- คำนำ
- พระประวัติ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม
- ๓๑๓ ประกาศเรียกงาปิว่าเยื่อเคยในคำกราบทูล
- ๓๑๔ ประกาศให้เรียกว่าสวนนันทอุทยานให้ถูก
- ๓๑๕ ประกาศเรื่องใช้คำพูดว่า ต้นแผ่นดิน กลางแผ่นดิน ปลายแผ่นดิน
- ๓๑๖ ประกาศให้เรียกที่ประทับท้องสนามหลวงว่าพลับพลา
- ๓๑๗ ประกาศเรื่องพระพุทธบุษยรัตน
- ๓๑๘ ประกาศปฏิสังขรณ์วัดไชยพฤกษมาลาวัดเขมาภิรตาราม
- ๓๑๙ ประกาศว่าด้วยปฏิสังขรณ์วัดขุนแสน
- ๓๒๐ ประกาศว่าด้วยเงินสำหรับซ่อมแซมพระอารามซึ่งเปนส่วนพระองค์
- ๓๒๑ ประกาศเรื่องพระราชทานกฐินที่กรุงเก่า
- ๓๒๒ ประกาศแผ่พระราชกุศลในการฉลองวัดหงษรัตนาราม
- ๓๒๓ ประกาศแผ่พระราชกุศลฉลองพระศรีรัตนมหาเจดีย์
- ๓๒๔ ประกาศการทำของเลี้ยงพระในการเฉลิมพระชนม์พรรษา
- ๓๒๕ ประกาศเรื่องเงินปี้จีนปีชวดทำถนน
- ๓๒๖ ประกาศชำระเลขในสมเด็จพระนางนาถราชเทวี สมเด็จพระเทพศิรินทร์
- ๓๒๗ ประกาศเรื่องตราภูมคุ้มห้าม
- ๓๒๘ ประกาศสักเลขไพร่หลวง
- ๓๒๙ ประกาศไม่ให้ลูกหมู่ไพร่หลวง เมื่อบวชอยู่รับจ้างทำช่างทอง
- ๓๓๐ ประกาศไม่ให้เชื่อฟังเรื่องที่ผู้มีคดีไม่ฟ้องเอาไปลงหนังสือพิมพ์
- ๓๓๑ ประกาศเรื่องราษฎรเมืองรยองถวายฎีกากล่าวโทษผู้สำเร็จราชการเมือง
- ๓๓๒ ประกาศไม่ให้เชื่อข้อความที่มีผู้ทิ้งหนังสือไปลงหนังสือพิมพ์
- ๓๓๓ ประกาศเรื่องเอาศพไว้ค้างคืน
- ๓๓๔ ประกาศทรงอนุญาตให้ราษฎรถวายฎีกาทูลถามเรื่องที่เล่าฦๅได้
- ๓๓๕ ประกาศว่าด้วยเนื้อนิลกสาปน์
- ๓๓๖ ประกาศว่าด้วยเครื่องรองน้ำฝนอย่างยุโรป
- ๓๓๗ ประกาศกำหนดที่จะเอาทองแปมาขึ้นเอาเงินไปแต่ท้องพระคลัง
- ๓๓๘ ประกาศกำหนดที่รับทองทศพิศพัดดึงศ์
- ๓๓๙ ยิงปืนอาฏานา ฝั่งตวันตก
- ๓๔๐ ประกาศห้ามไม่ให้กระบวนแห่ตีสุนัขให้ไล่ไปเสียให้พ้น แลอย่าให้ตุ๊กแกมีในอุโบสถ หรือที่ประทับ
- ๓๔๑ ประกาศให้พระสงฆ์ทุกๆ พระอารามตั้งพิธีฝน
- ๓๔๒ ประกาศวางระเบียบผู้ซึ่งจะถวายตัวเปนมหาดเล็ก
- ๓๔๓ ประกาศเรื่องตั้งพันปากพล่อย
๓๓๔ ประกาศทรงอนุญาตให้ราษฎรถวายฎีกาทูลถามเรื่องที่เล่าฦๅได้
มีพระบรมราชโองการมารพระบัณฑูรสุรสิงหนาท ให้ประกาศแก่พระสงฆ์สามเณรในพระพุทธสาสนา แลข้าราชการผู้น้อยขุนหมื่น พันทนายแลทวยราษฎรนอกกรุงในกรุง ชาวในประเทศนอกประเทศทั้งปวงให้ทราบ
ด้วยทุกวันนี้มีคนปากกล้าใจกล้า ฤๅหูไวใจเบาไปก่อเหตุ คำฦๅคำเล่าการผิดๆ การไม่จริง ให้เปนที่สดุ้งสะเทือนร้อนรนรำคาญใจแก่พระสงฆ์สามเณรแลทวยราษฎรต่างๆ เนืองๆ ว่าในหลวงจะมีรับสั่งให้ทำอย่างนั้นให้ทำอย่างนี้ ผู้นั้นกราบทูลขออย่างนั้น ผู้นั้นกราบทูลขออย่างนี้ จะเรียกภาษีสิ่งนั้น จะเรียกภาษีสิ่งนี้ ในที่ของไม่ควรจะเรียกภาษีบ้าง แลว่าจะไปเรียกเปน ๒ ซ้ำ ๓ ซ้ำบ้าง แลว่าจะจับกุมคนทำอย่างนั้นอย่างนี้ คนใช้ของอย่างนั้นอย่างนี้มาทำโทษบ้าง ก่อเหตุให้ราษฎรสดุ้งสะเทือนอยู่เสมอต่างๆ ก็การที่สดุ้งสะเทือนเล่าฦๅปั่นป่วนอย่างนี้ไม่ดี เพราะเปนความไม่จริงโดยมาก เปนที่วิตกร้อนรนรำคาญแก่คนเปนอันมากไปนานๆ ถึงต้นความเดิมจะจริงแต่พระราชดำริห์บางอัน ผู้ฟังไปได้ความแต่ปลายเหตุก็สดุ้งสะเทือนไปต่างๆ
เพราะฉนั้นบัดนี้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีประกาศพระราชทานช่องโอกาศ แก่พระสงฆ์สามเณรแลข้าราชการผู้น้อย ขุนหมื่นพันทนายแลทวยราษฎรในกรุงนอกกรุง ชาวในประเทศนอกประเทศทั้งปวง ถ้าผู้ใดได้ยินคำเล่าฦๅต่างๆ อย่างว่ามา เปนที่สดุ้งสะเทือนแก่ผู้ได้ฟังอย่างนั้นแล้ว ให้เขียนเปนเรื่องราวกราบทูลพระกรุณาว่าได้ฟังมาดังนี้ๆ การนั้นจะจริงฤๅไม่จริงประการใดจะใคร่ทราบเกล้าทราบกระหม่อม เมื่อทำเรื่องราวแล้วจะนำเข้ามาทูลเกล้าฯ ถวายเองอย่างถวายฎีกาก็ได้ ถ้าความทราบใต้ฝ่าลอองธุลีพระบาทแล้ว ก็จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานคำตอบสำแดงการที่แท้ที่จริงให้สิ้นสงสัย ฤๅอธิบายการที่ไม่เข้าใจให้เข้าใจโดยประจักษ์ ถ้าความเรื่องนั้นเล่าฦๅกันแตกตื่นเปนความใหญ่โตมาก ควรจะให้มีหมายประกาศให้ทราบทั่วกัน ก็จะทำเปนคำประกาศตีพิมพ์แจกให้ทราบทั่วกัน ผู้ถวายเรื่องราวนั้นถ้าถวายความประหลาดๆ ก็จะพระราชทานรางวัลให้บ้างเล็กน้อย ฤๅจะยกความชอบโดยสมควร เพราะทำเหตุให้ความระงับความตื่นเล่าฦๅผิดๆ ลงได้เร็วๆ นั้น
โครงความเรื่องราวซึ่งจะทูลเกล้าฯ ถวายกราบทูลถามหาความจริงนั้นให้แต่งอย่างนี้
ข้าพระพุทธเจ้านาย...... (ชื่ออย่างนี้) อำแดง...... (ชื่ออย่างนี้) ตั้งบ้านเรือนอยู่ตำบล...... (ชื่ออย่างนี้) สังกัดขึ้นอยู่ในกรม...... (ชื่ออย่างนี้) ขอพระราชทานพระบรมราชวโรกาศ ถวายเรื่องราวให้ทราบใต้ฝ่าลอองธุลีพระบาท ด้วยข้าพระพุทธเจ้าได้ฟังนาย...... (ชื่ออย่างนี้) อำแดง...... (ชื่ออย่างนี้) ฤๅชาวบ้านโน้นชาวบ้านนี้ พูดกันฦๅกันว่า...... (อย่างนี้ๆ) ข้าพระพุทธเจ้าได้ฟังแล้วมีความสงสัยว่าจะจริงฤๅไม่จริง การยังไม่เข้าใจถนัด ข้าพระพุทธเจ้าขอรับพระราชทานความให้กราบเกล้าประจักษ์สิ้นสงสัย แต่กระแสพระบรมราชโองการที่แท้ขอเดชะ
ถ้าเปนพระสงฆ์สามเณร เริ่มต้นว่าอาตมาภาพพระ...... (ชื่ออย่างนี้) สมี...... (ชื่ออย่างนี้) สามเณร...... (ชื่ออย่างนี้) อาตมาภาพได้ยินดังนี้ แก้ไขไปตามโวหารวัดนั้นเถิด
ผู้ฟังคำประกาศนี้ อย่าเชื่อกำชับปากคนฦๅว่า อย่าให้เข้าหูช้างหูม้าอย่างนั้นเลย
การซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศเช่นนี้ก็โดยการทรงเห็นตัวอย่างซึ่งเคยมีมาแล้ว คือครั้งหนึ่งจีนมีชื่ออยู่บ้านตลาดน้อยกล่าวโทษภรรยาว่ามีชู้กับพระสงฆ์เปนหมอ ความได้พิจารณาว่ากล่าวกันอยู่ในศาลกรมธรรมการนานแล้ว ได้สืบพยานหลายปากถ้วนถี่ไม่ได้ความจริง ตระลาการนำความกราบบังคมทูลพระกรุณา จึงโปรดให้ยกความปราชิกเสีย ให้ว่าแต่ตามความผัวเมียวิวาทกันต่อไป ฝ่ายจีนที่เปนโจทย์สงสัยไม่เชื่อตระลาการผู้รับสั่ง จึงทำฎีกามาร้องเปนคำฉลองว่าทรงตัดสินดังนั้นจริงฤๅ ไม่เชื่อคำตระลาการ ได้พระราชทานพระกระแสพระบรมราชโองการ ชี้แจงให้เห็นจริงออกไปแก่จีนมีชื่อผู้ร้องทูลฉลองจะได้ให้มีโทษแก่ผู้ร้องหามิได้
อีกเรื่องหนึ่งอ้ายตรุดนักโทษปาราชิกเปนสัตย์แล้ว ทำเรื่องราวมาร้องทุกข์กราบทูลพระกรุณา ว่าได้ยินถ้อยคำข้าพระพุทธเจ้าได้ฟังนาย...... (ชื่อนี้) ฯลฯ