- คำนำ
- บานแพนก
- พระคัมภีร์สมฏฐานวินิจฉัย
- พระคัมภีร์วรโยคสาร
- พระคัมภีร์มหาโชตรัต
- พระคัมภีร์ชวดาร ว่าด้วยโรคเกิดในกองลมต่างๆ
- พระคัมภีร์โรคนิทาน
- พระคัมภีร์ธาตุวิวรณ์
- พระคัมภีร์ธาตุบรรจบ
- พระคัมภีร์มุจฉาปักขันทิกา
- พระคัมภีร์ตักศิลา ว่าด้วยไข้เหนือ ไข้พิศ, ไข้กาฬ, หัด.ฝีกาฬ, ไข้กระโดง, ไข้หวัด, เปนต้น
- พระคัมภีร์ไกษย เล่ม ๑ โดยสังเขป
ว่าด้วยโรคอุจจาระธาตุ
ว่าด้วยลักษณะโรคอุจจาระธาตุ
ผู้เปนโรคอุจจาระธาตุนั้น เหตุด้วยผู้นั้นเปนไข้ที่มีพิษจัดตกถึงสันนิบาต แล้วเรื้อรังมา ธาตุนั้นยังแปรปรวนวิปริต อุจจาระไม่เปนปรกติ จึงกลายเปนโรคอุจจาระธาตุ หรือรับประทานอาหารที่แปลก หรือที่เคยรับประทานนั้นมากเกินกำลังกว่าธาตุ เปนต้นว่าเนื้อสัตว์ดิบ หรือเนื้อสัตว์ที่มีคาวมากแลมันไขต่างๆ แลของที่หมักดองบูดเหน้า ธาตุนั้นก็วิปริตแปรปรวนหาเสมอเปนปรกติไม่ กระทำให้ท้องขึ้นเฟ้อ เรอเหม็นบูดเปรี้ยวจุกเสียดแทง อุจจาระก็วิปริตต่างๆ จึงกลายเปนโรคอุจจาระธาตุ หรือธาตุสมุฏฐานมหาภูตรูป ๔ ประชุมในกองสมุฏฐานโทษแล ๓ แล ๓ ทำให้สมุฏฐานธาตุกำเริบธาตุหย่อนธาตุพิการ นั้นต่างๆ โดยพระอาทิตย์ดำเนินในทวาทศราษีเปนกำหนด ตามในพิกัตฤดูสมุฏฐาน ๖ กระทบให้เปนธาตุ แลให้พิกัตธาตุสมุฏฐานมหาภูตรูปนั้น
(๑) คือพัทธปิตตะ คืออะพัทธปิตตะ คือกำเดาทั้ง ๓ นี้เปนพิกัตในกองสมุฏฐานเตโช ๒ หะทัยวาต สัตถะกะวาต สุมะนาวาต ทั้ง ๓ นี้ เปนพิกัตในกองสมุฏฐานวาโย ๓ สอระเสมหะ อุระเสมหะ คูธเสมหะ ทั้ง ๓ นี้ เปนพิกัตในกองสมุฏฐานอาโป ๔ หทัย อุทริยะ กริสะ ทั้ง ๓ นี้ เปนพิกัตในกองสมุฏฐานปถวี มาแต่สมุฏฐานปถวีนี้เปนใหญ่กว่าสมุฏฐานทั้ง ๓ ถ้าสมุฏฐานทั้ง ๓ ในกองหนึ่งกองใดเปนจะละนะขึ้นแล้ว สมุฏฐานปถวีก็พร้อมมีกำลังขึ้น แล้วสมุฏฐานทั้งปวงก็กำเริบแรงขึ้นกว่าเก่า อย่างนี้เรียกว่ามหาสันนิบาต เพราะว่าจัตุสมุฏฐานธาตุนั้นประชุมพร้อม ว่าเกิดขึ้นเพื่อกองปถวีธาตุกำเริบหย่อน พิการ ทำให้อุจจาระไปทั้งกลางวันกลางคืน บางวัน ๒ ครั้ง บางวัน ๓ ครั้ง บางวัน ๔ ครั้งไปจนถึง ๘ ครั้งก็มี สีดำสีแดงก็มีสีขาวสีเขียวก็มี เปนเมือกเปนมันเปนเหลวเปนไต บางทีระคนด้วยโลหิตมีสันฐานดังมูลแมวมูลไก่มูลเต่าก็มี อุจจาระหยาบอุจจาระเลอียดก็มี แต่ไม่ลงเหมือนอย่างอติสารลามก อันประเภทอุจจาระนี้ นอกจากอติสารทั้งหลาย แลมีลักษณะอาการนั้น ๑๕ ประการ คือให้ปวดอุจจาระ ๑ ให้เสียดตามโครง ๑ ให้บริโภคอาหารมิได้ ๑ ให้อาเจียน ๑ ให้นอนมิหลับ ๑ ให้มึนมัวจับสบัดร้อนสบัดหนาวเปนพิษ ๑ ให้ถ่ายอุจจาระปัสสาวะมิสดวก ๑ ให้แน่นอกคับใจ ๑ ให้เสียวไปทั้งร่างกาย ๑ ให้เมื่อยทุกข้อทุกกระดูก ๑ ให้กลุ้มจิตรระส่ำระสาย ๑ ให้เจรจาพร่ำพรู ๑ ให้ร้อนกระหายน้ำ ๑ ให้ร่างกายซูบผอมผิวหนังสากแห้ง ๑ ให้เกิดลอองเปนขุมขึ้นตามลิ้นตามปาก ๑ รวมโทษทั้ง ๑๕ ประการนี้เรียกว่าอุจจาระธาตุลามก ระคนด้วยมหาสันนิบาต แลระคนไปในธาตุอภิญญาณ คือธาตุนั้นเปนชาติเอกโทษ จะละนะทุวันโทษ ภินะตรีโทษ แลอสุรินทัญญาณธาตุ คือธาตุนั้นสำแดงให้รู้ดุจผีสิงตกเข้าในระหว่างอะชินธาตุ คือธาตุนั้นที่ไม่ย่อยไป อันลักษณแลอาการที่กล่าวมานี้ เรียกว่าอุจจาระธาตุลามกระคนด้วยมหาสันนิบาต โรคอย่างนี้รักษายากกว่าโรคทั้งปวง เพราะเปนโรคเรื้อรังถ้าให้ยามิถอย อุจจาระนั้นคงแดงอยู่นานเรื้อรัง ก็จะแปรไปตกถึงอะสาทิยะอุจจาระคันธาระธาตุ บังเกิดเปนปะระเมหะ คือเมือกแลมันเปลวไต ทุลาวะสานั้นคือน้ำปัสสาวะพิการต่าง ๆ เปนอะสาทิยะลามกพิกัตอะภินนะธาตุ
ทีนี้จะกล่าวด้วยอะสาทิยะอุจจาระคันธาระธาตุ แลปะระเมหะ ๒๐ ประการต่อไป อันว่าทุลาวะสา ๑๒ ประการนั้นเปนอะสาทิยะลามกพิกัต แปรมาจากอุจจาระธาตุลามกให้เปนเหตุ ลักษณะอะสาทิยะอุจจาระคันธาระธาตุนี้ เมื่อตกอยู่ในระหว่างอุจจาระธาตุลามก แก้อุจจาระธาตุไม่สิ้นโทษจึงแปรให้อุจจาระนั้นมีกลิ่นขึ้นต่างๆ กลิ่นอุจจาระต่างๆ นั้นมี ๔ ประการ คือกลิ่นดังปลาเหน้า ๑ กลิ่นดังหญ้าเหน้า ๑ กลิ่นดังเข้าบูด ๑ กลิ่นดังศพอันเหน้าโทรม ๑ รวมทั้ง ๔ ประการนี้ เกิดแต่กองอะชิณะธาตุให้เปนเหตุ คืออามะอะชิณะ ๑ มลอะชิณะ ๑ วิวัฑฒะอะชิณะ ๑ วัฑฒะอะชิณะ ๑ อันว่าอะชิณะโทษทั้ง ๔ ประการนี้ เปนที่ตั้งแห่งโรคทั้งหลาย แตในอะสาทิยะอุจจาระคันธาระธาตุนี้ ว่าด้วยอุจจาระที่มีกลิ่น ๔ ประการ สำแดงให้เปนโทษ
(๑) อันลักษณะอุจจาระสำแดงโทษ กลิ่นดังปลาเหน้าระคนด้วยอามะอะชิณะนั้น เกิดแต่กองอาโปสมุฏฐาน ให้เปนเหตุอาการให้ไปอุจจาระปัสสาวะมิสดวก ๑ ให้เจ็บอก ๑ ให้น้ำลายไหล ๑ รวม ๓ ประการ
(๒) อันลักษณะอุจจาระสำแดงโทษดังหญ้าเหน้า ระคนด้วยมลอะชิณะนั้น เกิดแต่กองเตโชสมุฏฐานให้เปนเหตุ อาการให้ปากแห้งตอแห้ง ๑ ให้หนักตัว ๑ ให้วิงเวียน ๑ ให้ไปอุจจาระปัสสาวะมิสดวก ๑ ให้เสโทไหลหยดย้อย ๑ รวม ๕ ประการ
(๓) อันลักษณะอุจจาระสำแดงโทษกลิ่นดังเข้าบูด ระคนด้วยวิวัฑฒะอะชิณะนั้น เกิดแต่กองวาโยสมุฏฐานให้เปนเหตุ อาการให้เสียดแทง ๑ ให้เจ็บฅอ ๑ ให้คันจมูก ๑ ให้เมื่อยไปทั่วร่างกาย ๑ ให้ตะครั่นตะครอ ๑ รวม ๕ ประการ
(๔) อันลักษณะอุจจาระสำแดงโทษกลิ่นดังศพ อันเหน้าโซมระคนด้วยวัฑฒะอะชิณะนั้น เกิดแต่กองกำเดาสมุฏฐาน เสมหะสมุฏฐานด้วยปถวีให้เปนเหตุ อาการให้เจ็บในอก ๑ ให้เจ็บในท้อง ๑ ให้บวมมือบวมเท้าบางทีให้บวมไปทั่วรางกาย ๑ รวม ๓ ประการ
หนึ่งคันธะลามกโทษทั้ง ๔ ประการนี้ แปรมาจากอุจจาระธาตุลามก ตกอยู่ในระหว่างอะสาทิยะอุจจาระคันธาระธาตุ แต่ในอะสาทิยะพิกัตสมุฏฐานนั้นมีอยู่ ๓ สมุฏฐาน คืออะสาทิยะโบราณชวร ๑ อะสาทิยะมรณันติกชวร ๑ อะสาทิยะอะชิณะชวร ๑ รวมเปน ๓ สมุฏฐานด้วยกัน
(๑) อันลักษณะอะสาทิยะโบราณชวรนั้น คืออาไศรยโดยธาตุแปรตามสมุฏฐานแห่งอายุเดินเข้าสู่ความชรา เปรียบดังผลไม้ที่บริสุทธิ์ เมื่อถึงกำหนดสุกแลงอมแล้ว ผลนั้นก็หล่นลงเอง จัดเปนปฐมอะสาทิยะพิกัตสมุฏฐานหนึ่ง จะให้ยานั้นยากนัก
(๒) อันลักษณะอะสาทิยะมรณันติกชวรนั้น คือโรคบังเกิดเปนโอปักกะมิกโรค ตกลงมาจากที่สูงหรือต้องทุบถองโบยตี ต้องราชอาญา อะหิวาตะกะโรค แลโรคที่เกิดเปนพิษขึ้นต่างๆ มีพิษดีแลโลหิตเสมหะเปนต้น จัดเปนมัจฌิมอะสาทิยะพิกัตสมุฏฐานหนึ่ง จะให้ยานั้นยากนัก
(๓) อันลักษณะอะสาทิยะอะชิณชวรนั้น คือโรคคร่ำคร่าเรื้อรังโรคธรรมดาก็ว่า ด้วยบังเกิดอะชิณโทษอยู่เนืองๆ เหตุที่บริโภคอาหารไม่ชอบกับโรคแลธาตุ ไข้นั้นมีอาการซุดไป อย่างนี้เรียกว่าอชิณะธาตุ เหตุด้วยของสำแลง ถ้าให้ยารับประทานไม่ถูกไข้นั้นมิได้ถอยแลคลาย เปนแต่ทรงอยู่แล้วซุดไปเปนอาทิ อย่างนี้เรียกว่า อะชิณโรค จัดเปนปัจฉิมอะสาทิยะพิกัตสมุฏฐานหนึ่ง จะให้ยานั้นยากนัก รวมเปน ๓ สมุฏฐานด้วยกัน แต่อะชิณโทษนี้เจือไปในโรคทั้งปวง ถ้าอะชิณโทษบังเกิดขึ้นในระหว่างโรคอันหนึ่งอันใดแล้วก็เรียกว่าอะชิณโรค คือโรคที่รักษาไม่หาย แลหายโดยยาก กล่าวคือให้ยาแลสิ่งของอันไม่ควรแก่โรค ถ้าเว้นของที่ไม่ควรได้แล้ว โรคนั้นจึงจะบันเทาคลายแลหายได้โดยเร็ว แต่ในที่นี้ว่าด้วยอุจจาระธาตุลามกระคนด้วยอะชิณโทษ ถ้าจะแก้ให้ฟอกอุจจาระคันธาระธาตุโทษเสียก่อน แล้วจึงให้ยารับประทานให้เปนลำดับต่อไป