเมืองหล่มศักดิ์)

เมื่อ (ปีมเสง) จุลศักราช ๑๑๒๕ พ.ศ. ๒๓๐๖ ชายชาวบ้านอุดอง ซึ่งตั้งอยู่ระหว่างพรมแดนเมืองทวายกับเมืองลาว เข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภาร (ในว่าดูเหมือนเรื่องที่คนพวกนี้หนีเข้ามาพึ่งไทย จะได้เปนเหตุที่เกิดศึกพม่าครั้งนั้น)

(ปีวอก) จุลศักราช ๑๑๒๖ พ.ศ.๒๓๐๗ กองทัพเมืองอังวะมหานรธา เปนแม่ทัพใหญ่ ยกกองทัพเข้ามาตีกรุงศรีอยุทธยาทางเมืองทวาย

เมื่อครั้งมหานรธายกเข้ามานั้น กรุงศรีอยุทธยาได้จัดกองทัพออกไปต่อสู้ ๖ กอง คือ

กองทัพที่ ๑

ยกไปต่อสู้ที่เมืองมฤทเมืองตะนาวศรี

พระยาพิพัฒโกษาเปนแม่ทัพ

มีชื่อนายกอง คือ

พระยาราชเสนา

พระยาตากสิน เจ้าเมืองระแหง

พระพิพิธ

ติริโลกธรรม (เห็นจะเปนพระยาธรรมไตรโลก)

รามราชาธิบดี เจ้าเมือง (เห็นจะเปนพระยาเทพาธิบดี)

พิไชยนฤทธิ

หลวงศักดิ์

หลวงสิทธิ

หลวงฤทธิ

หลวงเดช

ศิริสมบัติ

จันทราชา

ราชปัติ

กองทัพที่ ๒

ยกไปต่อสู้ทางเมืองเชียงใหม่

พระยาเพ็ชร์บุรีเปนแม่ทัพ

มืชื่อนายกอง คือ

พระยามหาเสนา

พระต่รีเสาวภาคย์

พระพิไชย

พระอินทราภัย

พระหมื่นไวยวรนารถ

พระหมื่นเสมอใจราช

พระหมื่นศรีสรรักษ์

หลวงหฤไทย

หลวงทองบูรณ์

จ่าเรศ

จ่ารง

จ่ารุศ (จ่ายวด)

กองทัพที่ ๓

ยกไปต่อสู้ทางท่ากระดานแขวงเมืองกาญจนบุรี

พระยารัตนเปนแม่ทัพ (เห็นจะเปนพระยารัตนาธิเบศร์)

มีชื่อนายกอง คือ

หลวงกลาโหม (ราชเสนา)

หลวงไกรโกษา

พระกฤษณ (กรมช้าง)

ขุนนคร

หมื่นพรหม

พลสู

กองทัพที่ ๔

ยกไปต่อสู้ที่เมืองนครสวรรค์

เจ้าพระยากลาโหมเปนแม่ทัพ

มีชื่อนายกอง คือ

พระยาธรรมา

มหาเทพ

มหามนตรี

อินทรเทพ

พลเทพ (เห็นจะเปนพิเรนทรเทพ)

ราชวรินทร์

ทิพเสนา

ราชามาตย์

ราชประนะ (เข้าใจว่าราชาบาล)

ราชมนู

พระอินทรามาตย์

ขุนพิพัฒน์

ขุนนรินทร์

ขุนพัศดี

กองทัพที่ ๕

ยกไปทางเมืองนครสวรรค์อีกกอง ๑

พระยาธิเบศร์ปริยัติ (เห็นจะเปนพระยาธิเบศร์ปริวัติ) เปนแม่ทัพ มีชื่อนายกอง คือ

พระยาสมบัติ

พระพฤฒิพงษา

หลวงโชดึก

หลวงท่องสื่อ

หลวงวรเชาวนะ

หลวงรอรา

หลวงราชรักษา

หลวงรักษาสมบัติ

หลวงจอสมบัติ

หลวงศรีรุต

ขุนวิสูตร์

หมื่นพรหม

หมื่นอภัย

ฤทธิสท้าน

จงปานิต

เมื่อมหานรธายกเข้ามาถึงกรุงศรีอยุทธยา มาตั้งค่ายล้อมกรุงศรีอยุทธยาที่ตำบลต่างๆ ๘ แห่ง คือ

๑. ทิศตวันออกเฉียงเหนือ ตั้งที่พเนียดริมแม่น้ำ

๒. ทิศตวันออก ตั้งที่หัวรอ

๓. ทิศตวันออกเฉียงใต้ ตั้งที่คลองสวนพลู

๔. ทิศใต้ ตั้งที่บ้านสัตตหีป?

๕. ทิศตวันตกเฉียงใต้ ตั้งที่ตำบลสีกุก เปนค่ายของมหานรธาแม่ทัพ

๖. ทิศตวันตกเฉียงใต้อีกค่าย ๑ ตั้งที่วัดถนถาราม (เข้าใจว่าวัดไชยวัฒนาราม)

๗. ทิศตวันตกเฉียงใต้ ตั้งอีกค่าย ๑ ที่คลองตะเคียน

๘. ทิศตวันตก ตั้งที่วัดวรเชษฐ (อยู่ที่ทุ่งหลังวัดท่าการ้อง)

ส่วนกองทัพไทยที่ตั้งรับรักษาพระนครนั้น ตั้ง ๖ ค่าย คือ

๑. ทิศเหนือ ตั้งตำบลวัดพระเมือง ? (เห็นจะเปนวัดน่าพระเมรุ) ตรงพระราชวัง

๒. ทิศเหนืออีกค่าย ๑ ตั้งที่ตำบลวัดป่าไผ่ (เห็นจะเปนวัดป่าฟ่าย)

๓. ทิศตวันออก ตั้งที่ตำบลวัดวรบวช (เสียงคล้ายวัดวรโพธิ แต่วัดวรโพธิอยู่ติดกับพระราชวังด้านตวันตก จึงเข้าใจว่าจะเปนวัดมณฑป)

๔. ทิศตวันตก ตั้งที่วัดลูกช้าง (ยังไม่ทราบว่าที่จริงจะเปนวัดอะไร)

๕. ทิศเหนืออีกค่าย ๑ ตั้งที่วัดท่าการ้อง (วัดท่าการ้องอยู่ข้างเหนือจริง แต่ห่างพระนครอยู่)

๖. ทิศ (อะไรไม่บอกไว้) ตั้งที่บ้านยายจัน (ค่ายนี้เห็นจะหมายความว่า ค่ายบางระจัน ๆ อยู่แขวงเมืองสิงห์กับอ่างทองต่อกันห่างมาก)

พม่ายกมาคราวหลังนี้ต่อสู้กันอยู่ ๒ ปี ถึง (ปีจอ) จุลศักราช ๑๑๒๘ พ.ศ. ๒๓๐๙ ณวัน ๓ ๕ ค่ำ เวลากลางคีนเจ็ดทุ่มเศษ ข้าศึกเข้าพระนครได้ทางด้านตวันออก จึงเสียกรุงศรีอยุทธยาแก่พม่า

แชร์ชวนกันอ่าน

แจ้งคำสะกดผิดและข้อผิดพลาด หรือคำแนะนำต่างๆ ได้ ที่นี่ค่ะ