- คำนำ
- บานแพนก
- พระคัมภีร์สมฏฐานวินิจฉัย
- พระคัมภีร์วรโยคสาร
- พระคัมภีร์มหาโชตรัต
- พระคัมภีร์ชวดาร ว่าด้วยโรคเกิดในกองลมต่างๆ
- พระคัมภีร์โรคนิทาน
- พระคัมภีร์ธาตุวิวรณ์
- พระคัมภีร์ธาตุบรรจบ
- พระคัมภีร์มุจฉาปักขันทิกา
- พระคัมภีร์ตักศิลา ว่าด้วยไข้เหนือ ไข้พิศ, ไข้กาฬ, หัด.ฝีกาฬ, ไข้กระโดง, ไข้หวัด, เปนต้น
- พระคัมภีร์ไกษย เล่ม ๑ โดยสังเขป
ว่าด้วยโลหิตฤดูอันมีตามประเภทสัตรี
ลำดับนี้จะกล่าวโลหิตฤดูประเภทแห่งสัตรีทั้งหลาย ตามธรรมดาอาไศรยซึ่งกองธาตุมิได้บริบูรณ์ แล้วโลหิตก็มิได้งามบริบูรณ์ขึ้นได้ อาไศรยซึ่งกองธาตุจึงตั้งเปนร่างกายอยูได้ โรคทั้งปวงก็อาไศรยซึ่งกองธาตุวิบัติโรคจึงตั้งขึ้นได้
อันว่ากุมารีทั้งหลายเมื่อยังเยาว์ยังเล็กอยูนั้น กำเนิดตานทรางก็เหมือนกุมารผู้ชาย ต่อเมื่อได้อายุล่วงกำหนดตานทรางถึงกำหนดที่จะมีฤดูแล้ว จึงมีประเภทต่างกันกับผู้ชาย ๔ ประการ ที่จะให้สัตว์ปติสนธิจะเกิดโรค ก็เกิดด้วยโลหิตนั้นมากกว่าโรคอื่น มีประเภทแปลกกันกับชาย ๔ ประการนั้น คือถันประโยธรประการ ๑ คือจริตกิริยาประการ ๑ คือประเวณีประการ ๑ คือต่อมโลหิตประการ ๑ เปน ๔ ประการด้วยกันดังนี้ อนึ่งมีพระบาฬีว่าต่อมหรือดอกโลหิตแห่งหญิงผู้นั้นก็บังเกิดขึ้นมา ตามประเพณีแห่งสัตรีภาพแล
จะว่าตามพระบาฬีนั้น ว่าหญิงจำพวกใดเมื่อพ้นกำหนดแห่งตานทรางแล้ว อายุลวงขึ้นไปได้ ๑๔, ๑๕ ปี ต่อมโลหิตก็ตั้งขึ้นมาตามประเพณีแห่งโลกทั้งหลาย แลหญิงนั้นเมื่อยังเปนสาวพรมจารีอยู่ จะได้รู้ว่าประเพณีสังวาศยังไรก็มิได้ ให้บังเกิดปติพัทธ์ขึ้นมาเอง คือให้ฝันเห็นว่ามีชายมาร่วมประเพณีด้วย ตั้งแต่นั้นก็มีฤดูตามประเวณี ถันประโยธรนั้นก็วัฒนาเจริญขึ้น พระอาจาริย์เจ้าจึ่งกล่าวลักษณโลหิตฤดูปรกติมี ๕ ประการ ดังพระบาฬีโดยอธิบาย ว่าฤดูแห่งสัตรีทั้งหลายซึ่งบังเกิดนั้นท่านยกขึ้นว่าไว้พอให้เห็นซึ่งลักษณแห่งโลหิตปรกติโทษแต่ ๕ ประการ โดยประเภทต่างกันดังนี้
คือโลหิตบังเกิดแต่หัวใจนั้น เนื่องมาแต่หทัยวัตถุกำเดาประการ ๑ โลหิตเนื่องมาแต่ดีประการ ๑ โลหิตเนื่องมาแต่ผิวเนื้อประการ ๑ โลหิตบังเกิดเนื่องมาแต่เส้นเอ็นประการ ๑ คือโลหิตบังเกิดเนื่องมาแต่กระดูกประการ ๑ เปน ๕ ประการด้วยกันดังนี้
โลหิตบังเกิดแต่หัวใจนั้น เมื่อจะมีฤดูมามักให้ระส่ำระสาย มักขึ้งโกรธบ้าบ่นบางทีให้คลั่งมะเมอเพ้อพก เมื่อจะเปนนั้นริมจักษุเขียว ถ้าแพทย์ผู้ใดแก้มิฟังหญิงนั้นจะเสียจริตเปนบ้า
ลักษณโลหิตบังเกิดแต่ขั้วดีนั้น เมื่อฤดูมีมาให้เปนไข้ไป ๔, ๕ วัน ให้เชื่อมไปไม่รู้ว่าค่ำรุ่ง แลนอนสดุ้งหวาดเจรจาด้วยผีคนสมมุติว่าขวัญไปกินเถื่อน เพราะว่าโลหิตนั้นทำเอง บางทีผุดขึ้นมาเห็นดำเห็นแดงก็มี เท่าแว่นน้ำอ้อยก็มี ถ้าผู้ใดแก้มิฟังบุคคลผู้นั้นจะกลายเปนไข้ลากสาตสันนิบาต
อันว่าลักษณโลหิตอันบังเกิดแต่ผิวเนื้อนั้น เมื่อจะมีฤดูมานั้นให้ร้อนผิวเนื้อให้ร้อนผิวหนัง แลแดงดังผลตำลึงสุก บางทีผุดขึ้นดังเม็ดผด แลเท่าใบพุดทราเท่างบน้ำอ้อยก็มี ดุจไข้ลากสาตสันนิบาต ไป ๒ วันไป ๓ วันบางทีสมมุติว่าเปนประดง ครั้นฤดูมีมาก็หาย
อันว่าฝักษณโลหิตอันเกิดแต่เส้นเอ็นทั้งปวงนั้น เมื่อฤดูจะมีมานั้นให้เปนดุจไข้จับ ให้สบัดร้อนสท้านหนาวปวดศีศะเปนกำลัง ครั้นฤดูมีมาก็หายไปแล
อันว่าลักษณโลหิตอันเกิดแต่อัฐินั้น เมื่อฤดูจะมีมานั้นให้เมื่อยทุกข้อทุกลำนั้น ดังอัฐิจะแตกจะคลาดกันไป ให้เจ็บเอวให้เจ็บท้อง ให้บิดคร้านนอนไป ครั้นฤดูมีมาก็หาย
โลหิตปรกติโทษทั้ง ๕ ประการนี้ ท่านสงเคราะห์ไว้พอเปนที่สังเกตุแห่งแพทย์ ใช่โลหิตฤดูปรกติโทษจะมีแต่เท่านี้หามิได้ ก็ย่อมมีทั่วทั้งอาการ ๓๒ ธาตุทั้ง ๕ ใช่ว่าโลหิตนั้นจะถึงฤดูแล้ว โลหิตไหลเดินมาจากหัวใจจากดีจากเนื้อจากเส้นจากอัฐิก็หามิได้ โลหิตปรกตินั้นก็ชุ่มแช่กรัชกายอยู่ทั่วทั้งตัว ด้วยสามารถลมทั้ง ๖ จำพวก แลลมทั้งหลายพัดให้เดินไปมา ตามระหว่างเส้นเอ็นแลเนื้อแลหนัง อิกทั้งอะวะยะวะในกรัชกายทั้งปวง เปนธรรมดาทุกตัวสัตว์ เตโชธาตุทั้ง ๔ ก็อบอุ่นให้โลหิตนั้นร้อนอยู่เปนธรรมดา ถ้าเตโชธาตุกล้าเดินเกินปรกติเมื่อใด โลหิตนั้นร้อนทนมิได้ก็ผุดขึ้นมานอกผิวหนัง แพทย์ทั้งปวงสมมุติว่าเม็ดกำเดา ลากสาตปานดำแดงแลกาฬทั้งปวงนั้นก็คือโลหิตนั้นเอง ท่านจึงว่าไว้ว่าดีว่ากำเดานั้นคือเตโช โลหิตนี้เปนเจ้าของสมุฏฐาน อันว่าโลหิตฤดูนี้เปนชาติธรรมดาสัตรีผู้ใดเคยถึงฤดูนั้น ลมกองใดเคยกำเริบ ลมกองนั้นกำเริบขึ้นทุกเดือนทุกครั้ง จึงเรียกปรกติโลหิต ถ้าถึงกำหนดฤดูมา อาการแปลกไปอย่างอื่นลมกองอื่นทำแล้ว จัดได้ชื่อว่าทุจริตโทษ อาการโลหิตปรกติโทษนั้นใช่จะมีแต่ ๕ ประการนั้นหามิได้ ก็ย่อมมีต่างๆ ตามลักษณโลหิตที่เปนนั้น ตั้งแต่แรกเมื่อฤดูมาอาไศรยธาตุ อาไศรยสมุฏฐาน อาไศรยฤดู ที่เคยเปนนั้น