ว่าด้วยสรรพคุณวิติกิจฉาวิธี

ว่าด้วยโรค ๕๗๒ จำพวก ว่าด้วยวิธี ๘ ว่าด้วยสัพสาธารณะ ว่าด้วยสรรพคุณผูก ๒ อันว่าแพทย์ผู้ฉลาดเมื่อปรารภภิสักศิลปสาตรดังนี้ บัดนี้จะสำแดงซึ่งปฏิการแห่งโรค ๕๗๒ จำพวกโรควิธี ๔๘ คือภิสังคลักษณะวิธี ๑ ทรัพคณติกิจฉา ๑ อันนะปานะติกิจฉา ๑ ปฏิสนธิครรภปสวปกุมารติกิจฉา ๑ สิโรโรคติกิจฉา ๑ อภิสยันธะติกิจฉา ๑ อักขิโรคติกิจฉา ๑ ฆานะโรคติกิจฉา ๑ มุขโรคติกิจฉา ๑ ชระโรคัติกิจฉา ๑ รัตตะปิตตะติกิจฉา ๑ ขยะโรคติกิจฉา ๑ ทิกาสวาปัญจกาเสยะสะระเภทติกิจฉา ๑ เสลษมาโรคติกิจฉา ๑ ฉัททติตฤษณุอรุจิตติกิจฉา ๑ หะโทคติกิจฉา ๑ อามอัคนิติกิจฉา ๑ วิทราติกิจฉา ๑ กุฏฐติกิจฉา ๑ คุลุมาทิกิมิโรคติกิจฉา ๑ อุทระติกิจฉา ๑ ประเมหะติกิจฉา ๑ อุปทังสติกิจฉา ๑ พะละวุฎฒิติกิจฉา ๑ ภะคันธะระติกิจฉา ๑ อุราอัตตะติกิจฉา ๑ กามิลาปัณฑุโรคติกิจฉา ๑ โสปะสิปะทะเอกังสาติกิจฉา ๑ ขสุททโรควะณะภะคันธระติกิจฉา ๑ อิตริโรคติกิจฉา ๑ สามัญวิธิติกิจฉา ๑ อัฏฐกรรมวิธิ ๑ สลัยวิธีสระวิธี ๑ สุทธิวิธี ๑ ประติวิสะวิธิอิสะวิธิอันเดียวกัน ๑ ระสายะนะวิธิเวียญชิกะระณะวิธิ สองวิธีนี้เปนติกิจฉาอันเดียวกัน ๑ เปนติกิจฉา ๔๘ ดังนี้

แลภิสังคลักษณะวิธีนั้นกล่าวมาแล้วในก่อน ในสัพยสาธารณะ ทรัพยคณะติกิจฉาวิธีนั้น เปนดังฤๅ ตันโลตุโลจัฒยันนัง มีเนื้อความว่าแพทย์ผู้ใดรู้แล้ว ซึ่งหมู่แห่งยาก็ดี ซึ่งคุณแห่งยาก็ดี พึงประกอบให้ต้องด้วยโรคทั้งหลาย โดยสมควรแก่สรรพยาแลโรคนั้นๆ เหตุดังนั้นจึงให้รู้ซึ่งทรัพคณะ แลทรัพยคุณ ในคัมภีร์วรโยคสารนื้ อันว่าโอสถมี ๒ ประการ แลทรัพย์นั้นมี ๓ ประการ คือโภกมะทรัพย์อันเกิดในปถพี ๑ อุพพิททรัพยาอันเกิดสูงพ้นดิน ๑ ชังคมะทรัพยาอันเกิดเพราะสัตว์มีเท้า ๑ เปน ๓ ประการดังนื้

อันว่าพัสดุอันมีกำลังมีทองเปนอาทิ มีเกลือเปนที่สุด บันดาเกิดในปถพึได้ชื่อว่าโภกมะทรัพย์ อุพพิททรัพย์มี ๔ ประการ คือ วะนะปะตะยะ ๑ วะนะปะติ ๑ วิรุพธ ๑ โอสธิ ๑ คือ ประกอบด้วยดอกแลผล ชื่อวะนะปัตตะยะ ทรัพย์ที่ไม่มีดอกแลผล ชื่อวะนะปติ เครือเถากับทรัพย์ต้นเล็กๆ ชื่อวิวุทธ ทรัพย์ที่มีผลคือแล้วต้นตายชื่อโอสถี น้ำผึ้ง, น้ำมันเนย, คูธ ๓ สิ่งนื้เปนอาทิ ชื่อว่าชังคะมะทรัพย์ กิริยาที่นอนแลอดนอน แลกิริยาที่ส้องเสพสิ่งของแลเวทมนต์ แลลมพัดแดดร้อน ตกใจแลความยินดี นวดฟั้นเศร้าโศกเปนอาทิดังนื้ ชื่อว่าอะทรัพย์มิได้จัดเปนยา

อันว่าทองคำนั้น มีคุณให้อิ่มให้เกิดความรักใคร่ ให้รสที่สุกแล้วมีรสอร่อย แลทองคำนั้นแก้โทษพิศม์ มีรสเย็น รสให้รัก รสฝาด เปนระสายะนะให้จำเริญอายุ

เงิน มีคุณเลอียดมีคุณเย็น ให้รสที่สุกแล้วนั้นกระทำให้คนสรรเสริญ ให้จำเริญอายุทุกเมื่อ กระทำให้ผอมได้แต่ว่าระงับลมระงับดี

ทองแดง มีรสขมหวานฝาด กระทำให้ผอม ให้เบา ให้เผ็ด มีรสสุกอร่อย กระทำให้แผลเย็นแผลงอกเนื้อ ระงับปิตตะ ระงับเสมหะ

ทองสัมฤทธิ์ มีรสฝาดรสขมอนุโลมตามรสทั้งปวง กระทำให้ปราศจากมลทิน กระทำให้ผอมให้รสสุกอร่อย กระทำให้อินทรีย์ผ่องใส กระทำให้สาระพัดในกายให้แห้ง ระงับปิตตะ ระงับเสมหะ

ทองเหลือง มีรสขมรสเค็ม ชำระมลทินระงับโรคผอมเหลือง เกิดแต่กิมิชาติระงับลม กระทำให้ผอมเหลือง

ตะกั่วเกรียบ มีคุณแม้นกับทองเหลือง

เหล็ก ชอบกับตา มีรสฝาด รสหวาน รสขม กระทำให้ผอมให้ลมกำเริบกระทำให้เย็น ระงับโรคเกิดเพื่อกิมิปิตตะเสมหะ

แก้วทั้งปวง ชอบกับตา กระทำให้ผอมให้เย็น

มรกฏ, สังข์, ฟองน้ำชะเล ตุกต่ำ, โคริกา, เปนอาทิ กระทำให้อินทรีย์ผ่องใส กระทำให้ผอม ระงับโรคกัณฑุโรคหิด โรคฝี ระงับโรคเกิดเพราะกิมิชาติ ระงับเสมหะระงับพิศม์

มะโนศิลา คือหระดานแดงภาษาลังกา คือกัมถันแดงภาษาไทยมีคุณดังแก้ว มีรสฝาด, รสหวาน, รสขม, ระงับโรครัตตะปิตตะ, โรคพิศม์, ราก, สอึก, กระทำให้ตาสว่าง

ดินสอพองในปล้องไม้ใผ่ มีรสหวานรสเย็น แก้ไขยโรค, ริดสิดวงแห้ง แก้สาระโรคคือหอบ กาสะโรคคือไอ

เกลือวะระทวัง เผาไฟแล้วแช่น้ำเอาด่างมีคุณมาก เกลือนี้ก็ดี เกลือสะวะสาก็ดี ยะวะกะสาคือน้ำประสารดีบุกก็ดี ทั้ง ๓ ประการนี้ กระทำให้แห้งระงับเสมหะวาตะปิตตะ

ฏังคะณะ คือน้ำประสานทองนั้น ให้จำเริญไฟธาตุ ระงับโรคกุฏฐ, โรคพิศม์

หิมะปะลา กิริกะเวฬุ มหากะเวฬุ ๓ สิ่งนี้ก็ดี มหาเมวัง สุลุเมวัง ๒ สิ่งนี้ก็ดี มะละแวนนะ มุงแวนนะ ๒ สิ่งนี้ก็ดี อุสะภะกะชิรุภะ ๒ สิ่งนี้ก็ดี มะธุลัฏฐิชะเอมก็ดี คณะนี้ให้เจริญชีวิตรจึงได้ชื่อว่าชิวะนิยะคะณะ

มะหาแกแนศ ๑ สิหิงแกะแนศ ๑ อมุกกะรา ๑ มะหาแกลิยะ ๑ พะลา คือขัดมอน ๑ เลละสิริแวะฑียะ ๑ เอระมินิยะคือเล็บเหยี่ยว ๑ อัศแวนนะ คือหญ้าเกล็ดหอย ๑ วะจาคือว่านน้ำ ๑ นิหิสุปะละ ๑ พิละวะ คือมะตูม ๑ หิริมะสุ, ระมะนิ คือรากอบเชย ๑ กิริอังคุนะ ๑ แอะแทริยะปะลุ ๑ มุตุนุแวนนะ คือผักเปด ๑ อะมะตะวัลลี คือบระเพ็ด ๑ สะตาวะริ คือรากสามสิบ ๑ โคอุระคือโคกกระสุน ๑ นิระละ ๑ สุลุแกระ คือหญ้าคมบางเล็ก ๑ กัฏฐเวละพฎุ คือมะเขือหนาม ๑ ตะฑะพุทุ ๑ เหละพฎุ คือมะเขือขาว ๑ มะธุลัฐิคือชะเอม ๑ มิทิคือคนทีสอใหญ่ ๑ แปะปิลิยะ คือโกฐจุฬาลำภา ๑ คณะดังกล่าวมานี้ให้จำเริญชีวิตรให้เกิดกำลังให้บำรุงไฟธาตุ ให้จำเริญอินทรีย์แต่ละอย่าง มีกำลังมากต่างกัน กินเข้าไปแล้วหาโทษมิได้ ให้เอาน้ำตาลกรวด, น้ำผึ้ง, น้ำนมโค, น้ำมันเนยทั้ง ๔ สิ่งนี้สิ่งใดสิ่ง ๑ เปนกระสายละลายยา สิ่งหนึ่งก็ได้ ๒ สิ่งก็ได้ ทั้งหมดก็ได้ เด็กก็ดีคนแก่ก็ดี คนมีกำลังก็ดีคนผอมก็ดี คนไม่มีกำลังก็ดี คนธาตุหย่อนก็ดี ให้ประกอบยานี้กินเถิด

อนึ่งกินแล้วให้บังเกิดบุตร ให้อกฅอแค่นแขงทั้ง ๔ มีกำลัง ถึงกระดูกหักก็ดี แพทย์ก็นับถือรักษาด้วยยานี้เถิด

ขัดมอนเล็ก ๑ ขัดมอนใหญ่ ๑ กิริกะเวฬุ ๑ มหากะเวฬุ ๑ ด้นอ้อย ๑ อะมุกะหะรา ๑ กิริดิลวะ ๑ อโนชาคำลังกาว่าน้อยหน่า ๑ อันว่ายาหมู่นี้กระทำให้อิ่ม เหตุดังนั้นจึ่งชื่อว่าปะหะติคณะเปนครรภรักษา

ขันทศกร ๑ สิริละ ๑ แห้วหมู ๑ โกฐกระดูก ๑ ว่านน้ำ ๑ ขมิ้นชัน ๑ เจ็ตมูลเพลิง ๑ ตำแยเครือ ๑ วิระทะ ขิงสด ๑ อันว่ายาหมู่นี้กระทำให้ผอม เหตุด้งนันจึงชื่อว่า

โสภะนิยะคณะ

ต้นรักขาว ๑ ละหุ่ง ๑ แตงกวาร้าน ๑ เจ็ตมูลเพลิง ๑ สิริละสังข์ ๑ เตรุ ๑ สะระละ ๑ รงทอง ๑ กุลุแวนนะคือกะตุกะโรหินี ๑ พรมมิ ๑ ยาหมู่นี้กระทำให้อุจจาระบริสุทธิ์ เหตุดังนี้จึงชื่อว่าเภทนิยะคะณะ

น้ำผึ้ง ๑ แอดอะฑะยะ ๑ ซ้องแมวใหญ่ ๑ โลท ๑ ประยง ๑ โกตัมพุรุ คือผักชี ๑ แอนติธิ ๑ อิทินนะรุ ๑ ยางมะขวิด ๑ ยาหมู่นี้แก้กระดูกหักแตกต่อติด เหตุดังนั้นจึง

ชื่อว่าสันฐานคะณะ

มหาหิงคุ์ ๑ พริกไทย ๑ ส้มมะขาม ๑ โคมะตุ ๑ เทียนเยาวะภานี ๑ ผลรักเทศ ๑ ปัตตะปัญจะ ๑ ใบไม้ ๕ ประการที่มีอยู่เบื้องน่า ๑ ยาหมู่นี้จำเริญไฟธาตุ เหตุดังนี้จึงซื่อว่าทิปนิยคะณะ

จันทน์หอม ๑ บุนนาค ๑ กิริอตุลุ ๑ เหละกิริตตะ ๑ ชะเอม ๑ บัวหลวง ๑ แฝกหอม ๑ มะกล่ำตาช้าง ๑ รากอบเชย ๑ ยาหมู่นี้แก้แผลทั้งปวง จึงชื่อว่าจันธาทิคะณะ

มูกหลวง ๑ กะเบียน ๑ มะตูม ๑ เจ็ตมูลเพลิง ๑ ขิงแห้ง ๑ แห้วหมู ๑ สะค้าน ๑ ตำแยเครือ ๑ ส้มป่อย ๑ เทียนสัตตบุษป์ ๑ ขมิ้น ๑ ยาหมู่นี้แก้มูลวาตะลมจุกเสียด แก้ริดสิดวงงอกในทวารหนัก ชื่อว่าหะริสเชตคะณะ

แก่นตะเคียนลังกาว่านสีเสียด ๑ มะขามป้อม ๑ ผลรักเทศ ๑ ขมิ้น ๑ สมอ ๑ สัตตบัน ๑ ลั่นทม ๑ ราชพฤกษ์ ๑ พิลังกาสา ๑ ใบมลิวัล ๑ ยาหมู่นี้แก้กุฏฐโรค ชื่อว่ากุฏฐาราทิคะณะ

แฝกหอม ๑ ราชพฤกษ์ ๑ จันทน์ ๑ เมล็ดพรรผักกาด ๑ แห้วหมู ๑ สเดา ๑ โมก ๑ ชะเอม ๑ สะตือ ๑ เทียนสัตตบุศย์ ๑ ยาหมู่นี้แก้ฝีทั้งปวง แก้หิดทั้งปวง

อังกุณะ ๑ พริกไทย ๑ กะทือ ๑ ว่านเสมา ๑ พิลังกาสา ๑ โลลุ ๑ คนทีสอ ๑ โคกกระสุน ๑ ว่านน้ำ ๑ เกาะดูรุแพทะ ๑ ยาหมู่นี้แก่โรคเกิดแต่กิมิชาติหาย

มะกล่ำเครือ ๑ โลลุ ๑ ขมิ้น ๑ แรตตะต้นข่า ๑ มาราแอฏะเมล็ดทิ้งถ่อน ๑ จันทน์เกราะ ๑ โคกกระออม ๑ กระวาน ๑ ยานี้ก็ดี จันทน์ ๑ ซะเอม ๑ คนทีสอ ๑ ยานี้ก็ดี ทั้ง ๒ ขนานนี้แก้พิศม์

น้ำเข้าตอก ๑ พุดทรา ๑ ทับทิม ๑ เมล็ดเข้า ๒ เดือน ๑ ส้มซ่า ๑ รัตตะหิริเวริยะ ๑ แฝกหอม ๑ ยอดหว้า ๑ ยอดมะม่วง ๑ ดินแห้ง ๑ ยาทั้งนี้แก้อาเจียน

ขิงสด ๑ ตำแยเครือ ๑ หริเวริยะ ๑ โกฐจุลาลำภา ๑ บระเพ็ด ๑ สะเดาดิน ๑ แห้วหมู ๑ ขี้กา ๑ ผักชี ๑ ยาทั้งนี้แก้กระหายน้ำ

มะเขือหนาม ๑ มะเขือขาว ๑ เมวัง ๑ รากบัว ๑ โกฐพุงปลา ๑ เปราะหอม ๑ ตำแยเครือ ๑ เมล็ดพุดทรา ๑ ยาทั้งนี้แก้สอึก

ธฏอุติทมูละ ๑ บัวหลวง ๑ ซ้องแม้วใหญ่ ๑ เกสรบัว ๑ เปลือกโลท ๑ มะละอิต์ตะมะละทะฑะ ๑ อิทิน์นรุ ๑ ยางง้าว ๑ เมล็ดมะม่วง ๑ ยาทั้งนี้กินผูก ชื่อมะละคาหิ

หว้า ๑ มะม่วง ๑ มะเดื่อ ๑ ไทรย้อย ๑ ยาทั้งนี้เอายอด เอละแกทิ ๑ ไกร ๑ สารภี ๑ ส้มเสี้ยว ๑ รักเทศ ๑ มุวะกิริยะ ๑ มะกล่ำเครือ ๑ มะกล่ำต้น ๑ ยาหมู่นี้แก้มุตรกฤจฉ จึงชื่อว่า มุตตคหณี

โผฏา ๑ โคกกระสุน ๑ อ้อยป่า ๑ เปลือกอบเชย ๑ โคกกระสุนแดง ๑ หญ้าแพรก ๑ อ้อยเครือ ๑ แห้วหมู่ ๑ ปหนะเพ ๑ ยาหมู่นี้แก้ขัดเบา

คนทีสอใหญ่ ๑ ชะเอม ๑ ผักโหมหิน ๑ อตแอติยะ ตำแยเครือ ๑ สมอ ๑ ดีปลี ๑ โกฐพุงปลา ๑ นวะแนติลิยะ ๑ มะเขือหนาม ๑ มะเขือเครือ ๑ ยาหมู่นี้แก้ไอ

ขิงสด ๑ แอปุละ ๑ โหมุตุ ๑ สิงคุรุปิยะลิ คือเปราะหอม ๑ นวะแนติลิยะ ๑ กระเพรา ๑ สุจปลา ๑ กิทิแท ๑ รากบัว ๑ กระวาน ๑ กุลุแวนละ ๑ ยาหมู่นี้แก้ไอแก้หอบ

วิทิปิยะลทะ ๑ เพาะวลุท ๑ มนุแวหุต ๑ รากอบเชย ๑ บระเพ็ด ๑ ก้นปิต ๑ ตรีผลา ๑ ยาหมู่นี้แก้ไข้ทั้งปวง

บัวหลวง ๑ เข้าตอก ๑ แฝกหอม ๑ ชะเอม ๑ อุปล ๑ รากอบเชย ๑ น้ำตาลกรวด ๑ หิริเวลิยะ ๑ ซ้องแมวใหญ่ ๑ กระโดน ๑ จันทน์ ๑ ยาหมู่นี้แก้ร้อน

เนื้อไม้ ๑ ขิงสด ๑ กฤษณา ๑ กาลุแวล ๑ ว่านน้ำ ๑ ผักชี ๑ สิริล ๑ ดีปลี ๑ มะเขือหนาม ๑ โตฏิละว่าเพกา ๑ คนทีสอใหญ่ ๑ ยาหมู่นี้แก้เย็น

เทียน ๑ พริกไทย ๑ เทียนดำ ๑ สะค้าน ๑ เทียนเยาวภาณี ๑ เบ็ญจปัตต ๑ ใบไม้ ๕ ประการด้วย ทศมูลราก ๑๐ ประการด้วย ยาหมู่แก้ยอก, แก้เสียด, แก้บวม

น้ำผึ้ง ๑ ชะเอม ๑ เข้าตอก ๑ สวังคุรุ คือดินแดงเทศ ๑ ประยง ๑ ยางง้าว ๑ ดินเผา ๑ เปลือกไม้เหลือง ๑ น้ำตาลกรวด ๑ เปลือกโลท ๑ ยาหมู่นี้เจริญอาหาร

หญ้าเกล็ดหอยใหญ่ ๑ ผักโหมหินเล็ก ๑ ผักโหมหินใหญ่ ๑ ละหุ่งขาว ๑ ละหุ่งแดง ๑ ทองกวาว ๑ อุสภะกะชิวกะ ๑ โคกกระสุน ๑ รากสามสิบ ๑ ดองดึง ๑ หัวเบ็ญจปัตตะ ๑ วณะแวนนะ ๑ มะเขือหนาม ๑ มะเขือเครือ ๑ แอดสฏิยะ ๑ พาสุลุ ๑ เหละฑิยะ ๑ ถ้ามิได้ ให้เอามุแวนนะ มหาเหละฑิยะ ถ้าไม่ได้ เอามะละแวนนะ อาจาริยะกล่าวไว่ให้เอาสิ่งละ ๔๐ กล่ำ ถั่วดำ ๑ สะตือ ๑ สวาด ๑ ยาหมู่นี้แก้ผอมแห้ง แก้คุลุมโรคก็ได้ แก้ลมแก้หอบก็ได้ แก้ปิตตะก็ได้แล

ไกร ๑ มะเดื่อ ๑ สารภี ๑ ไทร ๑ มะทราง ๑ มะพลับ ๑ ปยะลิ ๑ พุดทรา ๑ อชุนะคือกุ่มน้ำ ๑ กุ่มบก ๑ กุ่มแดง ๑ อัสสะกัณณะ คือหูกวาง ๑ มารา ๑ มะม่วง ๑ โคปาลุ ๑ ถ้าไม่ได้เอาโหมุตุ ๑ ทองกวาว ๑ รักเทศ ๑ โลทขาว ๑ หว้าควาย ๑ หว้านก ๑ ชมภู่ใหญ่ ๑ ยาหมู่นี้แก้ดี แก้โลหิต แก้ปรเมหะพลันหาย แก้บาดแผลด้วยแก้ร้อนด้วย แก้เภทสัตรีในทางปัสสาวะ

ดีปลี ๑ เจ็ตมูลเพลิง ๑ ว่านน้ำ ๑ โมกมัน ๑ ดีปลีใหญ่ ๑ รากช้าพลู ๑ แห้วหมู ๑ ขิงสด ๑ กระวาน ๑ อิรทะ ๑ กระเจา ๑ สะค้าน ๑ พริกไทย ๑ เทียนเยาวภานี ๑ เมล็ดพรรผักกาด ๑ ภารยพติทัมเทอุสุนุ ๑ ลิหิงแมฑหังคุ ๑ มหาแมฑหังคุ ๑ สเดา ๑ เทียนดำ ๑ ตำแยเครือ ๑ พิลังกาสา ๑ ยาหมู่นี้กำจัดวาตะ, เสมหะ

กระแจะ ๑ กระวาน ๑ โลท ๑ หิริเวลิยะ ๑ เกสรสารภี ๑ สมุลแว้ง ๑ ใบพิมเสน ๑ เปราะหอม ๑ กาลเวล์ ๑ ดอกจันทน์เกาะ ๑ ข่อย ๑ ดอกบุนนาก ๑ เปลือกไม้เหลือง ๑ เทียนสัตตบุศย์ ๑ ธะสะยะ ๑ รงทอง ๑ สาละมละ คือดอกรัง ๑ สังข ๑ สิริวุฏ ๑ หว้า ๑ ชันไม้รัง ๑ วะหะนะยะเปนหอยวิเศษในมหาสมุท ๑ ชฎามังษี ๑ โกฐกระดูก ๑ ยาดังกล่าวมานี้ชื่อว่าเอลาทิคณะ แก้ต่อม, แก้ฝี, แก้พิศม์, แก้วาตะ, เสมหะ

สันพร้ามอน ๑ ฏุกแวลังคุ ๑ รากสามสิบ ๑ มะตูม ๑ สิหิแมฑหังคุ ๑ มะรุม ๑ หญ้าคา ๑ ดอกคำทั้ง ๒ มะเขือขาว ๑ มะเขือหนาม ๑ ธารุสกะคือมะปราง ๑ นิยะทะ ๑ ติตติคะ ๑ ถ้าไม่ได้เอาเกมิทะก็ได้ คนทีสอใหญ่ ๑ สะค้าน ๑ เจ็ตมูลเพลิง ๑ สตือ ๑ ยาดังกล่าวมานี้ชื่อว่า วะระนาทิคณะ แก้อันตะวิทราโรค แก้มันทาคินี แก้เสมหะ แก้คุลุมโรคหายแล ยาขนานนี้ให้เอาแต่รากทั้งหมด

ราชพฤกษ์ ๑ เจ็ตมูลเพลิง ๑ หังคุลุ ๑ มะเขือหนาม ๑ เล็บเหยี่ยวก็ได้ ๑ สเดา ๑ แคป่า ๑ เมฑะหังคุ ๑ ต้นศีศะเต่า ๑ บระเพ็ด ๑ กระเบียน ๑ ก้นปิด ๑ สเดาดิน ๑ ขี้กาแดง ๑ สตือ ๑ สิริล ๑ โมกมัน ๑ ดอกคำทั้งสอง ๑ นิริลเคาะแวลก็ได้ ๑ สัตตบัน ๑ ยาดังกล่าวมานี้ชื่อ อโรคาทิคณะ แก้ประเมหะ แก้กะธะชะ แก้ไข้จับ แก้ราก แก้เสมหะหาย

ขนานนี้เอาแต่เปลือกแต่ราก เอาโลทขาวหรือโลทแดง ๑ แห้วหมู ๑ ปลุ ๑ กล้วย ๑ รัง ๑ เอละวะนุ ๑ โกะโนล์ ๑ พระยามือเล็ก ๑ บุกรอ ๑ ซ้องแมวใหญ่ ๑ อิค์สาลุ ๑ ยาหมู่นี้ชื่อว่าโลทาทิคณะ แก้เสมหะแก้เมททั้ง ๒ แก้เพศสัตรืในทางปัสสาวะ แก้วรรณโรค กระทำให้กายมั่น แก้สรรพพิศม์

ก้นปิด ๑ ดอกคนทีสอเหล็ก ๑ เปลือกโลท ๑ อิทินนรุ ๑ เกสรบัว ๑ ชะเอม ๑ สุลมลิป ๑ มะตูม ๑ ยาหมู่นี้ชื่อว่าอัมพะฎาทิคณะ แก้ปักกาติสารโรคคือบิดเหน้า

มะขามป้อม ๑ สมอ ๑ ดีปลี ๑ เจ็ตมูลเพลิง ๑ ยาหมู่นี้ชื่อว่าอาละมะกาทิคณะ กระทำให้กายผอม แก้เสมหะ กุฎฐโรค แก้ปิตตะแก้เสมหะ แก้ไข้ทั้งปวง อนึ่งกระทำให้ถอยกำลัง บำรุงไฟธาตุด้วยตรีผลา มีสมอเปนต้นนั้น แก้วิสมชรา คือไข้ผิดสำแลง ทำให้ตาสว่าง บำรุงไฟธาตุ แก้เสมหะ กุฏฐโรค แก้ปิตตะ เสมหะหาย

อันว่าทรัพยามีสมอเปนอาทิ อาจาริย์ผู้วิเศษย่อมสรรเสริญไว้ในคัมภีร์ทั้งหลายเปนอันมาก เหมือนดังตำราอุทาหรณ์ ว่าทรักษาทิตรีผลากัสมรีติดังนี้มีขนานหนึ่ง ติลาทลานิเอลปูตปัลลวตลูปีติผลา ดังนี้ก็มีขนานหนึ่ง เหตุดังนั้นจึงได้เอาสมอเปนอาทิ มาสรรเสริญไว้ในคัมภีร์นี้

ขี้กา ๑ จันทน์ ๑ แมฑหังคุทั้งสอง ๑ ตำแยเครือ ๑ ก้นปิด ๑ บระเพ็ด ๑ ยาหมู่นี้ชื่อว่าปะโตลาทิคณะ แก้เสมหะแก้ราก แก้กินเข้าไม่ได้ แก้ฝี แก้พิศม์หาย

จันทน์ ๑ บระเพ็ด ๑ สเดา ๑ ผักชี ๑ บัวหลวง ๑ ยาหมู่นี้ชื่อคโลจาทิคณะ แก้กระหายน้ำ แก้ร้อน แก้ราก แก้กินเข้าไม่ได้ แก้สารพัดไข้หาย

กึริกะเวฬู ๑ มหาเวฬู ๑ ชะเอม ๑ โกฐพุงปลา ๑ สุลุเมวัง ๑ มหาเมวัง ๑ โอลัมพิยะ ๑ โปตรุ ๑ มิมะทะ ๑ สุลุกลัต์ ๑ ทะฑะกะลัต์ ๑ มุแวนนะ ๑ มัสแวนนะ ๑ ตุมปิฏิยะ ๑ สสุเตฑละ มหาเตฑละทั้ง ๒ นั้นไม่มีให้เอาสุลุกะลัต์ มหาสุลุกะลัต์ใช้ก็ได้ นม ๑ บัวหลวง ๑ บระเพ็ด ๑ ยาหมู่นี้ชื่อว่ากาโกลาทิคณะ กระทำให้อิ่มให้เกิดน้ำนมให้เจริญอายุ แกิปิตตะ แก้วาตะ แก้เลือดหาย

รากอบเชย ๑ รากบัวหลวง ๑ แฝกหอม ๑ ชะเอม ๑ จันทน์ทั้ง ๒ ส้มเสี้ยว ๑ ยาหมู่นี้ชื่อว่าสาริกาทิคณะ แก้รัตตะปิตตะโรค แก้กระหายน้ำ แก้นอนไม่หลับ แก้ไข้เพื่อดี แก้รากแก้ร้อน มีกำลังกล้า หาย

รสาอันนณะ ๑ โตอันนณะ ๑ โผฎา ๑ เกสรบุนนาก ๑ ชะเอม ๑ ยาหมู่นี้ชื่อว่าอัญชนาทิคณะ แก้ปิตตะ แก้พิศม์ แก้ร้อน แกโรคดังกล่าวมานี้

ว่านน้ำ ๑ แห้วหมู ๑ สมอ ๑ เทียนสัตตบุศย์ ๑ ขิง ๑ อิวะทะ ๑ ยาหมู่นี้ชื่อว่าวะจาทิคณะ

ขมิ้น ๑ มัสแวนนะ ๑ ขมิ้นเครือ ๑ ชะเอม ๑ โมกมัน ๑ ยาหมู่นี้ชื่อหะริตาทิคณะ ยา ๒ ขนานนี้แก้โทษแห่งอามาจะให้สุกได้ แก้อามะอติสาร คือเปนบิดยังอ่อนๆ ให้หาย แก้โทษน้ำนมสัตรีให้บริสุทธิ์ได้

ก้นปิด ๑ ทัมเทวุสุนุ ๑ สิหิงแมฑหังคุ ๑ ขิง ๑ เทียนสัตตบุศย์ ๑ ยาหมู่นี้ชื่อปาทาทิคณะ แก้หอบ แก้ไอ แก้อุทธังคมาวาต แก้คุลุมโรค แก้รุชาโรค คือปวดขบในท้องหาย

เมล็ดฝ้าย ๑ น้ำประสานดีบุก ๑ เกลือสินเธาว์ ๑ กสิล ๑ มละกสิละ ๑ มหาหิงคุ์ ๑ คิริชคลัมทะ (ภาษาบาฬี) คือเนื้อหิน ๑ ตุกต่ำทั้งสอง ๑ ยาหมู่นี้ชื่ออุปะสาราทิคะณะ แก้เมทะ แก้สักขราสมริโรคคือเปนนิ่วกรวดนิ่วหินหาย

วิรตรุอันธระ (ภาษาบาฬี) กะถินป่า ๑ คนทีสอใหญ่ ๑ อ้อยเครือ ๑ โผฎา ๑ หญ้าแพรก ๑ ธารุสกะ ๑ รากอบเชย ๑ โกวะกา คือเครือนมพิจิตร ๑ เพกา ๑ โคกกระสุน ๑ นิริลยาปุระ ๑ โคกกระสุนแดง ๑ ถ้าไม่ได้เอาเข็มแดง หญ้าคา ๑ ดอกคำเขียวหรือดอกคำเหลือง ๑ ยาหมู่นี้ชื่อว่าวิรรุกขทิคณะ แก้นิ่วหิน นิ่วกรวด นิ่วเบาเปนเส้นในปัสสาวะ มักมีนิ่วเปนอาทิ แก้มุตรกฤจฉ์ แก้วาตะหาย

เตลัมพุ คือสัมโรง ๑ กะเบียน ๑ รากโมกทั้งสอง ๑ เจ็ตมูลเพลิง ๑ สลัดไดเล็ก ๑ แทวตัล ๑ ทองกวาว ๑ แอฏระ ๑ ยาหมู่นี้ชื่อมุกาทิคณะ แก้ประเมหะ แก้มูลพยาธิ แก้ระสมริโรค ยามุกาทิคณะนี้เผาไฟเอาด่าง

รัง ๑ โกมพุ ๑ ทองกวาว ๑ แทวตัส ๑ แสโทลมัล ๑ กุ่มบก ๑ ประดู่ ๑ มหริ ๑ แอฏฏระ ๑ จันทน์เกาะ ๑ ปุรุท ๑ สีเสียดต้น ๑ จันทน์ทั้งสอง ๑ สิหิงปุรุท ๑ รัตมุรุต ๑ สิริส ๑ กาลวลิ ๑ ยาหมู่นี้ชื่อสาลาทิคณะ แก้เสมหะ แก้ผอมเหลือง แก้ขัดเบา แก้กุฏฐโรค แก้ประเมหะ ยาหมู่นี้เอาเปลือก

อุบล ๑ กมุท ๑ บัวหลวง ๑ เหลมลิ ๑ สัตตบุษย์แดง ๑ ชะเอม ๑ ยาหมู่นี้ชื่ออุปลาทิคณะ แก้ปิตตะแก้โลหิต แก้รัตตะปิตตะ แก้พิศม์ แก้ราก ยาหมู่นี้เอาเง่ากับเกสร

ตะกั่วเกรียบ ๑ ทองแดง ๑ สังข์ ๑ ตะกั่วดำ ๑ ทองคำ ๑ เงิน ๑ ยาหมู่นี้แก้เจ็บขัดเบา แก้เจ็บในอก แก้อุลุมโรค แก้ผอมเหลือง แก้ประเมหะ แก้พิศม์หายแล

ตุลสิ คือกระเพราขาว ๑ กระเพราดำ ๑ รุวร ๑ กรวุตลา ๑ อนุตลา ๑ ไม้ไผ่ ๑ เข้าฝ้าง ๑ เตธุม คือเข้าละมาร ๑ กริย ๑ โกล ๑ มัณฑปลา ๑ ค้อนกลองนา ๑ ชะเอม ๑ อักแมล์ล ๑ กะเพราเครือ ๑ บางอาจาริย์ว่าอบเชยกะเพราดำ ๑ เรรุ ๑ เพ็ชสังฆาฏ ๑ พิลังกาสา ๑ แก่นแมร ๑ แมฑหังคุ ๑ ทังสอง ๑ โกคุรุแพททะ ๑ ซ้องแมวใหญ่ ๑ ยาหมู่นี้ชื่อว่าสุรษาทิวัค แก้กิมิโรค แก้เสมหะโรค แก่ไอกินอาหารไม่มีรส แก้หวัด แก้หอบหาย ชำระแผล ยาหมู่นี้ใช้ได้มาก

มะปราง ๑ ซ้องแมวใหญ่ ๑ ทับทิม ๑ ผลจันทน์ ๑ กิริมูลคือไม้เกษ ๑ มะขามป้อม ๑ พระยามือเหล็ก ๑ คนทีสอใหญ่ ๑ ยาหมู่นี้ชื่อปารสุกาทิคณะ แก้ลมให้ชื่นใจให้เจริญอาหาร แก้กระหายน้ำ แก้โทษปัสสาวะ ให้ใช้แต่ผล

แห้วหมู ๑ เครือก้นปิด ๑ ขมิ้นทั้งสอง ๑ ตำแยเครือ ๑ เหมวดี คือขันทศกร ๑ กระวาน ๑ อิวทะ ๑ โกฐกระดูก ๑ รักเทศ ๑ ตรีผลาหนึ่ง หังคุลุ ๑ ยาหมู่นี้ชื่อมุตาทิคะณะ แก้โรคเกิดแต่เสมหะหาย กระทำให้บริสุทธิ์ กระทำให้สุขให้เกิดน้ำนมแก้เพศสัตรืในทางปัสสาวะวิเศษนักแล

โผฏา ๑ ตองแตก ๑ มะซาง ๑ ไทรย้อย ๑ สลัดไดเล็ก ๑ รากจิงจ้อเหลี่ยม ๑ บระเพ็ด ๑ พรมมิ ๑ ยักเพรีย คือครอบตลับ ๑ เสตกัล ๑ ราชพฤกษ์ ๑ แวลลิวัน ๑ กฏุเวลังค ๑ สตือ ๑ เตลกิริยะ คือต้นรงทอง ๑ ยาหมู่นี้ชื่อว่า สามาทิคณะ ๑ แก้ลมอุทธังคมาวาต แก้โรคท้องมาร แก้ลมกระทำให้ท้องขึ้น แก้พิศม์ แก้คุลุมโรคเปนอาทิหายแล

มะตูม ๑ คนทีสอใหญ่ ๑ เพกา ๑ ซ้องแมวใหญ่ ๑ แคป่า ๑ ยาหมู่นี้มีมะตูมเปนอาทิ ชื่อว่าพิลวาทิคะณะ ให้เจริญไฟธาตุ แก้วาตะ แก้เสมหะหาย

ขัดมอน ๑ ผักโหมหิน ๑ ละหุ่ง ๑ มุงแวนนะ ๑ ม้สสุแวนนะ ๑ ยาหมู่นี้แก้ปิตตะ, เสมหะ, วาตะ, กระทำให้ตัวเบา

หญ้าเกล็ดหอยเล็กหรือเกล็ดหอยใหญ่ ๑ ละหุ่ง ๑ มะเขือทั้งสอง ยาหมู่นี้ชื่อปัญจะมูลเหล็ก แก้วาตะ เสมหะหาย

หัวเบ็ญจปัตตะ ๑ รากอบเชย ๑ สิหิงเมฑหังคุ ๑ บระเพ็ด ๑ โผฎา ๑ ขมิ้นเครือ ๑ ยา ๖ สิ่งนี้แก้มุตรกฤจฉ์ แก้วาตะ แก้ปิตตะหาย

กฏุเวลังค ๑ โคกกระสุน ๑ ดอกคำทั้งสอง ๑ กะรัมพะคือมะนาวเทศ ๑ รากหญ้าหนาม ๑ ห้าประการนี้ แก้เสมหะ วาตะหาย

หญ้าแพรก ๑ อ้อยเครือทั้งสอง หญ้าคา ๑ ไม้รวก ๑ แปปะละ รากหญ้าห้าประการนี้ เอาสิ่งเดียวก็ได้ เอาทั้ง ๕ ก็ได้ แก้ปิตตะ แก้มุตรกฤจฉ ชำระลำไส้

โมกมัน ๑ แมฑหังคุ ๑ สิริเตกกุ ๑ ตำแยเครือ ๑ พริกไทย ๑ แห้วใหญ่ ๑ ว่านเสมา ๑ กระวาน ๑ ก้นปิด ๑ เทียนดำ ๑ เพกา ๑ กะเบียน ๑ เทียนเยาวภานี ๑ พรรผักกาดขาว ๑ ว่านน้ำ ๑ ยาหมู่นี้ก็ดี เทียน ๑ มหาหิงคุ์ ๑ พิลังกาสา ๑ ผักเสี้ยนไทย ๑ ใบ ๕ ประการดังกล่าวมานี้ชื่อว่าวัชกาทิคณะ แก้วาตะ, เสมหะ, เมทะ แก้คุลุมโรค แก้หวัด แก้ไข้ แก้เมื่อยแก้ขบ แก้เปื่อยหาย

รักขาว ๑ มะแว้งเครือ ๑ รากตองแตก ๑ ดองดึง ๑ ทัมเทวุสุทุ ๑ แรตต ๑ อัสสติย ๑ หระดาน ๑ หญ้าพันงู ๑ แกมเมรีย ๑ สตือ ๑ เหลกัตตโกลุ คืออันชัญขาว ๑ ดอกจันทน์เกาะ ๑ โคกกระออม ๑ แหตินิยะ ๑ ยาหมู่นี้ชื่ออักกาทิคะณะ แก้เสมหะ แก้เมทะ แก้พิศม์ แก้กิมิโรค แก้กุฎฐโรคหาย แก้บาดแผลดีวิเศษนัก

เทียนสัตบุศย์ ๑ ตวรณะคือเนื้อไม้ ๑ โกฐสอ ๑ เอาทศมูลด้วย ขัดมอนเล็ก ๑ เข้าตอกขั้ว ๑ เอาวิระตะราทิคณะประกอบด้วย เอาพิทาทิคณะด้วย แก้ลมทั้งปวง

ประดู่ ๑ โกมพุรุกตะ ๑ พุรุทะ ๑ กุพุคือกุ่มบก ๑ ตะเคียนหรือสีเสียดก็ว่า ๑ แกกระ ๑ มะหะริ ๑ แอฏฏระ ๑ แมฑหังคุทั้งสอง จันทน์ทั้งสอง ขมิ้นเครือ ๑ ตรืติหมะ ๑ เอารากเอาใบ ตาลโตนด ๑ ใบทองกวาว ๑ หิกะระม้ตตะ ๑ ดอกรัง ๑ ต้นเทวะต้นหมากเมีย ๑ เมล็ดโมกมัน ๑ ผลยอ ๑ ยาหมู่นี้ชื่อ อัสนาทิคณะ แก้มือด่างเท้าด่าง แก้กุฏฐโรค แก้เสมหะ แก้ประเมหะ แก้กิมิโรค แก้โรคผอมเหลือง แก้เมทโทษหาย

เอาทุรุวาทิคณะก็ดึ ๑ เอาหญ้าแพรก ๑ ตำแยเครือ ๑ สเดา ๑ เสนียด ๑ วัททุรุ ๑ แห้วหมู ๑ รากสามสิบ ๑ กลิละ ๑ ประยง ๑ เอานิโครธาทิคณะก็ดี อุปะลาทิคณะก็ดี อัศษนาทิคณะก็ดี สุระลาทิคณะก็ดี มุตตาทิคณะก็ดี วจาทิคณะก็ดี คณะทั้งหลายนี้แก้เสมหะหาย หัวเบ็ญจปัต ๑ ละหุ่ง ๑ แอสะติยะ ๑ ผักโหมหิน ๑ สตือ ๑ กัมพุลุแวนนะ ๑ มุงแวนนะ ๑ ถั่วดำ ๑ ชิวนะ ๑ รสสัญญา ๑ อภิรุ ๑ วิระวันนิ ๑ ซิระโกหัจจะปัง ๑ ยาหมู่นี้ชื่อว่าชิวสัญญาเปนรากใหญ่ห้าประการ

รสสัญญาปหฏิ ๑ คัณฐการิ ๑ สาลปัณณิ ๑ ปัญญาหปัณณิ ๑ โตขุรุกะ ๑ ยาหมู่นี้รากเล็ก ๕ ประการ อบเชย ๑ ยาหมู่นี้ชื่อพิทาริกาทิคณะ เปนยาแก้ให้ชื่นอกชื่นใจ กระทำให้อิ่ม แก้เสมหะแลปิตตะ แก้บวมแก้คุลุมโรค แก้โรคให้กลับเนื้อกลับตัว แก้ลมอุทธังคะมาวาต แก้ไอหายแล

อันว่าคณะทั้งหลายนี้ก็ดี น้ำมัน น้ำมันเนยทาก็ดี แพทย์ดูด้วยอาการอันควรแลไม่ควรแล้วพึงกระทำโดยฉลาด

อันว่ายาสิ่งใดคือดอกแลผล หรือเปลือก รากแลใบเปนอาทิยังมิได้บอกให้แจ้งนั้น ก็ให้แพทย์เอารากใช้เถิด ถ้ายาสิ่งใดมิได้บอกประมาณ ให้เอายาสิ่งนั้นเสมอกันเถิด ถ้าน้ำกระสายยังมิได้บอกแจ้งก็ดี ก็ให้ละลายด้วยน้ำกินเถิด ยาผงสิ่งใดเมื่อจะให้กินนั้น ให้ดูประมาณเห็นว่าควรจะให้กิน อะกะหนึ่งก็ดี ๒ หรือ ๔ อะกะก็ดี นิสกะหนึ่งก็ดี ๒ หรือ ๓ นิสกะก็ดี มากกว่านี้หน่อยหนึ่งก็ดี ดูประมาณแล้วพึงให้กินเถิด

อนึ่งยาสิ่งใดเจือด้วยน้ำนมนั้นควรจะให้กิน ปะสะตะ ๑ ก็ดี ๒ หรือ ๓ ปะสะตะก็ดี ให้ดูประมาณอันควรแล้วพึงให้กินเถิด อนึ่งถ้าเห็นว่าวันใดพานจะเย็นอยู่ก็อย่าให้กินเลย

แพทย์จะรักษาโรคสิ่งใดให้ดูประมาณ เห็นว่าควรจะให้กินยานั้น ๓ วันก็ดี ๗ วันก็ดี ๑๒ วันก็ดี มันฎลคือ ๓๐ วันก็ดี ประมาณดูแล้วพึงให้กินยาเถิด

ถ้าให้ยาสิ่งใดกินเห็นว่าโรคนั้นหยุดอยู่ก็ดี บรรเทาลงก็ดี พึงให้ยานั้นกินไปเถิด ถ้าโรคนั้นทวีมากไปก็ให้ยกยานั้นเสีย เอายาอื่นให้กิน โรคสิ่งใดบังเกิดขึ้นได้ในกาลเท่าใด พึงให้กินยาไปเท่านั้นหายแล

อนึ่งโรคบังเกิดได้ปี ๑ รักษาดู ๗ วันแล้ว ถ้ากำลังโรคมีเสมออยู่พึงให้กินยาอื่นเถิด

ถ้าให้กินยาสิ่งใดแลยังไม่เห็นคุณ ก็อย่าเพ่อให้กินยาอื่นซ้ำเข้าไปในขะณะนั้นก่อน เหตุดังฤๅ เหตุว่ายาที่กินไปก่อนนั้นมีกำลังโอชารสยังสงบอยู่ ยาที่กินภายหลังนั้น เข้าไปปะทะกันอยู่แล้วก็ให้คุณต่าง ๆ กันไปก็จะหาประโยชน์มิได้

ถ้าเปนไข้จับในฤดูอันเสมอกัน ไม่ร้อนไม่หนาวก็ที โทษที่จับอยู่นั้นยังมิได้ระงับก็ดี อนึ่งในประเมหะโรคธาตุยังบริบูรณ์ก็ดี อนึ่งในรัตตะคุลุมโรคนั้นเรื้อรังอยู่นานก็ดี ลักษณะโรคทั้งหลายดังกล่าวมานี้ แพทย์พึงรู้ว่าจะรักษาหายง่าย

อันว่าสมอเทศ, สมอไทย, นั้นมีรสหวานสุขุม มีรสฝาด, รสแห้ง, รสเค็ม, รสเบา, ให้จำเริญไฟธาตุ กระทำให้สุกชอบเมทะมีคุณอุ่นชำระมนทินในกายให้บริสุทธิ์ เจริญอายุให้เกิดปัญญา ให้เกิดกำลัง เจริญอินทรีย์ทั้งหลายมีจักษุเปนอาทิ แก้กุฎฐโรค กระทำให้จำเริญวรรณ แก้เสียงแหบ แก้เสียงแห้ง แก้เสียงแข็ง แก้บุราณชวร แก้ศีศะโรค จักษุโรค แก้โรคผอมเหลือง แก้หฤไทยโรค แก้กามิล แก้ตระหนี่โรค แก้บวมเดินเหินไม่ได้ แก้ประเมหะมุตรอติสาร แก้วาตะ แก้ราก แก้กิมิโรค แก้หอบ แก้หวัด แก้ไข้ป่าท้องโร แก้ท้องขึ้นให้ขัดหนักแล้วกลายเปนคุลุมโรมให้ขัดเบาแล้วให้กินอาหารไม่มีรส แก้โรคอันเกิดแต่เสมหะ, วาตะหายแล

อนึ่งกินเข้าแล้วกินสมอ แลสมอนั้นบำรุงอินทรีย์ทั้ง ๕ ระงับวาตะ, ระงับเสมหะ, ระงับปิตตะ กระทำให้กะเพาะอาหารเก่าบริสุทธิ์ เปนยาอันประเสริฐ สมออันมีรสหวาน, รสเปรี้ยวเหตุดังนั้นจึงแก้ลม สมออันมีรสเผ็ด, รสขม, เหตุดังนั้นจึงแก้เสมหะ สมออันมีรสฝาด, รสหวาน, เหตุดังนั้นจึงแก้ปิตตะ

มะขามป้อมบำบัดโทษทั้งปวงชอบกับตา มีรสแห้งรสเปรี้ยวจึงแก้ลม มีรสหวานรสเย็น มีรสฝาดรสแห้งจึงแก้เสมหะ แลมะขามป้อมนี้มีผลอันอุดมกว่าผลอื่นๆ

สมอพิเภกกระทำให้สุกให้ร้อนให้เย็น ชอบกับผมมีคุณคล้ายกับมะขามป้อม สมอเทศสมอไทยก็ดี เอาส่วน ๑ (สมอ) พิเภก ๒ ส่วน มะขามป้อม ๔ ส่วน เอาตรีผลาดังกล่าวมานี้ประกอบเข้าด้วยน้ำท่า

อนึ่งเอาสมอ ๖ บาท (สมอ)พิเภก ๓ บาท มะขามป้อม ๖ สลึง ตรีผลาดังกล่าวมานี้ พึงรู้เถิดว่าอุดมวิเศษนัก

สมอ ๓ ส่วน (สมอ)พิเภก ๔ ส่วน มะขามป้อม ๕ ส่วน เปนส่วนดังนี้ บางอาจาริย์เรียกว่าตรีผลา บางอาจาริย์เรียกว่าสมอทั้ง ๓

ขัดมอนใหญ่ ขัดมอนเล็กทั้งสอง ดันทองกวาว ๑ อโนชา ๑ ทรัพยาดังนี้เรียกว่ากำลังแข็ง มีคุณเลอียด ให้บังเกิดกำลัง

เปลือกอบเชย ๑ กระวาน ๑ ภิมเสนต้น ๑ ทรัพยาทั้ง ๓ นี้เรียกตรีสุคนธ์

มะซาง ๑ เกสรบุนนาก ๑ ทั้งสองนี้ชื่อว่าเทวะสุคนธ์ ยาทั้งสองหมู่นี้ให้ปิตตะกำเริบฉุนแหลมกำเริบร้อน กระทำให้สว่าง ให้จำเริญรสอาหาร

พริกไทยนั้นมีรสสุขุมรสเผ็ด เปนสัตรูกับเสมหะ มีคุณเบา

ดีปลีนั้นถ้าสดให้เสมหะกำเริบ มีรสหวาน, รสเย็น, มีรสสุขุม, รสหนัก, ถ้าแห้งคุณผิดกันกับสด กระทำให้แห้งมีรสเผ็ด แก้ลม, แก้หอบ, แก้เสมหะ, แก้ไอหาย กระทำให้อิ่ม

ขิงนั้นถ้าสดให้จำเริญไฟธาตุ ให้จำเริญรสอาหาร กระทำให้แห้ง ให้ประชุมไฟธาตุ แก้หัทยโรคคือโรคอันผูกหัวใจ ถ้าแห้งมีรสหวาน, รสเบา, รสเสอียด ให้เกิดรสอาหาร ระงับวาตะ, เสมหะ มีคุณดังขิงสด (ขิงแห้ง, พริกไทย, ดีปลี) ทั้ง ๓ ประการประชุมกันแล้วจึงชื่อว่าตรีกะฏุก แก้ถุลภาพให้ผอมแน่น แก้มันทาคินี แก้หอบหืด แก้ไอ สิปะโรค ให้เท้าทู่หาย

สะค้าน, ช้าพลู สองประการนี้มีคุณเสมอกัน เจ็ตมูลเพลิง มีคุณให้สุขุมให้ร้อนเสมอกันแกักิมิโทษ แก้บาดแผล แก้บวมหาย

ยกพริกไทยออกเสีย พึงรู้เถิดว่าเปนเบ็ญจกูล แก้คุลุมโรคแก้ปลิโหทรโรคท้องมาร แก้อะนาหะโรค แก้สลโรคชะนะกระทำให้สว่างอกสว่างใจยิ่งนัก ให้แพทย์พึงพิจารณาให้วิเศษ แล้วพึงประกอบใช้เถิด ถ้าจะยกสิ่งใดสิ่งหนึ่งออกเสีย แลจะเอาอื่นประกอบเข้า ถ้ามีคุณเสมอกันแล้วพึงให้ประกอบเถิด อนึ่งถ้าสิ่งใดไม่ชอบกับโรค ให้ยกสิ่งนั้นออกเสียเถิด

บัดนี้จักกล่าวยาที่เปนเอกเปนประธาน แต่โกฐจุลาลำภาสิ่งเดียวนั้นเปนใหญ่ในโรคไข้จับ เสนียดนั้นเปนใหญ่ในรัตตะปิตตะโรค รักเทศกับโมกมันเปนใหญ่ในโรคเหน้าโรคเปื่อย เข้าตอกขั้วเปนใหญ่ในฉะทิโรคให้ราก โกฐกะดูกเปนใหญ่ในหิกาโรคให้สอึก ยอดไทรย้อยเปนใหญ่ในปิปาสะโรคให้ระหายน้ำ มะเขือหนามเปนใหญ่ในกาสะโรคให้ไอ ชะฎามังษีเปนใหญ่ในสาสะโรคให้หอบ ดอกคำฝอยเปนใหญ่ในสุริยาวัตตะโรคให้ปวดศีศะเรียกว่าลมปกัง คนทิสอใหญ่เปนใหญ่ในมัทะตะยะคือว่าการมัวเมา สิริลเปนใหญ่ในคะหะนิโรคตานทราง พิลังกาสาเปนใหญ่ในกิมิโรค แห้วหมูเปนใหญ่ในอติสารโรคบิด โคกกระสุนเปนใหญ่ในมุตรกฤจฉ์โรค ดีปลีเปนใหญ่ในปลิโหทรโรค ขมิ้นเปนใหญ่ในประเมหะโรค แผ่นเหล็กเปนใหญ่ในโรคผอมเหลือง ตรีผลาเปนใหญ่ในจักษุโรค นวะอนะพิสิยะเปนใหญ่ในกามิละโรค คือโรคผอมเหลือง รุวะราเปนใหญ่ในสระโรค ยางรงเปนใหญ่ในมะโหทร โรคท้องโร ครั่งเปนใหญ่ในภินนะสัณฐานที่แตก. รงทองเปนใหญ่ในวณะโรค มะรุมเปนใหญ่ในวิทราทิโรค. เจ็ตมูลเพลิงเปนใหญ่ในคุลุมโรค. เครือโคกกะออมเปนใหญ่ในวุฒิโรคอัณฑะใหญ่. ผลกะเบียนเปนใหญ่ในวณะโรค. ราชพฤกษ์เปนใหญ่ในมุทุวิเรจนะลงอ่อน. สลัดไดเปนใหญ่ในติขิณะวิเรจะนะลงหนัก. จิงจ้อเปนใหญ่ในวิเรจะนะลงสบาย. ต้นทองกวาวแลขัดมอนเปนใหญ่ในนิ่วให้ขัดเบา. ตรีกะฏุกเปนใหญ่ในสุลโรค. ทองคำเปนใหญ่ในโรคพิศ. มังษะเปนใหญ่ในไขยโรค. บระเพ็ดเปนใหญ่ในลมเลือด. เทียนสัตบุษย์เปนใหญ่ในโสภะโรคให้บวม. สะเดาเปนใหญ่ในวะสุธุริกาโรคฝีดาษ. กะเทียมเปนใหญ่ในไข้จับให้หนาว. รากอบเชยเปนใหญ่ในวิลับปโรคฝีพุพอง ตะเคียน สีเสียดเปนใหญ่ในกุฎฐโรค. เมล็ดในชมดเปนใหญ่ในโรคมือด่างตีนด่าง. มะขามป้อมเปนใหญ่ในภุควิการ ให้เกิดวิปริตเพราะปิศาจ ให้เจริญอายุ. ผักโหมหินเปนใหญ่ในชราโรคให้แก่. อุฑุตตะเปนใหญ่ในรุจีคีอให้เจริญรสอาหาร. ว่านน้ำเปนใหญ่ในกุมารโรค. สร่ายหินเปนใหญ่ในสรรพโรคทั้งปวง. ยาดังกล่าวมานี้แต่ละสิ่งๆ เปนยาอันประเสริฐอาจรักษาโรคนั้นๆ ได้ ให้ประกอบตามวิธีแพทย์ประกอบไว้เถิด จะต้มกินก็ได้

กล่าวมาด้วยสรรพคุณติกิจฉาวิธีจบเพียงนี้

----------------------------

 

แชร์ชวนกันอ่าน

แจ้งคำสะกดผิดและข้อผิดพลาด หรือคำแนะนำต่างๆ ได้ ที่นี่ค่ะ