- คำนำ
- พระประวัติ พลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสิงหวิกรมเกรียงไกร
- วันที่ ๔ มีนาคม ร.ศ. ๑๒๕
- วันที่ ๖ มีนาคม ร.ศ. ๑๒๕
- วันที่ ๒๒ มีนาคม ร.ศ. ๑๒๕
- วันที่ ๓๐ มีนาคม ร.ศ. ๑๒๕
- วันที่ ๑ เมษายน ร.ศ. ๑๒๖
- วันที่ ๕ เมษายน ร.ศ. ๑๒๖
- วันที่ ๖ เมษายน ร.ศ. ๑๒๖
- วันที่ ๙ เมษายน ร.ศ. ๑๒๖
- วันที่ ๙ เมษายน ร.ศ. ๑๒๖ (๒)
- วันที่ ๑๖ เมษายน ร.ศ. ๑๒๖
- วันที่ ๑๖ เมษายน ร.ศ. ๑๒๖ (๒)
- วันที่ ๒๑ เมษายน ร.ศ. ๑๒๖
- วันที่ ๒๕ เมษายน ร.ศ. ๑๒๖
- วันที่ ๒๗ เมษายน ร.ศ. ๑๒๖
- วันที่ ๔ พฤษภาคม ร.ศ. ๑๒๖
- วันที่ ๕ พฤษภาคม ร.ศ. ๑๒๖
- วันที่ ๘ พฤษภาคม ร.ศ. ๑๒๖
- วันที่ พฤษภาคม ร.ศ. ๑๒๖
- วันที่ ๑๒ พฤษภาคม ร.ศ. ๑๒๖
- วันที่ ๑๓ พฤษภาคม ร.ศ. ๑๒๖
- วันที่ ๑๓ พฤษภาคม ร.ศ. ๑๒๖ (๒)
- วันที่ พฤษภาคม ร.ศ. ๑๒๖ (๒)
- วันที่ ๑๘ พฤษภาคม ร.ศ. ๑๒๖
- วันที่ ๑๘ พฤษภาคม ร.ศ. ๑๒๖ (๒)
- วันที่ ๒๑ พฤษภาคม ร.ศ. ๑๒๖
- วันที่ ๒๓ พฤษภาคม ร.ศ. ๑๒๖
- วันที่ ๒๔ พฤษภาคม ร.ศ. ๑๒๖
- วันที่ ๒๘ พฤษภาคม ร.ศ. ๑๒๖
- วันที่ ๒ มิถุนายน ร.ศ. ๑๒๖
- วันที่ ๒ มิถุนายน ร.ศ. ๑๒๖ (๒)
- วันที่ ๙ มิถุนายน ร.ศ. ๑๒๖
- วันที่ ๑๖ มิถุนายน ร.ศ. ๑๒๖
- วันที่ ๑๗ มิถุนายน ร.ศ. ๑๒๖
- วันที่ ๒๙ มิถุนายน ร.ศ. ๑๒๖
- วันที่ ๘ กรกฎาคม ร.ศ. ๑๒๖
- วันที่ ๑๐ กรกฎาคม ร.ศ. ๑๒๖
- วันที่ ๑๐ กรกฎาคม ร.ศ. ๑๒๖ (๒)
- วันที่ ๑๖ กรกฎาคม ร.ศ. ๑๒๖
- วันที่ ๒๔ กรกฎาคม ร.ศ. ๑๒๖
- วันที่ ๒๘ กรกฎาคม ร.ศ. ๑๒๖
- วันที่ ๖ สิงหาคม ร.ศ. ๑๒๖
- วันที่ ๗ สิงหาคม ร.ศ. ๑๒๖
- วันที่ ๙ สิงหาคม ร.ศ. ๑๒๖
- วันที่ ๑๔ สิงหาคม ร.ศ. ๑๒๖
- วันที่ ๑๕ สิงหาคม ร.ศ. ๑๒๖
- วันที่ ๒๑ สิงหาคม ร.ศ. ๑๒๖
- วันที่ ๒๕ สิงหาคม ร.ศ. ๑๒๖
- วันที่ ๓๑ สิงหาคม ร.ศ. ๑๒๖
- วันที่ ๕ กันยายน ร.ศ. ๑๒๖
- วันที่ ๕ กันยายน ร.ศ. ๑๒๖ (๒)
- วันที่ ๒๗ กันยายน ร.ศ. ๑๒๖
- วันที่ ๑ ตุลาคม ร.ศ. ๑๒๖
วันที่ ๘ พฤษภาคม ร.ศ. ๑๒๖
VILLA NOBEL
SAN REMO
วันที่ ๘ พฤษภาคม ร. ๔๐ศก ๑๒๖
ถึงกรมดำรง ความปลื้มใจที่ได้รับหนังสือของเธอลงวันที่ ๕ เดือนเมษายน ทำให้ต้องตอบโดยโทรเลขแลซ้ำเขียนโดยทันทีเช่นนี้
การซึ่งได้จัดตกลงกับพระยาศรีนั้นดีแล้ว ถึงหมอจะได้ห้ามไม่ให้พูดไม่ให้คิดราชการ ก็ได้ขโมยอยู่บ้างเหมือนอย่างบุหรี่ z
ซึ่งเธอได้เข้าไปเยี่ยมเยียนอาการไข้เจ็บในพระที่นั่งอัมพรนั้น มีความขอบใจเปนอันมาก ฉันมีใจเปนห่วงบ่วงใยอยู่มาก มีความเสียใจที่จะกล่าวว่า ฟังความเห็นหมอปัว ในเรื่องรักษาจมูก มาปรากฏชัดเจนเสียแล้วว่าไม่ถูก ถ้าไม่เปนมากไปก็จะดีอยู่ ส่วนตัวฉันเอง หมอไรเตอก็ดี หมอบือมาก็ดี รักษาผิดทั้งคู่ หมอไรเตอผิดตั้งแต่ดิแคลว่าเปนหืด แลรักษาทางหืด ดมยา ป้ายยา ล้างตมูก ท่านอาจาริย์ใหญ่ ๒ คน คือไฟลเนอแลแมนซั่น ดิแคลว่าได้ทำผิดแต่ต้นราก แลซ้ำให้เกิดอินเฟลเมชั่นหาที่สุดไม่ได้ หมอบือมาซึ่งกล่าวว่าไม่ใช่หืดนั้นถูก แต่วางยากัดเสมหะล้างตมูกคงอยู่นั้นไม่ถูก ความเหนถูกแต่รักษาไม่ถูก หมอไฟลเนอเปนผู้รับบัญชาในการรักษาตมูก ให้หมอฟิสเตอเปนผู้ทำ อาการก็เปลี่ยนดีขึ้นทุกวันเหนปรากฏ ตั้งแต่เริ่มรักษาคงล้างเช้า ๓ ครั้ง กลางคืน ๓ ครั้ง รุ่งขึ้นก็ล้างเช้า ๒ ครั้ง กลางคืน ๓ ครั้ง วันที่ ๓ ล้างเช้าครั้งหนึ่ง กลางคืน ๒ ครั้ง เดี๋ยวนี้คงกลางวันครั้งหนึ่ง กลางคืนครั้งหนึ่ง ซึ่งยังต้องให้ล้างอยู่ เพราะเสมหเฟื่องมาแต่เดิมมาก จะเลิกในเร็ว ๆ นี้ ใช้น้ำมันยอนตมูก ทาตามลำหลอดทางหายใจ น้ำยากวาดในคอ ปลดเปลื้องความลำบากหายใจไม่ออก เสมหะจุกคอลงไปได้ จนไม่อยากล้างเอง น้ำมันแลน้ำยา ก็เปนน้ำมันเฉยๆ น้ำยาเฉยๆ ไม่มีอไรเมามายเจือปนเลย ยังเช่นตมูกนางสดับ ฉันเคยสังเกตเข้าใจชัดเจน รับประกันได้ว่าสามวันเปนหาย ถ้ายังไม่สนิทก็เพียง ๗ วันเปนอย่างยิ่ง หมอบ้านเรามันเขลาเท่านั้น มิใช่ไม่รู้ เหมือนตาบือมาก็พูดว่าได้นึกแล้ว แต่กลัวจะไม่ถูก เหตุด้วยไม่ชำนิชำนาญ เอกสปีเรียนศไม่พอนั้นอย่างเดียว ท่านอาจาริย์เหล่านี้มาถึงแกบัญชาได้ผางๆ ไม่ต้องตรึกต้องครองอันใด ร้องว่าง่ายนิดเดียว ยากอยู่แต่เรื่องเอเนเมีย ซึ่งต้องกินเวลาบำรุงร่างกายให้บริบูรณขึ้น จึงจะรักษาได้ ข้อบังคับต่างๆ ก็เรื่องนั้นทั้งนั้น เรื่องตมูกแกไม่แตะ ให้แต่ลูกศิษย์ทำ เปนที่น่าเลื่อมใสเสียจริง ๆ กรมสมมตออกอุทานว่า แต่นั่ง ๆ แอบฟังก็มีความเลื่อมใส ฉันจึ่งได้โทรเลขว่า ถ้าหากว่าไม่เปนมากไป รอไว้ให้หมอที่เข้าไปกับฉันรักษาจะหายได้เร็ว
รู้สึกเดือดร้อน ทั้งที่ห้ามหลายหนแล้วว่าไม่ควรจะเดือดร้อน โดยไม่ได้รับหนังสือพวกที่อยู่พระที่นั่งนี้เลย ได้แต่ ๒ ฉบับซึ่งตอบหนังสือปากน้ำ จึ่งประมาณใจว่าทีเขาจะส่งทางกระทรวงวังแล้วจะไปช้าโดยธรรมดา อย่างออฟฟิเซียลดอมแหละแลไม่เห็นว่าจะส่งอย่างไร น่าที่หนังสือจะไปคั่งอยู่ในชั้นต้น เธอจะพึ่งเปนผู้รับส่งต่อภายหลัง นี่ก็ออกจะเปนเพ้อไม่มีมูล ลางทีหนังสือจะยังไม่มาถึงเอง
การที่จับผู้ร้ายทิ้งไฟได้ แลได้ผู้ร้ายตัวเก่งในแถบสามเสนนั้นดีนัก เชื่อว่าเธอคงจะกระตุ้นให้สำเรจตลอดไปได้
โปสตก๊าดที่ส่งมา ได้รับก่อนหนังสืออื่น ๆ หมด มีความยินดีมาก จะส่งตอบบ้างก็เต็มที เกาวแมนเล่นกล้องตรีเนตรเสียป่น ไม่รู้ว่ามันเคลื่อนคลาดอย่างไร ฉันถ่ายก็ไม่ชัด แกถ่ายเองก็ไม่ชัด ได้เล่นแต่กล้องนีเดีย ถ่ายไว้ได้บ้าง กำลังให้วันไดกไปพิมพ์ ครั้นจะให้เกาวแมนพิมพ์ กลัวจะต้องเถียงกันมากนัก จึงปล่อยให้พิมพ์ที่แกถ่ายเอง ส่วนที่ฉันถ่าย จะดีร้ายอย่างไรไม่ได้เคยลองล้าง ให้วันไดกไปล้างแลพิมพ์มาให้เสรจ แลให้สอดอาลบัมมาด้วยทีเดียว ได้ตั้งใจว่าจะส่งให้เธอเล่มหนึ่งเสมอไป เปนสุวเนียในการที่ได้เล่นถ่ายรูปด้วยกัน วันนี้ได้ซื้อโกแด๊กอย่างโปสตก๊าดอันหนึ่ง ลองถ่ายเดาดู แล้ววานเกาวแมนล้าง ผเอินได้ดีอย่างยิ่ง หวังใจว่ากล้องนั้นจะเปนราชการได้ตลอดเวลาอยู่ในยุโรป แต่ถึงบางกอกเข้าเหนจะไม่ได้การ แต่ที่นี่คือซันเรโม ฟิล์มมันยังออกหายากเสียแล้ว นึกว่ารับราชการ ๖ เดือนแล้วทิ้ง ก็เหนจะพอทนเอาได้
ไม่ใช่คิดถึงแต่ทางปราไส คิดถึงจริงๆ มันสนุกกว่าบ้านเราหลายเท่านัก ทั้งเปนเมืองจน ๆ เช่นนี้ อากาศมันดีแลชอบทางเรื่องต้นนั้นเปนที่สุดที่แล้ว
สยามินทร์
ป.ล.
พระดามสต๊าด ซึ่งรังสิตไปขอให้ตาโปรเฟสเซอผู้คิดถ่ายแบบมานั้น ทำดีงามมาก แต่ถ้าจะดูเปนพระใช้ไม่ได้ คือขาดผ้านุ่งห่มทั้งหมด เปนพระอย่างเยนะ แต่มีผ้าโพก เหนได้ว่าความคิดมาจากมหาญาณฤๅเยนะนิกาย ดุกออฟเฮสตคงได้อ่านหนังสือจำพวกนั้น ไม่ได้อ่านหนังสือพุทธสาสนาข้างใต้ นั่งสมาธิเพช ยกตีนร่อนทั้งสองข้าง อย่างคนสวมรองเท้าบูตฝรั่ง ดุ๊กเหนจะสวมรองเท้าบู๊ตไปนั่งให้ปั้น มือทำอย่างพระพวกทิเบต ที่กอดบาตรเข้า คือเอาหลังนิ้วชี้ต่อนิ้วชี้ยันกัน ปลายนิ้วแม่มือชนกัน ไม่ใช่สมาธิอย่างพระอินเดีย ไทยดูไม่รู้ว่าพระ เหนว่าแขกนั่งโพกหัว ถ้าบอกว่าพระเหนจะโกรธ กรมสมมตยังบอกว่าออกฉุน ๆ ถ้าดูเปนรูปภาพแล้วงาม ดูเปนของสมควรที่จะตั้งห้องบรอนซมากกว่าตั้งพระรเบียง ถ้าหากว่าโดยจะถ่ายอย่าง ท่านมา๑แลพระประสิทธิ์๒จะถ่ายได้แต่เท่าตัวอย่าง ที่จะขยายให้โตทำไม่ได้เลย เกินความรู้ รังสิตว่าถ้าหากว่าจะทำให้ใหญ่เท่าขนาดพระระเบียง จะรับไปว่าตาโปรเฟสเซอนั้นให้ทำให้ แต่ฉันเหนว่าจะไม่ได้การ จึ่งไม่ได้ให้ทำ ได้สั่งให้ต่อหีบบรรจุส่งเข้ามาที่เธอ ประดักประเดิดอยู่เพราะน้ำหนักมาก เจ้าพวกบ่าวฝรั่งครั่นคร้ามว่าหนักถึงครึ่งตัน ถ้าหากว่าไปถึงดูกันแล้วจะเก็บ ขอให้คิดกับพระยาสุขุม๓ หาที่ตั้งบนห้องบรอนสทีเดียว
จปร