- คำนำ
- พระประวัติ พลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสิงหวิกรมเกรียงไกร
- วันที่ ๔ มีนาคม ร.ศ. ๑๒๕
- วันที่ ๖ มีนาคม ร.ศ. ๑๒๕
- วันที่ ๒๒ มีนาคม ร.ศ. ๑๒๕
- วันที่ ๓๐ มีนาคม ร.ศ. ๑๒๕
- วันที่ ๑ เมษายน ร.ศ. ๑๒๖
- วันที่ ๕ เมษายน ร.ศ. ๑๒๖
- วันที่ ๖ เมษายน ร.ศ. ๑๒๖
- วันที่ ๙ เมษายน ร.ศ. ๑๒๖
- วันที่ ๙ เมษายน ร.ศ. ๑๒๖ (๒)
- วันที่ ๑๖ เมษายน ร.ศ. ๑๒๖
- วันที่ ๑๖ เมษายน ร.ศ. ๑๒๖ (๒)
- วันที่ ๒๑ เมษายน ร.ศ. ๑๒๖
- วันที่ ๒๕ เมษายน ร.ศ. ๑๒๖
- วันที่ ๒๗ เมษายน ร.ศ. ๑๒๖
- วันที่ ๔ พฤษภาคม ร.ศ. ๑๒๖
- วันที่ ๕ พฤษภาคม ร.ศ. ๑๒๖
- วันที่ ๘ พฤษภาคม ร.ศ. ๑๒๖
- วันที่ พฤษภาคม ร.ศ. ๑๒๖
- วันที่ ๑๒ พฤษภาคม ร.ศ. ๑๒๖
- วันที่ ๑๓ พฤษภาคม ร.ศ. ๑๒๖
- วันที่ ๑๓ พฤษภาคม ร.ศ. ๑๒๖ (๒)
- วันที่ พฤษภาคม ร.ศ. ๑๒๖ (๒)
- วันที่ ๑๘ พฤษภาคม ร.ศ. ๑๒๖
- วันที่ ๑๘ พฤษภาคม ร.ศ. ๑๒๖ (๒)
- วันที่ ๒๑ พฤษภาคม ร.ศ. ๑๒๖
- วันที่ ๒๓ พฤษภาคม ร.ศ. ๑๒๖
- วันที่ ๒๔ พฤษภาคม ร.ศ. ๑๒๖
- วันที่ ๒๘ พฤษภาคม ร.ศ. ๑๒๖
- วันที่ ๒ มิถุนายน ร.ศ. ๑๒๖
- วันที่ ๒ มิถุนายน ร.ศ. ๑๒๖ (๒)
- วันที่ ๙ มิถุนายน ร.ศ. ๑๒๖
- วันที่ ๑๖ มิถุนายน ร.ศ. ๑๒๖
- วันที่ ๑๗ มิถุนายน ร.ศ. ๑๒๖
- วันที่ ๒๙ มิถุนายน ร.ศ. ๑๒๖
- วันที่ ๘ กรกฎาคม ร.ศ. ๑๒๖
- วันที่ ๑๐ กรกฎาคม ร.ศ. ๑๒๖
- วันที่ ๑๐ กรกฎาคม ร.ศ. ๑๒๖ (๒)
- วันที่ ๑๖ กรกฎาคม ร.ศ. ๑๒๖
- วันที่ ๒๔ กรกฎาคม ร.ศ. ๑๒๖
- วันที่ ๒๘ กรกฎาคม ร.ศ. ๑๒๖
- วันที่ ๖ สิงหาคม ร.ศ. ๑๒๖
- วันที่ ๗ สิงหาคม ร.ศ. ๑๒๖
- วันที่ ๙ สิงหาคม ร.ศ. ๑๒๖
- วันที่ ๑๔ สิงหาคม ร.ศ. ๑๒๖
- วันที่ ๑๕ สิงหาคม ร.ศ. ๑๒๖
- วันที่ ๒๑ สิงหาคม ร.ศ. ๑๒๖
- วันที่ ๒๕ สิงหาคม ร.ศ. ๑๒๖
- วันที่ ๓๑ สิงหาคม ร.ศ. ๑๒๖
- วันที่ ๕ กันยายน ร.ศ. ๑๒๖
- วันที่ ๕ กันยายน ร.ศ. ๑๒๖ (๒)
- วันที่ ๒๗ กันยายน ร.ศ. ๑๒๖
- วันที่ ๑ ตุลาคม ร.ศ. ๑๒๖
วันที่ ๓๑ สิงหาคม ร.ศ. ๑๒๖
เมืองฮอมเบิค
วันที่ ๓๑ สิงหาคม ร. ๔๐ศก ๑๒๖
ถึงกรมดำรง ฉันได้รับหนังสือวันที่ ๓๐ เดือนกรกฎาคม ว่าด้วยเรื่องพิมพ์หนังสือเปนต้นนั้นแล้ว การที่จะรอไว้ให้ฉันไปถึงแล้วจึงจะพิมพ์นั้นก็ไม่ขัดขวางอไร ข้อความทั้งปวง ได้มีโทรเลขตอบไปโดยย่อแล้ว หนังสือฉบับนี้จึงเปนแต่คำอธิบาย
ในข้อ ๑ มีคำถามกันที่นี่แล้ว แต่ความคิดฉันไม่ได้คิดจะใช้ว่าพระราชนิพนธ์ ฉันให้รู้สึกไปว่าพระราชนิพนธ์นั้นมันเปนคำกลอน นี่ว่าตามความจริง มันเปนสำเนาพระราชหัตถเลขา ดูเหมือนจะมีน้ำหนักมากกว่าพระราชนิพนธ์ ชื่อหนังสือที่กวีนวิกตอเรียแต่ง เรียกว่า ฟรอมดิลีฟวซออฟดิกวีนวิกตอเรียส์ไดอรี่ ฉันเหนว่าหนังสือที่เปนพระราชนิพนธ์ จำจะต้องเปนข้อความแม่นยำรอบคอบถ้วนถี่ หนังสือมีไปถึงลูกเช่นนี้จะขาดบ้างเกินบ้าง ผิดบ้างถูกบ้าง ก็ไม่มีที่เสียหายอันใด ที่ตั้งชื่อว่าไกลบ้าน แล้วไม่บอกว่าพระราชนิพนธ์นั้น เพราะมีสแตนดาดเปนสำคัญ แทนบอกว่าพระราชนิพนธ์ เหมือนจะรู้ว่าผู้ใดไกลบ้านก็ให้ดูธงเปนสำคัญ จ่าน่าข้างใน ไม่คิดจะให้มีรูปเหมือนใบปก มีแต่ว่าไกลบ้าน แล้วบันทัดล่างว่าสำเนาพระราชหัตถเลขา ถึงผู้นั้นผู้นั้น เมื่อเสดจคราวนั้น ความคิดนั้นดังนี้ หาได้เล่าลเอียดไปไม่ ข้อ ๒ ฉันรักอย่างที่แบ่งตามระยะทาง สมุดจะใหญ่บ้างเล็กบ้างก็ไม่เปนไร อย่าให้ผิดกันมาก ฉันประมาณไม่ถูก เพราะหนังสือรายวันนี้เขียนตลีตลานส่งเสมอ แต่จะได้อ่านทานก็ไม่มี เขียนแล้วก็แล้วไปไม่จำไว้ จึ่งประมาณไม่ถูก ๓ ส่วนแรก ๆ กับส่วนหลัง ๆ ไม่ต้องกัน แรก ๆ คิดกะว่าสามวันสี่วันส่งครั้งหนึ่ง ภายหลังมาด้วยความจำเปนบ้าง ด้วยความคิดเกิดขึ้นใหม่บ้าง กลายเปนหลาย ๆ วันไป ถ้าเห็นว่าย่อยนัก จะจับย่นเข้าเสียเปนฉบับเดียวกันก็จะได้ ๔ จำนวนหนังสือที่จะพิมพ์นั้น เมื่อเธอกะว่าห้าร้อย พวกข้างนี้ร้องกันเอ็ดว่าไม่พอ ที่จะพิมพ์พันหนึ่งก็ดี แต่ความพลาดพลั้งนั้นน่ากลัวเปนอันมาก ๕ หนังใบปกนั้น เปนข้อขัดข้องที่ฉันไม่รู้ว่าจะเย็บได้ฤๅไม่ แต่โจทกันที่นี่ว่าได้ คิดจะเอาหนังเข้าไป พิมพ์ลวดลายเสรจ เพราะความคิดฉันมันหรู ซึ่งคิดเหนว่าทำในบางกอกไม่ได้ คือหนังหุ้มสมุดนั้นจะใช้หนังขาวขอบแดง เปนลักษณะธงช้าง มีเส้นทองเปนรูปทวีปเอเซียแลยุโรป ลายทองเปนพื้น สแตนดาดทับอยู่ข้างบน ด้านหลังบอกประเทศ เดี๋ยวนี้กำลังเขียนตัวอย่างอยู่ จะสำเร็จฤๅไม่ ไม่ทราบ แต่ถึงไม่สำเรจ ฉันไม่เชื่อฝีมือไทยตีตัวทอง เห็นว่าสกปรกทั้งนั้น จึ่งอยากจะตีเข้าไปแต่นอก ข้อ ๖ กินกันอยู่ในข้อ ๕ แล้วโดยมาก ยังแต่เรื่องชื่อฝรั่ง จะควรมีฤๅไม่ ฉันเหนด้วยว่าในการที่จะตีแซกกำกับตัวไทยลำบาก เพราะต้องเรียงบ่อย ๆ จึงมาเหนอย่างใหม่ว่า ข้อที่ตีตัวฝรั่งกำกับลงไว้นั้น เพราะเหตุที่สำหรับจะให้ผู้รู้ภาษาฝรั่งสอบสวนด้วยว่าตัวไทยที่เขียนภาษาฝรั่งเวลานี้ไม่ยั่งยืน ถ้าจะเรียกคนมาสามคนให้เขียนชื่อที่ได้ยินพร้อมกัน คงจะเขียนต่างกันตามหูแก้ว หูเยอรมัน หูฝรั่งเศส ผิดกันอยู่เปนนิจ ถ้ามีตัวฝรั่งกำกับแล้ว จะหายบ่นกันไปได้ อีกอย่างหนึ่งนั้นได้หมายใจจนถึงเมืองใดจะเรียกตามภาษาเมืองนั้น ไม่ให้เหนเปนลำเอียง แลตามที่นักปราชเขากำลังคิดจะทำแผนที่กันอยู่ แต่ความคิดนี้มันมาเกิดขึ้นเสียทีหลัง แล้วอ้ายเราก็แก้วเต็มทีพอดีกัน หลง ๆ ลืม ๆ ประเดี๋ยวก็แก้วหลุดออกมา ไม่มีเวลาจะประจงแต่ง จึ่งออกจะเฟเลียร์ แต่จะได้จดลงไว้ในหีบบุหรี่ที่รลึกเปนภาษานั้น ๆ
เรื่องอากาศไม่ดี ไม่ค่อยมีแดด เมืองฝรั่งมันเปนมากกว่าเราเท่าหนึ่งเท่าใด ไม่เหนมันเปนอไร ฉันพิจารณาด้วยความอิจฉาเปนอย่างยิ่ง ได้ความว่าของมันหนาวเปนพื้น ชืดมันก็หนาว ไม่ชืดมันก็หนาว ของเรามันชืดจริงอยู่แล แต่อ้ายร้อนมันเปนพื้น ร้อนกับเยนมันกระทบเข้ามันก็เล่นงานเอาเรางอม เปรียบเหมือนอยู่ในฮอตเฮาส ถ้าเข้าไปเมื่อไรให้นึกถึงทุกครั้ง ถ้าเราทนหนาวไม่ได้เสียเหมือนต้นไม้ก็เหนจะสบาย นี่เกิดเมืองร้อนสิมาทนหนาวได้ดีกว่าต้นปามเปนอันมาก ซ้ำจะเหี่ยว ๆ เอาเมื่อถูกร้อนด้วย มันฝืนเนเช่อกันอยู่อย่างนี้จะทำอย่างไร ฉันเพ้อใหญ่เสียแล้ว ที่หญิงเล็กหายขึ้นได้คราวหนึ่งนี้เปนที่ยินดี กลัวแต่ถึงฤดูน่าก็จะมาอีก กดเอาเอี้ยลงไปทุกปีทุกปี ข้อนี้ลำบากมาก ฉันไม่ใคร่จะเชื่อว่าคอนซัมชั่นมารักษาเมืองฝรั่งหาย มันออกจะน่ากลัวตายมากกว่าหาย ถ้าอยู่ชายทเลเรา เหนจะสบายกว่ามายุโรป ชายเพ็ญดูไม่สู้เปนที่น่าไว้ใจนัก เรื่องคลองเรื่องถนนอไรมันก็ทั้งนั้น มันยังเดินไม่ถึงที่ ฉันไม่แลเหนคนไทยผู้ใดที่ได้เคยเอาใจใส่ จำไปเล่าถึงเรื่องถนนรนแคมให้เพื่อนกันเข้าใจได้ เพราะเรื่องที่จะยวนตาให้ดูอย่างอื่นมันมีมากกว่า ทั้งผู้บัญชาการสุขาภิบาลจำจะต้องเปนผู้มีอุปนิสัยแลมีวาศนาได้อบรมมาแต่กาลปางก่อน คือเคยเหนแต่ถนนดี ๆ เหนถนนไม่ดีคลองไม่ดีทนไม่ได้ อย่าได้ปริปากเลยว่าเท่านี้ก็ดีนักหนาแล้วจะเอาอย่างไร ถ้าได้คนเช่นนี้เมื่อไร ศุขาภิบาลจึ่งจะดีได้ คำที่ว่าวาศนาแลอุปนิสัยนั้น ไม่ได้หมายความว่าคนเคยมาเมืองฝรั่งฤๅเกิดเมืองฝรั่งมาแล้วห้าร้อยชาติ ไทยก็เหมือนกัน ฝรั่งก็เหมือนกัน มาไม่รู้ว่ากี่เที่ยว เกิดไม่รู้ว่ากี่ร้อยชาติ ก็อาจจะแลไม่เหนถนนได้ ฤๅเห็นก็ที่หรูเกินไป จนใช่ความจำเปนที่จะมี เรื่องฝิ่นพระยาสุริยา๑ลงไปนั้นก็ดี พระยาสุขุมเหนจะเคืองฉันเสียแล้วว่าไม่ตอบหนังสือ ไม่เหนมีมาอีก ที่จริงฉันหลงไปว่าแกไปเมืองตวันตก
เรื่องโดนรถรางของชายยุคลมาเตือนให้ฉันนึกขึ้น ในข้อซึ่งนึกว่าจะไปพูดที่บางกอกว่ารถรางที่ไหนในโลกย์นี้ ไม่มีเดินเร็วเท่าบางกอกแล้ว มอเตอคาร์ก็เหมือนกัน ไม่มีเมืองไหนที่จะอนุญาตให้เดินในหมู่คนเร็วเท่าเมืองเรา พูดขึ้นกรมนเรศรก็คงจะฉุน เอาไว้กลับไปบ้านจึ่งค่อยพูดกันใหม่ นึกยังไม่ยักออกว่าจะทำอไรที่บ้านในคราวนี้ จะต้องดูไปก่อน ว่ามันจะไปได้ทางใด บ่นถึงบ้านหนักเข้าจะนอนไม่หลับ ขอจบเท่านั้นที
สยามินทร์
-
๑. พระยาสุริยานุวัตร (เกิด บุนนาค) ↩