ว่าด้วยองค์แพทย์

ตำรายาลังกาชื่อว่า “วรโยคสาร”

----------------------------

นัต๎วา มุนิน์ทจรณํ ติภเวกเสฏ์ฐํ สัต์ถาสุวุต์ตวิวิธํ สุภสัน์ตตัน์โต อัต์ถาภิสัช์ช กุสเลนสมุท์ยตัต์ถํ วัก์ขามิ สํคร๎หมิทํวรโยคสารํ แปล (อหํ) อันว่าข้า (อมะระเสกะ มหามัจโจ นามะ) ชื่อว่าอมรเสกมหาอำมาตย์ (เปนชื่อของเสนาบดีกรุงลังกาผู้หนึ่งซึ่งเปนผู้แต่งตำรานี้) (นัต๎วา) ขอถวายนมัสการโดยเคารพ ด้วยกาย วาจา แลมโนทวาร (มุนิน์ทจรณํ) ซึ่งพระบาทแห่งสมเด็จพระพุทธเจ้า ผู้ประเสริฐกว่านักปราชญ์ทั้งหลาย (ติภเวกเสฏ์ฐํ) ผู้ประเสริฐแต่พระองค์เดียวใน ๓ ภพ (วัก์ขามิ) จักกล่าว (อิทํสํคร๎หํ) ซึ่งคัมภีร์นี้ (วรโยคสารํ) ชื่อวรโยคสาร (อัต์ถาภิลัช์ช กุสเลน สมุทยคัต์ถํ) มีเนื้อความอันนักปราชญ์ผู้ฉลาดในอธิบายแห่งกรรม แห่งแพทย์ยกออกมาด้วยดี (สัต์ถา สุวุต์ตวิวิธํ สุภสัน์ตตัน์โต) แต่ศิลปสาตร์อันประกอบด้วยรสอันดีมีประการเปนอันมาก อันนักปราชญ์กล่าวไว้โดยพิเศษ (ทูต ลักษณ ไนมิต์ต มังคลวปนมริส์ฐกํ อาโรค๎ยวิปริตัญ์จ ภิสัช์เตภิสัช์มาตุระ ปริจาริก์สับปัต์ติ วยาธิ ปรัก์ริติสมานะ เทสะ กาละ วาโย เทหะ สัต๎วาสาติมกลัก์ษณัม์ ระสะโทสาวส ภาวัญ์จ สรวโทสสมุตภวัม์ ตะเถวะโทสะสมนํ ตริวิธํวยาธิลัน์ขณัม์ อามาคนิพละมาทานํ นิทานํ ปูรวเหตุจะ ตรีสธางคานิภิสชา ทฤษฎราวะกรมสมาจะเรต์) อันว่าองค์แห่งแพทย์มี ๓๐ ประการ คือ ทูตลักษณ ๑ เนมิตร์ลักษณ ๑ องคลักษณ ๑ สุบินลักษณ ๑ อริฐลักษณ ๑ อาโรคยลักษณ ๑ วิปริตลักษณ ๑ ภิลังคสัมปัตติลักษณ ๑ ไภสัช์ชสัมปัตติลักษณ ๑ อาตุรสัมปัตติลักษณ ๑ ปริจาริกสัมปัตติลักษณ ๑ วยาธิลักษณ ๑ ปรกฤติลักษณ ๑ ฐานคตวยาธิลักษณ ๑ เทสคุณลักษณ ๑ กาลคุณลักษณ ๑ วะยะลักษณ ๑ เทหะลักษณ ๑ สัตวลักษณ ๑ สาตมิกลักษณ ๑ รสลักษณ ๑ โทสวภาวลักษณ ๑ สรรพโทโสตภวะลักษณ ๑ โทสสมนะลักษณ ๑ ตริวิธวยาธิลักษณ ๓ อามาคนิพละลักษณ ๑ อาทานะลักษณ ๑ นิทานะลักษณ ๑ บุรพเหตุลักษณ ๑ เปน ๓๐ ประการ แพทย์ผู้ร้ลักษณดังนี้แล้ว พึงประพฤติซึ่งเวชกรรมเถิด อันว่าแพทย์ผู้ใดกอบด้วยคุณลักษณ ๔ ประการ ว่าคือได้เรียนรู้ชำนาญในคัมภีร์แพทย์มามาก ๑ มีปัญญาฉลาดรู้ชัดเจนในคณะโรค ๑ ได้เคยรักษาโรคด้วยยาเคยใช้มาแต่โบราณ ๑ มีจิตรมิได้โลภในอามิศมีแต่เมตตากรุณาแก่สัตว์ ๑ แพทย์ผู้นั้นได้ชื่อว่าภิสกุตตมแพทย์แล บัดนี้จักอธิบายในองค์แห่งแพทย์ ๓๐ ประการ คือ

(๑) ในทูตลักษณะนั้น พึงให้แพทย์พิจารณาดู ซึ่งบุคคลผู้เปนทูตมาหาตนเพื่อจะให้ไปรักษาโรคนั้น ถ้าเปนหินะชาติก็ดี มีอวัยวะอันพิการก็ดี มุ่นมวยผมเปนชฎามาอย่างโยคีก็ดี ถือบ่วงถือไม้ถือเครื่องสาตราวุธมาก็ดี นุ่งห่มผ้าดำแดงเก่าล้วนมาก็ดี ถ้ามิดังนั้นถือผ้าดำแดงเก่ามาก็ดี มาแล้วเจรจาคำเปนอับประมงคลก็ดี เอามือลูบท้องก็ดี เอามือสีกันก็ดี มีกายอันทาน้ำมันมาก็ดี เปนคนนักเลงหญิงเปนต้นก็ดี คนเปนกระเทยเปนอ่างหูหนวกก็ดี มามือเปล่าๆ ก็ดี ลักษณะคนใช้ผู้มาหาหมอดังนี้ เปนลักษณะอันชั่วร้าย ให้หมอพึงรู้ว่าไข้นั้นหนักจะรักษามิได้เลย (จบทูตลักษณะ)

(๒) ในเนมิตตลักษณะนั้น อธิบายว่า หมอเมื่อออกจากเรือนไปเพื่อจะรักษาไข้นั้น ถ้าได้เห็นผู้หญิงสาวเดินมาก็ดี เห็นวัวก็ดี เห็นสังข์ก็ดี กลองก็ดี ทะธิก็ดี เห็นมะธุระผลก็ดี ดอกไม้มีสีขาว เหลืองก็ดี เห็นไฟกำลังลุกเปนเปลวก็ดี เห็นคงคาก็ดี เห็นช้าง ม้าแลวัวตัวผู้ก็ดี เห็นหม้อน้ำอันเต็มเปี่ยมก็ดี เห็นธงก็ดี เสวตรฉัตรก็ดี เห็นคนถมดินก็ดี ปราบที่ให้เสมอก็ดี เห็นฝนตกก็ดี เห็นคนถืออาหารอันสอาดมาก็ดี ได้ฟังคนสังวัทธยายมนต์ก็ดี เห็นหญิงคนชั่วก็ดี เห็นคนถือก้อนเนื้อสดก็ดี ได้ฟังถ้อยคำอันไพเราะก็ดี ถ้านิมิตรเปนต้นดังนี้ ปรากฎแก่หมอ ให้พึงรู้ว่าเปนนิมิตรดี (จบนิมิตร์ลักษณะ)

(๓) ในองคลักษณะนั้นมีเนื้อความว่า เมื่อหมอไปถึงคนไข้แล้ว ให้ไปยืนอยู่ตรงหน้าคนไข้ แล้วให้เศกด้วยมนต์นี้ (โอมนะมะอิงคินิตกรัณณมังฑะสิทธิเอสวาหะ) ครั้นเศกแล้ว ให้พิจารณาดูว่าคนไข้นั้นจะลูบคลำจับต้องอวัยวะอันใด ถ้าลูบคลำที่ข้อเท้ากำหนด ๖ เดือนจะตาย ถ้าลูบคลำแก้มกำหนด ๓ เดือนจะตาย ถ้าลูบหน้าผากกำหนดเดือนครึ่งจะตาย ถ้าลูบคิ้ว ๙ วันจะตาย ถ้าลูบหู ๗ วันจะตาย ถ้าลูบตา ๕ วันจะตาย ถ้าลูบจมูก ๓ วันจะตาย ถ้าลูบลิ้นจะตายในวันนั้น ถ้าแพทย์เห็นอาการดังนี้แล้วให้กลับไปเสียเถิด (จบองคลักษณะ)

(๔) ในสุบินลักษณะนั้น มีเนื้อความว่าให้คนไข้ก็ดี ญาติแลผู้พยาบาลก็ดี ชำระตัวให้บริสุทธิ์แล้วเอาดอกไม้ธูปเทียนบูชาเทวดา แล้วขอนิมิตร์ฝันให้รู้จักว่าร้ายแลดี ถ้าฝันว่าเปรตก็ดี บรรพชิตก็ดี มาสร้วมกอดเข้าไว้ อนึ่งฝันว่าได้น้ำผึ้งแลน้ำมันงาก็ดี ฝันว่าได้ฟังถ้อยคำที่หยาบช้าก็ดี ฝันเห็นคนทาเปือกตมแล้วฟ้อนรําก็ดี ฝันว่าตกในเปือกตมก็ดี ฝันเห็นคนขี่สุกรขี่กระบือขี่อูฐแลฬาไปทางทิศทักษิณก็ดี ฝันว่าได้นุ่งห่มผ้าแดงผ้าดำก็ดี ฝันว่าพบคนมีผมรุงรังก็ดี ฝันว่าเห็นคนจูงมือหญิงเดินไปทิศทักษิณก็ดี ฝันเห็นภูเขาทะลายก็ดี ฝันเห็นดวงจันทร์ อาทิตย์ แลดวงดาวตกลงก็ดี ฝันเห็นเขามัดก็ดี ฝันว่าแพ้ความเขาก็ดี ฝันว่าได้เห็นกาเปนต้นก็ดี ฝันว่าขึ้นบนจอมปลวกแลต้นไม้มีหนามก็ดี ฝันว่าได้ผ้าดำก็ดี ฝันว่าได้เท่าไฟแลเมล็ดฝ้ายก็ดี ฝันว่าได้เข้าสุกแลได้เลนก็ดี ลักษณะสุบินเปนต้นดังกล่าวมานี้ เปนนิมิตรอันร้าย ถ้าคนดีฝันจะเปนไข้ คนไข้ฝันจะตาย

ถ้าฝันเห็นพระจันทร์แลอาทิตย์ทรงกลดก็ดี ฝันว่าได้ขี่โคผู้แลโคสามัญแลขี่ช้างม้าก็ดี ได้ขึ้นบนปราสาทก็ดี ได้ขึ้นภูเขาแลต้นไม้อันมีผลก็ดี ขึ้นเรือก็ดี ฝันเห็นเทวดาพรหมแลท้าวพระยาก็ดี ฝันเห็นผ้าขาวแลธงก็ดี ฝันเห็นน้ำแลประทีปก็ดี ฝันว่าได้ว่ายน้ำในมหานทีก็ดี ลักษณะฝันเปนต้นดังนี้ดี พึงรู้ว่าเปนอาโรคยสุบินลักษณะ (จบสุบินลักษณะ)

(๕) ในอริฐลักษณะนั้น มีเนื้อความว่าคือคนไข้ผู้ใดมีอินทรีย์ ๕ คือ ตา, หู, จมูก, ลิ้น, กาย, อันใดอันหนึ่งวิการก็ดี เห็นหมอแลครู เห็นกัลยาณมิตรแลบิดามารดา แลเห็นยามิชอบใจก็ดี เห็นเปนสายฟ้าแลบในอากาศอันผ่องแผ้วก็ดี อนึ่งดาวอรุณณวดีอยู่ทิศอุดร คนไข้ดูไม่เห็นก็ดี แลดูอากาศไม่เห็นก็ดี เห็นแผ่นดินเปนช่องเปนหลุมดังแผ่นกระดานหมากขุมก็ดี เห็นดาวกลางวันก็ดี เห็นพระจันทร์แลอาทิตย์เปนช่องในวงก็ดี หารัสมีมิได้ก็ดี จมูกไม่รู้จักกลิ่นประทีปอันดับ (มีกลิ่นควันเทียนแลธูปเปนต้น) ก็ดี เห็นเงาในกระจกในน้ำมีอวัยวะวิปลาศต่างๆ ก็ดี แลดูไม่เห็นเงาก็ดี เห็นเงาเปนรูปต่างๆ ก็ดี เห็นเงาผอมไปก็ดี เห็นเงาดำแดงก็ดี ให้ปากเหม็นเหน้าก็ดี หาความละอายมิได้ก็ดี ให้หัวเกิดเปนรังแคมากดุจผงดินสอพองก็ดี ให้เล็บแลฟันมีสีต่างๆ ก็ดี เหม็นก็ดี เห็นเกลียวเอ็นมีสีเหลือง สีตวัน สีดังอรุณก็ดี มีสีนวน สีดำ สีขาวก็ดี เหาคลานออกไต่ตามหน้าผากก็ดี เข้าที่เสียผีนั้นกาไม่กินก็ดี นอนหลับซึมไปก็ดี นอนไม่หลับก็ดี ข้อมือ ข้อเท้า หัวเข่าแลหน้าผาก แก้มแลคางแลนิ้วมือเคลื่อนจากที่ก็ดี เสียงดังนักอ่อนแลเบาหนักก็ดี เส้นผมฉีกก็ดี กินมากแต่อุจจาระน้อย กินน้อยแต่อุจจาระมากก็ดี ผิวหน้านวนแปลกสีก็ดี กลิ่นตัวหอมหรือเหม็นก็ดี หมู่แมลงวันหัวเขียวตอมตัวมากก็ดี ลักษณะเปนต้นดังนี้ พึงรู้ว่าอริฐลักษณะเปนลักษณะร้ายนักแล (จบอริฐลักษณะ)

(๖) ในอาโรคยลักษณะนั้นมีเนื้อความว่า คนไข้เห็นหมอเข้าแล้วให้เกิดความรักใคร่เหมือนครูแลเทวดาก็ดี เต็มใจในการที่จะกินเข้าแลดื่มน้ำก็ดี มีสติเปนปรกติดังคนรักษาศีลก็ดี เต็มใจกินยาก็ดี อนึ่งรศยานั้นเผ็ด, ขม, ร้อน, ฝาด, ก็อุตส่าห์แขงใจกินดังกินขนมอันหวานก็ดี ลักษณะดังนี้ชื่อว่าอาโรคยลักษณะ

(จบอาโรคยลักษณะ)

(๗) ในวิปริตลักษณะนั้นมีเนื้อความว่า หมอ ๑ ยา ๑ คนไข้ ๑ คนพยาบาล ๑ ทั้ง ๔ ประการนี้ เปนองค์แห่งการรักษา อนึ่งหาหมอหายาได้คล่องดังใจก็ดี ได้คนพยาบาลเปนที่ชอบใจก็ดี ทำยาได้เร็วดังใจก็ดี ทั้ง ๔ ประการนี้เปนสิทธิที่จะให้โรคหาย ถ้าขาดแต่สิ่งหนึ่งสิ่งใด ชื่อว่าวิปริตลักษณะ (จบวิปริตลักษณะ)

(๘) ในอภิสังคสัมปัตติลักษณะนั้นมีเนื้อความว่า หมอผู้ใดกอบด้วยองค์ ๔ ประการ คือได้ศึกษาวิชาแพทย์ในสำนักนิ์อาจาริย์ถึง ๗ คน ๑ มีวิชาแพทย์อันได้เรียนรู้โดยชัดเจน ๑ ฉลาดในกิริยาที่จะรักษาโรคต่าง ๆ ๑ ไม่อาไลยแก่ลาภมีกายวาจาแลใจบริสุทธิ์ ๑ หมอมีองค์ ๔ ประการนี้ ชื่อว่าอภิสังคสัมปัตติลักษณะ

(จบอภิสังคสัมปัตติลักษณะ)

(๙) ในไภลัชชสัมปัตติ ลักษณะนั้นมีเนื้อความว่า หมอจะเก็บยา (หาเครื่องยา) นั้น ถ้าสิสิระฤดู คิมหันตะฤดู ๒ ฤดูนี้ให้เก็บราก เหมันตะฤดูให้เอาแก่น แลฤดูทั้ง ๖ ให้เอาเปลือก ยาง หัว ถ้าน่าดอกให้เอาดอก ถ้าน่าผลให้เอาผลเถิด ลักษณะดังกล่าวมานี้ ชื่อว่าไภสัชชสัมปัตติลักษณะแล (จบไภสัชชสัมปัตติลักษณะ)

(๑๐) ในอาตุรสัมปัตติลักษณะนั้นมีเนื้อความว่า ผู้เปนไข้นั้นให้ประกอบด้วยองค์ ๔ ประการ คือมีสมบัติพอที่จะหายารักษาตัวได้ ๑ มีอายุยังจะสืบต่อไปได้อีก ๑ แม้นหมอเขาจะตัดจะผ่าจะเผาเปนต้น ก็มีความเพียรอาจจะอดทนได้ ๑ มีใจมีความอุสาหะคิดหมายซึ่งจะรักษาชีวิตรไว้ให้จงได้ ๑ ปร กอบด้วยองค์ ๔ ประการนี้ ชื่อว่าอาตุรสัมปัตติลักษณะ (จบอาตุรสัมปัตติลักษณะ)

(๑๑) ในปริจาริกสัมปัตติลักษณะนั้นมีเนื้อความว่า คนผู้พยาบาลไข้นั้นให้ประกอบด้วยองค์ ๔ ประการ คือมีสติกำลังปัญญาอาจแสวงหายาได้โดยเร็ว ๑ มีใจรักสนิทในคนไข้ ๑ มีความกรุณาอัทธยาไศรยที่จะให้คนไข้หายโรค ๑ มีความเพียร หมั่นเอาใจใส่ดูแลที่จะให้คนไข้กินยาทุกเวลา ๑ ถ้าได้คนพยาบาลไข้ซึ่งประกอบด้วยองค์ ๔ ประการดังนี้ ชื่อว่าปริจาริกสัมปัตติลักษณะ (จบปริจาริกสัมปัตติลักษณะ)

(๑๒) ในวยาธิลักษณะนั้นมีเนื้อความว่า มหาภูตรูปทั้ง ๔ ได้ชื่อว่าอัตตะว่าด้วยตน แลอัตตะนี้เปนที่เกิดแห่งพยาธิ ๔ ประการ คือสารีริกะพยาธิแลมานะสิกะพยาธิ อาคันตุกะแลสหัชชะพยาธิ อันว่าโรคทั้งหลายอาไศรยซึ่งชระโรค คือไข้จับแลโรคเรื้อน แลอติสารโรคบิตเปนต้นแล้วบังเกิด ได้ชื่อว่าสารีริกะพยาธิ อันว่าโรคทั้งหลายอันบังเกิดเพราะมีความโกรธ โศกเศร้าแลความดิ้นรนเปนมูล จึ่งให้เปนบ้าโกรธบ้าโศกเปนต้นดังนี้ ชื่อว่ามานะสิกะพยาธิ อันว่าโรคทั้งหลายอันบังเกิดเพราะต้องไม้ กรวด อาวุธหรือไฟไหม้ ให้เปนบาดแผลทำให้เจ็บปวดเปนต้น ชื่อว่าอาคันตุกะพยาธิ อันว่าความอยากเข้าน้ำ หรือกิริยาที่ผมหงอกเปนต้น ชื่อว่าสหัชชะพยาธิ ลักษณะดังนี้ชื่อว่าวยาธิลักษณะ (จบวยาธิลักษณ)

(๑๓) ในปรกติลักษณะนั้นมีเนื้อความว่า ความเปนปรกติของคนเรานั้นมี ๕ ประการ คือวาตะปรกติบุรุษ ๑ ปิตตะปรกติบุรุษ ๑ เสมหะปรกติบุรุษ ๑ ทุวันทะปรกติบุรุษ ๑ สันนิปาตะปรกติบุรุษ ๑ เปน ๕ ประการ ผู้ใดมีร่างกายผอม ผิวเนื้อหยาบ ผมบาง มีใจกลับกลอก พูดมากมิได้หยุด มักให้ฝันว่าเหาะไปในอากาศ คนผู้นั้นชื่อว่าวาตะปรกติ ผู้ใดมีผมหงอกในใช่กาลแลผิวตัวขาวเหลืองมักโกรธร้ายมีปัญญามาก มักฝันเห็นแสงสว่างมีไฟเปนต้น ผู้นั้นชื่อว่าปิตตะปรกติ ผู้ใดมีศีลตั้งมั่น อังคาพยพผิวเนื้ออ่อนน่ารัก ผมเลอียด มักฝันเห็นน้ำแลผ้าขาว ผู้นั้นชื่อว่าเสมหะปรกติ คนผู้ใดมีลมแลดีเปนปรกติก็ดี มีลมแลเสลดเปนปรกติก็ดี มีดีแลเสลดเปนปรกติก็ดี เจือกันเปนส่วนละ ๒ ๆ ดังนี้ ชื่อว่าทุวันทะปรกติ ผู้เดมีลมแลดีแลเสลดประชุมกันทั้ง ๓ ประการเปนปรกติ ผู้นั้นชื่อว่าสันนิปาตปรกติ ในปรกติลักษณะนี้ใช่จะว่าแต่ ลม เสลด แลดี ๓ ประการเท่านี้หามิได้ แม้นถึงโทษอื่นมีน้ำสัมภวะแลโลหิตเปนต้น เจือกันเปนแพนกก็ดี นักปราชญ์พึงเทียบเคียงตามไนยที่กล่าวมาในโทษ ๓ ประการนั้นเถิด (จบปรกติลักษณะ)

(๑๔) ในฐานคตะวยาธิลักษณะนั้นมีเนื้อความว่า ที่อยู่ของลมมี ๔ สฐาน คือท้องน้อย ๑ ตาทั้งสองข้าง ๑ ตะโพก ๑ ขาทั้งสองข้าง ๑ ที่อยู่ของน้ำดีนั้น คือกะเพาะอาหารเก่า ที่อยู่ของเสลดนั้นมี ๕ แห่ง กะเพาะอาหารใหม่ ๑ ฅอ ๑ ท้อง ๑ หัว ๑ ข้อต่อทั้งปวง ๑ ถ้าแพทย์พิจารณาเห็นว่า ลม, ดี, เสลด, อยู่ที่เดียวกันสองหรือทั้งสามสิ่งก็ดี พึงให้ยาแก้ทั้งสองแลสามอย่าง ถ้าเห็นว่าลม, ดี, เสลด, สิ่งหนึ่งสิ่งเดียวอยู่มากพึงให้ยาแก้แต่สิ่งนั้นเถิด (จบฐานคตะวยาธิลักษณะ)

(๑๕) ในเทศคุณลักษณะนั้นมีเนื้อความว่า ประเทศมี ๓ ประการ คือ อะนุปะระมะประเทศ ๑ ชังคะละประเทศ ๑ สาธาระณะประเทศ ๑ น้ำมาก ศิลามาก ชื่ออะนุปะระมะประเทศ ประเทศนั้นมักเกิดโรคเพราะเสลดแลลม น้ำน้อยต้นไม้มีน้อย ชื่อชังคะละประเทศ ประเทศนั้นมักเกิดโรคเพราะเลือดแลดี แลสาธาระณะประเทศนั้นมีศิลา น้ำ ต้นไม้ เสมอกันทั้ง ๓ อย่าง มีโทษคือเสลด ดี แลลมเสมอกัน แลประเทศนั้นได้ชื่อว่าอุดมประเทศ

(จบเทศคุณลักษณะ)

(๑๖) ในกาลคุณลักษณะนั้นมีเนื้อความว่า ขยิบตาทีหนึ่งชื่อสุษษุมกาล อ่านลหุอักษรที่ ๑ ชื่อว่ามาตราหนึ่ง ๑๘ มาตราชื่อกาสะทะ ๑ ๓๐ กาสะทะชื่อว่ากาลา ๑ ๒๐ กาลาชื่อฆะฏิกา ๑ ๒ ฆฏิกาชื่อมุหุตร์ ๑ ๓๐ มุหุตร์ชื่อวันหรือคืน ๑ ๑๕ วันหรือ ๑๕ คืนชื่อปักษ์ ๑ ๒ ปักษ์ชื่อเดือน ๑ ๒ เดือนชื่อฤดู ๑ ๖ ฤดูชื่อปี ๑ สองเดือน ๆ ชื่อฤดู ๆ ๑ นั้น คือวสันตฤดู ๑ คิมหะฤดู ๑ วัสสานะฤดู ๑ สะระทะฤดู ๑ หิฤมะฤดู ๑ สิสิระฤดู ๑ โดยลำดับ เดือน ๕, ๖, สองเดือนนี้ชื่อวสันตะฤดู เดือน ๗, ๘, สองเดือนนื้ชื่อคฤษมะฤดู ในระหว่าง ๔ เดือนนี้ลมกำเริบ เดือน ๙, ๑๐, สองเดือนนื้ชื่อวัสสานะฤดู เดือน ๑๑, ๑๒, สองเดือนนี้ชื่อสะระทะฤดู ๔ เดือนนี้ดีกำเกิบ เดือน ๑, ๒, สองเดือนนื้ชื่อหฤมะฤดู เดือน ๓, ๔, สองเดือนนื้ชื่อสิสิระฤดู ๔ เดือนนี้เสลดกำเริบ เวลากลางวันกำหนด ๓๐ ฆฏิกา กลางคืนก็กำหนด ๓๐ ฆฏิกา กำหนดเวลาเช้าค่ำใน ๑๐ ฆฏิกาเปนปฐมนั้นเปนเวลาเสลดกำเริบ อนึ่งขณะเมื่อกินเข้าแล้วนั้นก็เปนเวลาเสลดกำเริบ ๑๐ ฆฏิกาที่เปนท่ามกลางทั้งกลางวันแลกลางคืนนั้นก็ดี เวลาจะย่อยอาหารนั้นก็ดี เปนเวลาดีกำเริบ ๑๐ ฆฏิกาเปนที่สุดทั้งกลางวันกลางคืนนั้นก็ดี เวลาอาหารอ่อยแล้วก็ดี เปนเวลาลมกำเกิบ ถ้าลม, ดี, เสลด, กำเริบเข้าแซกขึ้นอีก ในเวลาแห่งเสลด ดี แลลมกำเริบนั้นๆ พึงให้หมอประกอบยาแก้โทษทั้ง ๒ หรือ ๓ นั้นให้เสมอกัน ถ้าเสลดดีแลลม บังเกิดในเวลาแห่งตน ๆ ให้หมอประกอบยารักษาแต่โทษนั้น ๆ หมอพึงพิจารณาให้สุขุมแล้ว จึงให้แก้โรคทั้งปวงเถิด อันว่าลักษณะดังนี้ชื่อว่ากาลคุณลักษณะ (จบกาลคุณลักษณะ)

(๑๗) ในวะยะลักษณะนั้นมีเนื้อความว่า ไวยมี ๓ ประการ เด็กประการ ๑ ปานกลางประการ ๑ แก่ประการ ๑ กำหนดตั้งแต่เกิดมาจนอายุ ๑๖ ปีชื่อว่าเด็ก กินน้ำนมเปนอาหาร แต่นี้ไปจนถึงอายุได้ ๗๐ ปี ชื่อว่างปานกลาง ตั้งแต่ (อายุ ๗๐ ปี) นี้ไปชื่อว่าแก่ แลเด็กอยู่ในปฐมไวยนั้นมีเสลดเปนเจ้าเรือน คนอายุปานกลางนั้นมีดีเปนเจ้าเรือน คนแก่นั้นมีลมเปนเจ้าเรือน คนเด็กกับคนแก่ ๒ พวกนั้น หมออย่ารักษาด้วยวิธีกรรมอันหยาบมียาอันกล้าแข็งนั้น พึงรักษาแต่ด้วยวิธีกรรมอันอ่อนๆ คนปานกลางนั้นให้หมอพิจารณาดูกำลังกายแล้วพึงรักษาด้วยวิธีกรรมตามสมควรเถิด

(จบไวยลักษณะ)

(๑๘) ในเทหะลักษณะนั้นมีเนื้อความว่า กายมี ๓ ประการ คือ กฤษเทหะ๑ ถูจะเทหะ ๑ มัชฌิมเทหะ ๑ แลคนผอมแลอ้วน ๒ พวกนี้อดเข้าอดน้ำนัก ต้องร้อนเย็นหรือหนาวนัก เดิน หรือเสพเมถุนนัก อดทนไม่สู้ได้ เพราะมีกำลังน้อย คนปานกลางนั้นอดทนได้สาระพัดทั้งปวงเพราะมีกำลังมาก คนผอมบางคนอดทนได้ด้วยสามารถมีกำลังมาก อนึ่งถึงคนปานกลาง ถ้ามีกำลังน้อยแล้วก็อดทนมิได้ ไนยหนึ่งจะว่าโดยเทหะวิเศษ คือ คนผอมพึงกระทำให้อ้วน คนอ้วนพึงกระทำให้ผอม คนปานกลางนั้นพึงกระทำให้สาธารณ์เสมออยู่ คนอ้วนจะทำให้ผอมนั้นจะกล่าวยาหน่อยหนึ่ง (๑) เอาตรีผลาคือสมอเทศหรือสมอไทย เอาแต่อย่าง ๑ สมอพิเภก ๑ มะขามป้อม ๑ ตำเปนผง ชื่อตรีผลา (๒) ขนานหนึ่งให้เอา สมอ ๑ แห้วหมู ๑ บระเพ็ด ๑ ตำเปนผง ยาทั้ง ๒ ขนานนี้ละลายน้ำผึ้งกินหรือกวาดก็ได้ (๓) จะกล่าวอีกขนานหนึ่งให้เอา พิลังกาสา ๑ ขิงสด ๑ เกลือยะวะกสา ๑ ผงขี้เหล็กที่กรางออก ๑ มะขามป้อม ๑ ยา ๕ สิ่งนี้ตำเปนผงละลายน้ำผึ้งกินเถิด คนอ้วนกลายเปนผอมแล (๔) ขนานหนึ่งให้เอา ตรีผลาประดู่ ๑ เจ็ตมูลเพลิง ๑ แก่นเหล็ก ๑ ขมิ้นชัน ๑ ยา ๕ สิ่งนี้ต้มกิน เมื่อจะกินแซกน้ำผึ้งตามสมควร มีคุณมากเกิดกำลังดังช้างสาร กินไปเดือน ๑ กายอ้วนกลับผอมเปนปรกติดีแล คนผอมจะให้อ้วนนั้นให้แพทย์พิจารณาดู ถ้าชอบของเปนน้ำคืออาหารหรือยาก็ดี พึงให้ประกอบเถิด บางทีให้เอาเนื้อสัตว์ต่างๆ ที่จะวิถารไปภายน่ามาประสมกันเข้า กระทำเปนอาหารเปนต้นให้กิน คนผอมกินเนื้อสัตว์ทั้งหลายกายอ้วนก็ดี บางทีให้เอาเข้าสารสาลีอันเปนเข้าเสวยของพระมหากระษัตริย์มาต้มกินก่อนเวลากินเข้าก็ได้ กินเข้าแล้วจึงกินก็ได้ จักบังเกิดเนื้อหนังบริบูรณ์ขึ้นทุกวัน แล้วจะให้อวัยวะเจริญงาม อนึ่งอย่าให้คนผอมมีวิตกวิจารณ์ไปในนาๆ กิจประการ ๑ ให้ทำใจให้ชุ่มชื่นอยู่นั้นประการ ๑ ให้เว้นจากเสพเมถุนประการ ๑ ถ้าทำได้ดังนี้แล้ว กายที่ผอมนั้นก็จะกลับอ้วนขึ้นดังสุกรอันอ้วน (จบเทหะลักษณะ)

(๑๙) ในสัตวลักษณะนั้นมีเนื้อความว่า บุคคลผู้ใดมีศุขหรือทุกข์มาก ประพฤติเสมอมิได้พิการหวั่นไหว แลมีความเพียรมาก อาจอดทนซึ่งกิริยาที่หมอจะตัดหรือจะผ่าเปนต้น ผู้นั้นชื่อว่าสัตว์สมควรที่หมอจะพึงรักษา ลักษณะดังกล่าวมานี้ชื่อว่าสัตว์ลักษณะ ในที่นี้ว่าเมื่อจะให้กินยานั้น ให้เศกด้วยมนต์นี้ ๓ ครั้ง (โอม อมระโต อมระโตค๎ภภเว อิมํโอสถานย มรตํกุรุ กุรุภเวต๎วิส๎วภิส๎วริส๎วาหะ นโมอิมาโอสถะตะคะกุรุกุรุ ภวติ วิส๎วริส๎วาหะ) เศกยาให้กินมีคุณเปนอันมาก (จบสัตว์ลักษณะ)

(๒๐) ในสาตมิกะลักษณะนั้นมีเนื้อความว่า ปานะคือของดื่ม ๑ อาหารคือของกิน ๑ วิหารคือที่อยู่ ๑ ไภสัชชคือยา ๑ ทั้ง ๔ ประการนื้เปนเหตุจะให้เกิดโทษวิปริตต่างๆ ถ้าส้องเสพอยู่เปนนิจแล้ว ก็จะบังเกิดความศุขไม่มีโรค ดังนี้ชื่อสาตมิกะลักษณะ ถ้าส้องเสพมิได้เสมอก็ดี มิได้เคยส้องเสพแลมาส้องเสพก็ดี จะให้บังเกิดโทษต่างๆ ดังนี้ ชื่อว่าวสาตมิกลักษณะ (จบสาตมิกลักษณ)

(๒๑) ในรสลักษณะนั้นมีเนื้อความว่า รสมี ๖ ประการ คือ มธุระรสหวาน ๑ อัมพิละรสเปรี้ยว ๑ ละวะณะรสเค็ม ๑ กะฏุกะรสเผ็ด ๑ ติต์ติกะรสขม ๑ กะสาวะรสฝาด ๑ รสทั้ง ๖ นี้เปนแพนกจะให้เกิดโทษแลคุณนั้นๆ ถ้าเสพชอบก็เปนคุณให้หายโรค ถ้าเสพไม่ชอบก็เปนโทษให้เกิดโรค เหตุอะไรจึงให้เปนโทษแลเปนคุณ อันว่ารสหวานชอบกับตาให้เจริญรสธาตุ รสเปรี้ยวนั้นทำให้ลม, ดี, เสลด, อนุโลมตามซึ่งตนให้เจริญรสอาหาร ให้เกิดเขฬะบำรุงไฟธาตุ กระทำสาระพัดในการที่ดิบให้สุกขึ้น บางทีเปนคุณบางทีเปนโทษ รสเค็มนั้นเผาโทษให้เจริญไฟธาตุเผาเขฬะ รสเผ็ดนั้นกระทำให้กำลังน้อย ระงับความเกียจคร้าน ระงับพิศม์มิให้เจริญไฟธาตุให้อาหารสุก รสขมนั้นให้เจริญไฟธาตุ แก้ร้อน แก้กระหายน้ำ กระทำซึ่งมลทินคือมูตร์แลคูธเปนต้นให้บริสุทธิ์ ชำระปากให้รู้รสอาหาร รสฝาดนั้นให้เจริญไฟธาตุแก้กระหายน้ำ ให้เจริญผิวแลเนื้อ รสเผ็ด, ขม, ฝาด, ทั้ง ๓ นี้ให้ลมกำเริบ รสเผ็ด, เปรี้ยว, เค็ม, ทั้ง ๓ นี้ให้ดีกำเริบ รสหวาน, เปรี้ยว, เค็ม, ทั้ง ๓ นี้ให้เสลดกำเริบ รสทั้งหลายนี้กระทำให้วิปริตต่าง ๆ แพทย์ผู้ฉลาดพึงประกอบรสหวานเปนปฐมแล้วจึงประกอบรสเค็ม เปรี้ยวเปนท่ามกลาง ในที่สุดนั้นพึงประกอบรสทั้งปวง ตามใจคนไข้ที่เสพชอบนั้นเถิด

(จบรสลักษณะ)

(๒๒) ในโทสสวะภวะลักษณะนั้นมีเนื้อความว่า ลมมีสภาวะเย็น เบา แหลม แล้วก็หยาบ ถูกตัวเข้ามักกายผอม กระทำกายมิให้ตั้งอยู่นานได้ มีกำลังกล้าด้วยสามารถประเภทปาณะวาต ๑ อปาณะวาต ๑ สมานะวาต ๑ อทนะวาต ๑ พยานะวาต ๑ ทั้ง ๕ ประการนี้ จะแจกออกซึ่งประเภทลมในวาตะวยาธิติกิจฉาในเบื้องน่าให้หมอพึงรู้ ดีนั้นมีรสเปรี้ยว, เผ็ด, ร้อน, มีอาการกระทำให้สุก ให้มีร้อน ให้สีงาม แลคำโบราณว่าดีมีรศขมนั้นจะได้มีในคัมภีร์หามิได้ เสลดนั้นมีรสหวานดังน้ำด่างเปนมวกเลอียด อันว่าลม, ดี, เสลด, ทั้ง ๓ นี้กำเริบ ให้บังเกิดพยาธิใดๆ พึงให้แพทย์รู้จักประเภทแห่ง ลม, ดี, เสลด, นั้นเถิด (จบโทสสวะลักษณะ)

(๒๓) ในโทโสตภวะลักษณะนั้นมีเนื้อความว่า วาโตภวะ ๑ ปิตโตภวะ ๑ กะโผภวะ ๑ วาโตภวะนั้น ถ้ากลั้นมูตร์หรือคูธก็ดี มิได้กินอาหารก็ดี อดนอนก็ดี พูดมากก็ดี แบกหามของหนักก็ดี ขี่ช้าง ม้า หรืออูฐก็ดี กินของเผ็ดหรือขมก็ดี กินอาหารไม่เลอียดก็ดี มีวิตกคิดไปต่างๆ ก็ดี เสพเมถุนก็ดี จิตรคิดกลัวไปก็ดี กระทำลังคณะคือโลดเต้นก็ดี (ลังคณะนั้นคือห้ามมิให้กินเข้าแลน้ำ มีอยู่ในเบื้องน่าในลังคณะวิธี) เปนทุกข์เศร้าโศกก็ดี ถูกเย็นก็ดี น่าฝนก็ดี ประเภทที่กล่าวมาเปนตัวอย่างดังนี้เปนเหตุทำให้ลมกำเริบ ในปิตโตภวะนั้นมีเนื้อความว่า รสเผ็ดเปรี้ยวแลเค็มก็ดี เมไรยก็ดี อาหารร้อนด้วยไฟก็ดี หยาบก็ดี ร้อนปรกติก็ดี เกิดโทโสก็ดี โมโหก็ดี แดดร้อนก็ดี ผิงไฟก็ดี กระทำความเพียรมากนักก็ดี ล่วงฤดูฝนแล้วก็ดี ประเภทเปนตัวอย่างดังกล่าวมานื้ เปนเหตุทำให้ดีกำเริบ ในกะโผภวะนั้นมีเนื้อความว่า นอนกลางวันก็ดี กินอาหารหวานก็ดี เย็นก็ดี กินเนื้อสัตว์น้ำหรือบกก็ดี กินอาหารอันหนักก็ดี กินของเปรี้ยวก็ดี กินอาหารอันเปนมวกก็ดี กินอ้อยกับงาระคนกันเปนต้นก็ดี กินอาหารร้อนเลอียดก็ดี กินอาหารหนเดียวก็ดี กินอาหารถึงเค็มมากก็ดี กินเข้ากลั้วน้ำมากก็ดี น่าฝนก็ดี ลักษณะดังกล่าวมาเปนตัวอย่างนี้ เปนเหตุทำให้เสลดกำเริบ (จบโทโสตะภวะลักษณ)

(๒๔) ในโทษสมนะนั้น แปลว่า ระงับโทษ แลโทสสมนะนั้นมี ๓ ประการ คือวาตะสมนะ ระงับลม ๑ ปิตตะสมนะ ระงับดี ๑ เสมหะสมนะ ระงับเสลด ๑ ในวาตะสมนะนั้นมีเนื้อความว่า ของเลอียดก็ดี ของร้อนก็ดี ของอันไฟธาตุจะเผาให้เลอียดได้โดยยากก็ดี แลของกินเข้าไปแล้วเจริญธาตุอันงามก็ดี อาหารอันให้เกิดกำลังก็ดี สิ่งของเปนเครื่องเจริญไฟธาตุแลของมีรสหวานก็ดี ของเปรี้ยวอันหาโทษมิได้ก็ดี กินน้ำมันงาก็ดี ต้องแดดก็ดี อาบน้ำกิดี ทาน้ำมันงาก็ดี ทำวัสติวิธีที่จะกล่าวในเบื้องน่าก็ดี กินน้ำแลดื่มเมไรยก็ดี นวดแลสีตัว ทาน้ำมันตัวแล้วแลลนไฟก็ดี แลเอาน้ำกระสายที่จะกล่าวในกระสายวิธีนั้นสวนเข้าในทวารหนักก็ดี แลกระทำนัสสนะวิธีที่จะกล่าวในเบื้องน่าก็ดี กระทำสยะนะวิธีก็ดี กระทำเสนหวิธีก็ดี กระทำอุปนาหะวิธีก็ดี อันว่าปานะ, อาหาร, ที่อยู่, ยา, ดังกล่าวมานื้ชื่อวาตะสมนะ ในปิตตะสมนะนั้นมีเนื้อความว่า รศขมก็ดี รสหวานก็ดี รสฝาดก็ดี เย็นก็ดี ต้องลมก็ดี อยู่ในเงาไม้ก็ดี พัดด้วยพัดใบตาลก็ดี ต้องรัสมีพระจันทร์ก็ดี อาบน้ำด้วยวารียนต์ก็ดี ทาน้ำอบด้วยดอกบัวแลดอกอุบลเปนต้นก็ดี ส้วมกอดหญิงสาวก็ดี กินทาน้ำมันเนย นมเนยก็ดี กระทำวิเรจนะวิธีคือรุ ถ่ายก็ดี เอาโลหิตออกเสียก็ดี ทาเครื่องหอมก็ดี อันว่าน้ำแลเข้าปลาอาหาร ที่อยู่ แลยาดังกล่าวมานี้ ชื่อว่าปิตตะสมนะ ในเสมหะสมนะนั้นมีเนื้อความว่า รสอันหยาบก็ดี รสอันหนักก็ดี รสเผ็ดแลขมก็ดี หิวโหยก็ดี ถ่มน้ำลายก็ดี เสพเมถุนก็ดี เดินก็ดี ปล้ำกินก็ดี อดนอนก็ดี เล่นน้ำก็ดี ย่ำเหยียบของพึงแสยงมีเข้าเปลือกเปนต้นด้วยเท้าเปล่าก็ดี รมควันไฟก็ดี กินอาหารร้อนก็ดี กระทำนสนะแลวมะนะวิธีก็ดี ประคบก็ดี กระทำลังคะณะก็ดี อันว่าน้ำแลเข้าปลาอาหารที่อยู่แลยาดังกล่าวมานื้ ชื่อว่าเสมหะสมนะ (จบโทสะสมนะ)

(๒๕) ในตริวิธวยาธิลักษณะนั้นมีเนื้อความว่า พยาธิมี ๓ ประการ คือ ลม ดี เสลด เปน ๓ ประการดังนี้ ในวาตะพยาธิคือลมนั้นมี ๘๐ ประการ ปิตตะพยาธิคือดีมี ๔๐ ประการ เสมหะพยาธิคือเสลดมี ๒๐ ประการ ในวาตะพยาธิ ๘๐ ประการนั้นคือ ปักขาฆาฏ ๑ ทัณทกะ ๑ อันตถัมภะ ๑ ปตานก ๑ พายหยาม ๑ ตุนี ๑ ประตุนี ๑ หณุตถัมภ ๑ หณุครหะ ๑ ฑัณฑ ๑ อุรุตถัมภะ ๑ อถิล ๑ ตรัทธสี ๑ วิศวภิ ๑ โกรสฏสีสะ ๑ เวปุถุ ๑ อาทิตถะ ๑ ปังกุ ๑ ขัญช ๑ ภัญชนกะ ๑ ปาทหสรกะ ๑ ยาปาหกะ ๑ พธิระ ๑ กัณณนาท ๑ ปักขสุจิ ๑ วิสุจิ ๑ พาหุซิวโห ๑ อุรุมัตยา ๑ ถัมภนะ ๑ อุปาวัตต ๑ อักเษปะกะ ๑ ธนุวาตะ ๑ ปิณฑิโกเทวสฐ ๑ อรังฆิรุกะ ๑ สสกปาท ๑ ปาศวมัทธนะ ๑ คุทาวัตตนะ ๑ อังคุมัทธกะ ๑ ปาทภรังษ ๑ คุทรังส ๑ คุลปภรังษ ๑ ทันตเภท ๑ โอฏฐเภท ๑ สังขเภท ๑ เมฒรเภท ๑ โสณิเภท ๑ หณุสรังษ์ ๑ ขิลา ๑ สันธิวาต ๑ อุททรเวฏฐ ๑ กุณฑลี ๑ ชาทุวิเสลษกะ ๑ วิฏเภท ๑ สวัตมางสกะ ๑ วัตมัษดัมภ์ ๑ อักษิรุกะ ๑ ปักษาปโรธ ๑ วักษาตติ ๑ ติมิร ๑ มุขตา ๑ ภรม ๑ อุชุมภ ๑ นิทรานิศว์ ๑ รุกษ์ ๑ สรุวัณณตา ๑ ปารุส ๑ ประลาป ๑ ปาวุเสยย ๑ อัศโสส ๑ หรตโมห ๑ วิปาทิกา ๑ ฆานะกัณฐ ๑ ทันติเสถิลย ๑ หรโทต ๑ วากกัมปา ๑ มุขตานุ ๑ เกสปตนะ ๑ อามนัตว ๑ อสัททสวนะ ๑ เกสผุฏฐน ๑ ชื่อว่าวาตะพยาธิ ๘๐ ประการ หมอพึงรู้ด้วยประการดังนี้

ในปิตตะพยาธิ ๔๐ ประการนั้น คือโรส ๑ เปลาส ๑ ทรวถุ ๑ วิทาหัตว์ ๑ คทาหะ ๑ อันตทาหะ ๑ ภูมกะ ๑ อัมพกะ ๑ อุณหาทิกะ ๑ อติเสวต ๑ อังคคันธ ๑ อฑาวะ ๑ วสรณะ ๑ โสนิตเกลท ๑ ตวักะมางษ์ ๑ รณะ ๑ จัมมธารณะ ๑ รัตโกป ๑ รัตตวิปโผฏ ๑ รัตตมณฑลี ๑ รัตตปิตตะ ๑ หาริตัตว์หารัตว์ ๑ ทิลิกะ ๑ การิส ๑ กามิลา ๑ ปิตตาสุตา ๑ โลหิตคัณฐตา ๑ ปูติมุขัตว์ ๑ ตริษนาทิก ๑ อัตถูปถิ ๑ อัสศาปากะ ๑ คะละปากะ ๑ อักขิปากะ ๑ โวยุปากะ ๑ เมฒรกะ ๑ ยุหาทาร ๑ ตมะประเวศ ๑ หริตรหริตรา ๑ เนตระมุตรสักกะรา ๑ ชื่อว่าปิตตะวยาธิ ๔๐ ประการ หมอพึงรู้ด้วยประการดังนี้

ในเสมหะวยาธิ ๒๐ ประการนั้นคือ ตรุตถิ ๑ นันทา ๑ นิทราทิกา ๑ ไสตยมิตร์ ๑ คุรุคาตรา ๑ อาลัศย ๑ มุขมธุรี ๑ ประเสกะ ๑ เสลษมาตติรณ ๑ มาลาทิกษา ๑ หรโทชเลป ๑ กัณโฐปเลป ๑ ธมนีประติม ๑ กลกัณฐ ๑ อนิตโถลย์ ๑ ไสตย์ ๑ ฆิตาคนิตว์ ๑ อุททา ๑ เสวตาว ๑ ภาสสลา ๑ เสวตเนตร์ ๑ มุตรสฤราตว์ ๑ ชื่อว่าเสมหะวยาธิ ๒๐ ประการ หมอพึงรู้ด้วยประการดังนี้ วยาธิลักษณะ ๑๔๐ ดังกล่าวมานี้ ชื่อว่าตริวิธวยาธิลักษณะ จบแต่เพียงนี้แล

(๒๗) ในอามาคนิทลลักษณะนั้นมีเนื้อความว่า ร้อน ๔ ประการ คือร้อนเสลด ๑ ร้อนลม ๑ ร้อนดี ๑ ร้อนประชุมกันทั้ง ๓ คือ เสลด, ลม, ดี, ทั้ง ๔ นี้เปนเหตุให้เกิดอัคนี ๔ ประการ คือสัมอัคนี ๑ มันทาคนี ๑ วิสมาคนี ๑ ติขิณาคนี ๑ บุคคลมีเสมหะมาก ให้เกีดมันทาคนี บุคคลมีน้ำดีมากให้เกิดติขิณาคนี บุคคลมีลมมากให้เกิดวีสมาคนี บุคคลมีเสลด, ดี, ลม, เสมอกันให้เกิดสมาคนี หมอพึงพิจารณาดูไฟทั้ง ๔ ให้รู้แล้ว ถ้าเห็นมันทาคนี ให้ยาแก้เสลด ถ้าเห็นติขิณาคนี ให้ยาแก้ดี ถ้าเห็นวิสมาคนี ให้ยาแก้ลม ถ้าเห็นสมาคนี ให้ยาแก้เสมอกันเถิด ดังกล่าวมานี้ชื่อว่าอามาคนีพลลักษณะ จบแต่เพียงนี้

(๒๘) ในอาทานลักษณะนั้นมีเนื้อความว่า เข้า, น้ำ, แลอาหาร เปนเค้าที่จะให้เกิดโรคทั้งปวง อาการที่แพทย์รู้ว่าคนไข้กินเข้า, น้ำ, สิ่งใดจึ่งบังเกิดโรคดังนี้ชื่อว่าอาทานลักษณะจบแต่เพียงนี้

(๒๙) ในนิทานลักษณะนั้น มีเนื้อความว่าแพทย์เห็นโรคสิ่งใดๆ แลรู้จักลักษณะโรคว่า บังเกิดเพราะประเภทแห่งลม, แลดีเปนต้นดังนี้ ชื่อว่านิทานะลักษณะจบแต่เพียงนี้

(๓๐) ในบุรพเหตุลักษณะนั้นมีเนื้อความว่า โรคสิ่งใดบังเกิดในกาย แลกายนั้นเดิมเปนอาการสิ่งใดก่อนจึงเปนโรค แพทย์พึงรู้จักอาการของโรคนั้น ดังนี้เปนต้น ชื่อว่าบุรพลักษณะ จบแต่เพียงนี้

อันว่าวิธีแก้ไข้นั้นๆ โดยจำแนกออกแห่งลม, ดี, แลเสลดทั้ง ๓ ประการ นักปราชญ์ฉลาดพิจารณาแล้ว พึงรู้โดยไนยดังกล่าวมานี้ อันว่าแพทย์ผู้ประเสรีฐผู้ใด อุสาหะพิจารณาวงษ์แห่งแพทย์ ๓๐ ประการนี้รู้ชัดเจนแล้ว แพทย์ผู้นั้นได้ชื่อว่าพวกพันธุ์แห่งชีวกเปนต้น แพทย์ผู้นั้นมีคุณปราศจากมลทิน เหมือนทัดทรงพวงดอกไม้อันงาม (อิติ วรโยคสาเร ภิสกลักขโณทยํ ปฐมํ)

(กล่าวมาด้วยกำเนิดลักษณะแห่งแพทย์ จบแต่เท่านี้)

----------------------------

 

แชร์ชวนกันอ่าน

แจ้งคำสะกดผิดและข้อผิดพลาด หรือคำแนะนำต่างๆ ได้ ที่นี่ค่ะ