- คำนำ
- บานแพนก
- พระคัมภีร์สมฏฐานวินิจฉัย
- พระคัมภีร์วรโยคสาร
- พระคัมภีร์มหาโชตรัต
- พระคัมภีร์ชวดาร ว่าด้วยโรคเกิดในกองลมต่างๆ
- พระคัมภีร์โรคนิทาน
- พระคัมภีร์ธาตุวิวรณ์
- พระคัมภีร์ธาตุบรรจบ
- พระคัมภีร์มุจฉาปักขันทิกา
- พระคัมภีร์ตักศิลา ว่าด้วยไข้เหนือ ไข้พิศ, ไข้กาฬ, หัด.ฝีกาฬ, ไข้กระโดง, ไข้หวัด, เปนต้น
- พระคัมภีร์ไกษย เล่ม ๑ โดยสังเขป
ว่าด้วยมหาภูตรูป
พระคัมภีร์ธาตุบรรจบ เล่ม ๑
อาทิโตคันถํกโรติ อันว่าชีวกะโกมาระภัจแท้จริง อันตกแต่งพระคัมภีร์จะละนะสังคะหะปกรณ์ อันท่านสงเคราะห์ด้วยอุจจาระธาตุทั้ง ๔ ประการ ซึ่งวิปริตระคนด้วยพิษ เปนระหว่างแห่งมหาสันนิบาต นอกจากสันนิบาตทั้งหลายต่างๆ มีปฐมสันนิบาตเปนต้น มีตะติยะภินนะสันนิบาตเปนที่สุด แลลักษณะธาตุนั้น คือ สีอุจจาระดำ, แดง, ขาว, เขียว, ก็ดี เปน เมือก, มัน, เปลว, ไต, มีโลหิตแลหาโลหิตมิได้ก็ดี มารยาตไปวันละ ๒, ๓, ๔, ๕, ๖, ๗, ๘, ครั้ง เวลากลางวันกลางคืนก็ดี แดจะได้ลงดังอติสารวัคแลลามกนั้นหามิได้ อันประเภทอุจจาระธาตุนี้ นอกจากอติสารทั้งหลาย มีอติสารวัคเปนต้น มีบุพรูปอติสารเปนที่สุด เพื่อจะสงเคราะห์ซึ่งวิปริตธาตุ เปนชะวะนะอุจจาระมหาสันนิบาต ไว้เปนตราชูแห่งแพทย์พึงรู้เที่ยง ในลักษณะดุจมีกล่าวไปข้างน่านั้น อันว่าลักษณะธาตุทั้ง ๔ ประการนั้น บังเกิดขึ้นเพื่อกองปถวี คือ กำเริบ, หย่อน, พิการ, มีพิกัตสมุฏฐานให้เปนเหตุคือว่า บุทคลผู้ใดไข้ก็ดีมิไข้ก็ดี แลมีอุจจาระออกมา ดำ, แดง, ขาว, เขียว, มีสัณฐาณดังมูลไก่, แมว, เต่า, แลหยาบ, เลอียด, ก็ดี มีลักษณะดุจนั้น โดยประเภทนั้นมี ๑๕ ประการ คือให้ปวดอุทร, บริโภคอาหารมิได้, อาเจียร, ให้นอนมิหลับ, เปนพิษ, อุจจาระปัสสาวะมิสดวก, ให้ปวดถ่วง, เสียวไปทั้งกาย, เมื่อยไปทุกข้อทุกลำ, ให้ร้อนกระวนกระวาย, เจรจาพร่ำพรู, ร้อนกระหาย, ให้กายซูบผอมระคนด้วยละอองสามประการ, ให้แน่นอกคับใจ, ให้เสียดชายโครงแลท้อง, โทษทั้ง ๑๕ ประการนี้เปนอุจจาระมหาสันนิบาตระคน เหตุว่าประชุมมหาภูตรูปในกองสมุฏฐานโทษละ ๓ ๆ จึงให้กำเริบ, หย่อน, พิการ, นั้นต่างๆ โดยพระเคราะห์ทั้ง ๘ แลพระสุริยะเทวะบุตรสถิตย์ในทวาทศราษี เปนกำหนดใจความให้แจ้งในลักษณะะอุจจาระธาตุโดยย่อ จึงมีคำปุจฉาถามว่า ลักษณะโทษทั้ง ๑๕ ประการแลมหาภูตรูปในกองสมุฏฐานประชุม ละ ๓ ๆ ให้กำเริบ, หย่อน, พิการ, นั้นด้วยเหตุดังฤๅ
วิสัชนาว่า สมุฏฐานมหาภูตรูปนั้นคือ พัทธปิตตะ, อพัทธปิตตะ, กำเดา, ทั้ง ๓ นี้ เปนพิกัตกองสมุฏฐานเตโช คือ หทัยวัตถุ, สัตกะวัตถุ, สุมนา, ทั้ง ๓ นี้เปนพิกัตกองสมุฏฐานวาโย คือ สอเสมหะ, อุระเสมหะ, คูธะเสมหะ, ทั้ง ๓ นี้เปนพิกัตกองสมุฏฐานอาโป คือหะทัย, อุทริยะ, กริสะ, ทั้ง ๓ นี้เปนพิกัตกองสมุฏฐานปถวี แต่สมุฏฐานปถวีนี้จะได้เปนชาติจะละนะขึ้นนั้นหามิได้ ต่อเมื่อใดสมุฏฐานทั้ง ๓ สิ่งใดสิ่งหนึ่งก็ดีเปนชาติจะละนะขึ้นแล้ว สมุฏฐานปถวีก็พลอยมีกำลังขึ้น แลสมุฏฐานทั้งปวงก็กำเริบแรงขึ้นกว่าเก่า เหตุว่าปถวีเปนที่ตั้งแห่งภูมิโรคทั้งหลาย แลเปนที่คํ้าชูอุดหนุนอุปถัมภ์แห่งโรคขึ้นให้จำเริญดังนี้ นามชื่อว่ามหาสันนิบาต คือสันนิบาตกองใหญ่ เหตุว่าจตุสมุฏฐานธาตุนั้น พร้อมโดยลำดับดุจกล่าวมาแล้วนั้น แพทย์พึงเข้าใจ สำคัญในกองพิกัตสมุฏฐาน แลมหาภูตรูปเต็มหมู่หมวดโดยย่อ ไนยหนึ่งทานชำระลงไว้ว่า ในลักษณะกองโทษอันบังเกิดต่างๆ มีประเภท ๑๕ ประการซึ่งกล่าวมาแล้วนั้น จัดเปนหมวดเข้ามีลักษณะ ๖ ประการดังนี้ อันว่าอาการซึ่งกระทำมิได้วิปริตไปต่างๆ ระคนด้วยอังคะมังคานุสารีวาต ประการ ๑ อนึ่งให้ปวดอุทรให้เสียดชายโครงแลท้องนั้น โทษแห่งปัตฆาฏ, สันฑฆาฏ, รัตฆาฏ, กระทำมิได้เปนปรกติ ระคนถันเปนเถาวัลเกี่ยวประการ ๑ อนึ่งให้บริโภคอาหารมิได้แลอาเจียร โทษแห่งปิงคลากระทำประการ ๑ อนึ่งให้ร้อนกระหายน้ำกระวนกระวายแลเจรจาพร่ำพรู โทษในสุมะนากระทำกำเริบขึ้น พัดดวงหะทัยให้ระส่ำระสายมิได้เปนปรกติประการ ๑ อนึ่งให้นอนมิหลับจับเปนพิษนั้น โทษแห่งอัมพฤกษ์กระทำตลอดถึงสุมะนา กำเริบ, หย่อน, พิการ, ก็ดี มิได้เปนปรกติประการ ๑ อนึ่งอุจจาระปัสสาวะมิสดวกแลให้แคบอกคับใจ โทษแห่งกุจฉิสยาวาตแลโกฐาสยาวาตกำเริบขึ้นพัดในลำไส้ มิได้เปนปรกติประการ ๑ อันเปนหมวดแห่งชินธาตุให้บังเกิดมีลักษณะ ๖ ประการ ดุจกล่าวมาดังนี้